ประมูล หมวด:พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาวัดใจ....20...บาท.....พระผงรุ่น๑ วัดจันทร์ นนทบุรี รุ่นสร้างวิหาร
ชื่อพระเครื่อง | ราคาวัดใจ....20...บาท.....พระผงรุ่น๑ วัดจันทร์ นนทบุรี รุ่นสร้างวิหาร |
---|---|
รายละเอียด | ประวัติวัดจันทร์ วัดจันทร์ตั้งอยู่เลขที่ ๒๗ หมู่ ๖ ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตามโฉนด ๔ แปลง มีรายละเอียดดังนี้ แปลงที่ ๑ เลขที่โฉนด ๑๘๔๒๓ เล่มที่ ๑๘๕ หน้าที่ ๒๓ มีเนื้อที่ ๑๓ ไร่ ๑งาน ๘๔ ตารางวา แปลงที่ ๒ เลขที่โฉนด ๕๘๔๖ เล่มที่ ๕๙ หน้าที่ ๔๖ มีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๒ งาน ๒๐ ตารางวา แปลงที่ ๓ เลขที่โฉนด ๕๘๕๕ เล่มที่ ๕๙ หน้าที่ ๕๕ มีเนื้อที่ ๒ ไร่ แปลงที่ ๔ เลขที่โฉนด ๑๒๘๗๒ เล่มที่ ๑๒๙ หน้าที่ ๗๒ มีเนื้อที่ ๙ ตารางวา (แปลงสุดท้ายนี้ ๙ ตารางวา ถวายโดย นางโปรย โชติกานนท์ ถวายให้กับวัดเพื่อเป็นทางเข้าออกของโรงเรียนวัดจันทร์) ซื่งขณะนี้วัดกำลังถูกฟ้องเป็นจำเลย ว่าทำการปลูกกำแพงลุกล้ำที่ดินของ นายประสิทธิ์ ยนต์ศิริ คดีกำลังดำเนินการอยู่ในชั้นศาล ตามคดีหมายเลขดำที่ น. ๒๙๖/๒๕๔๘ รวมที่ดินวัดทั้งสิ้น ๔ แปลง รวม ๑๘ ไร่ ๓ งาน ๑๑๓ ตารางวา ทิศเหนือ ติดกับ ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ทิศใต้ ติดกับ คลองบางกรวย ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่บ้านเทพประทาน ทิศตะวันตก ติดกับ คลองย่อยบางกรวย ลักษณะของวัดจันทร์มีลักษณะเหมือนด้ามขวาน หรือแผนที่ประเทศไทย โดยด้านที่เป็นที่ตั้งวัดและอาคารเสนาสนะและโรงเรียนเป็นพื้นที่กว้างส่วนด้านแคบ เรียวยาวเป็นที่ตั้งของชุมชนวัดจันทร์ วัดจันทร์สร้างเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๑๕ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๓๓๘ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ตัวอาคารอุโบสถกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร และได้รับการบูรณะใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ และ พ.ศ. ๒๕๒๙ และได้สร้างกำแพงแก้วรอบอุโบสถพร้อมซุ้มประตูในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ พระประทานในอุโบสถเป็นลักษณะปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑๐๘นิ้ว หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ก่ออิฐถือปูน ลงลักปิดทอง สันนิษฐานว่าได้สร้างมาพร้อมกับอุโบสถ สมัยกรุงธนบุรี อายุราว ๒๓๕ ปี มีอัครสาวกซ้าย ขวา มีพระพุทธรูปเก่าที่ได้สร้างมาพร้อมกับพระประทาน รวม ๗ องค์ คือ ปางมารวิชัย เนื้อสำริด หน้าตักกว้าง ๒๐นิ้ว ลงลักปิดทอง ๑ องค์ ปางมารวิชัย เนื้อสำริด หน้าตักกว้าง ๓๐ นิ้ว ลงลักปิดทอง ๑ องค์ ปางประทานพร เนื้อสำริด สูง ๑๕๐ ซม. ลงลักปิดทอง ๑ องค์ ปางห้ามสมุทร เนื้อสำริด สูง ๑ เมตร ๗๐ ซม. ลงลักปิดทอง ๔ องค์ ซึ่ง ปางห้ามสมุทร ๔องค์ ได้หายไป เมื่อ วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ซึ่งพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรองค์นี้ ในอดีตได้เคยหายไป ๒ ครั้งแล้วเมื่อหลายสิบปีก่อน และได้กลับคืนมาได้ โดยที่โจรไม่สามารถเอาไปได้โดยทิ้งไว้ที่ล่องสวนในสมัยนั้น แต่ครั้งสุดท้ายนี้ยังไม่ได้พระกลับคืนมา พระประทานและพระสาวกทั้งหมดรวม ๑๑ องค์ ได้บูรณะและปิดทองคำแท้ใหม่ รวมทั้งฉัตร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘ ความเป็นมาของวัดจันทร์ วัดจันทร์ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งสร้างในสมัยกรุงธนบุรี มีอายุกว่า ๒๐๐ ปี สืบทอดกันต่อๆ มาจวบจนปัจจุบันนี้ การก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่างๆที่ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก ซึ่งเป็นปกติธรรมดาของธรรมชาติที่ต้องมีการบุบสลายแตกหักลง วัดจันทร์ โดยการดูแลของเจ้าอาวาสแต่ละรูปแต่ละสมัยที่ปกครองดูแล และก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะในเขตสังฆาวาส และอุโบสถในเขตพุทธาวาสกันสืบต่อมาจนกระทั่งถึงผู้บันทึกข้อมูลนี้ ในสมัยที่ยังเป็นสามเณรอายุประมาณ ๑๙-๒๐ ปี เสนาสนะกุฏิสงฆ์ที่เป็นที่พักอาศัยทำวัตรสวดมนต์หรือที่ทำศาสนกิจสำหรับพระภิกษุสงฆ์ก็ได้รื้อย้ายเปลี่ยนแปลงเป็นจำนวนมาก เป็นต้นว่า กุฏิสงฆ์ ได้จัดทำในรูปแบบเสนาสนะกุฏิสงฆ์ เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว โดยสร้างล้อมรอบหอสวดมนต์ และทางเดินก็เป็นไม้ คือ สร้างเหมือนเรือนทรงไทยเป็นหมู่ใหญ่ โดยมีหอสวดมนต์อยู่ตรงกลางและสร้างเสนาสนะกุฏิสงฆ์ล้อมรอบ สมัยก่อนมีกุฏิสงฆ์หลังหนึ่งเรียกว่า กุฏิ ๒๐๐ ปี เป็นลักษณะเรือนทรงไทย ประตูทางเข้ากุฏิสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ขณะเข้ากุฏิจะต้องยกขาข้ามจึงจะสามารถเข้าไปภายในกุฏิได้ ในสมัยนั้นพระภิกษุสามเณรที่อยู่จำพรรษามีเป็นจำนวนมากประมาณ ๔๐ ถึง ๕๐ รูป ในสมัยของพระครูนนททิวากร ได้ทำการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก คือ ได้ทำการรื้อถอนกุฏิสงฆ์ทางทิศใต้ออกแล้วสร้างกุฏิสงฆ์ขึ้นใหม่โดยสร้างเป็น ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นปูน ชั้นบนเป็นไม้ และกุฏิสงฆ์ทางทิศเหนือก็เช่นเดียวกันสร้างเป็น ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นปูน ชั้นบนเป็นไม้ (ไม้สักทั้งหลัง) ส่วนชั้นบนนั้นทางวัดได้รับบริจาคไม้มาจากท่านผู้ใหญ่อุดม ศรีทรัพย์ ซึ่งได้บริจาคบ้านทรงไทยทั้งหลังขนาดใหญ่ให้ ๑ หลัง ทางวัดจึงได้นำไม้นั้นมาสร้างเป็นกุฏิสงฆ์ขึ้นบนพื้นที่ทางทิศเหนือของวัดซึ่งโดดเด่นสวยงามมาก ส่วนทางด้านตะวันตกได้รื้อกุฏิสงฆ์ออกหมดและดำเนินการก่อสร้างเป็นหอฉัน ชั้นบนเป็นสถานที่เรียนหนังสือและด้านหลังสร้างเป็นห้องน้ำจำนวน ๑๒ ห้อง หอฉันนี้สร้างเป็นปูนทั้งหลัง ส่วนทางเดินเท้าก็ปูด้วยกระเบื้องทั้งหมด สำหรับหอสวดมนต์หลังนี้ มีอายุประมาณ ๕๐ ถึง ๖๐ ปี โดยการนำของผู้ใหญ่อุดม ศรีทรัพย์ ซึ่งในสมัยนั้นได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ และได้เป็นผู้ดูแลวัดทั้งหมด