ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540
ราคาวัดใจ....20...บาท.....เหรียญรัชกาลที่ ๕ วัดเพลง นนทบุรี ๒๕๓๙
ชื่อพระเครื่อง | ราคาวัดใจ....20...บาท.....เหรียญรัชกาลที่ ๕ วัดเพลง นนทบุรี ๒๕๓๙ |
---|---|
รายละเอียด | โบราณสถานวัดเพลง เป็นวัดร้างอันตั้งอยู่ริมคลองวัดสักใหญ่ ตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ปัจจุบันเป็นวัดร้างตั้งทิ้งอยู่กลางสวนผลไม้ มีโบสถ์ขนาดใหญ่ก่ออิฐถือปูน มีลวดลายปูนปั้นตกแต่งอย่างสวยงาม บ้างก็หลุดร่วงหักพังตามสภาพ มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นปกคลุมผนังพระอุโบสถอยู่หนาแน่น แต่วัดนี้เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์และศิลปกรรมสมัยอยุธยาที่น่าสนใจในจังหวัดนนทบุรี วัดเพลงร้างนั้นเดิมมีชื่อว่า วัดทองเพลงหรือวัดเพรงสร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2200 ถึงปี 2233 ประมาณสมัยสมเด็จพระณารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยมีผู้เฒ่าผู้แก่ในแถบนั้น เคยได้ยินคนแก่เล่าต่อกันมาว่า วัดทองเพลงต้มเหล้ากินเอง หนึ่งปีรับกฐินสองไตร เดิมแต่วัดนี้ได้ความว่า วัดทองเพลงเป็นวัดหลวง มีความสำคัญในแถบนี้มาก ในหนึ่งปีทางกรุงศรีอยุธยา หรือคนเมืองนนทบุรีในสมัยนั้นเรียกว่า เมืองบนนั้นได้จัดส่งขบวนกฐินทางเรือชลมารค มาติดต่อทางวัดถึงปีละ 2 ชุด นับเป็นวัดที่มีคุณสมบัติพิเศษมาก ซึ่งจัดตามประเพณีทางพุทธศาสนา ปีหนึ่งวัดแต่ละวัด จะได้รับกฐินเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ต่อมาเมื่อเกิดศึกสงครมไทยกับพม่าเสียครั้งกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ( เดือน 10 พ.ศ. 2310) มังมหานรธาแม่ทัพพม่านำทัพขึ้นย้อนมาจากทางใต้ขึ้นมาตามลำน้ำและได้ตั้งค่ายตามริมสองฝั่งแม่นำเจ้าพระยา ชาวบ้านในพื้นที่นี้เกิดความกลัวจึงได้นิมนต์พระสงฆ์ที่จำวัดอยู่ในวัดนี้ออกจากวัดไป ส่วนคนอื่นที่อาศัยอยู่บริเวณแถบนี้ก็ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารเพื่อรบกับพม่าบ้าง บ้างก็ทิ้งบ้านเรือนพาครอบครัวหนีไป ทางวัดก็ขาดการเอาใจใส่จากชาวบาง ต่อมาไม่นานวัดก็ถูกทิ้งร้าง จึงได้เป็นวัดร้างมาจนถึงปัจจุบัน และในนิราศสุพรรณ นายมี ได้พรรณาเมื่อมาถึงบาง บริเวณหน้าวัด แห่งนี้ว่ามาถึงหน้าวัดเพลงวังเวงจิต นั่งพินิจศาลาที่อาศัย มีตะพานลูกกรงลงบันได จึงจำได้แน่จิตไม่ผิดเพี้ยน แต่ก่อนพระวัดนี้ท่านดีมาก ชื่อขรัวนาคช่างฉลาดข้างวาดเขียน มีคนจำแบบอย่างมาวางเรียน จนช่างเขียนประเดี๋ยวนี้ก็ดีจริง ทุกวันนี้ฝีมือเขาลือมาก แต่ฝีปากอับชื่อไม่ลือถึง ไม่มีใครยอยกเหมือนตกบึง ต้องนอนขึงคิดอ่านสงสารตัว ฯ นั้นแต่เดิมมาที่นี่คงเคยเป็นที่พำนักของเจ้าขรัวนาค แห่งวัดทองเพลง ซึ่งมีชื่อเสียงในการเขียนจิตรกรรมภาพฝาผนังสมัยต้นรัตนโกสินทร์ พระอุโบสถเป็นพระอุโบสถหลังใหญ่มาก ขนาด 6 ห้อง ตรงมุมย่อมุมไม้สิบสองแบบเสา มีซุ้มประตูทางเข้าด้านหน้าที่มีลายปูนปั้นรูปลายกนกงดงาม ที่ด้านบนซุ้มประตูด้านในมีลักษณะแบ่งเป็น 2 ตอน คานไม้ปิดทองรูปกนกเปลวเพลิง