พระกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์ปรกโพธิ์บัวเล็บช้าง เนื้อดิน จ.กรุงเทพ ปี 2325 - ปี 2352 - webpra

ประมูล หมวด:พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์ปรกโพธิ์บัวเล็บช้าง เนื้อดิน จ.กรุงเทพ ปี 2325 - ปี 2352

พระกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์ปรกโพธิ์บัวเล็บช้าง เนื้อดิน จ.กรุงเทพ ปี 2325 - ปี 2352 พระกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์ปรกโพธิ์บัวเล็บช้าง เนื้อดิน จ.กรุงเทพ ปี 2325 - ปี 2352 พระกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์ปรกโพธิ์บัวเล็บช้าง เนื้อดิน จ.กรุงเทพ ปี 2325 - ปี 2352 พระกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์ปรกโพธิ์บัวเล็บช้าง เนื้อดิน จ.กรุงเทพ ปี 2325 - ปี 2352 พระกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์ปรกโพธิ์บัวเล็บช้าง เนื้อดิน จ.กรุงเทพ ปี 2325 - ปี 2352
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์ปรกโพธิ์บัวเล็บช้าง เนื้อดิน จ.กรุงเทพ ปี 2325 - ปี 2352
รายละเอียดพระกรุวัดชนะสงคราม พิมพ์ปรกโพธิ์บัวเล็บช้าง เนื้อดิน จ.กรุงเทพ ปี 2325 - ปี 2352 เป็นพระเนื้อดินผสมผงใบลาน และจุ่มรัก พระสภาพสวย มีประสพการณ์สูง สร้างในสมัยรัชการที่ 1 โดยพระอนุชาธิราช สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท เป็นงานช่างหลวง ศิลปอ่อนช้อยงดงาม พุทธคุณพระกรุวัดชนะสงคราม จะเน้นไปทางคงกระพันมหาอุตม์ ตามแบบฉบับพระที่ใช้ในการศึก ส่วนเรื่องเมตตามหานิยม ก็ขึ้นชื่อไม่แพ้พระกรุใดๆ ฯลฯ เป็นพระกรุที่ถูกจัดเข้าในรายการประกวดพระแทบทุกงาน มีความนิยมในอันดับต้นๆ ราคาเช่าหาก็มีตั้งแต่หลักพันต้นๆ ไปถึงหลักหมื่น ขึ้นอยู่กับพิมพ์ และความสมบูรณ์ขององค์พระครับ ในรูปสีพระอาจจะดูเพี้ยนๆตามขอบองค์พระ เพราะติดสีฟ้า ของกระดาษรองถ่ายรูปสะท้อนติดมา รับประกันตลอดชีพตามกฏเว็บครับ
*************************************************
รายละเอียด พระปรกโพธิ์ กรุชนะสงคราม กรุงเทพฯ จัดสร้างโดยประมาณ ปี 2325 -ปี 2352 เป็นพระเนื้อดินผสมผงใบลาน และจุ่มรัก พระสภาพสวย มีประสพการณ์สูง สร้างในสมัยรัชการที่ 1 โดยพระอนุชาธิราช สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท หลังจากชนะศึก"สงครามเก้าทัพ"จึงสร้างพระพิมพ์บรรจุกรุ เพื่อเป็นการสืบต่อพุทธศาสนา เป็นพระกรุที่ถูกจัดเข้าในรายการประกวดพระแทบทุกงาน มีความนิยมในอันดับต้นๆ

กล่าวถึงพระกรุวัดชนะสงครามนั้น ตามหลักฐานปรากฏเกี่ยวกับการสร้างและการค้นพบสามารถแบ่งแยกออกเป็น 3 ชุด ดังนี้