โดยทำการก่อสร้างทั้งหมดเป็นจำนวนเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท และได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นอีก ๑ องค์ เรียกว่า พุทธสิหิงค์ ๒๕ ศตวรรต โดยท่านเป็นผู้จัดหาชั่งมาหล่อขึ้นเอง หน้าตักพระกว้าง ๑๙ นิ้ว ซึ่งขณะนี้ก็ยังปรากฏอยู่ให้ชาวพุทธทั่วไปสักการบูชากราบไหว้เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจมาโดยตลอด สมัยก่อน หอสวดมนต์ หลังนี้หันหน้าไปทางทิศเหนือ จวบจนสมัยของพระครูนนททิวากร (ทวี จิตต์ไทย) ท่านได้เปลี่ยนแปลงหอสวดมนต์ให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก จนปัจจุบันหอสวดมนต์ดังกล่าวก็ยังสมบูรณ์อยู่ ในสมัยของผู้บันทึก คือ พระครูสังฆรักษ์ ศักดา โอภาโส ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดจันทร์เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่างๆในวัดเป็นจำนวนมากมาย เช่น ดำเนินการถมดินด้านหน้ากุฏิสงฆ์ (บริเวณลานด้านหน้าอุโบสถ) สูงถึง ๑ เมตร เป็นบริเวณกว้าง เพราะวัดจันทร์ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มเป็นสวนมาก่อน พอถึงหน้าน้ำ ๆ ก็ท่วมจะเป็นอยู่อย่างนี้ทุกๆปี ระดับน้ำสูงประมาณ ๑ เมตรบ้าง ระดับเอวบ้าง บางปีน้ำท่วมถึงหน้าอกเลยก็มี ทางวัดได้นำโต๊ะนักเรียนมาต่อกันเป็นทางเดินเท้า บางปีเทศบาลก็จะเอาไม้มาต่อกันเป็นทางเดินทั่วไป ระยะเวลาน้ำท่วมก็จะอยู่ประมาณ ๑ ถึง ๒ เดือนก็มี บางปีน้ำท่วมในช่วงเข้าพรรษา ทางวัดต้องจัดหาเรือรับส่งโยมจากหน้าวัดเข้ามาที่ศาลาการเปรียญก็มี ในยุคของผู้บันทึกจึงต้องถมดินให้สูงขึ้นเพื่อหนีน้ำ ส่วนบริเวณลานเป็นสถานที่ร่มรื่นนั้นก็เช่นเดียวกัน ได้ดำเนินการถมดินปรับพื้นที่ให้สูงขึ้นทั้งหมด โดยนับเที่ยวรถที่นำดินมาถมประมาณ ๒๐๐ ถึง ๓๐๐ เที่ยวคันรถ ๑๐ ล้อทีเดียว จนปัจจุบันนี้น้ำไม่ปรากฏว่าท่วมอีก หากปีไหนฝนตกชุกมากเกินความจำเป็น น้ำก็จะท่วมเต็มลานที่ถมประมาณ ๔ ถึง ๕ เซนติเมตรเท่านั้น แต่ก็ยังดีกว่าในสมัยก่อนเป็นอย่างมาก รายนามเจ้าอาวาสอดีตจนถึงปัจจุบัน รายนามเจ้าอาวาสวัดจันทร์เท่าที่พอค้นพบและสอบถามได้ มีปรากฏอยู่ ๑๐ รูป¬ ดังนี้ คือ ๑. พระอธิการ จีน (หลวงปู่จีน) ๒. พระอธิการแตง ๓. พระอธิการแบน สุจิตฺโต ๔. พระอธิการแดง ๕. พระอธิการธูป จิตฺตสงฺวโร ๖. พระครูแบน สุจิตฺโต ๗. พระครูเขมเขตวิชัย ๘. พระครูนนททิวากร (ทวี ทีปโก ) พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๔๒ ๙. พระครูปลัดกิตติวรวัฒน์ (รักษาการเจ้าอาวาส) ๑๐. พระครูโอภาสนนทกิตติ์ (ศักดา โอภาโส) พ.ศ. ๒๕๔๓ - ปัจจุบัน |
ราคาเปิดประมูล | 10 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 20 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 10 บาท |
วันเปิดประมูล | อา. - 16 ธ.ค. 2555 - 07:50.02 |
วันปิดประมูล | จ. - 17 ธ.ค. 2555 - 21:07.38 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
20 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | อา. - 16 ธ.ค. 2555 - 21:07.38 |
กำลังโหลด...