ประมูล หมวด:พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520
หลวงพ่อไปล่ ฉนุทสโร วัดกำแพง รุ่น ๒ พิมพ์รูปไข่
ชื่อพระเครื่อง | หลวงพ่อไปล่ ฉนุทสโร วัดกำแพง รุ่น ๒ พิมพ์รูปไข่ |
---|---|
รายละเอียด | *ประวัติหลวงพ่อไปล่ ฉนุทสโร หลวงพ่อไปล่ ท่านเป็นชาวบางขุนเทียน เกิดในรัชกาลที่ 4 เมื่อพุทธศักราช 2403 ในสกุลทองเหลือ พื้นเพเป็นชาวบ้านตำบลบางบอนใต้ เขตบางขุนเทียน เป็นบุตรของนายเหลือและนางทอง มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน 5 คน ในเยาว์วัยได้เรียนหนังสือไทยและหนังสือขอมกับอาจารย์ทัด วัดสิงห์ เมื่อเป็นฆราวาสท่านเป็นคนมีร่างกายแข็งแรง มีจิตใจกล้าหาญ เป็นคนกว้างขวาง มีสมัครพรรคพวกมาก ซึ่งในยุคนั้นบ้านบางบอนเป็นดินแดนของนักเลงหัวไม้ เวลามีงานวัดยกพวกตีกันเป็นประจำ นายไปล่จึงนับว่าเป็นลูกพี่ของคนในหมู่บ้านนั้น ท่านอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดกำแพง เมื่อพุทธศักราช 2426 อายุ 23 ปี อาจารย์ทัด วัดสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อดิษฐ์ วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีนามฉายาว่า “ฉันทสโร” หลวงพ่อไปล่เมื่อวัยหนุ่ม ท่านมีความสนใจในทางวิชาอาคม โดยได้เดินทางไปเป็นศิษย์ของพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น เรียนทางคงกระพันชาตรีกับพระอาจารย์คง เรียนวิชาผูกหุ่นพยนต์กับหลวงพ่อหรุ่น วัดบางปลา เรียนทางเมตตามหานิยมกับหลวงพ่อพ่วง วัดกก เรียนทางสักยันต์คงกระพันกับหลวงพ่อดิษฐ์ วัดกำแพง ท่านสามารถสวดปาติโมกข์ได้ตั้งแต่บวชได้พรรษาที่สอง ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตบางขุนเทียน และเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถือของผู้คนในละแวกบางขุนเทียนเป็นอย่างมาก จนถึงมรณะภาพเมื่อพุทธศักราช 2489 (จากการสอบถามจากพระครูเกษมธรรมาภินันท์ เจ้าอาวาสวัดกำแพงองค์ปัจจุบัน เมื่อวันที่ 8 ก.ค.50) *เหรียญหล่อหลวงพ่อไปล่ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง ได้สร้างเหรียญหล่อโบราณซึ่งวงการนิยมแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ คือ 1. เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ มี 2 แบบ 1.1 เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ เนื้อฝาบาตรหรือเนื้อทองเหลือง พิมพ์มาตรฐาน 1.2 เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ เนื้อสัมฤทธิ์ พิมพ์ชาวบ้าน รูปลักษณ์เหรียญ ด้านหน้า เป็นรูปพระสงฆ์ (ไม่มีเกศ) นั่งขัดสมาธิราบบนฐานชั้นเดียว