ประมูล หมวด:หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า - หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส – หลวงปู่สมชาย วัดเขาสุกิม – หลวงปู่บัว วัดศรีบูรพาราม
พระปรกใบมะขาม ลปคร่ำวัดวังหว้าเนื้อทองแดง รุ่นศิริมงคล ปี 2537 พร้อมกล่อมเดิม
ชื่อพระเครื่อง | พระปรกใบมะขาม ลปคร่ำวัดวังหว้าเนื้อทองแดง รุ่นศิริมงคล ปี 2537 พร้อมกล่อมเดิม |
---|---|
รายละเอียด | พระมงคลศีลาจารย์ หรือหลวงปู่คร่ำ ยโสธโร ชาววังหว้าและหมู่บ้านใกล้เคียงเรียกนามท่านว่า”ท่านพ่อคร่ำ”ท่านมีอายุ๑๐๐ปีบริบูรณ์เมื่อวันที่๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๐ พรรษา๘๐นับเป็นพระเถระที่มีพรรษาสูงสุดของเมืองไทยรูปหนึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ศรัทธาของประชาชนทั่วประเทศ หลวงปู่คร่ำเป็นพระภิกษุที่มีบุญญาบารมีเป็นที่ปรากฏแก่ประชาชนมาเป็นเวลานานแล้ว ท่านมีคุณูปการแก่สังคมหลายวงการอย่างกว้างขวาง ทั้งฝ่ายศาสนจักรและ อาณาจักรทั้งในจังหวัดระยองและจังหวัดอื่นๆและเป็นปูชนียบุคคลที่ได้รับการเคารพและคารวะศรัทธาเป็นอย่างสูงจากชาวพุทธทั่วประเทศ เห็นได้จากงานพุทธาภิเษกที่สำคัญที่จัดในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของบ้านเมือง หลวงปู่จะได้รับนิมนต์ไปร่วมพิธีเกือบทุกครั้ง เนื่องจากมีผู้ให้ความเคารพศรัทธาหลวงปู่คร่ำจำนวนมากต่างพากันยึดหลวงปู่เป็นสรณะในยามที่ต้องเผชิญกับภาวะคับขัน ทั้งยังขอพรบารมีจากท่านช่วยบันดาลใช้ประสบโชคลาภ ประสบความสำเร็จสมปรารถนามีความสุขสมหวังในชีวิตจึงมีผู้ให้สมญานามท่านว่า”เทพเจ้าของชาวระยอง”บ้าง”ท่านพ่อแห่งฝั่งทะเลตะวันออก” บ้าง”เทพเจ้าแห่งภาคตะวันออก”ฯลฯรวมความว่าหลวงปู่คร่ำเป็นพระที่อยู่ในใจของทุกคน กำเนิดหลวงปู่คร่ำมีนามเดิมว่า คร่ำ อรัญวงศ์ ท่านเกิด วันพุธ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกาตรงกับวันที่๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ที่บ้านวังหว้า ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง การเรียนของหลวงปู่คร่ำนั้นมิได้เรียนเฉพาะที่วัดวังหว้าเท่านั้นท่านยังไปเรียนต่อกับสมภารหลำ ที่วัดพลงช้างเผือก ซึ่งอยู่ใกล้กับตำบลวังหว้าอีกด้วยเรียนอยู่จนอายุได้๑๕ปีมีความรู้หนังสือดีแล้วจึงได้กลับไปอยู่กับบิดามารดาตามเดิม เพื่อช่วยเหลือครอบครัวประกอบอาชีพต่อไป สมณเพศ เมื่ออายุครบ๒๐ปีหลวงปู่ได้อุปสมบทที่วัดวังหว้าเมื่อวันจันทร์ แรม ๗ ค่ำ ปีมะเส็งตรงกับวันที่๑๑มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้รับฉายาว่า”ยโสธโร”แปลว่าผู้ทรงไว้ซึ่งยศหรือผู้ดำรงยศ พระอุปัชฌาย์ คือ พระครูสังฆการบูรพทิศ (ปั้น อินทสโร) เจ้าคณะแขวงแกลงวัดราชบัลลังก์พระกรรมวาจารย์ คือพระใบฎีกาหลำ ปัญญายิ่ง รองเจ้าคณะแขวงแกลง วัดพลงช้างเผือก พระอนุสาวนาจารย์ คือพระอธิการเผื่อน เจ้าอาวาสวัดวังหว้า หลวงปู่คร่ำมุ่งศึกษาด้านพระธรรมวินัยซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของพุทธศาสนาและหลักธรรมของ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยนั้นวัดวังหว้ายังไม่มีสำนักสอนธรรม หลวงปู่ต้องไปเรียนที่วัดพลงช้างเผือก และสอบได้นักธรรมตรีและโทเป็นลำดับ นอกจากเรียนรู้พระธรรมวินัยเป็นพื้นฐานแล้ว ท่านยังศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ และตำรับยาสมุนไพรจนมีความรู้ความสามารถนำไปใช้บำบัดรักษาช่วยเหลือชาวบ้านได้เป็นอย่างดี ในสมันที่ยังไม่มีสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลดังเช่นทุกวันนี้ วิชาที่หลวงปู่ชำนาญเป็นพิเศษ คือ กรรมวิธีต่อและประสานกระดูกอันเกิดจากอุบัติเหตุต่างๆ มีผู้มารับการรักษาที่วัดวังหว้าเป็นประจำและหายกลับไปทุกคน จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว การศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคม หลวงปู่ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของ พระครูนิวาสธรรมสาร(หลวงพ่อโต) วัดเขากะโดนและวัดเขาบ่อทอง ซึ่งหลวงพ่อโตเป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากรรมฐานชำนาญการธุดงควัตร เป็นผู้มีพลังจิตรแก่กล้า