พระสมเด็จนาคปรก ปสิทธิเม คุณนรฯ ธมฺมวิตกฺโก - webpra

ประมูล หมวด:หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค – หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค – หลวงพ่อโอด วัดจันเสน

พระสมเด็จนาคปรก ปสิทธิเม คุณนรฯ ธมฺมวิตกฺโก

พระสมเด็จนาคปรก ปสิทธิเม คุณนรฯ ธมฺมวิตกฺโก พระสมเด็จนาคปรก ปสิทธิเม คุณนรฯ ธมฺมวิตกฺโก พระสมเด็จนาคปรก ปสิทธิเม คุณนรฯ ธมฺมวิตกฺโก พระสมเด็จนาคปรก ปสิทธิเม คุณนรฯ ธมฺมวิตกฺโก พระสมเด็จนาคปรก ปสิทธิเม คุณนรฯ ธมฺมวิตกฺโก
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระสมเด็จนาคปรก ปสิทธิเม คุณนรฯ ธมฺมวิตกฺโก
รายละเอียดพระสมเด็จนาคปรก ปสิทธิเม คุณนรฯ ธมฺมวิตกฺโก

ประวัติ เจ้าคุณนรฯ ธมฺมวิตกฺโก ภิกขุ

พระคุณเจ้า ธมฺวิตกฺโก หรือหลวงพ่อนรรัตน์ ฯ นั้น ในความรู้สึกของภิกษุสามเณรรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ในวัดนี้หรือวัดไหนก็ตาม ตลอดทั้งบุคคลภายนอกทั่งไปที่มีความสนใจในตัวท่าน ต่างก็มั่นใจและเลื่อมใสในคุณธรรมและความเป็นอยู่ของตัวท่าน บางคนก็พูดกันไปในลักษณะว่าท่านเป็นอริยะ คือผู้ประเสริฐด้วยการประพฤติบัติ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ดำเนินไปตรงจุดที่พระพุทะองค์ทรงสอนไว้ทุกประการ ในด้านส่วนตัว ท่านเป็นผู้ที่รักสันโดษ ยินดีในที่สงบสงัด ไม่รับรู้ในอิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์ใด ๆ คือโลกธรรมไม่ครอบงำท่านได้ มีความประพฤติสม่ำเสมอ บำเพ็ญกิจวัตรเป็นประจำไม่ทำให้ขาดตกบกพร่อง เช่นการลงโบสถ์สวดมนต์ทำวัตรเป็นต้น ท่านถือเป็นกิจวัตรที่สำคัญ เวลาท่านสวดมนต์มีเสียงนำ ท่านจำแม่น จำได้มาก เป็นหลักประกันของภิกษุสามเณรได้ว่า ถึงเวลา ๒ โมงเช้าก็ดี ถึงเวลา ๕ โมงเย็นก็ดี จะต้องได้พบ ได้เห็นท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ อย่างแน่นอน
ที่เรียกท่านว่า ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ นั้น มีบางคนยังเข้าใจผิด คิดว่าท่านได้รับแต่งตั้งเป็นชั้นเจ้าคุณทางพระสงฆ์ (อย่างที่เห็น เดี๋ยวองค์นั้นได้เป็นพระครู เดี๋ยวองค์นี้ได้เป็นเจ้าคุณ เป็นต้น) ความจริงท่านไม่ได้รับตำแหน่งใด ๆ จากทางคณะสงฆ์เลย และถึงจะได้ ท่านก็ไม่รับ เพราะท่านว่า “พอแล้ว” ท่านได้รับมามากแล้ว คือท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นถึง พระยานรรัตนราชมานิต ใกล้ชิดเจ้าเหนือหัว ฯ เมื่อท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ พระยานรรัตนราชมานิต นั้น อายุท่านยังไม่เต็ม ๒๕ เลย และท่านเคยเล่าให้อาตมภาพฟังว่า “ในหลวงรับสั่งว่า ข้าจะให้เจ้าเป็นถึง เจ้าพระยาด้วยซ้ำไป แต่เจ้าอายุไม่ถึง ๓๐ “ ฯ เพราะฉะนั้น ที่ส่วนมากเรียกท่านว่า ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ นั้น ก็คือเอายศชั้นพระยาของท่านซึ่งได้รับพระราชทานไว้เมื่อก่อนท่านบวช มาใช้เรียกว่า ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ (ท่านบวชเมื่ออายุย่าง ๒๙ ปี)