รูปเหรียญเป็นเหรียญหล่อทรงจอบ มีเส้นโค้งนูนโดยรอบเหรียญ 2 เส้น ให้รายละเอียดบนใบหน้า เช่น หู ตา จมูก ปาก ชัดพอประมาณ ครองจีวรเห็นรัดประคดชัดเจน ด้านบนเหรียญมีหูหล่อในตัวซึ่งทำทีละอัน ขนาดจึงไม่เท่ากัน ด้านหลัง มีอักษรไทย นูนสูง เขียนว่า “ที่ระฤก ๒๔๗๘“ เนื้อ ทองเหลือง (ฝาบาตร) สัมฤทธิ์ เนื้อขันลงหิน 2. เหรียญหล่อ พิมพ์รูปไข่ มี 2 เนื้อ คือ 2.1 เหรียญหล่อรูปไข่ เนื้อสัมฤทธิ์ 2.2 เหรียญหล่อรูปไข่ เนื้อทองเหลืองหรือเนื้อฝาบาตร รูปลักษณ์เหรียญ ด้านหน้า เป็นรูปพระสงฆ์ (ไม่มีเกศ) นั่งขัดสมาธิราบบนฐานเขียงคล้ายกับเหรียญจอบใหญ่ เห็นหน้าสังฆาฏิและรัดปะคดชัดเจน รูปทรงเหรียญเป็นรูปไข่ มีหู หล่อในตัวด้านบน ด้านหลัง มีอักษรไทย เขียนว่า “ที่ระฤก ๒๔๗๘“ 3. เหรียญหล่อ ทรงเสมา เนื้อสัมฤทธิ์ (มีพบน้อยมาก) รูปลักษณ์เหรียญ ด้านหน้า เป็นรูปพระสงฆ์ (หลวงพ่อไปล่) อยู่ในกรอบรูปเสมา มีห่วงหล่อในตัวด้านบน ด้านหลัง มีแบบหลังเรียบ และแบบหลังมีอักษรไทย (ดูภาพประกอบ) เนื้อ สัมฤทธิ์ (แบบเหรียญรูปไข่) 4. เหรียญหล่อทรงห้าเหลี่ยม รูปพระพุทธ เนื้อสัมฤทธิ์ (รุ่นล้างป่าช้า) รูปลักษณ์เหรียญ ด้านหน้า มีรูปพระพุทธประทับนั่ง ปางมารวิชัย บนฐานบัวสองชั้น อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว มีหูหล่อในตัว ด้านหลัง มีอักษรขอม แปลเป็นภาษาไทยว่า “สุคโต” และมีตัว “อุ” ด้านบน เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ และเหรียญหล่อรูปไข่ สร้างในปีเดียวกันคือในปีพุทธศักราช 2478 ในวาระที่ท่านอายุครบ 75 ปี แม้การสร้างอยู่ในปีเดียวกัน แต่เล่ากันว่ามีการหล่อหลายวาระ ตามความต้องการของลูกศิษย์ที่มาให้ช่างหล่อให้ เล่ากันว่าช่างหล่อเป็นน้องชายแท้ ๆ ของหลวงพ่อ หากมีลูกศิษย์นำเนื้อโลหะอะไรมาให้หล่อ ช่างก็จะหล่อให้ตามความประสงค์ และหลวงพ่อจะปลุกเสกให้เป็นคราว ๆ ไป (ข้อมูลนี้ได้มาจาก คุณบัณฑิต กรกนก) ส่วนเหรียญหล่อทรงเสมาและเหรียญหล่อรูป 5 เหลี่ยม ไม่แน่ชัดว่าสร้างในปีใด การแจกเหรียญนั้นบางท่านเล่าว่าเหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ท่านไว้แจกผู้ชาย เหรียญหล่อรูปไข่ไว้แจกสตรี ส่วนเหรียญทรงเสมาเนื้อสัมฤทธิ์สำหรับแจกเด็ก เหรียญ 5 เหลี่ยม เนื้อสัมฤทธิ์ (รุ่นล้างป่าช้า) กล่าวกันว่าสร้างในวาระที่ท่านปฏิสังขรณ์ป่าช้าวัดกำแพง ซึ่งชำรุดเสียหายจากภาวะน้ำท่วม คงจะมอบให้กับผู้มาช่วยซ่อมแซมบูรณะป่าช้า อย่างไรก็ดี ตามที่ได้สอบถามจากคนที่ทันยุคหลวงพ่อไหล่ หลวงพ่อไปล่ไม่เคยสร้างวัตถุมงคลเพื่อแลกกับปัจจัยในการสร้างถาวรวัตถุ ส่วนใหญ่เป็นการให้เปล่า ๆ จำนวนเหรียญที่สร้างรวมกันมีจำนวนไม่มากนัก น่าจะอยู่ในจำนวนหลักร้อย ไม่ถึงพันเหรียญ พระพุทธคุณ ผู้เขียนเคยได้ฟังมาจากนักเล่นพระรุ่นเก่าคือ คุณสมควร คุณาบุตร (ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว) เล่าว่าตอนเป็นเด็กเคยพบกับหลวงพ่อไปล่ ในตอนนั้นไปช้อนปลากัดแถววัดกำแพง มีพระภิกษุรูปหนึ่งเดินเข้ามาถามว่า “ทำอะไร?” ท่านจึงตอบว่า “กำลังช้อนปลากัด” พระภิกษุองค์นั้นได้พูดว่า “ปลากัดที่นี่หนังเหนียว” คุณสมควรมาทราบในภายหลังว่าพระภิกษุองค์นั้นคือหลวงพ่อไปล่ สมภารวัดกำแพงในขณะนั้น ยังมีเรื่องอีกเรื่องหนึ่ง จากคุณเป็งย้ง ตลาดพลู ได้เล่าว่า มีพ่อค้าปลาคนหนึ่งมาจากบางบอน (ชื่อนายประเสริฐ) นำปลามาขายเป็นประจำทุกอาทิตย์ ตัว “นายเสริฐ” สร้อยสายสร้อยทองเส้นใหญ่ เห็นได้สะดุดตา เมื่อมาเป็นประจำ ผู้คนจึงจำได้และรู้วัน-เวลาที่มา วันหนึ่งมีคนร้ายสองคนมาดักจี้ด้วยปืน แกไม่ยอมถอดสร้อยให้และขัดขืน คนร้ายได้ยิงออกมาสองนัดแต่ยิงไม่ออก แกจึงเอามีดสำหรับทำปลาจะเข้าไปฟัน คนร้ายเห็นท่าไม่ดี รีบหนีข้ามคลองไป เรื่องนี้มีชาวตลาดพลูรู้เห็นกันอยู่มาก ปรากฏว่าพระที่อยู่ในสายสร้อยก็คือเหรียญหล่อหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง พระพุทธคุณของเหรียญหล่อของหลวงพ่อไปล่ท่านจึงขึ้นชื่อในเรื่องมหาอุดคงกระพันชาตรี และเมตตามหานิยม เป็นที่นิยมของผู้คนในย่านบางบอน บางขุนเทียน มีเรื่องเล่าขานกันอยู่มาก ว่ากันว่าหากคนวัดกำแพงมีเหรียญวัดหนังแล้ว ถ้าใครมีเหรียญหลวงพ่อไปล่ไปขอแลกเขาจะยอมแลกทันที ที่เป็นความนิยมของเหรียญหลวงพ่อไปล่ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณ *คาถาบูชา อุอากะสะ อากะสะอุ กะสะอุอา สะอุอากะ ประวัติย่อของหลวงพ่อไปล่ โดย ผู้ใหญ่แก้ว แก้ไขโดย guawn : 06-09-2011 เมื่อ 05:34 |
ราคาเปิดประมูล | 350 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 800 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 50 บาท |
วันเปิดประมูล | พ. - 25 ก.ค. 2555 - 15:08.55 |
วันปิดประมูล | อ. - 07 ส.ค. 2555 - 17:33.51 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
450 บาท | พ. - 25 ก.ค. 2555 - 16:36.53 | |
500 บาท | ศ. - 03 ส.ค. 2555 - 09:11.28 | |
550 บาท | ศ. - 03 ส.ค. 2555 - 19:37.52 | |
600 บาท | ส. - 04 ส.ค. 2555 - 02:44.06 | |
650 บาท | อา. - 05 ส.ค. 2555 - 14:30.06 | |
750 บาท | อา. - 05 ส.ค. 2555 - 15:19.17 | |
800 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | จ. - 06 ส.ค. 2555 - 17:33.51 |
กำลังโหลด...