รูปหล่อหลวงพ่อโอ อินทฺโชโต วัดหางน้ำหนองแขม - webpra

ประมูล หมวด:พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520

รูปหล่อหลวงพ่อโอ อินทฺโชโต วัดหางน้ำหนองแขม

 รูปหล่อหลวงพ่อโอ อินทฺโชโต วัดหางน้ำหนองแขม  รูปหล่อหลวงพ่อโอ อินทฺโชโต วัดหางน้ำหนองแขม  รูปหล่อหลวงพ่อโอ อินทฺโชโต วัดหางน้ำหนองแขม  รูปหล่อหลวงพ่อโอ อินทฺโชโต วัดหางน้ำหนองแขม
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง รูปหล่อหลวงพ่อโอ อินทฺโชโต วัดหางน้ำหนองแขม
รายละเอียดพระอธิการโอ อินฺทโชโต มีนามเดิม ว่า โอ โพธิ์อุไร เกิดปีมะแม พุทธศักราช 2438 ที่บ้านหางน้ำหนองแขม หมู่ที่ ๗ ต.ท่านฉนวน อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท เป็นบุตรนายเทศ นางเพิ่ม โพธิ์อุไร มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน จำนวน 4 คน ดังนี้

๑ นายอิน โพธิ์อุไร
๒ หลวงพ่อโอ อินฺทโชโต
๓ นางตี่
๔ นางทำ

ช่วงชีวิตในวัยเยาว์ เมื่อหลวงพ่อโอ อายุได้ ๗ ขวบ ได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงขึ้น ซึ่งโรคนั้นก็คือโรค ฝีดาษ ซึ่งหมู่บ้านหางน้ำหนองแขมก็อยู่ห่างไกลความเจริญมาก ถนนหนทางก็ไม่มี การแพทย์สมัยนั้นก็ยังไม่เจริญ หลวงพ่อโอ ก็เป็นคนหนึ่งที่ป่วยเป็นโรคนี้ การรักษาเป็นไปด้วยความยากลำบาก มีแต่หมอชาวบ้าน รักษากันด้วยยาสมุนไพรไปตามมีตามเกิด ประกอบกับฐานะทางบ้านของหลวงพ่อโอ ไม่ค่อยจะสู้ดีนัก จึงทำให้การรักษาได้ไม่ดีเท่าที่ควร หลวงพ่อเลยตาบอดจากโรคฝีดาษ แต่ก็ไม่ถึงกับบอดสนิท ยังมองเห็นเป็นลางๆ พอรู้ว่าอะไรเป็นอะไร และยังสามารถเรียนหนังสือได้ ในสมัยก่อน โรงเรียนยังไม่มี ต้องอาศัยเรียนกับพระในวัดช่วยสอนหนังสือให้ เมื่ออายุประมาณ ๘-๙ ขวบ หลวงพ่อโอก็ได้รับอุปการะจากหลวงพ่ออิน จนฺทสโร ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหางน้ำหนองแขมโดยได้นำมาอยู่ที่วัด คอยปรนนิบัติรับใช้และเป็นลูกศิษย์ พร้อมทั้งได้รับการศึกษาจนอ่านออกเขียนได้ ภาษาขอมภาษาบาลี และก็ฝึกกรรมฐานไปด้วยและเรียนคาถาอาคม จากหลวงพ่ออิน ด้วยสติ ปัญญาอันฉลาดเฉียบแหลม และมีความจำดีเลิศ จึงทำให้หลวงพ่อโอมีความรู้แตกฉาน ทั้งภาษาไทยและขอม บาลีและศาสตร์ต่างๆ ยิ่งนัก จึงเป็นที่รักใคร่ของหลวงพ่ออิน เป็นอย่างมาก เนื่องจากหลวงพ่อโอ เป็นผู้มีดวงตาไม่สมบูรณ์ จึงไม่ สามารถ ที่จะ ไปประกอบอาชีพทำนาทำไร่ได้เหมือนกับชาวบ้านทั่วไป หลวงพ่อจึงอยู่ในวัดไม่ค่อยได้ไปไหนมาไหน มากนัก แต่ด้วยความที่หลวงพ่อเป็นผู้ที่สนใจในวิชาอาคมต่างๆ และวิปัสนากรรมฐาน จึงทำให้หลวงพ่อโอ ได้ขออนุญาต หลวงพ่ออิน เพื่อไปศึกษา วิชาต่างๆกับพระเถระที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น โดยหลวงพ่อจะคอยดูแล ปรนนิบัติพระอาจารย์ต่างๆ เหล่านั้น เพื่อจะได้ขอเรียนวิชาจากท่าน ซึ่งหลวงพ่อได้เคยบอกเล่าให้ฟังเสมอว่า ในสมัยหนุ่มๆ หลวงพ่อก็จะไปเรียนวิชาคาถาต่างๆจากพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ไม่ว่าจะอยู่ไกล หรือใกล้ ต้องไปเรียนให้ได้ ซึ่งในปัจจุบันนั้นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง อาทิเช่น

หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อเงินวัดพระปรางค์เหลือง
หลวงพ่อมี วัดบ้านบน
หลวงพ่อปั้น วัดหาดทะนง
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
หลวงพ่ออิน วัดหางน้ำหนองแขม

และพระเกจิอาจารย์ อีกหลายรูปจึงทำให้หลวงพ่อโอมีวิชาอาคมที่แก่กล้า และหลังจากนั้นหลวงพ่อโอ ก็เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

อุปสมบท

เมื่อหลวงพ่อโอ อายุได้ครบบวช หลวงพ่ออิน ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้นก็ได้นำหลวงพ่อโอเดินทางบุกป่าฝ่าดงไปยังวัดสระทะเล ซึ่งการเดินทางในสมัยนั้นยังไม่มียานพาหนะ ต้องเดินด้วย เท้าเปล่า ซึ่งในช่วงนั้นพระอุโบสถ วัดสระทะเลได้สร้างและผูกพัทธสีมาเสร็จสิ้นพอดี หลวงพ่ออินจึงได้นำไปหาอุปัชฌาย์เทศเพื่อจะขออุปสมบท อุปัชฌาชย์เทศก็ไม่ขัดข้องอะไร เพราะหลวงพ่อโอก็เป็นศิษย์ท่านอยู่แล้ว และหลวงพ่อโอก็ยังอ่านออกเขียนได้จึงได้ทำการอุปสมบทโดยมีหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล เป็นพระอุปัชฌาชย์ พระอธิการอิน จนฺทสโร วัดหางน้ำหนองแขม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์หมึก วัดสระทะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ซึ่ง ได้รับฉายาว่า อินฺทโชโต ซึ่งตรงกับปีขาล พุทศักราช ๒๔๕๗ และหลังจากได้อุปสมบทแล้ว ก็ได้กราบลาอุปัชฌาย์ มาจำพรรษาที่วัดหางน้ำหนองแขมตลอดมา หลวงพ่ออิน จันฺทสโร ได้มรณภาพลง หลวงพ่อโอ อินฺทโชโต ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสในปีพ.ศ.๒๔๗๖ พร้อมทั้งได้รับแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจาจารย์และเป็นเจ้าสำนักเรียนนักธรรม ก็ได้พัฒนาวัดมาโดยตลอด

งานพัฒนาวัดและงานสาธารณูปการ

หลวงพ่อโอ อินทฺโชโต ได้ดำเนินการพัฒนาและบูรณะ วัดหางน้ำหนองแขม อย่างเต็มความสามารถด้วยดีโดยตลอดมา จนวัดมีความเจริญก้าวหน้าเป็นศักดิ์ศรีของชาวบ้านหางน้ำหนองแขมเป็นอย่างดี

