ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
เหรียญพระนิรันตราย (เจริญยศ) วัดราชประดิษฐ์ ปี 2515 สร้างพร้อมกริ่งโสฬส ด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธ
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญพระนิรันตราย (เจริญยศ) วัดราชประดิษฐ์ ปี 2515 สร้างพร้อมกริ่งโสฬส ด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธ |
---|---|
รายละเอียด | เหรียญพระนิรันตราย (เจริญยศ) วัดราชประดิษฐ์ ปี 2515 สร้างพร้อมกริ่งโสฬส ด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธย่อ "มปร" ซึ่งเป็นพระนามย่อของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 4 พระเกจิอาจารย์ที่มานั่งปรกปลุกเสกมากถึง 108 รูป(เลี่ยมเดิม) ปล๊อกธรรมดา*** วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราช วรวิหาร” เป็นอีกหนึ่ง “พระอารามหลวงชั้นเอก” ที่มีความสำคัญและโดดเด่นถึง 2 ประการ คือ ประการแรก เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นเป็นพระอารามหลวงของพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณีว่า บนผืนแผ่นดินไทยเมืองใดเป็นเมืองหลวงจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัดคือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และ วัดราชประดิษฐ์ โดยจะเห็นได้ว่าที่ กรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา) และ สุโขทัย, สวรรคโลก, พิษณุโลก ก็มีวัดทั้ง 3 ชื่อนี้ ประการที่สอง เพื่ออุทิศถวายแด่คณะธรรมยุตนิกายโดยเฉพาะคือเมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช พระองค์ทรงเป็นหัวหน้านำพระสงฆ์ชำระข้อปฏิบัติก่อตั้ง คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตนิกาย วัดราชประดิษฐ์ฯ จึงนับเป็นพระอารามแห่งแรกของคณะธรรมยุต ซึ่งจากความสำคัญของวัดราชประดิษฐ์ฯ ทั้งสองประการนี้ พระมหากษัตริย์ ในรัชกาลต่อ ๆ มาก็ทรงรับวัดราชประดิษฐ์ฯ เข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ทุกพระองค์สืบมากระทั่งทุกวันนี้ วัดราชประดิษฐ์ฯ จึงเป็นวัดที่มีความสำคัญใน พระมหาจักรีบรมราชวงศ์ อีกวัดหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาวัดราชประดิษฐ์ฯ ขึ้นเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2407 และในปี พ.ศ. 2515 นับเป็นศุภวาระมงคลวโรกาสที่วัดราชประดิษฐ์ฯ ได้สถิตสถาพรมีอายุ ครบ 108 ปี หากเป็นคนก็จะเรียกว่ามีอายุครบ 9 รอบนักษัตร พอดี ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม อุฑาฒิมมหาเถร) อ่านว่า “อุดาทิมะมะหาเถระ” เจ้าอาวาสในขณะนั้นเมื่อครั้งยังดำรง สมณศักดิ์ที่ “พระธรรมปาโมกข์” ได้ประชุมปรึกษาหารือพระภิกษุและสามเณรทั้งวัดโดยต่างมีความเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจัดงานสมโภชตามโบราณราชประเพณีประกอบกับวัดราชประดิษฐ์ฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก จึงได้ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณให้งานสมโภชครบ 108 ปี ครั้งนี้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์พร้อมเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีอีกด้วย โดยทางวัดได้กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 