เหรียญหลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง ที่ระลึกฉลองอายุครบ 80 ปี พ.ศ.2521 - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญหลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง ที่ระลึกฉลองอายุครบ 80 ปี พ.ศ.2521

เหรียญหลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง ที่ระลึกฉลองอายุครบ 80 ปี พ.ศ.2521 เหรียญหลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง ที่ระลึกฉลองอายุครบ 80 ปี พ.ศ.2521 เหรียญหลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง ที่ระลึกฉลองอายุครบ 80 ปี พ.ศ.2521
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง ที่ระลึกฉลองอายุครบ 80 ปี พ.ศ.2521
รายละเอียดเหรียญหลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง ที่ระลึกฉลองอายุครบ 80 ปี พ.ศ.2521 สภาเดิมๆไม่ผ่านการใช้ครับ
หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง เกจิดังเมืองกรุง

พระเครื่องเข้มขลังดีทาง "อยู่ยงคงกะพัน" "เมตตามหานิยม" อย่างโดดเด่น
“หลวงปู่ธูป” หรือ “พระราชธรรมวิจารณ์” เป็นพระยุคเก่าที่สมถะ มีความเป็นอยู่แบบเรียบง่ายให้การอนุเคราะห์สาธุชนโดยเลือกชั้นวรรณะ เปี่ยมล้นด้วยพรหมวิหาร ให้การต้อนรับขับสู้แขกผู้มาเยือนอย่างมีไมตรีจิต เป็นที่เคารพนับถือของบรรพชิต และคฤหัสถ์โดยทั่วไป


นับตั้งแต่สงครามอินโดจีนเรื่อยมา วัดสุนทรธรรมทาน หรือ วัดแคนางเลิ้ง หรือ วัดสนามกระบือ ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ถือเป็นสถานที่ต้อนรับพระเกจิอาจารย์ที่อยู่ต่างจังหวัดมากมาย หลวงปู่ธูปจึงมีความสนิทคุ้นเคยและมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนวิชาความรู้ทางพุทธาคมคาถา กับพระผู้ทรงวิทยาคมในสมัยนั้นหลายรูปหลายนามยิ่งกว่านั้น ยังได้รับตำรับตำราจากพระคณาจารย์บางองค์เป็นการเพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะวิชา “อยู่ยง” นั้นเป็นที่เล่าลือมาก


ต่อมาในระยะหลังๆ พระเกจิอาจารย์มาเยือนวัดแคนางเลิ้งเพียงไม่กี่รูป เพราะชราภาพไม่สะดวกในการเดินทาง คงมีแต่หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง นครปฐม หลวงพ่อนอ วัดกลางและหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันคงเหลือแต่เพียงเรื่องราวของท่าน ที่ถูกนำมาถ่ายทอดเล่าขานสืบต่อกันมา



หลวงปู่ธูป เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 9 ของวัดแคนางเลิ้งที่มีความเข้มขลังทางพุทธาอาคม เป็นเกจิร่วมยุคกับหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงปู่เส่ง วัดกัลยาณมิตร หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม โดยเฉพาะหลวงปู่โต๊ะจะสนิทสนมกันมาก เมื่อวัดแคมีการปลุกเสกพระจะต้องนิมนต์หลวงปู่โต๊ะไปร่วมนั่งปรกทุกครั้ง สมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ ท่านไม่ยอมเปิดเผยวิทยาคุณด้านนี้ให้เป็นที่แพร่หลายมากนัก ผู้คนทั่วไปจึงไม่ค่อยมีโอกาสรับรู้ นอกจากผู้อยู่ใกล้ชิดและติดตาม


ท่านเกิดในสกุล “วิชาเดช” เกิดวันจันทร์ที่ 11 เม.ย. 2441 ณ บ้าน ต.บางหลวงเอียง อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อ “เดช” มารดาชื่อ “ผ่อง” มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน ท่านเป็นคนสุดท้อง อายุได้ 8 ปี ญาติผู้ใหญ่นำไปฝากให้เรียนอักษรสมัยที่วัดตะกู โดยมีพระอาจารย์เอม เจ้าอาวาสขณะนั้น เป็นครูสอนเรียนหนังสือไทยเบื้องต้น มีประถม ก.กา มูลบทบรรพกิจ หนังสือพระมาลัยและขอม เป็นพื้นฐานเบื้องต้น จากนั้นได้ย้ายมาศึกษาวิชามูลกัจจายน์ และเรียนหนังสือบาลีที่วัดศาลาปูน จ.พระนครศรีอยุธยา



หลังจากเล่าเรียนจนแตกฉานแล้ว พี่ชายของท่านซึ่งอยู่กับญาติผู้ใหญ่ที่กรุงเทพฯ คือ พล.ต.อ.เจ้าพระยาราชศุภนิมิตร และท่านผู้หญิงแปลก ได้มารับท่านไปอยู่ที่กรุงเทพฯ ด้วย และได้ให้ความเมตตาและอุปการะเป็นอย่างดี โดยให้เข้าเรียนหนังสือต่อที่ ร.ร.วัดส้มเกลี้ยง (วัดราชผาติการาม) จนจบชั้นประถม 4 ในขณะที่เล่าเรียนได้มีโอกาสติดตาม พล.ต.อ.เจ้าพระยาราชศุภนิมิตรเข้าเฝ้า และติดตามเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชพิธีต่างๆ และการเสด็จแปรพระราชฐานในต่างจังหวัดอยู่บ่อยครั้ง