ท่านชอบศึกษาทางจิต อบรมฝึกฝนทางกระแสจิตมามาก จึงมีจิตใจเข้มแข็งและอดทนเป็นยอด ฯ แม้ท่านจะได้รับทุกขเวทนามากมายเพียงใดท่านก็มิได้แสดงอาการอะไรให้ผิดแปลกไปจากธรรมดา คงรักษาปกติกิริยาไว้ได้อย่างอัศจรรย์ จนกระทั่งถึงวาระสุดท้าย ซึ่งทุกคนที่รู้ที่เห็น และได้ทราบ ท่านก็จะต้องคิดเห็นว่า ท่านนี้ไม่เหมือนใคร และใครก็ไม่เหมือนท่าน ในด้านความอดทนนับว่าเป็นยอด ท่านใช้พลังจิตของท่านเข้าต่อสู้กับศัตรูคือโรคภัยไข้เจ็บที่มาเบียดเบียนท่าน ให้หายไปได้โดยมิต้องใช้ยารักษา อาตมภาพเคยเรียนถามท่านว่า ได้ทราบว่า ท่านเคยเป็นโรคมะเร็งกรามช้าง แล้วทำอย่างไรจึงหายได้ ท่านได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า เคยเป็นโรคมะเร็งกรามช้างจริง เป็นทั้งสองข้าง กินแก้มทะลุเน่าเฟะ ฟันร่วง เวลาฉันน้ำ ๆ จะไหลออกทางแก้ม ได้เรียนถามท่านว่า เป็นอยู่นานเท่าไร และได้หยุดลงโบสถ์หรือเปล่า ท่านว่าเป็นอยู่ประมาณเกือบ ๒ เดือน (เป็นก่อน พ.ศ. ๘๐) และระหว่างที่เป็นอยู่ก็มิได้หยุดลงโบสถ์ คงลงโบสถ์ทำวัตรเป็นประจำ จนเจ้าพระคุณสมเด็จพระอุปัชฌาย์ท่านว่า “นี่ คุณ ๆ อย่าทรมานสังขารให้มากนักเลย ให้หมอเขาดูเสียบ้างเถอะ” แต่ท่านก็มิได้ให้หมอที่ไหนดูแลรักษา คงใช้รักษาโรคด้วยพลังจิตของท่าน จนโรคร้ายหายสนิทได้อย่างอัศจรรย์ ฯ
ท่านเป็นอยู่อย่างปกติ และเป็นอยู่อย่างธรรมชาติจริง ๆ จะมีใครบ้างไหมที่มีความเป็นอยู่เหมือนท่าน เช่น บนกุฏิของท่านไม่มีแสงสว่างใช้เลย ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีตะเกียง ไม่มีแม้กระทั่งแสงเทียน ท่านอยู่อย่างธรรมชาติจริง ๆ ท่านว่า แสงสว่างของโลกเขาส่องมาให้แล้ว ตั้งแต่ ๖ โมงเช้า ถึง ๖ โมงเย็น ก็มีแสงพระอาทิตย์ ถ้าจะต้องการอ่านหนังสือก็อ่านเสียในตอนนี้ ไม่จำเป็นจะต้องมาจุดไฟอ่านในเวลากลางคืน ตอนกลางคืนท่านอยู่มืด ๆ นั่งเข้าที่เจริญสมาธิภาวนาตามอัธยาศัย ฯ
อนึ่ง ภายในกุฏิ ก. ๕ ที่ท่านอยู่อาศัยมาตั้งแต่ต้น ก็มีสิ่งของประดับประดาไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือนท่าน คือสิ่งประดับกุฏิของท่านมีหัวกะโหลก โครงกระดูก และอีกสิ่งที่ท่านชอบและใช้อยู่เสมอก็คือหีบศพ ซึ่งท่านได้สั่งญาติของท่านต่อเตรียมไว้สำหรับท่าน และตั้งอยู่ในกุฏินั้น ท่านเคยลงไปนอนในหีบศพนั้นเป็นบางโอกาส ท่านเคยเล่าว่า เมื่อตอนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๕ – ๒๔๘๘ เวลามีเรือบินมาโจมตีพระนคร เปิดหวอหลบภัย ท่านจะลงไปนอนในหีบศพนั้นทุกครั้ง ท่านว่า ถ้าลูกระเบิดตกลงมาตรงนี้ก็ดีทีเดียว ไม่ต้องให้ใครมายกลงหีบ เพราะท่านนอนอยู่ในหีบแล้ว ฯ
เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๕ อุบาสิกาปรึกษ์ นาคสารน์ เป็นชีอยู่สำนักสงบจิต วัดปทุมวนาราม ได้มาปรารภกับอาตมภาพว่า อยากจะได้รูปโครงกระดูกไว้พิจารณากรรมฐานบ้าง อาตมภาพก็ไปเรียนขออนุญาตท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ขออนุญาตถ่ายรูปโครงกระดูกของท่าน ซึ่งท่านก็อนุญาตให้ถ่ายได้ตามประสงค์ ท่านได้เปิดประตูให้เข้าไปยกเอาโครงกระดูกนั้นออกมาตั้งอยู่ที่หน้าประตู เอาผ้าดำบังด้านหลัง ตั้งกล้องถ่ายรูปถ่ายภาพที่ประสงค์ ครั้นถ่ายเสร็จแล้ว ท่านได้กรุณาช่วยจับ ช่วยยกเอาเข้าไปตั้งไว้ตามเดิมด้วยความเมตตาอย่างยิ่ง