16-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 และมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) สมโภชพระอารามหลวงที่มีอายุครบ 108 ปี (2) สมโภช “พระนิรันตราย” องค์ประจำวัดซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานประจำวัดธรรมยุตตามพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ สมเด็จพระบรมชนกนาถ ซึ่งองค์ของวัดราชประดิษฐ์ฯ นี้มีหมายเลขลำดับที่ 14 และต่อมาได้ถูกโจรใจบาปทำการโจรกรรมไป แต่ไม่นานนักก็ติดตามกลับคืนมาได้โดยฝีมือของตำรวจภายใต้การควบคุมของ พล.ต.ต.มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น ผู้บังคับการตำรวจนครบาลเหนือ (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) (3) จัดสร้าง “พระนิรันตราย” (ขนาดบูชา) พร้อม “พระกริ่งนิรันตราย” และ “พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราช (สา)” หรือ “พระกริ่งโสฬส รุ่น 2” (รุ่น แรกสร้างเมื่อครั้งจัดงานสมโภชครบ 100 ปีวัด พ.ศ. 2507) นอกจากนั้นยังมี “เหรียญนิรันตราย” อีก 2 แบบคือ “พัดยศ” หรือ “เจริญยศ” และแบบ “เสมา” หรือ “เจริญลาภ” รวมทั้ง “พระกริ่งนิรันตรายขนาดเล็ก” และ “พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4” พร้อม “ล็อกเกตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” ขณะทรงถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแก่ “สมเด็จพระมหาวีรวงศ์” เพื่อให้พุทธศาสนิกชนนำไปสักการบูชาโดยรายได้นำบูรณ ปฏิสังขรณ์วัดราชประดิษฐ์ฯ ที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา สำหรับการจัดสร้างวัตถุมงคลนั้นทางคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย “สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม)” เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระธรรมปาโมกข์” เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และ พลเอกประภาส จารุเสถียร รองหัวหน้าคณะปฏิวัติในขณะนั้นเป็นประธานฝ่ายฆราวาสโดยกราบบังคมทูลอัญเชิญเชิญเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเสด็จฯ เททองหล่อ “พระนิรันตราย” (ขนาดบูชา) เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2515 จำนวน 908 องค์ ตามจำนวนสั่งจองจากนั้นจึงนำทองชนวนที่เหลือจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเททองไปจัดสร้าง “พระกริ่งนิรันตราย ทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก, พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราชสา (กริ่งโสฬส)” และ “เหรียญพระนิรันตราย” ทั้งสองแบบ ดังกล่าวข้างต้นอย่างละ 50,000 องค์ เท่ากันยกเว้น “พระบรมรูปรัชกาลที่ 4” ประทับยืนแบบเดียวกับองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ใน ปราสาทพระจอมเกล้า (ปราสาททรงพระปรางค์) สร้างจำนวน 108 องค์ และ “ล็อกเกต” จำนวนหลักร้อยเช่นกันซึ่งหลังการสร้างวัตถุมงคลเสร็จแล้วได้จัดทำ พิธีพุทธาภิเษกและมังคลาภิเษก ภายใน พระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ฯ ระหว่างวันที่ 16-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 รวม 9 วัน 9 คืน ซึ่งตรงกับช่วงวันสถาปนาวัดพอดีโดยนิมนต์พระคณา