พระหลวงพ่อทวด รุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ เนื้อเทา ปี 2505 วัดเมือง จ.ยะลา - webpra

ประมูล หมวด:หลวงปู่ทวด ทั่วไป วัดอื่นๆ

พระหลวงพ่อทวด รุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ เนื้อเทา ปี 2505 วัดเมือง จ.ยะลา

พระหลวงพ่อทวด รุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ เนื้อเทา ปี 2505 วัดเมือง จ.ยะลา พระหลวงพ่อทวด รุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ เนื้อเทา ปี 2505 วัดเมือง จ.ยะลา
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระหลวงพ่อทวด รุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ เนื้อเทา ปี 2505 วัดเมือง จ.ยะลา
รายละเอียดพระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน วัดเมือง จ.ยะลา
หลวงปู่ทวดวัดเมือง จังหวัดยะลา ดำเนินการสร้างโดยหลวงพ่อฉิ้น ท่านดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูวิเทศสมันตพิทักษ์ รักษาการเจ้าคณะจังหวัด ( ตำแหน่งเมื่อ พ.ศ.2537 ) ร่วมกับพระอาจารย์ทิม เจ้าอาวาสวัดช้างไห้ เนื่องจากท่านทั้งสองเป็นสหธรรมิกที่มีความสนิทสนมกันมาก พระหลวงปู่ทวดที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนี้จะมีมวลสารเนื้อว่านที่ใช้ในการสร้างหลวงปู่ทวดเนื้อว่านรุ่นแรก ของวัดช้างไห้ 2497 อยู่ด้วย ( ที่วัดช้างไห้ตั้งใจจะสร้าง 84,000 องค์ แต่ว่ากดพระได้ 64,000 องค์ ก็หยุดกดพระ เนื่องจากหมดฤกษ์ ทำให้มวลสารที่เตรียมไว้ยังเหลืออีกเป็นจำนวนมาก
วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง เพื่อบรรจุในองค์พระสังกัจจายน์ องค์ใหญ่ของวัดเมือง พระที่เหลือจากการบรรจุ จะนำออกมาแจกจ่ายและให้ประชาชนบูชากันต่อไป ผู้ที่แกะพิมพ์พระในครั้งนี้คือ ปลัดศักดา ไชยวรรณ จำนวนการสร้าง 10,000 องค์ โดยพระมีสามพิมพ์ได้แก่ พิมพ์ใหญ่พิเศษ , พิมพ์ใหญ่ และ พิมพ์เล็ก ( วงการพระเรียกว่าพิมพ์อิคิวซัง ) โดยที่พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กจะมีแม่พิมพ์ละ 2-3ตัว

พิธีปลุกเศกของพระหลวงปู่ทวด วัดเมืองนี้ ไม่ได้จัดที่วัดเมืองเอง แต่ว่าได้นำพระเข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ของวัดช้างให้ ( พิธีพุทธาภิเษกพระหลวงปู่ทวดรุ่นเตารีด ) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2505 ซึ่งพิธีในครั้งนี้จัดได้ว่าเป็นพิธีครั้งที่ยิ่งใหญ่มากของวัดช้างให้ และเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของภาคใต้พิธีหนึ่งเลยทีเดียว หลังจากเสร็จพิธี ประชาชนมารอทำบุญบูชาพระที่วัดช้างไห้กันเต็มลานวัด ขนาดที่ว่าไม่มีที่ยืนกันเลย จนต้องเปิดให้บูชาพระผ่านทางหน้าต่างโบสถ์กันเลย เนื่องจากไม่สามารถนำพระออกมานอกโบสถ์ได้เลย ประชาชนมารอบูชาพระเครื่องกันรอบโบสถ์เต็มไปหมดเลย

พ่อท่านฉิ้น เป็นพระเกจิอาจารย์สายตรง"หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าท่านเป็นทั้งศิษย์และสหธรรมิกของพระอาจารย์ทิม ธัมมธโร ส่วนศิษย์ของพระอาจารย์ทิมอีกท่านหนึ่งก็คือพระอาจารย์นอง วัดทรายขาว ทั้งสามท่านร่วมแรงร่วมใจกันจัดสร้างพระเครื่องเนื้อว่านหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ปี 2497 และพระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน วัดเมืองยะลา ปี 2505 และนี่เองที่เชื่อกันว่าพระเกจิอาจารย์ในยุคปัจจุบันไม่มีใครรู้เรื่อง ศาสตร์การสร้างพระเครื่องชุด หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ได้ดีเท่าพ่อท่านฉิ้น วัดเมืองยะลา

