ประมูล หมวด:พระเกจิภาคเหนือ
เหรียญมหาลาภ หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ เนื้อทองเหลืองกรรมการไม่ตัดปีก
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญมหาลาภ หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ เนื้อทองเหลืองกรรมการไม่ตัดปีก |
---|---|
รายละเอียด | เหรียญมหาลาภ หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ เนื้อทองเหลืองกรรมการไม่ตัดปีก พระครูพิพิธธรรมาธรหรือที่คนจังหวัดพิจิตรจะเรียกขานนามท่านว่า หลวงพ่อหวั่น ท่าน เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีกาลพรรษาสูงรูปหนึ่ง ท่านจะสร้างวัตถุมงคลออกมาในแบบเนื้อผงผสมมวลสารมากกว่าเนื้อโลหะ โดยเฉพาะพระนางพญาผงใบลานนั้นเด่นในทางเมตตามหานิยมเยี่ยมมากทีเดียว ส่วนตะกรุดสาลิกาคู่เยี่ยมในทางมหานิยม ผู้คนชาวบ้านเขาโจษขานกันมานานแล้วว่า หลวงพ่อหวั่นนั้นท่านเป็นพระที่เมตตาสูง หรือถ้าไม่เกินเลยความเป็นจริงจะเรียกท่านว่า พระเถระผู้เปี่ยมเมตตาแห่งแควน่านก็ไม่น่าจะเกินความจริง พระเกจิอาจารย์บ้านนอกที่ญาติโยมเข้ากราบสักการะหัวกะไดกุฎีวัดไม่แห้งถือว่าต้องมีดี ใช้ได้ทีเดียวคงจะไม่ธรรมดาเป็นแน่ลูกหลานสอบเข้ารับราชการได้จะพาไปให้ท่านรดนํ้ามนต์เหมือนเป็นการอวยชัยให้ศีลให้พรให้ความเป็นศิริมงคลเกิดขึ้นในขณะที่รับราชการจนถึงวันเกษียนชาวบ้านเขาเชื่อว่าชีวิตราชการนั้นจะเจริญรุดหน้าไปเรื่อยๆเป็นที่โจษขานมาช้านาน หรือว่าการดำรงตนครองชีวิตไม่ราบรื่นก็จะไปหาหลวงพ่อหวั่นท่านรดนํ้ามนต์เขาเล่ากันว่าพลิกกลับหน้ามือเป็นหลังมือกันทีเดียว วันที่ผมขึ้นไปกราบท่านมีชาวบ้านนำลูกสาวที่ทำงานอยู่กรุงเทพไปหาท่านเล่าเรื่องเบื้องหลังอย่างรันทดผมจึงลุกออกมาก่อนตามมารยาทไทยที่ไม่ฝักใฝ่เรื่องผู้อื่น เมื่อประพรมนํ้าพระพุทธมนต์เสร็จแล้วขอพระเครื่องเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจท่านหยิบมอบให้แล้วทั้งสองแม่ลูกก็เดินทางกลับ ผมเองได้เห็นแล้วรู้ทันทีว่าพระเกจิอาจารย์ในชนบทท่านนี้ต้องมีดีในตัวจึงนั่งในศรัทธาชาวบ้านมาช้านาน(ตามคำบอกเล่า) ท่านเป็นพระที่พูดน้อยจะยิ้มเสียส่วนใหญ่ และที่สำคัญเท่าที่สังเกตดูท่านไม่ค่อยสนใจในลาภสักการะนักเพราะเห็นเงินในซองนอกซองวางทั่วไปรอบๆตัวที่ท่านนั่งต้อนรับญาติโยม ในขณะที่พระเณรช่วยกันเทปูนสร้างสาธารณะประโยชน์ของวัด เครื่องดื่มที่ญาติโยมนำไปถวายท่าน ท่านจะเดินเอาออกไปแจกพระเณรเมื่อเจ้าของทานมัยเหล่านั้นกลับไปแล้ว นี่คือสิ่งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า