ท่านเป็นพระที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามาก ยิ่งมาในระยะหลัง ก่อนที่ท่านจะสิ้นไม่กี่เดือน ศรัทธาปสาทะของคนภายนอกยิ่งหนักขึ้น จะเห็นได้ว่า ตอนเย็น ๆ มักจะมีคนมาหาท่าน มาเยี่ยมท่าน มาขอพร มาขอน้ำมนต์ท่าน อย่างผิดปกติ
แม้สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ก็ทรงมีพระราชศรัทธาปสาทะในพระคุณท่าน ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยี่ยมท่านเป็นการส่วนพระองค์ถึง ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๑๓ เวลาประมาณ ๑๘ นาฬิกา สมเด็จ ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาที่พระอุโบสถ ได้เสด็จประทับและตรัสถามข้อธรรมบางประการกับพระเดชพระคุณท่านเจ้าอาวาส และท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ เป็นเวลานานประมาณชั่วโมงเศษ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับ ฯ ครั้งที่ ๒ วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๓ สมเด็จ ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาพร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าชาย ฯ ได้ตรัสถามถึงเรื่องต่าง ๆ และข้อธรรมที่ทรงสนพระทัยกับท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ พอสมควรแก่เวลาแล้ว จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับ นับว่าสมเด็จ ฯ ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสและทรงสนพระทัยในข้อวัตรปฏิบัติของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ เป็นกรณีพิเศษ
แม้เมื่อท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ได้ถึงมรณภาพดับขันธ์ล่วงไปแล้ว เมื่อวันศุกร์ที่ ๘ มกราคม ๒๕๑๔ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ก็ได้ทรงมีพระเมตตากรุณา เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ อีก ๒ ครั้ง ครั้งแรก ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๒ วัน คือวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๑๔ เวลาประมาณ ๑๖ นาฬิกา สมเด็จ ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธี มีพระสงฆ์ ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์ จบแล้ว พระราชาคณะ ถวายพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ ครั้นจบแล้ว เสด็จพระราชดำเนินกลับ วันรุ่งขึ้น ๓ มีนาคม สมเด็จ ฯ มิได้เสด็จพระราชดำเนินมา ทรงให้ผู้แทนพระองค์มาทรงประกอบพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล มีถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ที่ได้รับอาราธนาสวดพระพุทธมนต์ไว้ในวันก่อน
อนึ่งในวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๑๔ สมเด็จ ฯ ก็ได้ทรงมีพระราชศรัทธาปสาทะ เสด็จพระราชดำเนินมาพร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าชาย ฯ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นการส่วนพระองค์ ทรงประกอบพิธีวันเดียว คืออาราธนาพระสงฆ์เท่าจำนวน ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์ จบแล้ว รับพระราชทานฉันภัตตาหารเพล ทรงประเคนไทยธรรม เสร็จแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ และตระกูล จินตยานนท์ เป็นล้นพ้น
ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ท่านได้รับอาราธนาให้เป็นพระอาจารย์เข้าทำพิธีปลุกเสกเครื่องรางของขลังหลายครั้ง ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗ ทางวัดได้จัดงานบำเพ็ญกุศลฉลองอายุเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเถระ) ในวาระที่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ มีชนมายุครบ ๗๑ ปี ในงานนี้มีสร้างของเป็นที่ระลึกคือ เหรียญสมเด็จสรงน้ำ เป็นรูปใบเสมารมดำ และพระผงสมเด็จสรงน้ำ บรรจุเส้นเกศาของเจ้าพระคุณสมเด็จด้วย
เรื่องการสร้างพระผงสมเด็จสรงน้ำนี้ มีพระเดชพระคุณท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เป็นแม่งานควบคุมการสร้าง ตั้งแต่ผสมผง ตำผง และพิมพ์องค์พระ จำนวนที่สร้างในครั้งนั้น ประมาณว่าบรรจุเต็มบาตรเกือบ ๑๐ บาตร ได้นิมนต์พระเถระผู้ใหญ่มาในพิธีเป็นจำนวนมาก พิธีปลุกเสกเริ่มตอนค่ำไปจนเกือบตลอดรุ่ง มีเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศ ฯ เป็นองค์ประธานปลุกเสก ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ท่านได้เข้าร่วมพิธีปลุกเสกด้วยเป็นครั้งแรก (พระผงรุ่นนี้ก็เป็นที่นิยมกัน หากันตลอดมาจนถึงเวลานี้) ครั้งที่ ๒ ท่านนั่งปลุกเสกพระผงสมเด็จสรงน้ำรุ่น ๒ (รุ่นเกาหลี) เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒ สงครามเกาหลีปีแรก สำหรับแจกทหารหาญ ครั้งนี้ท่านได้นั่งบนธรรมาสน์เล็ก ชิดเสาร์โบสถ์ หันหน้าไปทางทิศเหนือ ได้ทำพิธีปลุกเสกองค์เดียวถึง ๔ ทุ่มเศษ จึงเสร็จพิธี
ครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นพิธีบริกรรมปลุกเสกครั้งสำคัญ เพราะจัดทำกันตลอดรุ่ง วัตถุมงคลที่สร้างขึ้นในครั้งนั้น มีพระกริ่งใหญ่ – เล็ก ขันน้ำมนต์ และเหรียญสมเด็จ พ.ฆ.อ. รูปไข่ ในครั้งนี้มีพระคณาจารย์มาก นั่งปลุกเสกสับเปลี่ยนกันตลอดรุ่ง แต่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ท่านนั่งชิดประตูหน้าโบสถ์ด้านขวาองค์เดียว ไม่สับเปลี่ยนกับองค์ใดจนตลอดรุ่ง โดยมิได้ลุกขึ้นเลย (ทีรูปถ่าย ๒รูป ที่อาตมภาพถ่ายไว้ในครั้งนั้นให้ดูด้วย) เรื่องนั่งทนยืนทนของท่านเห็นจะไม่มีใครเกิน
ปฏิปทาอีกข้อหนึ่งของท่าน ที่นำความเชื่อความเลื่อมใสให้เกิดขึ้นแก่สาธุชนทั่วไป ที่ได้รู้ได้เห็น ได้แก่การบำเพ็ญศาสนกิจในวันพิเศษ คือ วันมาฆบูชา วิสาขบูชาและวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีรธาตุ ๓ สมัยกาลนี้ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ท่านจะบำเพ็ญมหากุศลเป็นกรณีพิเศษ คือเมื่อท่านเดินเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ เสร็จแล้ว ก็เข้าสู่ภายในพระอุโบสถ เริ่มพิธีสวดมนต์ทำวัตรค่ำ และต่อจากนั้น ท่านจะนั่งฟังเทศน์ฟังสวดบรรยายธรรม ตั้งแต่หัวค่ำไปจนตลอดรุ่งสว่าง ไม่เคยลุกขึ้นจากที่เลย ท่านได้ปฏิบัติเช่นนี้มาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว เวลาที่ท่านนั่งอยู่กับที่นั้น เห็นมียุงมาเกาะแขนท่านเต็มไปหมด อาตมภาพเคยเอาผ้าเช็ดหน้าไปโบกไล่ยุงให้ท่าน ท่านพูดว่า “ไม่ต้องดอก ปล่อยให้เขากินให้อิ่ม วันนี้สละเลือดเนื้อเป็นพุทธบูชา” นับว่าท่านเป็นยอดในการอดทน เสียสละ และยอดกตัญญู
