นางสุโขทัย กรุวัดเขาพระศรี เนื้อดำ สุโขทัย - webpra

ประมูล หมวด:พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

นางสุโขทัย กรุวัดเขาพระศรี เนื้อดำ สุโขทัย

นางสุโขทัย กรุวัดเขาพระศรี เนื้อดำ สุโขทัย นางสุโขทัย กรุวัดเขาพระศรี เนื้อดำ สุโขทัย นางสุโขทัย กรุวัดเขาพระศรี เนื้อดำ สุโขทัย นางสุโขทัย กรุวัดเขาพระศรี เนื้อดำ สุโขทัย นางสุโขทัย กรุวัดเขาพระศรี เนื้อดำ สุโขทัย
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง นางสุโขทัย กรุวัดเขาพระศรี เนื้อดำ สุโขทัย
รายละเอียดพบที่วัดกรุเขาพระศรี จ.สุโขทัย อายุการสร้างประมาณ 600 กว่าปี วงการพระเรียกว่า พระนางเขาพระศรีพิมพ์เล็ก สร้างสมัย พระมหาธรรมราชาที่ 1 พญาลิไทกษัตริย์ราชวงพระร่วงเจ้า แห่งกรุงสุโขทัย สมัยนั้นวัดเขาพระศรีมีฝ่ายอรัญวาสี พระป่า ปกครองอยุ่ได้จัดทำพิมพระขึ้นตามพระประสงค์พญาลิไทโดยให้ช่างพื้นบ้านชาวศรีสัชนาลัยแกะพิม ด้านพุทธคุณ เมตตา มหาอำนาจ แคล้วคลาดคงกระพัน

"วัดเขาพระศรี"อยู่บนยอดเขาพระศรี ทางทิศใต้ของเมืองศรีสัชนาลัย เป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดเล็กประกอบด้วย เจดีย์ประธาน ก่อด้วยอิฐบนศิลาแลง ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม วิหาร ศาลาและกุฎี สภาพ โบราณสถาน ถูกลักลอบขุดจนแทบไม่เหลือสภาพ


“เมืองศรีสัชนาลัย” และ "เมืองชะเลียง" นั้นเป็นกลุ่มเมืองเก่า ครอบคลุมพื้นที่ในเขตของตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ ตำบลท่าชัย ที่มีประวัติมายาวนาน ทำให้พอสันนิษฐานได้ว่าบริเวณพื้นที่แถบนี้เป็นชุมชนที่มีผู้อาศัยอยู่มานานแล้ว

