พระพิราพ-พระภิเภก วัดปาฤาษีวาวานรธรรมวิหาร จ.บุรีรัมย์ - webpra

ประมูล หมวด:พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน หลังปี 2525

พระพิราพ-พระภิเภก วัดปาฤาษีวาวานรธรรมวิหาร จ.บุรีรัมย์

พระพิราพ-พระภิเภก วัดปาฤาษีวาวานรธรรมวิหาร จ.บุรีรัมย์ พระพิราพ-พระภิเภก วัดปาฤาษีวาวานรธรรมวิหาร จ.บุรีรัมย์
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระพิราพ-พระภิเภก วัดปาฤาษีวาวานรธรรมวิหาร จ.บุรีรัมย์
รายละเอียดพระพิราพ-พระภิเภก วัดปาฤาษีวาวานรธรรมวิหาร จ.บุรีรัมย์ รุ่นยิ้มสยาม
ประวัตื"พระพิราพ" เรามารู้จักกันเถอะ...

หากเอ่ยถึง "พระพิราพ" เชื่อว่าคงมีไม่มากคนนักที่จะคุ้นเคยกับชื่อนี้... แต่กับคนในวงการนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์แล้ว ชื่อ "พระพิราพ" ถือเป็นชื่อที่มีความสำคัญ เป็นที่เคารพบูชาอย่างสูง และถือเป็นครูคนหนึ่ง ซึ่งคนที่ได้มีโอกาสไปชมการแสดงละคร ในโรงละครแห่งชาติ หรือเคยร่วมในพิธีครอบครูก็คงจะได้เห็นว่า ก่อนที่จะแสดงนั้นจะต้องมีการบูชาครู ซึ่งก็จะมีทั้งพระพิฆเนศ พระฤาษี พระปรคนธรรพ และครูท่านอื่นๆ อีกมาก รวมไปถึง "พระพิราพ" ซึ่งอยู่ในรูปของหัวโขนให้บรรดาศิษย์ได้เคารพกัน

"พระพิราพ" เป็นใคร มาจากไหน และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อวงการนาฏศิลป์และดนตรี?? ตรงนี้มีคำตอบว่า พระพิราพ คือปางหนึ่งของพระศิวะ เป็นปางที่ดุร้าย เหมือนกับพระอุมาที่มีปางเจ้าแม่กาลี พระพิราพถือเป็นเทพเจ้าแห่งความตายและสงคราม แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นผู้ให้ชีวิตและปัดเป่าโรคภัยได้

ส่วนเหตุที่ว่า ทำไมจึงนับถือพระพิราพว่าเป็นครูในวงการนาฏศิลป์และดนตรีนั้น เริ่มมาจากในประเทศอินเดีย ซึ่งถือว่าพระพิราพ หรือพระไภรวะนี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับนาฏศิลป์ เพราะท่านเป็นผู้ให้กำเนิดท่ารำที่เรียกว่า "วิจิตรตาณฑวะ" ซึ่งเป็นท่ารำท่าหนึ่งใน 108 ท่ารำของพระศิวะ ดังนั้นจึงถือว่าท่านเป็น "นาฏราช" ที่หมู่นาฏศิลป์อินเดียให้ความเคารพเกรงกลัว เพราะถือเป็นเทพที่บันดาลความเป็นความตายได้
ส่วนในประเทศไทย ซึ่งได้รับอิทธิพลหลายๆ อย่างมาจากประเทศอินเดียนั้น ก็ได้มีการนับถือพระพิราพกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ และมีหลักฐานแน่ชัดในสมัยรัชกาลที่ 4 ในตำราไหว้ครูฉบับของครูเกษ (พระราม) ซึ่งมี เพลงหน้าพาทย์พระพิราพเต็มองค์ที่ใช้ประกอบพิธีไหว้ครู เพลงหน้าพาทย์พระพิราพเต็มองค์นี้ถือว่าเป็นเพลงที่มีความสำคัญมาก เพราะผู้ที่จะเรียนได้ จะต้องผ่านการเรียนหน้าพาทย์ชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูง รวมทั้งต้องมีอายุ 30 ปีขึ้นไป และผ่านการอุปสมบทมาแล้วด้วย

นอกจากเพลงพระพิราพแล้ว ก็ยังมีการรำพระพิราพเต็มองค์ ซึ่งพระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 และสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งเพลงและท่ารำพระพิราพเต็มองค์นี้ ถือเป็นการบรรเลงและร่ายรำประกอบอากัปกิริยาของพระพิราพ ซึ่งเป็นอสูรเทพ เป็นภาคที่ดุร้ายของพระศิวะ ไม่ใช่เป็นเพียงอสูรธรรมดาๆ แต่ถือเป็นเทพ ดังนั้น เพลงหน้าพาทย์และท่ารำพระพิราพเต็มองค์นี้ จึงถือว่าเป็นสิ่งที่สูงสุดในวงการดนตรีและนาฏศิลป์ จะแสดงเฉพาะในงานสำคัญๆ เท่านั้น

ราคาเปิดประมูล89 บาท
ราคาปัจจุบัน99 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลพ. - 24 พ.ย. 2553 - 20:50.29
วันปิดประมูล ศ. - 26 พ.ย. 2553 - 11:33.00 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 99 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
99 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พฤ. - 25 พ.ย. 2553 - 11:33.00
กำลังโหลด...
Top