ผลงานด้านการพัฒนาและสร้างเสนาสนะที่ปรากฏแก่พระศาสนา และสาธารณชนเช่น

๑.ได้สร้างศาลาการเปรียญ ๑ หลังต่อเติมหลังเก่า
๒.ได้สร้างหอสวดมนต์ ๑ หลังเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕
๓.ได้สร้างหอฉันท์สำหรับพระภิกษุและสามเณร
๔.ได้สร้างกุฏิไว้หลายหลัง บัดนี้ได้ชำรุดไปบ้างแล้ว
๕.ได้สร้างเมรุเผาศพ ชำรุดไปแล้ว
๖.ได้ซื้อที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๒ แปลง คือ แปลงที่๑ มีเนื้อที่ ๑๙ ไร่ ๔๐ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๔๙๒๖ อยู่ในเนื้อที่ หมู่๘ ตำบลม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ แปลงที่๒ มีเนื้อที่๑ไร่เศษ อยู่ในพื้นที่หมู่ที่๓ ตำบลม่วงหัก อำเภอพยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
๗.ได้สร้างโรงเรียนให้กับทางราชการไว้ ๒หลัง คือ โรงเรียนบ้านหางน้ำหนองแขม (โอ อุปถัมภ์) อยู่ในพื้นที่ หมู่ที่๘ ต.ท่าฉนวน อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท และโรงเรียนวัดหางน้ำหนองแขม (โอ อุปถัมภ์) ซึ่งอยู่ภายในบริเวณวัด
๘.ได้สร้างศาลาพักผู้โดยสาร ติดถนน พหลโยธิน อยู่ข้างทางเข้าวัด
๙.ได้ทำถนนเข้าวัด


อุปทาของหลวงพ่อโอ อินฺทโชโต

หลวงพ่อโอเป็นพระที่มีวิชาอาคมแก่กล้า เป็นที่เคารพยำเกรงของคนทั่วไป หลวงพ่อได้ใช้วิชาความรู้ความสามารถในการพัฒนาด้านต่างๆ ให้มีความเจริญแล้ว หลวงพ่อยังเป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้านหางน้ำหนองแขมและใกล้เคียง ไม่ว่าใครมีเรื่องทุกข์ใจอะไรก็จะไปหาหลวงพ่อให้ช่วย หลวงพ่อท่านก็สามารถช่วยเหลือผู้ที่ทุกข์ร้อนที่มาพึ่งบารมีของหลวงพ่อได้สำเร็จทุกๆคน

ลักษณะเด่นของหลวงพ่อโอ

หลวงพ่อโอเป็นพระสมถะไม่สะสมสิ่งของทุกอย่าง สิ่งของที่ได้มาก็นำมาสร้างวัดหมด ท่านเป็นพระที่ตาบอดเมื่อท่านอยู่ตามลำพัง หรือเวลารับแขก ท่านมักจะใช้ลูกกุญแจกเคาะกับพื้นกระดานที่ท่านนั่งเหมือนกับนั่งสมาธิอยู่ตลอดเวลา จากคำบอกเล่าของบุคคลทั่วไป มักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หลวงพ่อเป็นคนปากไว ใจร้อน แต่เป็นคนใจดี โกรธง่ายหายเร็ว และที่สำคัญที่สุดสมองของหลวงพ่อเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปว่า คิดเลขได้เร็วมากมีความจำเป็นเลิศและเป็นพระที่มองการณ์ไกล หวังความเจริญมาสู่วัดและหมู่บ้าน


วัตถุมงคลหลวงพ่อ

ไม่ว่าจะเป็นเครื่องรางของขลังต่างๆของหลวงพ่อคงไม่ต้องพูดถึงว่ามีค่าแค่ไหน มีประสบการณ์เพียงใด สามารถช่วยเหลือผู้ที่นำติดตัวไปหรือผู้ที่เคารพนับถือมานับครั้งไม่ถ้วนจึงทำให้เป็นของที่หายากใครมีไว้ต่างก็รู้ค่า และหวงแหนยิ่งนัก เนื่องจากหลวงพ่อเป็นพระที่มีอาคมแก่กล้าและสมาธิขั้นสูง จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าพระเครื่องของหลวงพ่อทำไมถึงได้ขลังอย่างเอกอุเช่นนั้น ประกอบกับหลวงพ่อโอ ได้จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นครั้งแรก ปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ ซึ่งได้มีพระเกจิที่มีชื่อเสียงหลายองค์ในยุคนั้นหลายองค์ร่วมนั่งปลุกเสก ในปัจจุบันวัตถุมงคลของหลวงพ่อได้มีค่านิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีศิษย์หลวงพ่อต่างแสวงหากันอย่างกว้างขวางถึงแม้ราคาจะยังไม่ค่อยสูงนัก เนื่องจากของที่ท่านสร้างมีจำนวนน้อยไม่ค่อยแพร่หลาย แต่คนที่รู้จักรู้คุณค่า มักจะพูดว่า "มีของหลวงพ่อโอก็เหมือนมีของหลวงพ่อเดิมเลยทีเดียว

