ประมูล หมวด:พระสมเด็จทั่วไป
สมเด็จกรุวัดโพธิ์เกรียบ พิมพ์ ๗ ชั้น อกตัน นิยม จ.อ่างทอง
ชื่อพระเครื่อง | สมเด็จกรุวัดโพธิ์เกรียบ พิมพ์ ๗ ชั้น อกตัน นิยม จ.อ่างทอง |
---|---|
รายละเอียด | สมเด็จกรุวัดโพธิ์เกรียบ พิมพ์ ๗ ชั้น อกตัน นิยม จ.อ่างทอง พระสมเด็จ วัดโพธิ์เกรียบ พระที่เปรียบเสมือนคู่แฝดของ เกศไชโย นอกจาก พระสมเด็จเกศไชโย ที่เคยเอ่ยถึงไปก่อนหน้านี้ ยังมีพระที่เปรียบเสมือนคู่แฝดอยู่อีกชุดหนึ่งซึ่งเห็นว่า น่าจะนำมาบอกกล่าวให้ทราบกันเสียด้วยเลยเป็นไร เพราะไม่เพียงน่าสนใจตรงที่พระชุดนี้ล้วนมีรูปลักษณะ เป็นพระ กรอบกระจก อกร่อง หูบายศรี เท่านั้น แต่ยังเชื่อกันอย่างกว้างขวางมาโดยตลอดอีกว่า มีที่มาหรือจัดสร้างจากแหล่งเดียวกัน เพราะฉะนั้นจึงได้รับความนิยมชนิดเป็นที่ 2 รองไปจาก เกศไชโย ก็ว่าได้ แม้ชื่อที่รู้จักกันโดยทั่วไปจะฟังดูไม่ค่อยขลัง หรือชวนเลื่อมใสศรัทธา เพราะเรียกกันว่า พระสมเด็จ วัดโพธิ์เกรียบ ตามชื่อวัดที่นำพระชุดนี้มาแจกจ่ายให้ชาวบ้าน แต่กระนั้นกลับดูเหมือนจะไม่มีใครติดใจในเรื่องนี้ สังเกตได้จากกรณีที่ในปัจจุบันมีการเช่าหากัน ในราคาสูงกว่าเมื่อก่อนนับเป็นสิบเป็นร้อยเท่า แต่ก่อนที่จะกล่าวรายละเอียดเกี่ยวกับพระชุดนี้ เรื่องที่เห็นควรแนะนำลำดับแรกก็คือประวัติของวัด (และอดีตเจ้าอาวาสที่เกี่ยวข้องกับ พระสมเด็จ ที่ว่า) เพราะน่าจะช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้แก่ผู้อ่านอย่างค่อนข้างดี สำหรับประวัติของวัดนี้มีหลักฐานว่า สร้างในราว พ.ศ.2435 (สมัยรัชกาลที่ 1) แต่เพิ่งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2400 (สมัยรัชกาลที่ 4) โดยมีชื่อเรียกตามชื่อหมู่บ้านมาตั้งแต่แรกว่า วัดโพธิ์เกรียบ วัดนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน้อย (ซึ่งไหลแยกตัวจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งขวา ที่ อ.เมืองชัยนาท ผ่าน อ.สรรคบุรี จังหวัดเดียวกัน จากนั้นเข้าสู่ อ.บางระจัน อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี ผ่าน อ.โพธิ์ทอง อ.วิเศษชัยชาญ อ่างทอง แล้วไปบรรจบกับแม่น้ำสายเดิมที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา) ขึ้นกับการปกครองท้องที่หมู่ที่ 6 ต.สามง่าม อ.โพธิ์ทอง อ่างทอง ส่วนกรณีของผู้สร้างนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแต่อย่างใด คงจับเค้าจับเงื่อนได้เพียงแค่เรื่องเจ้าอาวาสว่า ก่อนหน้าจะถึง พระครูโพธิสารสุนทร (รอด จนฺทสโร) ซึ่งนำ พระสมเด็จเกษชโย (รุ่นเก่า) มาแจกจ่ายในละแวกนี้ มีที่จำชื่อกันได้อยู่ 2 องค์ คือ หลวงพ่อเรือง และ หลวงพ่อแย้ม (ไม่ทราบนามฉายา) หลังจากที่ พระครูโพธิสารฯ ลาสิกขา องค์ที่ครองวัดสืบต่อมาได้แก่ พระครูจันทรโพธิคุณ (หยวก เกสโร) ผู้สร้าง พระสมเด็จวัดโพธิ์เกรียบ ครั้นท่านองค์นี้มรณภาพผู้ที่ได้รับแต่งตั้งตามลำดับก็คือ พระปลัดไพโรจน์ ปวฑฺฒโน พระครูใบฎีกาบุญมี วีรธมฺโม พระอธิการสวิง อนาวิโร และ พระสมุห์อำนวย สุคนฺโธ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ในบรรดาท่านทั้งหลายเหล่านี้ เห็นควรที่จะกล่าวถึงประวัติเพียงแค่ 2 องค์เท่านั้น อันได้แก่ พระครูโพธิสารสุนทร หรือ พระครูรอด และ พระครูจันทรโพธิคุณ หรือ หลวงพ่อหยวก เพราะเกี่ยวข้องกับ พระสมเด็จ ที่ว่าทั้ง 2 องค์ โดยในเบื้องต้นขอกล่าวประวัติของ พระครูรอด ก่อนแล้วกัน หลังจากนั้นจึงค่อยต่อด้วยเรื่อง หลวงพ่อหยวก สำหรับ พระครูรอด นั้น ไม่พบหลักฐานว่าเกิดปี พ.ศ.