และวิทยาคมขลังเป็นเลิศ หลวงปู่คร่ำได้ร่ำเรียนด้วยอุตสาหะพากเพียรจนมีความรู้ความชำนาญในวิชาอาคมหลายด้านเมื่อกลับมาที่วัดวังหว้า ก็ได้ฝึกฝนพลังจิตเจริญสมาธิภาวนาโดยตลอดมิได้ขาด ในกาลต่อมาหลวงปู่ได้ใช้วิทยาคมที่ได้ฝึกฝนร่ำเรียนมานั้นให้เป็นประโยชน์ ต่อญาติโยมและบุคคลทั่วไปนานัปการจนชื่อเสียงเกียรติคุณขจรไกลไปทั่วเมืองไทยและต่างประเทศ สิ่งหนึ่งที่หลวงปู่ยึดมั่นโดยตลอดคือ กตัญญุตาการรำลึกถึงคุณของบูรพาจารย์ ทุกปีของหลวงปู่จะประกอบพิธีไหว้ครู ตามหลักปฏิบัติสืบเนื่องมาไม่เคยขาด จึงส่งผลให้หลวงปู่คร่ำเจริญยิ่ง ด้วยชื่อเสียงเกียรติคุณตลอดมา การปกครองและอบรมสานุศิษย์หลังจากหลวงปู่อบรมได้ ๔ พรรษา พระอธิการเผื่อนเจ้าอาวาสวัดวังหว้าได้มรณภาพลงหลวงปู่คร่ำได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เจ้าอาวาสสืบแทน หลวงปู่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแก่พระภิกษุสงฆ์โดยทั่วไป จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆดังนี้ ปี พ.ศ. ๒๔๖๔เป็นเจ้าอาวาสวัดวังหว้า ปี พ.ศ. ๒๔๗๔เป็นเจ้าคณะหมวดเนินฆ้อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๙เป็นเจ้าคณะตำบลเนินฆ้อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อหลวงปู่สูงอายุขึ้น สุขภาพพลานามัยไม่สมบูรณ์ จึงลาออกจากเจ้าคณะตำบลเนินฆ้อ มุ่งสร้างเสนาสนะและปฎิสังขรณ์วัดวังหว้าจนเจริญรุ่งเรืองตราบเท่าทุกวันนี้ หลวงปู่คร่ำได้อบรมสั่งสอนศิษย์ให้ยึดมั่นในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ถูกที่ควร ท่านได้กำหนดระเบียบการปกครองของวัดวังหว้า ให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติและระเบียบคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคม รวมทั้งระเบียบต่างๆของทางราชการทุกประการ กฎระเบียบของวัด ภิกษุสามเณรทุกรูปในวัด ต้องยึดถืออย่างเคร่งครัดต้องตั้งใจเล่าเรียนพระธรรมวินัย ต้องทำวัตรทุกเช้าเย็น ภายในบริเวณวัดงดเว้นอบายมุขทุกชนิด ของดีหลวงปู่ วัตถุมงคล เครื่องรางของขลังของหลวงปู่คร่ำ มีมากมายหลายอย่าง ทั้งตะกรุดโทน สีผึ้งเมตรตา ผ้ายันต์ น้ำมันงา และเหรียญแบบต่างๆสิ่งที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของหลวงปู่คร่ำ คือ ผ้ายันต์พัดโบก ชื่อเต็มว่า”ผ้ายันต์พัดโบกมหาลาภหลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง”แบ่งเป็นสองท่อน ท่อนบนสีแดงท่อนล่างสีขาวประกอบด้วยรูปหลวงปู่และยันต์หลายชนิด ผ้ายันต์พัดโบกนี้หลวงปู่ทำขึ้นเพื่อป้องกันวาตภัย ทั้งลมและฝนในยามที่มรสุมรุนแรง จะพัดทำความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนผ้ายันต์พัดโบกจะโบกให้ลมเปลี่ยนทิศทาง รวมทั้งโบกเอาความชั่วร้ายอื่นๆมิให้กล้ำกรายมาถึงบ้านเรือนของผู้ที่ครอบครองผ้ายันต์นี้ได้ เมตตาธรรมค้ำจุนโลก ตลอดระยะเวลาที่อยู่ภายใต้ร่มกาสาวพัตร์หลวงปู่ปฏิบัติตนสำรวมในศีลอย่างเคร่งครัดได้รับความเคารพนับถือ และศรัทธาจากสานุศิษย์และมหาชนทั่วประเทศที่เดินทางมานมัสการทุกวัน หลวงปู่จะนั่งพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้พูดคุยด้วยถ้าพอมีเวลา ใครขอให้ช่วยทำอะไรถ้าไม่ขัดต่อศีลธรรมและเป็นเรื่องที่ดีงามแล้ว หลวงปู่ไม่เคยขัดช่วยทุกเรื่องตั้งแต่เริ่มเป็นเจ้าอาวาสเป็นต้นมา ไม่เคยอยู่นิ่งเฉยสร้างวัด สร้างโรงเรียนหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำบลวังหว้าทุกโรงเรียน หลวงปู่ได้มีส่วนช่วยก่อสร้างและทะนุบำรุงตลอดเวลา |
ราคาเปิดประมูล | 400 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 400 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 200 บาท |
วันเปิดประมูล | อ. - 10 ธ.ค. 2567 - 22:10.27 |
วันปิดประมูล | จ. - 30 ธ.ค. 2567 - 22:10.27 (11วัน 9ชั่วโมง 12นาที) |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 400 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
เพิ่มครั้งละ | 200 บาท |
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่การประมูล ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
ยังไม่มีผู้ประมูล |
กำลังโหลด...