จารย์ผู้ทรงวิทยาคุณในขณะนั้น ทั่วพระราชอาณาจักร เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก คืนละ 12 รูป รวมทั้งหมด 108 รูป เท่ากับอายุของวัดราชประดิษฐ์ฯ ทุกประการโดยพระคณาจารย์ที่ทรงวิทยาคุณได้แก่ หลวงปู่แหวนวัดดอยแม่ปั๋ง, หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, (ปกติแล้วหลวงปู่ทิมจะไม่ออกจากวัดละหารไร่ไปร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่อื่น ๆ โดยเด็ดขาด จึงนับว่าพิธีในครั้งนี้เป็นกรณีที่พิเศษจริง ๆ โดยมีภาพถ่ายยืนยัน) หลวงปู่คร่ำวัดวังหว้า, หลวงปู่ดู่วัดสะแก, หลวงปู่เทียมวัดกษัตราธิราช, หลวงพ่อโชติ (ระลึกชาติ), หลวงปู่ขาววัดถ้ำกองเพล, หลวงปู่เทศก์วัดหินหมากเป้ง, หลวงปู่จันทร์วัดเลยหลง, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อมุ่ยวัดดอนไร่, หลวงพ่อถิรวัดป่าเลไลยก์, หลวงพ่อกี๋วัดหูช้าง, หลวงพ่อแพวัดพิกุลทอง, หลวงพ่อหลิววัดไร่แตงทอง, หลวงตามหาบัววัดป่าบ้านตาด ฯลฯ เป็นต้น. วัตถุมงคลชุดฉลอง ๑๐๘ ปีวัดราชประดิษฐ์ฯนี้ส่วนใหญ่จะมีตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ โดยมีพระปรมาภิไธยย่อ “ม.ป.ร” ประกอบอยู่ด้วย และล่าสุด “เหรียญพระนิรันตรายพิมพ์ เสมา” ก็คุ้มครองทหารที่ไปทำหน้าที่รักษาความสงบใน “3 จังหวัดชายแดนใต้” โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ก่อนที่ผู้เขียนจะไปขอรายละเอียดการสร้างวัตถุมงคลชุดนี้จากทางวัด ได้มีทหารผู้หนึ่งเดินทางมาจากจังหวัดยะลาเพื่อขอบูชา “เหรียญพระนิรันตรายพิมพ์เสมา” มากถึง “200 เหรียญ” พร้อมบอกเล่าถึงเหตุที่มาบูชาคือเมื่อเร็ว ๆ นี้ เพื่อนทหารในกองร้อย 6 คน ได้ออกลาดตระเวนเพื่อรักษาความสงบที่จังหวัดยะลา ปรากฏว่าถูกผู้ก่อความไม่สงบลอบโจมตีจึงเกิดการปะทะกันขึ้นประมาณ 20 นาที ผู้ก่อความไม่สงบจึงล่าถอยไปโดยทิ้งผลการปะทะก็คือ ทหาร 5 นายบาดเจ็บตาม ๆ กัน ยกเว้นพลขับที่ไม่ได้รับบาดเจ็บทั้งที่นั่งอยู่ตอนหน้าคู่กับทหารอีกผู้หนึ่งที่ “อาการปางตาย” สร้างความสงสัยต่อผู้บังคับบัญชามากจึงสอบถามก็ได้ความว่าเป็นเพราะมี “เหรียญนิรันตรายพิมพ์เสมา” เหน็บไว้ในหมวกที่สวมอยู่ เมื่อทราบเช่นนั้น “ผู้บังคับบัญชา” จึงสั่งให้ทหารผู้นี้มาบูชาเพื่อไปแจกทหารคนอื่น ๆ นั่นเอง ส่วนเรื่องอื่น ๆ ที่มีผู้นำ เหรียญเสมาไปบูชาแล้วมีโชคมีลาภก็ยังเป็นที่กล่าวขานกันมาตลอด จึงขออภัยที่กล่าวถึงเรื่องราวของประสบการณ์ก็เพียงเพื่อให้ผู้อ่านมั่นใจว่าวัตถุมงคล ชุดนี้ “เลิศล้ำจริง ๆ” เพราะหากจะพิจารณาถึงพิธีการจัดสร้างแล้วจะเห็นได้ว่า “พระคณาจารย์” ที่มา ร่วมพิธีพุทธาภิเษก-มังคลาภิเษกล้วนแต่เป็นพระคณาจารย์ที่ได้รับยกย่องเป็น “สุดยอดพระคณาจารย์แห่งยุค” จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าวัตถุมงคลนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้เขียนคงไม่ต้องสาธยายอันใดอีกแล้ว ด้วยเกรงจะถูกตำหนิว่าเยินยอกันเกินไปเพราะเรื่องเช่นนี้ต้องประสบด้วยตัวเองจึงจะเข้าใจได้ดีที่สุด อีกทั้งเรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของ “พระนิรันตราย” ก็มีเรื่องเล่ามาตั้งแต่ “องค์ดั้งเดิม” หรือ “องค์ปฐม” ที่มีผู้ขุดพบในจังหวัดปราจีนบุรีซึ่งเป็น “เนื้อทองคำ” ทั้งองค์แล้วจึงนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ที่ทรงนำประดิษฐานบูชาเป็นการส่วนพระองค์ใน พระบรมมหาราชวัง ซึ่งต่อมาได้มีขโมยเข้าไปโจรกรรมแต่ก็ได้เพียงพระกริ่งองค์เล็ก ๆ ที่สร้างด้วยเนื้อทองผสมไปโดยไม่ได้แตะต้อง “พระนิรันตราย” เนื้อทองคำมีน้ำหนักถึง 8 ตำลึง หรือ 32 บาท องค์นี้ไปด้วย (ซึ่งครั้งนั้นพระองค์ยังมิได้ตั้งพระนาม) จะเรียกว่าโจรผู้นั้นตาถั่วก็ย่อมได้เพราะ พระพุทธรูปทองคำ ตั้งอยู่แท้ ๆ แต่กลับไม่ขโมยด้วยเหตุนี้ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 จึงพิจารณาถึงเหตุที่เกิดขึ้นกับพระพุทธรูปสมัยทวารวดีองค์นี้นับตั้งแต่ผู้ขุดพบก็มิได้ทำอันใดให้องค์พระ เสียหาย และมิได้นำไปหลอมละลายขายเพื่อความร่ำรวยของตัวเองรวมทั้งโจร เข้าไปขโมยก็มิได้แตะต้องจึงทรงถวายพระนามพระพุทธรูปที่รอดพ้นจาก “คมจอบคมเสียม” และรอดพ้นจากการถูก “หลอมละลาย” พร้อมรอดพ้นจาก “ถูกขโมย” องค์นี้ว่า “พระนิรันตราย” อันมีความหมายว่า “ปราศจากอันตราย” จากความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ ปั้นหล่อพระพุทธรูปด้วยทองคำนั่งขัดสมาธิเพชรโดยอาศัยเค้าแบบ พระนิรันตรายองค์ปฐม ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดีและครองผ้าจีวรแบบ “พระสงฆ์คณะธรรมยุติ” ขนาดหน้าตักกว้าง 5.5 นิ้วสวมครอบ พระนิรันตรายองค์ปฐม ไว้เสมือนหนึ่งเป็นการคุ้มครองพระนิรันตรายองค์ปฐมไว้อีกชั้นหนึ่งแล้วอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง และหากมีพระราชพิธีที่สำคัญจึงจะอัญเชิญไปประดิษฐานในพระแท่นมณฑลมาถึงรัชกาลปัจจุบันเพื่อความเป็นสิริมงคล เช่น พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2411 ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อ “พระนิรันตราย” (จำลอง) จากองค์รอบนอกด้วยเนื้อทองผสมกะไหล่ทองและมีเรือนแก้วเป็นพุ่ม “โพธิ์พฤกษ์” มีอักษรขอมจารึกเป็นบทพระพุทธคุณเบื้องหน้า 9 บทเบื้องหลัง 9 บท “จำนวน 18 องค์” เท่ากับปีที่เสด็จดำรงสิริราชสมบัติและมีแนวพระราชดำริจะหล่อขึ้นอีกปีละองค์ในวโรกาส เฉลิมพระชนมพรรษา ของทุกปี แต่การหล่อก็ยังคั่งค้างโดยมิได้กะไหล่ทองก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าให้กะไหล่ทองทั้ง 18 องค์ แล้วพระราชทานไปยัง วัดธรรมยุติ 18 วัด ตามแนวพระราชดำริและพระราชประสงค์ของ ล้นเกล้าฯ รัชกาล ที่ 4 สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทุกประการ ข้อมูลจาก ศุทธิวิทย์ กิจชัยพร นสพ.เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th/dailynews/pages/front_th/popup_news/Default.aspx?ColumnId=28357&NewsType=2&Template=2 |
ราคาเปิดประมูล | 100 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 700 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | พฤ. - 06 ก.ย. 2555 - 00:10.50 |
วันปิดประมูล | ส. - 08 ก.ย. 2555 - 23:58.10 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
200 บาท | พฤ. - 06 ก.ย. 2555 - 00:17.02 | |
300 บาท | พฤ. - 06 ก.ย. 2555 - 00:17.07 | |
500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | ศ. - 07 ก.ย. 2555 - 23:55.32 | |
600 บาท | ส. - 08 ก.ย. 2555 - 15:55.59 | |
700 บาท | ส. - 08 ก.ย. 2555 - 23:53.10 |
กำลังโหลด...