ส่วนซุ้มประตูด้านในมีลายกนกรูปเทพนมสวยงามทีเดียว แต่ทั้งหมดลบเลือนมากแล้วหน้าบันของโบสถ์หลังนี้มีลายปูนปั้นเช่นกันแต่ถูกรากไม้หุ้มรัดจนเต็ม ด้านล่างของพระอุโบสถนั้นมีเศษกระเบื้องดินเผาถมจนสามารถเดินเข้าออกทางหน้าต่างได้ภายในมีภาพเขียนสีเป็นรูปใบไม้ร่วงบนพื้นสีแดง แต่ลบเลือนมากแล้ว สภาพพระอุโบสถโดยรวมชำรุดมากแล้ว เหลือเพียงฝาผนังทั้งสี่ด้านไม่มีหลังคา บานประตูหน้าต่างมีต้นไทรปกคลุมทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รากไทรได้ยึดฝาผนังไว้ไม่ให้พังลงมามองดูคล้ายปราสาทของขอม หลวงพ่อโตเป็นพระโบราณสร้างจากหินทรายแดงข้างใน หุ้มปูนลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 3ใน 4 ของความกว้างพระอุโบสถ พระพุทธลักษณะของพระพักตร์ พระโอษฐ์ และพระเกศ เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยอู่ทอง แต่เดิมที่เป็นวัดทองเพลงนั้นปิดทองไว้อย่างสวยงามตลอดทั้งองค์ แต่เนื่องจากเป็นวัดร้างจึงถูกลอกเอาไปโดยถูกไฟสุม (แต่ในปัจจุบันได้ทำการลงรักปิดทองขึ้นมาใหม่) ที่ฐานของพระหลวงพ่อโตนี้เป็นลายปูนปั้นรูปสิงห์ขาโหย่งแต่ถูกกระเทาะผุพังไปบ้าง ด้านหน้านั้นมีพระปูนปั้นสาวก 2 องค์ จะเป็นพระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะ หันหน้าเข้าหาพระประธาน เนื่องจากวัดนี้สร้างขึ้นโดยมีพระประธานและพระสาวก ซึ่งแตกต่างกับธรรมเนียมสมัยอยุธยาที่นิยมสร้างพระหมู่ หลวงพ่อโตนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพศรัทธาของผู้คนในชุมชน ในระหว่างพรรษาของทุกปีทางวัดแก้วฟ้า (ตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน) ได้จัดพระสงฆ์ สามเณร ไปจุดธูปเทียนพรรษาบูชาอยู่เสมอ ใบเสมาใบเสมาวัดเพลงนีมีขนาดใหญ่ ทำด้วยหินทรายแดง ตั้งอยู่ตามมุมพระอุโบสถ เหลือเพียงแท่นฐานตั้งอยู่บนฐานขาสิงห์โหย่ง 4 ฐาน ตามประวัติเมื่อฐานของใบเสมาผุพังตามกาลเวลาเพราะก่ออิฐถือปูน ใบเสมาจึงทลายลงมากองกันอยู่ ชาวบ้านจึงขนย้ายมาอยู่ที่วัดสักใหญ่ (ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้เคียงกัน) แต่เมื่อขนมาถึงจะทำการยกขึ้นประดิษฐานจะตั้งรายรอบพระอุโบสถหลังใหม่นั้น ยกขึ้นไม่ได้เนื่องจากมีน้ำหนักมากจึงกองกันอยู่กับพื้นที่พระอุโบสถวัดสักใหญ่มาจนถึงปัจจุบันนี้ ใบเสมาบางอันยังมีสภาพสมบูรณ์เป็นรูปลายเครือเถา เห็นลวดลายชัดเจนและอีกหลายอันแตกออกเป็นชิ้น ซุ้มหอระฆังเป็นู้มหอระฆังเล็กๆ ก่ออิฐถือปูน ตั้งอยู่ทางขวาของพระอุโบสถ หอระฆังนี้มีรูปแบบศิลปกรรม ด้านล่างเป็นซุ้มแบบอารคโค้งมีลายปูนปั้น (สร้างตามแบบนิยมสมัยอยุธยาตอนกลาง) ด้านบนชัน2มีเสาสี่เสามีบันไดขึ้นไปด้วย แต่เดิมมาผู้เฒ่าในแถบนั้นเล่ามาว่ามีบันไดทางขึ้น และมียอดด้วย ปัจจุบันหักพังลงมาหมดแล้ว |
ราคาเปิดประมูล | 10 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 30 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 10 บาท |
วันเปิดประมูล | อา. - 16 ธ.ค. 2555 - 07:35.12 |
วันปิดประมูล | อ. - 18 ธ.ค. 2555 - 02:28.11 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...