หลวงพ่อหวั่น ท่านเป็นผู้มี “ทานมัย” คือผู้ให้ผู้บริจาคหรือผู้ให้เป็นที่ตั้งไม่ได้เก็บไว้ เพื่อประโยชน์แห่งตน หลวงพ่อหวั่นนอกจากจะเป็นพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังเป็นที่ศรัทธาในท้องถิ่นและละแวกใกล้เคียงแล้ว วัตถุมงคลต่างๆหากท่านพอใจที่จะให้ท่านให้ไม่เสียดาย ส่วนจะร่วมบุญสร้างกุศลเสริมบารมีกับท่านมากน้อยแค่ไหน ท่านไม่ได้ยึดติดกับลาภสักการะเหล่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ทางคณะกรรมการวัดจึงต้องตั้งตู้วัตถุมงคล ให้พระดูแลเพื่อนำรายได้ต่างๆมาบูรณะวัด วัดคลองคูณแม้จะเป็นวัดเก่าแก่แต่ขาดการพัฒนาที่ดี มาในยุคหลวงพ่อหวั่นเป็นเจ้าอาวาส เสนาสนะต่างๆภายในวัดดูแล้วเจริญหูเจริญตาขึ้นมามากและดูเหมือนว่า จะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในอำเภอ ตะพานหินด้วย หลวงพ่อหวั่น ท่านเก่งในด้านทำตะกรุดทั้งแบบมหาอุดหยุดกระสุนปืนตลอดทั้งแบบเมตตามหานิยมใครเห็นใครชมใครเห็นต่างเมตตารักใคร่ เหมือนลูกหลานหรือคนในแวดวงสกุลเดียวกัน ซึ่งการสร้างตะกรุดนั้นท่านบอกว่าท่านทำ มาตั้งแต่พรรษาไม่มากนักและได้ รับความไว้วางใจจากชาวบ้านและคณะสงฆ์ในอำเภอตะพานหินให้ท่านรักษาการ เจ้าอาวาสตั้งแต่เพิ่งจะบวชได้แค่ ๓ พรรษาเท่านั้น เมื่อครบ ๕ พรรษาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสทันทีเพื่อไม่ปล่อยโอกาสอันดีจากสายตาพระผู้ใหญ่ในขณะนั้น ความเป็นมาของวัด ว่ากันตามหลักฐานทำเนียบวัด วัดคลองคูณนั้นสร้างในยุคต้น กรุงรัตนโกสินทร์จากหลักฐานกล่าวว่าวัดนี้สร้างขึ้นในราวปีพ.ศ.๒๔๐๐ แต่ปราศจากหลักฐานในการสร้างวัดตลอดจนผู้ริเริ่มในการสร้างและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๔ ซึ่งมีผู้ดูแลวัดผ่านมาแล้ว ๙รูปดังนี้คือ ๑.พระอาจารย์รอดจากพ.ศ.๒๔๓๕ – ๒๔๔๙ ๒.หลวงปู่จันทร์ จากพ.ศ.๒๔๕๒ – ๒๔๗๓ สำหรับหลวงปู่จันทร์นั้น เล่าต่อๆกันมาว่า ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีคาถาอาคมสุดยอดพระเกจิอาจารย์ของยุคนั้น ๓.พระอาจารย์ฟ้อย จากพ.ศ.๒๔๗๖ – ๒๔๗๙ ๔.พระอาจารย์อุ่น จากพ.ศ.๒๔๘๑ – ๒๔๘๓ ๕.พระอธิการหลอด นันทสโร จากพ.ศ.๒๔๘๓ – ๒๔๘๖ ๖.พระอธิการลำจวน อรินโท จากพ.ศ.๒๔๘๖ – ๒๔๒๔๙๕ ๗. พระอาจารย์อั๋นจาก พ.ศ.๒๔๙๗ – ๒๔๙๙ ๘.พระอาจารย์แสวง ปิยวัณโณจากพ.ศ.๒๕๐๐ – ๒๕๐๒ ๙. พระครูพิพิธธรรมาทร (หลวงพ่อหวั่น) จาก พ.ศ.