ชุดที่ 1 พระวังหน้า ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2496 โดยพระธรรมทัศนาธร (ทองสุก สุทสฺโส) เจ้าอาวาสวัดชนะสงครามสมัยนั้น ได้ขุดพระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเป็นองค์ประธาน ปรากฏพระเครื่องหลากหลายพิมพ์ ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินดิบผสมผงใบลานสีดำ บางองค์เป็นเงางาม ลวดลายเครือเถาชัดเจน เนื้อยุ่ย หักง่าย มีที่เป็นเนื้อดินเผาบ้าง แต่จำนวนน้อยและหายากมาก สีองค์พระจะคล้ายสีหม้อใหม่ มีจุดดำๆ ขึ้นทั่วไป โดยหลักฐานการสร้างและการบรรจุพระเครื่องชุดนี้ เป็นไม้แกะสลักรูปพระสงฆ์ห่มดอง คาดอก นั่งสมาธิ และลงรักปิดทอง ที่ใต้ฐานบรรจุพระธาตุพระอัครสาวกโมคคัลลาน์ ใบลานจารึกอักษรขอมเลอะเลือนผุกร่อน อ่านไม่ชัดเจน พระทองคำทรงแบบวัดตะไกรหน้าครุฑ จึงสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ปัจจุบันเท่าที่พบในวงการมีน้อยมาก คาดว่าน่าจะเป็นที่หวงแหนของผู้ครอบครอง ค่านิยมจึงค่อนข้างสูงมาก



ชุดที่ 2 พระพิมพ์สมเด็จ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2515 ที่ใต้ฐานชุกชีประดิษฐานพระประธาน พบพระสมเด็จที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งพิมพ์ เนื้อ และขนาด หลายพิมพ์เช่นกัน เนื้อองค์พระสร้างจากผงพระเกสร ดังนั้น บางองค์เนื้อจะพองฟู บางองค์เนื้อแกร่ง และบางองค์เนื้อจะยุ่ยแบบผุ ที่น่าสังเกตอีกประการคือ พระทุกพิมพ์จะค่อนข้างหนา พิมพ์ใหญ่ จะมีลักษณะพิมพ์คล้ายสมเด็จอรหัง ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) แต่ขนาดเล็กกว่า จากการพิจารณาองค์พระแล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระพิมพ์ที่สร้างในสมัยสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) หรือก่อนหน้านั้น

และชุดที่ 3 พระเครื่องหลังสงคราม สร้างโดย ท่านพระครูอุดมวิชัย (ทองม้วน ป.ธ.5) เมื่อปี พ.ศ.2491 เป็นพระเนื้อผง พิมพ์พระประจำวัน 8 ปาง พระสีวลี และพระพุทธกวัก โดยมวลสารเป็นผงพุทธคุณจากพระเกจิชื่อดังทั่วประเทศ ผงของพระพิมพ์จากกรุต่างๆ และดอกไม้นานาชนิดที่หน้าโต๊ะหมู่บูชาพระประธานในพระอุโบสถ รวมทั้งผงและพระหักป่นกรุวัดชนะสงคราม (วังหน้า) ที่ได้สะสมไว้ น้ำซึ่งเป็นส่วนผสมการสร้างพระก็ใช้เฉพาะน้ำพระพุทธมนต์ร้อยปีในพระอุโบสถตรงหน้าพระประธาน น้ำพุทธมนต์ในพระบรมมหาราชวัง และน้ำพระพุทธมนต์จากพระอารามต่างๆ

เมื่อสร้างเป็นองค์พระเรียบร้อยแล้ว ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกตลอดไตรมาส โดยอาราธนาพระเกจิผู้เรืองเวทวิทยาคุณและเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในยุคนั้นจากภาคต่างๆ ทั่วประเทศไทยรวม 108 รูป เข้าร่วมพิธีปลุกเสก ลักษณะองค์พระไม่นูนมากนัก บางองค์มีจุดสีแดง สีดำ และสีชมพู เนื้อละเอียดแข็งเปราะ เมื่อขัดถูจะมันเงาสวยงาม

พระกรุวัดชนะสงครามทั้ง 3 ชุดนี้ ถือเป็นพระกรุเก่าที่เป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาอย่างกว้างขวาง เพราะนอกจากชื่ออันเป็น มงคลแล้ว พุทธคุณยังเป็นเลิศ เป็นที่ประจักษ์ สมัยก่อนราคายัง พอแตะได้ แต่ ณ ปัจจุบันหาดูหาเช่ายากนักครับผม
ราคาเปิดประมูล1,450 บาท
ราคาปัจจุบัน1,450 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลพ. - 18 ธ.ค. 2567 - 14:23.22
วันปิดประมูล อ. - 07 ม.ค. 2568 - 14:23.22 (17วัน 5ชั่วโมง 49นาที)
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,450 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่การประมูล ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top