ท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้กรุณาเล่าให้อาตมภาพฟังว่า เมื่อถึงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน อันเป็นวันสวรรคตของล้นเกล้า รัชกาลที่ ๖ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ท่านจะงดฉันอาหาร ๑ วัน และนั่งทำสมาธิ เพื่อน้อมจิตอุทิศบุญกุศลถวายล้นเกล้า ฯ เจ้าพระเดชนายพระคุณของท่าน ตั้งแต่หัวค่ำ ไปจนตลอดรุ่ง ท่านทำเป็นประจำทุก ๆ ปี ที่ถึงวาระ และได้สั่งให้ทางญาติของท่านทำทอฟฟี่มาถวายพระวัดเทพ ฯ ด้วยเป็นประจำ นับว่าท่านเป็นยอดกตัญญู หาได้ยาก
เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ มีอายุครบ ๖ รอบแล้ว อาตมภาพได้ขออนุญาตท่านเพื่อจัดสร้างเหรียญที่ระลึกอายุครบ ๖ รอบเป็นรุ่นพิเศษ วัตถุประสงค์เพื่อจะรวบรวมปัจจัยไปสมทบสร้างโบสถ์วัดอุทยาน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งยังกำลังก่อสร้างค้างอยู่ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เมื่อท่านทราบวัตถุประสงค์เช่นนี้แล้ว จึงอนุมัติให้จัดสร้างได้ และท่านยังบอกว่า ท่านก็ไม่เคยสร้างโบสถ์เหมือนกัน
เหรียญที่ระลึกอายุ ๖ รอบรุ่นพิเศษ ๑ นั้น มีลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ครึ่งองค์เห็นด้านซ้าย มีใหญ่ มีเล็ก สร้างจากกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ และท่านได้กรุณาปลุกเสกให้เมื่อวันเสาร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๕ ตรงกับวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๑๓ เหรียญรุ่นนี้มีเรียกกันหลายอย่าง เรียกว่ารุ่นเสาร์ ๕ บ้าง ว่ารุ่น ๖ รอบบ้าง บางคนเรียกเหรียญข้าง เพราะเห็นด้านข้าง
อันที่จริงวัดอุทยานนี้ก็เคยได้รับอุปการะจากพระคุณท่านมาตั้งแต่ต้นแล้ว คือเริ่มแต่งานวางศิลาฤกษ์สร้างโบสถ์มาแล้ว ในครั้งนั้น พ.ศ. ๒๕๑๑ อาตมภาพได้จัดสร้างพระผงสมเด็จอุทยานขึ้น (แบบสมเด็จวัดระฆัง) มีจำนวน ๕,๐๐๐ องค์ และมีพระแบบอื่นอีกบ้าง รวมกันประมาณหมื่นองค์ เมื่อจัดสร้างขึ้นเรียบร้อย ก็บรรจุหีบห่อ แล้วได้ขนเข้าไปในโบสถ์ วางไว้บนชุกชี แล้ววงสายสิญจน์โดยรอบ ได้มอบกลุ่มสายสิญจน์ถวายท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ เรียนความประสงค์ให้ท่านทราบ ท่านได้กรุณาทำ
ราคาเปิดประมูล399 บาท
ราคาปัจจุบัน409 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลศ. - 09 พ.ย. 2555 - 05:13.40
วันปิดประมูล พฤ. - 22 พ.ย. 2555 - 09:55.38 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 409 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
isoda (10) 58.11.5.41
409 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พ. - 21 พ.ย. 2555 - 09:55.38
กำลังโหลด...
Top