๒๕๐๓ จนถึงปัจจุบัน การเดินทางไปวัดคลองคูณ การเดินทางไปวัดคลองคูณ หากท่านขับรถยนต์ไปเองจากกรุงเทพเข้าเส้นถนนสายตากฟ้าเมื่อไปถึงทางแยกเขาทรายเข้าทางอำเภอทับคล้อออกไปทางอำเภอ ตะพานหิน-เมื่อถึงบ้านคลองคูณจะมีป้ายปักบอกทางบ้านคลองคูนซึ่งเป็นป้ายปักบอกทางแบบมาตรฐานริมถนนทั่วไปบอกว่า บ้านคลองคูนให้ขับรถเลี้ยวซ้ายเข้าไป หากท่านขับรถยนต์มาตามเส้นถนนสายพหลโยธิน เมื่อมาถึงทางแยกเข้าอำเภอ โพทะเลให้เลี้ยวขวาเข้าอำเภอ โพทะเลผ่านทางเข้าวัดท้ายนํ้ามาออกอำเภอบางมูลนาคเส้นทางนี้จะอยู่กึ่งกลางระหว่างอำเภอ บางบุนนาคกับอำเภอตะพานหินเมื่อถึงบ้านคลองคูนให้เลี้ยวซ้ายเข้าวัดคลองคูน ถ้ามาจากอำเภอเมืองพิจิตรหรือตัวจังหวัดพิจิตรมาเส้นอำเภอตะพานหินเมื่อถึงบ้านคลองคูนให้เลี้ยวขวามือเข้าบ้านคลองคูน จากถนนสายหลักเข้าถึงวัดคลองคูนประมาณ๔-๕ กิโลเมตรหรือถ้าสงสัยเมื่อขับรถไปถึงย่านนั้นสอบถามจากชาวบ้านอีกทีหนึ่งคนบ้านชนบทไม่แล้งนํ้าใจเช่นคนเมือง หรือ ถ้านั่งรถไฟไปลงที่ ไปลงที่สถานีตะพานหินนั่งรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างหรือรถสามล้อเครื่องเข้าไปที่วัดคลองคูนก็ได้แต่ต้องตกลงราคากันให้แน่นอนก่อนขึ้นรถประเดี๋ยวจะมีปัญหาตามมาในภายหลัง หรือถ้าพกโทรศัพท์มือถือติตัวไปโทรสอบถามเส้นทางจากทางวัดโดยตรงที่เบอร์โทรศัพท์๐๕๖-๙๐๔๐๔๙ แล้วแต่ว่าท่านผู้อ่านสะดวกวิธีใหนก็เลือกใช้วิธีนั้น อัตตะประวัติ พระครูพิพิธธรรมาทร มีนามเดิมว่า หวั่น นามสกุล แพนนท์ เกิดเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๔๗๘ ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๑๑ คํ่าเดือน ๙ ปีกุน ที่บ้านคลองคูณ หมู่ที่ ๒ ตำบลคลองคูณ อำเภอ ตะพานหิน เมืองพิจิตร โยมบิดามีนามว่า นายหมึก เป็นหมอกลางบ้านหรือแพทย์แผนโบราณ โยมมารดาชื่อ นางขอด แพนนท์มีพี่น้องรวมทั้งหมด ๑๑คน ผู้ชาย ๕ คนผู้หญิง ๖คน ส่วนหลวงพ่อหวั่น ท่านเป็นลูกคนที่ ๔ ของครอบครัว ปฐมวัย เนื่องจากหลวงพ่อหวั่น ท่านเป็นเด็กชนบท ในวัยเด็กจึงต้องช่วยทางบ้านประกอบอาชีพตามความสามารถของเด็กที่จะพอทำได้ อาทิเลี้ยงไก่เลี้ยงหมูเท่าที่กำลังเด็กๆจะทำได้ เมื่อเติบโตสมควรแก่ได้รับการศึกษาหาวิชาความรู้ใส่ตัวจึงได้พาไปฝากเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดคลองคูณ จนจบชั้นประถมปีที่ ๔ แล้วออกมาช่วยพ่อแม่เลี้ยงวัวเลี้ยงควายเพื่อใช้ไถนา ในฐานะอาชีพทางบ้านเป็นเกษตรกรมาตั้งแต่ปู่ย่า ตายายจนกระทั่งอุปสมบท อุปสมบท เมื่ออายุย่างเข้าปีที่ ๒๑ พ่อแม่จึงจัดการนำไปฝากเป็นศิษย์วัดเพื่อเรียนท่องคำขานนาคแล้ววันมงคลแห่งชีวิตก็มาถึง วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๔๙๙ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๘ คํ่า เดือน ๖ ปีวอก ท่านจึงได้เข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในพัทธสีมาของวัดคลองคูณ โดยมี พระครูพิเศษ ธรรมรัตน์ วัดหาดแตงโม อำเภอ ตะพานหิน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระใบฎีกานนท์ วัดไผ่หลวง เป็นพระกรรมวาจาจารย์และ พระธรรมธร สง่า วัดไซลงโขน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับนามฉายาว่า “กุสลจิตโต” เมื่อบวชในพระศาสนาแล้วท่านตั้งใจแน่วแน่ในการสวดร้องท่องบ่นเจ็ดตำนานสิบสองตำนาน จนญาติโยมต่างร่วมอนุโมทนาบุญกับท่าน และญาติโยมชาวบ้านคลองคูณ ต้องการให้ท่านครองผ้ากาสาวพัตรอันเป็นหลักชัยในทางพระพุทธศาสนาไปนานๆประกอบกับท่านนั้นเป็นลูกหลานชาวบ้านนี้ ซึ่งก็ไม่ทำให้ญาติโยมผิดหวังเนื่องจากหลวงพ่อหวั่นแม้จะเป็นสัทธิวิหาริกคือหมายความว่า หลวงพ่อหวั่น ท่านเป็นผู้ก้าวเข้ามาใหม่ในอารามแห่งนี้ก็จริงอยู่แต่ท่านเป็นพระหนุ่มผู้ เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นยิ่งนัก เร่งเรียนทำวัตรสวดมนต์และศึกษาข้อวัตรปฏิบัติทาง พระศาสนาอันเป็นคำสอนของพระศาสดาสัมมาสมพุทธเจ้าโดยไม่ละความเพียรพยายามที่จะเรียนรู้จนญาติโยมศรัทธาทั้งหมู่บ้านเมื่อบวชได้ ๓ พรรษาจึงได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ดูแลพระบวชใหม่ภายในวัดหรือเรียกว่า แต่งตั้งเป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาสนั้นเอง เส้นทางการศึกษา พ.ศ.๒๔๘๗ เรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ของโรงเรียนวัดคลองคูณ พ.ศ.๒๕๐๒ สอบได้นักธรรมชั้นตรีของสำนักเรียน วัดคลองคูณ พ.ศ.๒๕๐๕ สอบได้นักธรรมชั้น โทของสำนักเรียน วัดคลองคูณ พ.ศ.๒๕๐๙ สอบนักธรรมชั้นเอก ของสำนักเรียน วัดคลองคูณ ตำแหน่ง สมณะศักดิ์ พ.ศ.๒๕๐๕ รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดคลองคูณ พ.ศ.๒๕๐๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจาจารย์(พระคู่สวด) พ.ศ.๒๕๑๖ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม พ.ศ.๒๕๒๐ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบล พ.ศ.๒๕๒๓ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.๒๕๒๕ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูพิพิธธรรมาทร พ.ศ.๒๕๓๒ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์ขึ้นเป็นพระครูชั้นโท ในพระราชทินนามเดิม พ.ศ.