ตามประวัติศาสตร์ บริเวณพื้นที่ตั้งวัดพระปรางค์อันเป็นที่ตั้งของ “เมืองเชลียง หรือเมืองชะเลียง” นั้น แต่เดิมเป็นศูนย์กลางของชนชาวขอมโบราณที่ได้ขยายอาณาจักรมาจากเขตนครธม ลพบุรี สุโขทัย ไปจนจรดโยนกนาคนคร ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในพื้นที่เขตจังหวัดเชียงราย บริเวณนี้จึงเป็นเมืองถาวรที่มีการตั้งรกรากอยู่อาศัยกันมายาวนานเก่าแก่ ก่อนสุโขทัยเป็นราชธานีนับเป็นร้อยปี ตัวเมืองเป็นแผ่นดินลุ่มน้ำ ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำยม มีความอุดมสมบูรณ์ ในทางยุทธศาสตร์มีชัยภูมิลักษณะแคบยาว มีแม่น้ำเป็นกำแพงเมืองธรรมชาติสองด้าน ทำให้การคมนาคม การเดินทางเพื่อค้าขายทำได้สะดวก แม้พ่อค้าวาณิชชาวจีนในยุคนั้นต่างก็รู้จักเมืองนี้ และเรียกขานชื่อเมืองตามสะดวกปากของตน ที่ออกเสียงใกล้เคียงกันมาก ว่า “เมิงเฉิงเหลียง” ซึ่งบริเวณที่ตั้งของเมืองชะเลียงเก่าดั้งเดิมนั้น นับได้ว่านอกจากเป็นศูนย์กลางการค้าขายแล้วชัยภูมิที่ตั้งของเมืองยังอยู่บนเส้นทางการค้า การคมนาคมระหว่างเมืองชียงแสน เชียงราย พะเยา งาว แพร่ และหลวงพระบาง ด้วยชัยภูมิที่เหมาะสมนี้เอง ต่อมาหลังพ้นรัชสมัยพ่อขุนศรีนาวนำถม ในปี พ.ศ. 1800 หลังเหตุการณ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขับพวกขอมออกจากเมืองสุโขทัยแล้ว ในปีถัดมาพ่อขุนรามคำแหงซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 19 พรรษา ตามพระบิดาไปรบด้วยขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด เมื่อถึงการยุทธหัตถีจนได้รับชัยชนะ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงโปรดเกล้าให้พ่อขุนรามคำแหงไปครองเมืองเชลียง โดยมีฐานะเป็นเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย กาลต่อมาเมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชขึ้นเสวยราชครองเมือง ระหว่างปี พ.ศ. 1820-1860 เนื่องจากตัวเมืองเป็นที่ลุ่มมีน้ำล้อมรอบจนเกือบเป็นเกาะ ทำให้ถูกน้ำท่วมบ่อยครั้ง จึงโปรดให้ตั้งเมืองขึ้นใหม่ เหนือลำน้ำขึ้นไปอีก โดยผนวกรวมพื้นที่ของเมืองเชลียงเก่าเข้าไปด้วย แล้วตั้งชื่อเสียใหม่ว่า “เมืองศรีสัชนาลัย”

“เมืองศรีสัชนาลัย” ที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ มีการกล่าวถึงเมืองนี้ครั้งแรกในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแห่งมหาราชในปี พ.ศ. 1835 ทำให้พอสันนิษฐานได้ว่าเป็นเมืองขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม ตรงบริเวณที่เรียกว่าแก่งหลวง ซึ่งเป็นแก่งหินขนาดใหญ่ขวางลำน้ำอยู่ การที่มีชัยภูมิเช่นนี้ ทำให้เมืองนี้น้ำท่าข้าวปลามีความอุดมสมบูรณ์ เลี้ยงไพร่บ้านพลเมืองได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ชาวเมืองศรีสัชนาลัยในอดีตยังมีฝีมือในการทำเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า"เครื่องสังคโลก" ได้ดี ทั้งยังเป็นแหล่งผลิตและส่งออกไปค้าขายทั้งในอาณาจักรสุโขทัยและดินแดนไกล ถึงแม้เมื่อเมืองถูกผนวกเข้าอยู่ในราชอาณาจักรสยามที่มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ อโยธยาศรีรามเทพนคร โดยมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นโทเมื่อคราราชวงศ์พระร่วงอ่อนแอลงก็ตาม เครื่องสังคโลกก็ยังคงผลิตอยู่ มีหลักฐานปรากฏชัด เมื่อที่เจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรได้เข้าไปสำรวจ และมีการขุดปรับแต่งพื้นที่โบราณสถานต่าง ๆ ภายในเมืองศรีสัชนาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2497 เพื่อเตรียมจะขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ทำให้พบแหล่งเตาและเศษซากเครื่องสังคโลกโบราณที่จมดินอยู่สองฟากริมแม่น้ำยมเป็นจำนวนทั้งสิ้นมากกว่า 200 เตา ที่เขตบ้านป่ายาง บ้านเกาะน้อย บ้านหนองอ้อ และบริเวณวัดดอนลาน ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเนินดินคล้ายจอมปลวกขนาดใหญ่
ราคาเปิดประมูล300 บาท
ราคาปัจจุบัน600 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ300 บาท
วันเปิดประมูลพฤ. - 21 พ.ย. 2567 - 15:54.41
วันปิดประมูล พ. - 11 ธ.ค. 2567 - 15:54.41 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 600 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ300 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
600 บาท พ. - 04 ส.ค. 2564 - 12:06.40
กำลังโหลด...
Top