ราคาวัดใจ....เหรียญพระอาจารย์ผัน วัดอินทาราม นนทบุรี เคาะเดียว - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540

ราคาวัดใจ....เหรียญพระอาจารย์ผัน วัดอินทาราม นนทบุรี เคาะเดียว

ราคาวัดใจ....เหรียญพระอาจารย์ผัน วัดอินทาราม นนทบุรี เคาะเดียว ราคาวัดใจ....เหรียญพระอาจารย์ผัน วัดอินทาราม นนทบุรี เคาะเดียว
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง ราคาวัดใจ....เหรียญพระอาจารย์ผัน วัดอินทาราม นนทบุรี เคาะเดียว
รายละเอียดประวัติ ย่อ อจ.ผัน เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๘๕ ที่บ้านเลขที่ ๑๕ หมู่ ๔ ต.ลาดหลุมแก้ว อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี เนื้อชาติไทย สัญชาติไทย โยมบิดาชื่อ นาดี โยมมารดาชื่อ นางปุย นามสกุล สวยที่สุด ในวันเด็กได้เรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดทองสะอาด จนจบชั้นประถมปีที่ ๔ เมื่อ ๒๔๗๒ วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๔๗๗ ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดสะพานสูง ต.คลองพระอุดม อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โดยมีพระสุเมธาจารย์ (วอน) วัดปรมัยยิกาวาส อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูโสภณศาสนกิจ (กลิ่น)วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสุ่น วัดศาลากุล อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม จนได้นักธรรมตรี ๒๔๘๐ พร้อมกันนั้นได้ร่ำเรียนวิชาเวทมนตร์คถาต่างๆ จากหลวงปู่กลิ่น ซึ่งมีวิชาลงตะกรุดโสฬด วิชาทำผงสร้างพระปิดตาตลอดจนการทำน้ำพุทธมนต์ให้ศักดิ์สิทธิ์ฯ ในขณะนั้นที่วัดสะพานสูงมี หลวงพ่อทองสุขและหลวงพ่อเพ็ง เป็นศิษย์รุ่นพี่ บวชเรียนมาก่อน ต้นปี ๒๔๙๐ ทางวัดอินทาราม ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดสะพานสูงนัก ผืนแผ่นดินเดียวกันแต่คนละคุ้งน้ำ ขาดเจ้าอาวาสปกครองวัด ท่านเจ้าคณะอำเภอปากเกร็ดเห็นว่าทางวัดสะพานสูงมีพระภิกษุที่ทรงคุณวุฒิหลาย รูปจึงขอให้หลวงปู่กลิ่น จัดศิษย์ให้หนึ่งรูปมาดูแล วัดอินทาราม ในขณะนั้น หลวงพ่อทองสุขและหลวงพ่อเพ็ง เป็นกำลังสำคัญในการเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สอนได้ทั้งชั้นตรี, โท , เอก จึงได้ให้ศิษย์คนเล็กคือ หลวงพ่อผัน ไปครองวัดอินทาราม ก่อนไปท่านได้ให้นาฬิกาปลุกเป็นที่ระลึก ๑ เรือน พร้อมทั้งให้โอวาทว่า \"ขอให้ท่านเที่ยงตรงดุจดังนาฬิกา วัดที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๐ ก็มีหนังสือ แต่งตั้งเจ้าอาวาสแก่ หลวงพ่อผัน ตามพระราชบัญญติคณะสงฆ์ วัตถุมงคลที่หลวงพ่อผัน ได้สร้าง ๑. ตะกรุดโทนยันต์โสฬส ๒. พระสมเด็จปกโพธิ์ ๓. ล็อกเก็ตเป็นภาพถ่าย ๔. เหรียญรูปเหมือน ๕. พระปิดตา ศิษย์สายวัดสะพานสูง ส่วนมากจะมีชื่อเสียงโด่งดังทางสร้างพระปิดตา โดยได้ตำราวิธีการทำผงตลอดจนการปลุกเสกมาจากปรมาจารย์ หลวงปู่เอี่ยม ผู้รับทอดต่อมาคือหลวงปู่กลิ่น จากนั้นเป็นหลวงพ่อทองสุข และหลวงพ่อผัน สำหรับพระปิดตา หลวงพ่อผันท่านได้สร้างไว้เพียง ๒พิมพ์เท่านั้น คือ พิมพ์ใหญ่ และ พิมพ์เล็ก จำนวนไม่กี่พันองค์ พิมพ์ใหญ่นั้น เลียนแบบของ อจ.