เป็นที่น่าสังเกตุ หลวงพ่อโอ และหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นอกจากจะมีใบหน้า ละม้ายคล้ายกัน ไม่พอ แต่ยังมีวัตถุมงคลอยู่หนึ่งรุ่น คือ รูปเหมือนปั๊มรุ่น๒ หลวงพ่อโอ และรูปเหมือนปั๊มรุ่นแรกหลวงพ่อพรหม (นิ้วกระดก) ยังเป็นพระที่ทำมาจากโรงงานเดียวกัน และพิมพ์เดียวบล็อกเดียวกัน ทางโรงงานได้แก้ไขพิมพ์เล็กน้อย ในด้านพุทธคุณก็ไปในแนวทางเดียวกันอีกด้วย ถ้าไม่คำนึงถึงมูลค่าราคา รูปเหมือนปั๊มรุ่น๒ หลวงพ่อโอ นั้นน่าใช้มากทีเดียว วัตถุมงคลของท่านสร้างน้อยหายากมากๆ


มรณภาพ

ดังคำสัจจะธรรมที่ว่า "เกิดเท่าไหร่ตายเท่านั้น" หรือดังคำของพระพุทธองค์ที่ได้ตรัสไว้ไว่า "อนิจจัง วัตตสังขารา" "สังขารทั้งหลายย่อมไม่เที่ยงหนอ" เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๐๘ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะเส็ง ความเศร้าโศกได้เข้ามาสู่ชาวบ้านหางน้ำหนองแขม และบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งลูกศิษย์ที่เคารพนับถือท่านเป็นอันมาก เนื่องจากหลวงพ่อได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบ คงเหลือแต่ความร่ำไห้และความอาลัยต่อการจากไปของหลวงพ่อที่ไม่มีวันกลับ จึงจำเป็นต้องเก็บสรีระของหลวงพ่อเอาไว้ก่อน เพราะยังอาลัยท่านอยู่โดยได้เก็บสรีระของหลวงพ่อไว้ในสถูปเพื่อให้ผู้ที่เคารพนับถือได้กราบไหว้บูชา กาลเวลาได้ล่วงเลยมาแล้วเป็นเวลา ๓๐ปี ความเศร้าโศกได้จางลงไปบ้างแล้ว ท่านเจ้าอาวาส หลวงพ่อเฉย เขมปญฺโญ หรือพระครูนิทานปัญญาภิรัติ ได้มีการประชุมกับคณะกรรมการวัดว่า จะนำสรีระของหลวงพ่อโอขึ้นมาฌาปนกิจ ตามคำสั่งเสียของหลวงพ่อโอก่อนที่ท่านจะสิ้น
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน3,200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลอา. - 26 ส.ค. 2555 - 11:19.27
วันปิดประมูล ศ. - 31 ส.ค. 2555 - 12:24.12 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 3,200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
1,100 บาท อา. - 26 ส.ค. 2555 - 11:39.59
1,200 บาท อา. - 26 ส.ค. 2555 - 11:40.13
1,300 บาท อา. - 26 ส.ค. 2555 - 23:10.25
1,400 บาท พ. - 29 ส.ค. 2555 - 15:10.42
1,500 บาท พ. - 29 ส.ค. 2555 - 15:10.49
1,600 บาท พ. - 29 ส.ค. 2555 - 15:11.01
2,000 บาท พฤ. - 30 ส.ค. 2555 - 12:18.29
2,500 บาท พฤ. - 30 ส.ค. 2555 - 12:19.25
2,700 บาท พฤ. - 30 ส.ค. 2555 - 12:23.25
3,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พฤ. - 30 ส.ค. 2555 - 12:24.12
Naka (17) 61.91.212.34
3,100 บาท พฤ. - 30 ส.ค. 2555 - 14:17.02
3,200 บาท ศ. - 31 ส.ค. 2555 - 12:15.01
กำลังโหลด...
Top