๒๕๔๖ได้รับเลื่อนสมณะศักดิ์ขึ้นเป็นพระครูชั้นเอกในราชทินนามเดิม สายอาคม หลวงพ่อหวั่น ท่านนับได้ว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพกราบไหว้ของคนในอำเภอ ตะพานหิน ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลังมากๆในเรื่องตะกรุดสาลิกา และตะกรุดมหาอุด ท่านได้เมตตาบอกกับผู้เสนอบทความว่า ท่านทำตะกรุดตั้งแต่พรรษายังไม่มากนักคือท่านได้ตำรามาจากของเก่าแก่ในวัดซึ่งเป็น ยันต์ที่หลวงปู่จันทร์ท่านได้เขียนเอาไว้และบอกสรรพคุณของตะกรุดแต่ละชนิดประกอบกับหลวงพ่อหวั่นท่านพอเข้าใจภาษาขอมได้อยู่ในระดับหนึ่ง จึงไม่ใช่สิ่งแปลกสำหรบท่านที่จะเขียนยันต์ลงในตะกรุด เมื่อลงตะกรุดแรกๆก็แจกให้กับญาติพี่น้องกันก่อนเพราะถือว่าในขณะนั้นท่านเป็นพระที่บวชใหม่ เมื่อญาติพี่น้องเอาไปใช้เกิดอภินิหารต่างๆในด้านเมตตาโชคลาภตลอดจนคงกระพันชาตรีตะกรุดพระหวั่นในยามนั้นจึงขยายวงกว้างแห่งความศรัทธาสู่ญาติโยมไปทั่ว ทำให้สมภารหนุ่มในขณะนั้นต้องสงเคราะห์ญาติโยมที่มาขอตะกรุดท่านตลอด ครูบาอาจารย์ในสายอาคมของท่านที่ไม่กล่าวถึงเลยไม่ได้เพราะเป็นบิดาของหลวงพ่อหวั่น โยมบิดาของหลวงพ่อหวั่นเป็นนักเล่นอาคม นับได้ว่าเป็นผู้ขมังเวทย์อีกคนหนึ่งในย่านคลองคูณ เพราะหมอหมึก โยมบิดาของท่านเป็นหมอแผนโบราณที่ชอบและฝักใฝ่ในเรื่องคาถาอาคมจนถือกันว่าขึ้นชั้นระดับแถวหน้าของชาวบ้านย่านคลองคูณเพราะเมื่อ ๕-๖๐ปีก่อนยังถือว่าบ้านคลองคูณยังอยู่ในถิ่นกันดารที่การเดินทางยังยากเข็ญอยู่นอกจากเกวียนหรือม้าแล้วก็ทางเรือเท่านั้นที่สะดวก ใครถูกผีเข้าเจ้าสิงก็ต้องวิ่งโร่ไปที่บ้านหมอหมึกและส่วนมากจะหายเสียด้วยจึงทำให้ชื่อเสียงลือกระฉ่อนออกไปในรัศมีกว้างในละแวกนั้น และย่านใกล้เคียงจึงมอบความไว้วางใจให้หมอหมึกเป็นผู้รักษาจะกินนํ้าหมากราดนํ้ามนต์ก็ไม่ขัดข้องเพราะ หมอหมึกถือว่าช่วยสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ร่วมโลกหายทุกข์คลายโศกกันคนแล้วคนเล่า หรือเจ็บไข้ได้ทุกข์ทางร่างกายและจิตใจก็วิ่งหาหมอหมึกให้ช่วยเจียดยา บรรเทาทุกข์เวทนา ด้วยที่หลวงพ่อหวั่นพบเห็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ของหมอหมึกผู้เป็นโยมพ่อหรือสมัยนี้เขาจะเรียกเสียโก้หรูว่าแพทย์แผนโบราณมาตั้งแต่เด็กๆจึงทำให้จิต ของหลวงพ่อหวั่น มีแต่ความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ผู้เกิดมาร่วมโลกเสมอด้วยญาติกันทุกคน |
ราคาเปิดประมูล | 1,100 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 1,200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 50 บาท |
วันเปิดประมูล | อ. - 04 ธ.ค. 2555 - 19:15.14 |
วันปิดประมูล | พฤ. - 06 ธ.ค. 2555 - 00:44.52 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...