$ พระเนื้อดินเผาพิมพ์ขี่หนุมาน หลวงพ่อโต วัดโพธิ์ศรีเจริญ สุพรรณบุรี (หลวงพ่อมุ่ยร่วมเสก) ปี ๒๔๘๐ - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิสายสุพรรณ

$ พระเนื้อดินเผาพิมพ์ขี่หนุมาน หลวงพ่อโต วัดโพธิ์ศรีเจริญ สุพรรณบุรี (หลวงพ่อมุ่ยร่วมเสก) ปี ๒๔๘๐

$ พระเนื้อดินเผาพิมพ์ขี่หนุมาน หลวงพ่อโต วัดโพธิ์ศรีเจริญ สุพรรณบุรี (หลวงพ่อมุ่ยร่วมเสก) ปี ๒๔๘๐ $ พระเนื้อดินเผาพิมพ์ขี่หนุมาน หลวงพ่อโต วัดโพธิ์ศรีเจริญ สุพรรณบุรี (หลวงพ่อมุ่ยร่วมเสก) ปี ๒๔๘๐
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง $ พระเนื้อดินเผาพิมพ์ขี่หนุมาน หลวงพ่อโต วัดโพธิ์ศรีเจริญ สุพรรณบุรี (หลวงพ่อมุ่ยร่วมเสก) ปี ๒๔๘๐
รายละเอียดหลวงพ่อโต เป็นพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งอาวุโสสูงที่วัดบ้านกร่าง ท่านเป็นรุ่นพี่ของพระเมธีธรรมสาร (ไสว) อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านกร่าง หลวงพ่อโตตัดสินใจมาสร้างวัดตามการนิมนต์ของชาวบ้านเมื่อปีกุน ที่แต่เดิมเรียกว่าดงตาหม่อมซึ่งอยู่ห่างไกลจากวัดบ้านกร่าง เพื่อให้ชาวบ้านได้ทำบุญโดยไม่ต้องเดินทางไกลในสมัยนั้น

หลวงพ่อโต ปุญญสิริ องค์นี้เป็นพระที่มีความรู้ความสามารถรอบด้านทั้งการพัฒนาและวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนเวทวิทยาคม ท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และสหธรรมกับหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ ชำนิชำนาญทางแพทย์แผนโบราณ ช่วยสงเคราะห์ชาวบ้านจนมีชื่อเสียงโด่งดัง สร้างวัดโพธิ์ศรีเจริญให้รุ่งเรืองเจริญสมชื่อ

หลวงพ่อโตได้สร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาเอาไว้หลายพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐กว่าๆ มีรูปทรงต่างๆกัน แต่ทุกพิมพ์เป็นรูปพระปางสมาธิประทับนั่งบนฐานมีหนุมานแบก บางองค์มีจารด้านหลัง ใครพบเห็นที่ไหนเก็บไว้ให้ดี เป็นของดีที่คนไม่ค่อยรู้จัก สมัยก่อนเซียนพระมักยัดเป็นพระหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน แม้แต่ตอนนี้เซียนพระบางคนยังเข้าใจว่าเป็นพระหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดันอยู่เลย ซึ่งก็เป็นธรรมดาของเซียน ของผู้เล่นพระทั่วไปที่เจอพระดินเผาเก่าๆ แปลกๆ หาวัดไม่ได้ก้มักตีเป็นหลวงพ่อโหน่ง , หลวงปู่บุญ วัดกลาง นครปฐมกัน
พระเนื้อดินหลวงพ่อโตนั้นเมื่อท่านสร้างเสร็จท่านก็ปลุกเสกเองเรื่อยมา และยังนำไปให้พระเกจิอาจารย์ดังในยุคนั้นปลุกเสกอีก คือ หลวงพ่อกาพย์ วัดจรรย์ , หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก , หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ , หลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ เป้นต้น และยังนำฝากพิธีพุทธาภิเษกตามวัดต่างๆอีกหลายพิธี และสุดท้ายได้นำบรรจุไว้ใต้ฐานพระพุทธเทวเทพ พระประธานของวัด และต่อมา พ.ศ.๒๕๒๐ เจ้าอาวาสองค์ต่อมา คือ หลวงพ่อเสงี่ยม ได้นำพระเครื่องดินเผานี้ออกมาแจกจ่ายแก่ประชาชน พระเครื่องจึงแพร่หลายตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา พระหลวงพ่อโตมีความศักดิ์สิทธิ์มาก ชาวบ้านเอาไปบูชาประจำตัวแล้วมีประสบการณ์มากมาย แต่วงการพระสากลส่วนใหญ่ก้ยังไม่ค่อยรู้จักกัน เมื่อพบเจอจึงยัดเป็นของวัดอื่นกันมั่วไปหมด

รับประกันความแท้ และความพอใจ เคาะเดียวครับ
ราคาเปิดประมูล690 บาท
ราคาปัจจุบัน690 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลศ. - 13 ธ.ค. 2567 - 09:57.09
วันปิดประมูล พฤ. - 02 ม.ค. 2568 - 09:57.09 (13วัน 13ชั่วโมง 59นาที)
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 690 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่การประมูล ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top