หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ 2517 สุราษฎร์ธานี - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ 2517 สุราษฎร์ธานี

หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ 2517 สุราษฎร์ธานี หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ 2517 สุราษฎร์ธานี
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ 2517 สุราษฎร์ธานี
รายละเอียดเหรียญนี้ออกที่วัดกล้วย นนทบุรีครับ ตอกโค๊ดชัดเจน

ประวัติ
ท่านเจ้าคุณ พระกิตติมงคลพิพัฒน์ ท่านมีนามเดิมว่า จ้อย นามสกุล พันธุ์อุดม ต่อมาท่าน พระครูวอน (ไม่ทราบฉายา) ผู้เป็นอา ได้เปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น ไกรวงศ์ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2448 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง ณ บ้านหัวรอ ตำบลม่วงงาม อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นบุตร นายนวล - นางห้อง พันธุ์อุดม มีอาชีพกสิกรรม ท่านเป็นบุตรคนเดียวของพ่อแม่

การศึกษา
ท่าน ได้รับการศึกษาที่ วัดมะขามคลาน ตำบลม่วงงาม อำเภอเมืองสงขลา มีท่านพระครูวอน พุทธสโร เป็นผู้สอน ท่านมีความสนใจใฝ่รู้เป็นอย่างมาก และท่านได้ศึกษาวิชาความรู้ต่าง ๆ เช่น วิชาภาษาไทย ภาษาบาลี อักษรขอม เวทมนตร์ คาถาอาคม โหราศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณ

ชีวิตในวัยหนุ่มของท่าน
ท่านตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เนื่องจากพ่อไปมีภรรยาใหม่ และท่านได้หลงผิดไประยะหนึ่ง จนถึงกับได้กระทำกรรมที่ไม่ดี จนถึงกับทำให้พ่อแม่ญาติมิตรเดือดร้อนไปด้วย บิดาจึงส่งให้ไปอาศัยกับน้าสาวที่อำเภอดอนสัก ด้วยอำนาจบุญกุสลบารมีที่ท่านเคยสั่งสมไว้จึงทำให้ท่านได้พบกัลยาณมิตรแนะนำ จนกระทั่งเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้กลับไปอุปสมบทที่จังหวัดสงขลา จนกระทั่งครบ 1 พรรษา ท่านจึงลาสิกขากลับมาอยู่ที่ดอนสักตามเดิม และต่อมาท่านได้แต่งงานกับ นางสาวพัว อยู่ครองชีวิตสร้างฐานะครอบครัวจนกระทั่งมีบุตรธิดาด้วยกัน 9 คน ท่านประกอบอาชีพทำนา ทำสวน และเผาถ่าน ต่อมาได้เป็นแพทย์ประจำตำบลดอนสัก

ต่อ มาได้รับการอุปสมบทเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการบวชแก้บน ที่วัดดอนยาง หมู่ที่ 7 ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีพระอธิการเริ่ม ฐานิโย เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูประจักษ์วรคุณ เจ้าอาวาสวัดประสพ ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระอธิการวัด วัดนทีวัฒนาราม ตำบลชลคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า จิตปุญฺโญ

ท่านบวชเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2490 โดยท่านเล่าให้ศิษยานุศิษย์ฟังว่า ในระหว่างที่บวชอยู่นั้น ท่านคิดจะลาสิกขาถึง 2 ครั้ง แต่ในที่สุดท่านได้พิจารณาเห็นว่า เมื่อได้หลีกออกจากเครื่องพันธนาการในเพศคฤหัสถ์แล้ว ไม่สมควรที่จะวิ่งกลับเข้าไปหาเครื่องพันธนาการ คือกิเลสตัณหาอีก จึงได้ตัดสินใจอยู่ครองสมณเพศ บำเพ็ญประโยชน์ทั้งส่วนตน ส่วนพระพุทธศาสนา ส่วนสังคมและท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์ตลอดมา นับว่าเป็นการเจริญตามรอยบาทพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ในฐานะที่ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ในบวรพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

ผลงานการพัฒนาท้องถิ่นของท่าน
ท่านเจ้าคุณ "พระกิตติมงคลพิพัฒน์" ท่านได้ดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นมีเป็นจำนวนมาก จนสามารถกล่าวได้อย่างสนิทใจ และภาคภูมิใจว่า ดอนสักทั้งดอนสัก เจริญรุ่งเรืองเป็นดอนสักได้นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่หลวงพ่อจ้อยได้สร้างแทบทั้งสิ้น เพื่อให้เห็นประจักษ์แจ้ง จึงขอจำแนกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ถนน ได้ดำเนินการตัดถนนสายต่าง ๆ ในอำเภอดอนสักหลายสาย โดยท่านเป็นผู้อำนวยการในการตัดถนน และประสานงานกับเจ้าของที่ดิน โดยไม่ต้องมีการเวนคืน เช่น ถนนสายดอนสัก - ขนอม ถนนสายดอนสัก - บ้านใน ถนนสายสวนมะพร้าว - ท้องอ่าว ฯลฯ
2. การไฟฟ้า ท่านเป็นผู้ริเริ่มนำเครื่องปั่นไฟมาใช้ในบ้านดอนสัก และได้ประสานงานกับหน่วยงานและส่วนราชการต่าง ๆ จนในที่สุดมีไฟฟ้าใช้ทั่วทั้งสุขาภิบาลอำเภอดอนสัก
3. การประปา ท่านได้ติดต่อประสานงานกับหน่วยเจาะบาดาล กระทรวงมหาดไทย ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่ง ให้ดำเนินการเรื่องน้ำให้กับชาวดอนสัก จนทำให้ชาวดอนสักมีน้ำประปาใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้
4. สิ่งก่อสร้างภายในวัด ได้แก่ สร้างกุฏิ จำนวน 9 หลัง สร้างศาลาการเปรียญ จำนวน 1 หลัง สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 1 หลัง สร้างหอฉัน จำนวน 2 หลัง สร้างอุโบสถ จำนวน 1 หลัง สร้างเมรุ จำนวน 1 หลัง สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ สร้างอนุสาวรีย์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต

การได้รับเลื่อนสมณศักดิ์
หลวงพ่อจ้อย ท่านได้สร้างคุณูปการทั้งแก่พระพุทธศาสนา ประเทศชาติ สังคม และประชาชนมากมาย จนชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านได้รับการเลื่องลือกล่าวสรรเสริญไปทั่วทุกสาร ทิศ จนถึงกับได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เพื่อเป็นเกียรติ บูชาคุณงามความดีของท่านตามลำดับ ดังนี้
28 มีนาคม 2500 เป็นพระใบฎีกาจ้อย
1 มกราคม 2504 เป็นพระครูใบฎีกาจ้อย
5 ธันวาคม 2514 เป็นพระครูสุวรรณประดิษฐการ เจ้าคณะตำบลชั้นตรี ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
5 ธันวาคม 2527 เป็นพระครูสุวรรณประดิษฐการ เจ้าคณะตำบลเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
5 ธันวาคม 2530 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ "พระกิตติมงคลพิพัฒน์" พระเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งตามที่ปรากฏและท่านเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปขณะนั้นว่า ท่านเป็นพระเถระ ระดับเจ้าคณะอำเภอเพียงรูปเดียวเท่านั้นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นถึงชั้นพระราชาคณะ