วัดคู่บ้านคู่เมือง ประจำจังหวัดยะลา คือ วัดเมืองยะลา จังหวัดยะลา ศูนย์รวมพลังใจที่พึ่งของพุทธศาสนิกชน วัดเมืองยะลา สร้างเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2502 นับโดยปรัตยุบันมีอายุการก่อสร้างยาวนานนับ 50 ปี โดยมีพระธรรมสิทธิมงคล (พ่อท่านฉิ้น โชติโก) เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก รูปปัจจุบัน แม้เป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่เพียง 5 ทศวรรษ แต่ได้รับการพัฒนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับ เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป โดยมีพ่อท่านฉิ้น โชติโก ได้มีส่วนสำคัญในการบุกเบิกถางป่า ก่อสร้างวัดเมืองยะลาให้เป็นวัดศูนย์รวมจิตใจที่พึ่งของชาวพุทธและเป็นวัด คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดยะลา

ย้อนหลังไปเมื่อ พ.ศ.2495 สืบเนื่องจากทางจังหวัดยะลา ได้มีการย้ายสถานที่มาสร้างศาลากลางจังหวัดหลังใหม่แทนหลังเดิม เพื่อให้เป็นไปตามโบราณราชประเพณีจึงสมควรสร้างวัดในพระพุทธศาสนาไว้คู่กัน ดังนั้นคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีมติอนุมัติที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน 11174 จำนวนเนื้อที่ 55 ไร่ 51 งาน 12 ตารางวา ให้เป็นที่ตั้งวัด เหตุนี้วัดเมืองยะลา เริ่มก่อสร้างขึ้นในวันที่ 10 พฤษภาคม 2502 โดยคณะกรรมการฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ประกอบด้วย พระราชปัญญารังษี (หลวงพ่อเนื่อง ธัมมจักโก) วัดนาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี พระมหาฉิ้น โชติโก ขณะนั้นรักษาการเจ้าอาวาสวัดสุนทรประชาราม อ.รามัน และรักษาการเจ้าคณะตำบลรามัน อ.รามัน จ.ยะลา (ปัจจุบันสมณศักดิ์ที่พระธรรมสิทธิมงคล) นายย้อย เปรมไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด นายสุบรรณ จันทรสถิตย์ สรรพากรจังหวัด พลตำรวจตรีพงศักดิ์ ประณุทนรพาล ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด นายสาลี่ กูลณรงค์ นายกเทศมนตรี และนายเจริญ จันทรสุวรรณ คหบดี เป็นคณะเริ่มต้นในการหักร้างถางพง ดำเนินการก่อสร้างวัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์

ครั้นต่อมาวันที่ 29 พฤษภาคม 2506 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะขึ้นเป็นวัดชื่อ วัดเมืองยะลา แล้วปีต่อมา พ.ศ.2507 พระมหาฉิ้น โชติโก ได้รับตราตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเมืองยะลา และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา อาณาเขตกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร เป็นวัดอันดับที่ 127 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 82 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2508

ศาสนวัตถุที่สำคัญของวัดเมืองยะลา นอกจากอุโบสถ พระพุทธิชัยลาภมงคล พระประธานประ ดิษฐานในอุโ
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน9,900 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลจ. - 16 ก.ค. 2555 - 09:49.39
วันปิดประมูล พฤ. - 19 ก.ค. 2555 - 03:01.44 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 9,900 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
1,100 บาท จ. - 16 ก.ค. 2555 - 11:52.50
2,000 บาท จ. - 16 ก.ค. 2555 - 20:45.45
5,000 บาท อ. - 17 ก.ค. 2555 - 02:16.11
7,000 บาท อ. - 17 ก.ค. 2555 - 02:16.19
7,100 บาท อ. - 17 ก.ค. 2555 - 05:31.28
7,200 บาท อ. - 17 ก.ค. 2555 - 05:31.31
7,300 บาท อ. - 17 ก.ค. 2555 - 05:31.34
7,400 บาท อ. - 17 ก.ค. 2555 - 05:31.37
tewan (21) 172.31.160.198
9,900 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พ. - 18 ก.ค. 2555 - 03:01.44
กำลังโหลด...
Top