เมื่ออายุครบเกณฑ์ทหารได้สมัครเข้ารับราชการเป็นทหารรักษาวังอยู่ 2 ปี หลังปลดประจำการท่านเจ้าพระยาและท่านผู้หญิง ได้อุปถัมภ์ให้เข้ารับการอุปสมบท ณ วัดสุนทรธรรมทาน เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2463 สมเด็จพระวันรัต (จ่าย) เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอริยมุนี (หว่าง) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูพุทธบาล (เนตร) เจ้าอาวาสวัดสุนทรธรรมทาน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “เขมสิริ”


ได้อยู่จำพรรษาที่วัดแคนางเลิ้ง ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระครูพุทธบาลมาโดยลำดับ และยังได้ศึกษานักธรรมชั้นตรีในสำนักเรียนวัดเบญจมบพิตร เมื่อถึงกำหนดสอบธรรมสนามหลวง เกิดอาพาธกะทันหันจึงล้มเลิกการศึกษาทางด้านคันถธุระตั้งแต่นับนั้นและหันมาเอาดีทางสมถกรรมฐานและพุทธาคมคาถา


ประมาณพรรษาที่ 3 ได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชากรรมฐานชั้นสูงกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จนบรรลุฌานชั้นสูง สามารถแสดงอิทธิคุณต่างๆ ได้ ยิ่งกว่านั้น ยังได้ศึกษาเวทมนต์คาถา ซึ่งเป็นวิชาการแขนงหนึ่งที่พระเถระยุคเก่าต้องใฝ่หาเรียนรู้ไว้เพื่อประโยชน์ในงานพระศาสนาต่างๆ อาทิ การปลุกเสกวัตถุมงคลในรูปแบบต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยพระผู้ทรงวิทยาคุณเป็นผู้ภาวนาปลุกเสก โดยได้รับการประสิทธิ์ประสาทจากหลวงพ่อปานมาเต็มเปี่ยม จากนั้นจึงไปเรียนวิชากับหลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ ได้วิชาทำเชือกคาดเอวที่มีประสบการณ์ดัง "ไม่ไหม้ไฟ"
หลวงปู่ธูปใช้เวลาศึกษาอยู่กับหลวงพ่อปานประมาณหนึ่งพรรษา จึงกลับคืนวัดสุนทรธรรมทาน และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทนพระครูพุทธบาล ที่ขอลาสิกขาบทในปี พ.ศ. 2470 และผ่านการลงคะแนนเลือกตั้งจนได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2471 ขณะมีอายุได้ 30 ปี พรรษา 8 นับเป็นพระหนุ่มที่มีพรรษาน้อยสุดที่ได้เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดในเขต จ.พระนครสมัยนั้น


หลังจากรับตำแหน่งท่านก็ริเริ่มปฏิสังขรณ์และพัฒนาก่อสร้างอาคาร เสนาสนะต่างๆ เรื่อยมา โดยเริ่มลงมือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472-2500 ซึ่งเป็นปีที่ก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ กระทั่งวันอาทิตย์ที่ 29 ก.ค. 2533 เวลา 02.26 น. ท่านก็มรณภาพลงที่โรงพยาบาลพญาไท รวมสิริอายุ 92 ปี 3 เดือน 28 วัน พรรษา 70


ด้านวัตถุมงคล ตลอดเวลาที่ท่านครองเพศพรหมจรรย์ ได้สร้างวัตถุมงคลในรูปแบบต่างๆมากมายหลายรุ่น จากการบันทึกของหนังสือวัดทราบว่าสร้างครั้งแรกในปีพ.ศ.2482 และจัดสร้างติดต่อกันมาจนถึงพ.ศ.2529 วัตถุมงคลที่ท่านสร้างเมื่อปีพ.ศ.2482 ได้สร้างร่วมกับหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เป็นพระสมเด็จฐานสามชั้น พระรอด พระนางพญา และพิมพ์นางกวัก พระที่สร้างครั้งนี้เป็นพระเนื้อผง ผสมกับดินปูชนียสถาน และผงใบลาน ลงรักฉาบเนื้อ เนื้อในสีดอกเทา ด้านหลังจะเป็นรอยจารลึกลงไปในเนื้อทุกองค์


เมื่อสร้างเสร็จท่านก็แจกจ่ายแก่ลูกศิษย์และผู้มาแสดงมุทิตาจิต ที่เหลือนอกนั้นนำไปบรรจุที่ใต้ฐานพระประธาน พระชุดนี้ปัจจุบันหาดูได้ยากสักหน่อย นอกจากนี้ท่านได้สร้างตะกรุด เชือกคาดเอว พระเนื้อผงรุ่นปี พ.ศ. 2504 เหรียญปี พ.ศ. 2513 และอื่นๆ อีกพอสมควร
วัตถุมงคลวงปู่ธูปทุกชนิดมีพุทธคุณในด้าน “เมตตามหานิยมและความรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน” เป็นหลัก เรื่องคุ้มครองแคล้วคลาดก็ยอดเยี่ยมเช่นกัน
ราคาเปิดประมูล350 บาท
ราคาปัจจุบัน350 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลส. - 21 ธ.ค. 2567 - 21:19.48
วันปิดประมูล ศ. - 10 ม.ค. 2568 - 21:19.48 (19วัน 6ชั่วโมง 44นาที)
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 350 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่การประมูล ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top