คือ หลวงปู่กลิ่น หลวงพ่อผันท่านไม่เคยสร้างพระปิดตามาก่อนเลย จวบจนใกล้อายุครบ๖๐ ปี ต้นปี ๒๕๑๗ ท่านจึงได้ให้พระมหาด้วง, พระพิภพ สุภเจริญผล และพระเณรภายในวัดช่วยกันตำผงปูน ผงใบลาน ผสมน้ำมันตังอิ๋ว จากนั้นท่านได้นำผงพุทธคุณของหลวงปู่กลิ่นและผงพุทธคุณที่ท่านได้ทำไว้นำมา ผสม แม่พิมพ์ หลวงพ่อผัน ท่านมีพระปิดตาของหลวงปู่กลิ่น อยู่องค์หนึ่งได้ให้พระมหาด้วง ทำแบบแม่พิมพ์ พระมหาด้วง ได้นำเรียนไขใส่กล่องไม้ขีด แล้วใช้พระปิดตาแม่แบบกดลงไปทั้งหน้าหลัง ข้างละกล่อง จากนั้นจึงนำผงที่เตรียมไว้มากดลงในแม่พิมพ์เทียนไข เมื่อองค์พระแห้งตัวจึงมีขนาดย่อกว่าองค์แม่บบทุกองค์ สร้างครั้งแรกปลุกเสกในพรรษา พ.ศ. ๒๕๑๗ เนื้อพระ ออกสีดำเข้ม เพราะใส่ผงใบลานลงไปเป็นจำนวนมาก สร้างได้พิมพ์ใหญ่ ๑,๐๐๐ องค์ พิมพ์เล็ก๑,๕๐๐ องค์ เมื่อผึ่งลมจนแห้งดีแล้วจึงจุ่มรัก ปิดทองไว้ที่พระอุระขององค์พระทุกองค์ทองที่ปิดครั้งแรกนี้เป็นทองนอกคุณภาพ ไม่ใคร่ดีจะหนาและไม่แวววาว แต่ติดแน่นกับรัก และในการสร้างพระปิดตาครั้งแรกนี้พระเณรที่ช่วยกันทั้งหมดประมาณ ๒๐ รูป ได้ขอชานหมากหลวงพ่อ พิมพ์พระปิดตาพิมพ์ใหญ่ เนื้อชานหมาก ไว้ ๒๐ องค์ จุ่มรักปิดทองที่พระอุระไว้ใช้กันเอง จากนั้น หลวงพ่อผัน ก็ปลุกเสกตลอด ๓ เดือน ครั้งออกพรรษาแล้ว ประชาชนผู้ศรัทธาต่างก็มาขอจากหลวงพ่อไปจนหมด ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้ก็มาขอให้หลวงพ่อทำอีก หลวงพ่อท่านขัดศรัทธาไม่ได้จึงให้ศิษย์ช่วยทำขึ้นอีก สร้างครั้งที่สองปลุกเสกนอกพรรษา ๒๕๑๗ เนื้อพระ ออกสีเทาเพราะผลใบลานเหลือน้อย สร้างพระปิดตาพิมพ์ใหญ่ได้ ๑,๐๐๐ องคื พิมพ์เล็ก ๑,๕๐๐ องค์ จุ่มรักปิดทองเหมือนครั้งแรก คราวนี้ทองคำเปลวที่ปิดที่พระอุระเป็นทองร้อยเปอร์เซ็นต์ เบาบาง องค์ที่ไม่ได้ผ่านการจับต้องทองจะสุกปลั่ง ส่วนองค์ที่ผ่านการใช้ทองจะหลุดหายไปเลยหรือเป็นรอยจางๆ ลักษณะพระปิดตาพิมพ์ใหญ่ เป็นพระปิดตาลอยองค์ นั่งขัดสมาธิราบขาขวาอยู่บนขาซ้าย มือที่ปิดตายกสูงระดับหน้าอกศอกกาง มือปิดตาเสมอหน้าผากเห็นรอยปลายมือทั้งสอง องค์พระชะลูดพระเศียรโล้น ท้องป่องเล็กน้อย
ราคาเปิดประมูล20 บาท
ราคาปัจจุบัน50 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ30 บาท
วันเปิดประมูลอา. - 28 ต.ค. 2555 - 11:58.26
วันปิดประมูล ศ. - 02 พ.ย. 2555 - 17:09.10 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 50 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ30 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
tana02 (33) (-3) 124.122.8.121
50 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พฤ. - 01 พ.ย. 2555 - 17:09.10
กำลังโหลด...
Top