ประมูล หมวด:พระเกจิสายนครปฐม
((ขำๆเคาะเดียว)) พระขุนแผนพรประสิทธิ์ หลวงพ่อพร ปภากโร วัดบางแก้ว เนื้อชินมหาฤทธานุภาพ
ชื่อพระเครื่อง | ((ขำๆเคาะเดียว)) พระขุนแผนพรประสิทธิ์ หลวงพ่อพร ปภากโร วัดบางแก้ว เนื้อชินมหาฤทธานุภาพ |
---|---|
รายละเอียด | พระขุนแผน พรประสิทธิ์ สร้างจาก เนื้อชินมหาฤทธานุภาพ ซึ่งผสมจาก เนื้อชิน บริสุทธิ์กับเนื้อแร่ที่มีอิทธิคุณ ตลอดจนชนวนมวลโลหะที่ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อสร้างเป็น พระขุนแผน พรประสิทธิ์ ขึ้น ขนาดสูง 2.3 ซม. ซึ่งมีขนาดเล็กกะทัดรัดงดงามมาก ปลุกเสกพร้อม พระขุนแผน พรประสิทธิ์ เนื้อผง ตลอดไตรมาสปี 2554 พระขุนแผน พรประสิทธิ์ เนื้อชินมหาฤทธานุภาพ หลวงพ่อพร วัดบางแก้ว ปลุกเสกตลอดไตรมาส ปี 2554 หลวงพ่อท่านตั้งใจปลุกเสกอย่างมากนะครับ พิมพ์สวยมากๆ มีความคมชัดลึก เหรียญนี้ด้านหลังเป็นยันต์ มีการตอกโค้ดไว้ด้วย บูชาติดตัวไว้ดีในทุกด้าน เช่นคงกระพัน ป้องกันอันตรายทั้งหลายทั้งปวง ด้านค้าขาย โชคลาภ และด้านเมตตามหานิยมดีมากๆครับ ประวัติพอสังเขปของหลวงพ่อพร ปภากโร “หลวงพ่อพร ปภากโร” หรือพระครูพิจิตรสรคุณ กำเนิดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2506 ที่ตำบลสระกระเทียม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม บิดาชื่อ นายหลำ มารดาชื่อ สอิ้ง นามสกุล “บัวคำ” เมื่อเด็กได้เรียนหนังสือที่โรงเรียนมีชื่อเสียงใกล้บ้านเกิดคือ โรงเรียนสระกระเทียมวิทยาคม อาจารย์ใหญ่เป็นญาติกับผู้เขียนชื่อ “อาจารย์ชัยวัฒน์” จนจบชั้นมัธยมปีที่สาม จึงออกมาหางานทำเพื่อช่วยภาระครอบครัว โดยเดินทางไปพักกับญาติที่ตำบลขุนแก้ว อำเภอนครชัยศรี ทำงานในโรงงานอยู่ได้ปีกว่า บิดา-มารดาอยากให้บวช โดยเฉพาะมารดามีความสนิทใกล้ชิดกับ พระปลัดใบ คุณวีโร วัดกลางบางแก้ว จึงได้พาไปฝากกับพระปลัดใบให้อุปสมบทในบวรพุทธศาสนา วันที่ 27 มีนาคม 2526 ท่านได้บวชที่วัดกลางบางแก้ว โดยมีพระครูวิบูลย์สิริธรรม วัดตุ๊กตา มาเป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดใบ คุณวีโร วัดกลางบางแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์คำ วัดตุ๊กตา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “ปภากโร” เมื่อบวชแล้วก็อยู่รับใช้ใกล้ชิดกับ พระปลัดใบ คุณวีโร ช่วยงานตั้งแต่เริ่มต้น ช่วยบดยาทำยาจินดามณี เรียนรู้คาถาอาคมจากพระปลัดใบ คุณวีโร ซึ่งได้ถ่ายทอดวิชาพุทธาคมกับหลวงปู่เพิ่มไว้มาก ดังนั้น “หลวงพ่อพร” จึงโชคดีได้เป็นสานุศิษย์ของ พระปลัดใบ คุณวีโร ซึ่งทำเบี้ยได้ขลังมาก แต่ช่วงชีวิตท่านรักษาการเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้วได้ปีเดียวก็มรณภาพ พระปลัดใบรูปนี้มีบทบาทในการพัฒนาวัดกลางบางแก้วมากรูปหนึ่ง เมื่อพระปลัดใบมรณภาพแล้ว “หลวงพ่อพร” ก็ได้ไปรับใช้ พระครูสิริชัยคณารักษ์ (สนั่น) เจ้าคณะอำเภอและเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้วรูปต่อมา เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจมาก ขณะเดียวกันก็ไปรับใช้ใกล้ชิด “หลวงปู่เจือ” อยู่เสมอ สังเกตได้ว่าแม้แต่งานศพหลวงปู่เจือ “หลวงพ่อพร” เป็นผู้จูงศพลงจากศาลา แสดงว่าใกล้ชิดเป็นพิเศษ ครั้นพอวัดกลางบางแก้วสร้าง พิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก เสร็จแล้ว ท่านพระครูสิริชัยคณารักษ์ (สนั่น) เจ้าอาวาส ได้มอบให้ “หลวงพ่อพร” ไปอยู่ดูแลพิพิธภัณฑ์ ซึ่งตรงนี้สำคัญมาก เพราะห้องนอนของท่านอยู่ติดกับห้องคัมภีร์โบราณ ตำรับตำราของวัดกลางบางแก้วที่สืบมาแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงหลวงปู่บุญ-หลวงปู่เพิ่ม มีเวลาว่างท่านก็อดไม่ได้ที่จะค้นคว้าหาดูเป็นแนวทาง ทำให้มีความเข้าใจวิชาการต่างๆ ได้พอสมควร กาลต่อมา เมื่อหลวงพ่อปุ่น เจ้าอาวาสวัดบางแก้วได้มรณภาพจากไปเมื่อปี พ.ศ.2546 ก็ทิ้ง “งาช้างดำ” เอาไว้เป็นสมบัติวัดบางแก้ว ร้อนถึง พระครูพิทักษ์วีรธรรม (สืบ ปริมุตโต) เจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาสวัดสิงห์ ต้องจัดหาพระไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบางแก้วแทนหลวงพ่อปุ่น สำคัญต้องไปดูแล “งาช้างดำ” สมบัติมีค่าของวัดสืบแทนด้วย จึงมองหาพระใน วัดกลางบางแก้ว ที่มีหน่วยก้านดี ศีลาจารวัตรใช้ได้ ที่สำคัญต้องสัตย์ซื่อ ไม่มีกิเลสตัณหาใดๆ ทั้งสิ้น เพราะนอกจากจะต้องไปปกครองคณะสงฆ์ดูแลวัดบางแก้วแล้ว ต้องไปดูแลรักษา “งาช้างดำ” ของศักดิ์สิทธิ์มีค่าอีกด้วย ถ้าเอาพระไม่ดี ไม่เข้าท่าส่งไป ชาวบ้านจะว่าเอาได้ แถมจะเอา “งาช้างดำ” ไปขายให้เสียหายทั้งวัด และผู้ส่งไปคือท่าน พระครูพิทักษ์วีรธรรม (สืบ) เองอีกด้วย มองหาอยู่นาน สังเกตดูถี่ถ้วนรอบคอบ เพราะ พระครูพิทักษ์วีรธรรม รูปนี้ท่านมีนิสัยละเอียดรอบคอบ ท่านพิจารณาอยู่นานจึงเห็นว่า “พระพร ปภากโร” จากวัดกลางบางแก้ว เป็นพระที่พรรษาสูง มีหน่วยก้านดี มีวินัย และศีลาจารวัตรเคร่งครัด จึงตัดสินใจส่งไปรักษาการเจ้าอาวาสวัดบางแก้วเมื่อปี พ.ศ.2546 “หลวงพ่อพร” ก็ทำให้ไม่ผิดหวัง จึงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 เป็นต้นมา ด้วยความที่ท่านเป็นที่พึ่งของชาวบ้านจึงทำให้ลูกศิษย์อยากได้เหรียญของท่านไว้บูชา ท่านทนรบเร้าไม่ไหวจึงได้เมตตาให้จัดสร้างขึ้นรุ่นหนึ่งและถือเป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน นั่นก็คือเหรียญเสมานั่นเอง โดยท่านเป็นผู้วางอักขระ เลขยันต์ จัดเตรียมชนวนมวลสาร และเสกตลอดไตรมาสไม่ขาดแม้แต่วันเดียว อีกทั้งเป็นเหรียญรุ่นแรกของท่านๆ จึงตั้งใจทำอย่างดีที่สุดเพื่อเจริญรอยตามหลวงปู่เจือ ผู้เป็นอาจารย์ ซึ่งบรรดาเซียนแถวนครปฐมต่างทำนายกันว่าเหรียญนี้ต่อไปจะ "แรง และ"แพง" รวมถึงหายากไม่แพ้เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่เจือเลยทีเดียว |
ราคาเปิดประมูล | 130 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 150 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 20 บาท |
วันเปิดประมูล | ส. - 18 ส.ค. 2555 - 22:39.26 |
วันปิดประมูล | อา. - 19 ส.ค. 2555 - 23:22.28 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
150 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | ส. - 18 ส.ค. 2555 - 23:22.28 |
กำลังโหลด...