ไหน บิดา-มารดาชื่ออะไร และอุปสมบทที่ไหนเมื่อใด ใครเป็นพระคู่สวดอุปัชฌาย์ คงทราบเพียงว่าพื้นเพเดิมเป็นชาวลพบุรี (น่าจะมีนิวาสสถานอยู่ละแวกวัดตองปุ) เป็น พระสมุห์ ฐานานุกรมของ พระครูสุภารวินิต (เงิน) อดีตเจ้าคณะแขวง (อำเภอ) โพธิ์ทอง แต่ไม่แน่ว่าได้เป็นที่นั้นอยู่ก่อนหน้าหรือ หลังจากที่ย้ายมาอยู่ วัดโพธิ์เกรียบ แล้ว ครั้น พระครูสุภารวินิต (เล็ก) วัดเกาะ (ซึ่งเป็นเจ้าคณะแขวงสืบต่อจาก หลวงพ่อเงิน) มรณภาพ ก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวสืบต่อมา สมณศักดิ์สุดท้ายได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นที่ พระครูโพธิสารสุนทร แม้ประวัติจะค่อนข้างคลุมเครืออยู่มาก แต่จากการสัมภาษณ์พูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ ทำให้มีข้อมูลพอจะอนุมานได้ข้อหนึ่งว่า น่าจะเกิดในราว พ.ศ.2420 หรือก่อนหลังไม่มาก โดยจับเค้าเอาจากคำบอกเล่าถึงพระเกจิอาจารย์ร่วมยุคสมัย โดยในบรรดาท่านเหล่านี้มี พระมหาพุทธพิมพาภิบาล (วร)? วัดไชโย อยู่ด้วยองค์หนึ่งซึ่งผู้เล่าระบุว่า น่าจะมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน หรือหากจะแก่อ่อนกว่าก็คงไม่เกิน 2-3 ปี และตอนที่ พระครูรอด ลาสิกขาน่าจะอายุประมาณ 63 หรือ 64 เป็นอย่างมาก และหากไล่เรียงไปถึงปีที่วายชนม์ หลายคนคาดเดาตรงกันว่าน่าจะก่อน 80 ราว 2-3 ปี สรุปเอาเป็นว่า หลังจากที่ หลวงพ่อรอด ลาสิกขาในราว พ.ศ.2483 ตามความตั้งใจ หลวงพ่อหยวก ได้รับมอบหมายให้ปกครอง วัดโพธิ์เกรียบ สืบต่อมา โดยก่อนหน้าที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอโพธิ์ทอง (เมื่อ พ.ศ.2508) นั้น ท่านได้รับหน้าที่เป็น เผยแผ่อำเภอ อย่างไรก็ดี ในที่เกี่ยวกับสมณศักดิ์นั้นถือได้ว่า มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นเป็นลำดับ โดยท้ายสุดได้รับการ เลื่อนขึ้นเป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นพิเศษ (ในนามเดิม) เมื่อ พ.ศ.2518 ซึ่งทั้งนี้คงจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากความเอาใจใส่ในการปฏิบัติหน้าที่ทั้งในส่วนของเจ้าอาวาส และเจ้าคณะอำเภอ จนเป็นที่ประจักษ์ของพระสังฆาธิการชั้นเหนือขึ้นไป แต่เหตุที่ได้รับสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดเพียงแค่นี้ก็เพราะว่า เมื่อล่วงมาถึงบั้นปลายชีวิต ของท่านเกิดอาการเจ็บป่วยกระเสาะกระแสะและทรุดหนักลงเรื่อยๆ กระทั่งถึงกาลมรณภาพ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2520 สิริอายุได้ 72 ปี มีพรรษา 52 นับแต่อุปสมบท นอกจากผลงานด้านต่างๆ ที่ยังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่ท่านได้ฝากเอาไว้เป็นอนุสรณ์ก็คือ พระสมเด็จวัดโพธิ์เกรียบ ซึ่งกล่าวได้ว่าน่าจะถือเป็น รุ่น 2 และ 3 หรือหากจะเรียกตาม พระสมเด็จเกษไชโย รุ่น (สร้าง) เขื่อน ก็คงต้องเรียกว่า พระสมเด็จวัดโพธิ์เกรียบ รุ่น (สร้าง) ศาลา (การเปรียญ) และ พระสมเด็จวัดโพธิ์เกรียบ รุ่น (สร้าง) โบสถ์ เพราะพระ (ทั้ง 2) รุ่นนี้ก็มีการนำผงเก่ามาผสมสร้างใหม่เช่นเดียวกัน โดยถือว่าพระรุ่นเก่าที่ อาจารย์รอด นำมาจากวัดไชโยนั้น เป็น พระสมเด็จวัดโพธิ์เกรียบ รุ่นแรก อย่างไรก็ดี เท่าที่ได้ยินได้ฟังมานั้น ผู้ชำนาญบางท่านระบุว่า พระสมเด็จวัดโพธิ์เกรียบ รุ่นนี้มีถึง 8 พิมพ์ ได้แก่ 1. พิมพ์ 7 ชั้นใหญ่ 2. พิมพ์ 7 ชั้นอกถ่าง 3. พิมพ์ 7 ชั้นไหล่ยก 4. พิมพ์ 7 ชั้นอกครึ่ง 5. พิมพ์ 7 ชั้นอกตัน 6. พิมพ์ 6 ชั้นอกตลอด 7. พิมพ์เข่าบ่วง 8. พิมพ์ปรกโพธิ์ |
ราคาเปิดประมูล | 299 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 319 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 20 บาท |
วันเปิดประมูล | ส. - 11 ส.ค. 2555 - 11:36.19 |
วันปิดประมูล | พ. - 15 ส.ค. 2555 - 22:40.07 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...