พ่อหลวงจ้อยกับราชวงศ์
ในช่วงระยะเวลา 46 ปีที่พระกิตติมงคลพิพัฒน์จำพรรษาอยู่ ณ วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ บารมีของท่านเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ได้เสด็จมาประกอบพิธีต่าง ๆ ดังนี้
1. วันที่ 21 - 23 มีนาคม พ.ศ.2513 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต เสด็จมาเยี่ยมราษฎร ณ วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ เป็นครั้งแรก
2. วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2513 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงยกช่อฟ้าพระอุโบสถ
3. วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้ง 2 พระองค์ เสด็จมาทรงเปิดประปา และทรงพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน
4. วันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2526 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาทรงวางศิลาฤกษ์ และยกฉัตรทองคำพระเจดีย์จตุรมุขบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
5. วันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2528 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ มาประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและยกช่อฟ้า นอกจากนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จเป็นการส่วนพระองค์ มาทรงเยี่ยมพระกิตติมงคลพิพัฒน์
6. วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนิน อย่างเป็นทางการมาเป็นองค์ประธานในการบรรจุศพ และเททองหล่อรูปเหมือนพระกิตติมงคลพิพัฒน์ (พ่อหลวงจ้อย)

ท่าน เจ้าคุณ " พระ กิตติมงคลพิพัฒน์" ได้มรณภาพลงด้วยอาการอันสงบ ซึ่งเป็นธรรมชาติของสังขาร เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2536 อายุ 89 ปี พรรษา 46 ซึ่งคณะศิษยานุศิษย์ทุกระดับชั้น ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ได้จัดบำพ็ญบุญกุศลถวายท่านอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความกตัญูกตเวที ความสำนึกมั่นในอุปการคุณและคุณูปการที่ท่านมอบไว้ให้เป็นมรดกแก่อนุชนรุ่น หลังอย่างมากมายเหลือที่จะพรรณนาให้หมดได้

ต่อมา คณะศิษยานุศิษย์ทั่วทุกสาระทิศ ได้ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมทุนกันจัดสร้าง "มณฑปหลวงพ่อจ้อย" ไว้เป็นอนุสรณ์สถาน เพื่อให้ทุกท่านได้สักการะบูชาที่ "วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์" ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในอันที่จะสรรค์สร้างคุณงามความดี เจริญรอยตามจริยาอันดีงามของท่าน ซึ่งปัจจุบันมีศิษญานุศิษย์ ข้าราชการ พ่อค้า และประชนหลั่งไหลมาจากทั่วทุกสาระทิศมาสักการะบูชาอยู่ทุกวัน จนแทบจะกล่าวได้ว่า "กลิ่นธูป แสงเทียน ไม่เคยขาดหายไปจากมณฑปหลวงพ่อจ้อย" อย่างแท้จริง
ปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่าร่างกายของท่านเจ้าคุณพระกิตติมงคลพิพัฒน์ (จ้อย ฐิตปุญฺโญ มหาเภระ) จะได้มรณภาพไปแล้วตามธรรมชาติของสังขาร แต่คุณงามความดี บารมีธรรม ผลงานที่ท่านได้สร้างไว้ให้เป็นมรดกของชาวดอนสัก ชาวสุราษฎร์ธานี ของชาวพุทธทั่วทั้งโลกทั้งหมดนั้น ล้วนแล้วแต่ยังคงจารึกมั่นอยู่ในความทรงจำ ในจิตใจ ของประชาชนชาวสุราษฎร์ธานี และของชาวพุทธทั้งโลกอย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย

รวบรวมและเรียบเรียงโดย
พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล(ไชยฤทธิ์)
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดท่าไทร
พระเปรียญและพระบัณฑิตอาสพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เลขานุการเจ้าคณะภาค ๑๖

*อย่าลืมคลิ๊กรูปบ้าน(หน้าร้าน) ที่มุมบนซ้ายของจอเพื่อดูพระองค์อื่น ที่ท่านอาจจะหาอยู่นะครับ
ราคาเปิดประมูล279 บาท
ราคาปัจจุบัน299 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูลพ. - 28 เม.ย. 2553 - 13:47.40
วันปิดประมูล อา. - 09 พ.ค. 2553 - 00:43.38 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 299 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ20 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
279 บาท ส. - 08 พ.ค. 2553 - 00:43.29
299 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) ส. - 08 พ.ค. 2553 - 00:43.38
กำลังโหลด...
Top