ขุนแผนทาทอง หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู (10) - webpra

ประมูล หมวด:พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน หลังปี 2525

ขุนแผนทาทอง หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู (10)

ขุนแผนทาทอง หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู (10) ขุนแผนทาทอง หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู (10)
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง ขุนแผนทาทอง หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู (10)
รายละเอียดขุนแผนทาทอง หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู

พระขุนแผนทาทอง หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู อุบลราชธานี แจกกรรมการ สร้างน้อย หลวงปุ่คำบุ หรือ“พระครูวิบูลย์นวกิจ” เจ้าอาวาสวัดกุดชมภู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี นับเป็นพระเกจิคณาจารย์สายสำเร็จลุนรูปปัจจุบันที่ยังดำรงขันธ์อยู่ โดยเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่เกลี้ยง อริยะสงฆ์แห่งจังหวัดศรีสะเกษ อีกทั้งยังเป็นศิษย์ผู้น้องของหลวงปู่ญาท่านสวน โดยหลวงปู่คำบุนั้นได้เดินทางไปต่อวิชากับญาท่านสวนอยู่เป็นประจำ จนญาท่านสวนเอ่ยปากว่าเมื่อสิ้นท่านไปแล้วให้ไปพึ่งบารมีของหลวงปู่คำบุ พระขุนแผนรุ่นนี้เป็นพระขุนแผนรุ่นสองของหลวงปู่ท่าน โดยทุกองค์ทำการผสมมวรสารและกดพิมพ์เองที่วัด อีกทั้งพระทุกองค์ยังได้รับการประจุพลังพุทธานุภาพจากหลวงปู่คำบุอย่างเต็มที่อีกด้วย เนื่องจากพระรุ่นนี้เตรียมมวลสาร จัดสร้างและบันทักไว้เป็นมาตรฐานมากกว่าพระขุนแผนรุ่นแรกของท่าน จึงทำให้คนส่วนใหญ่ยอมรับพระขุนแผนรุ่นนี้ ว่าเป็นพระขุนแผนรุ่นแรกของหลวงปู่และของวัดกุดชมภูอย่างแท้จริง พระขุนแผนรุ่นนี้แม้ว่ารูปทรงและเนื้อหาจะไม่สวยเหมือนพระโรงงานแต่ก็ เข้มขลังครับ เพราะทุกขั้นตอนทำกันในวัด เรื่องเมตตานั้นดีเยี่ยมครับ " หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต" เป็นพระสงฆ์ที่เล่าขานกันว่าทรงคุณพุทธาคมเข้มขลัง แห่งวัดกุดชมภู ต.กุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ท่านเป็นศิษย์สายตรงของพระครูวิโรจน์รัตโนมล (หลวงปู่รอด นันตโร) แห่งวัดทุ่งศรีเมือง และอดีตเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี พระเกจิอาจารย์ผู้มีความเข้มขลังมีพลังจิตสูง ชาติภูมิ หลวงปู่คำบุ ถือกำเนิดเกิด ณ บ้านกุดชมภู เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕ ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ เกิดในตระกูล คำงาม โยมบิดา-มารดา ชื่อนายสาและนางหอม คำงาม ครอบครัวทำนาทำสวน หลวงปู่คำบุ ปัจจุบันท่านอายุ ๘๖ ปี มีชื่อ-นามสกุลเดิมว่า คำบุ คำงาม ท่านเป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๖ คน กาลต่อมาท่านเจริญวัยขึ้น มีอายุอันสมควร บิดามารดาได้ให้บรรพชาในปี พ.ศ.๒๔๘๒ ณ วัดกุดชมภู โดยมี พระครูญาณวิสุทธิคุณ (กอง) วัดตากโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังบวช ท่านได้มีโอกาสเดินทางไปกราบไหว้ พระครูวิโรจน์รัตโนมล (หลวงปู่รอด นันตโร) วัดทุ่งศรีเมือง เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี และได้รับความเมตตาโอบอ้อมอารีจากหลวงปู่รอดเป็นอย่างยิ่ง อุปนิสัยของสามเณรคำบุ เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้จึงมีโอกาสได้พบกับพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง ผู้เป็นศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่รอด นันตโร แห่งวัดทุ่งศรีเมือง ด้วยเหตุนี้พระอาจารย์รอดจึงได้อยู่รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่รอดจวบจนท่านได้ มรณภาพลง พระอาจารย์รอดก็กลับมาพำนักพักที่วัดบ้านม่วงตามเดิม กล่าวสำหรับพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง ท่านเป็นพระที่มีวิทยาคมแก่กล้า พระอาจารย์รอดเป็นคนบ้านเดียวกันกับสามเณรคำบุ (สมัยบวชเณร) จึงมีความคุ้นเคยกันมาก่อน ด้วยความที่สามเณรคำบุเป็นผู้มีนิสัยสงบเรียบร้อย ใจเย็น มีเหตุมีผล เหตุนี้เองพระอาจารย์รอด จึงได้ถ่ายทอดวิทยาคมต่างๆ ที่ได้ร่ำเรียนมาแก่สามเณรคำบุตั้งแต่นั้นเรื่อยมา จวบจนถึงวัยอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จึงอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๖ ได้รับฉายาว่า "คุตตจิตโต" มี พระครูสาธุธรรมจารี (สา) วัดดอนจิก เป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้นบวชเป็นพระแล้ว หลวงปู่คำบุท่านยังคงแวะเวียนไปร่ำเรียนสรรพวิชาเวทมนตร์คาถาอาคมต่างๆ กับพระอาจารย์รอด ที่วัดบ้านม่วงอยู่เป็นประจำ ได้ศึกษาศาสตร์วิชาต่างๆ จากตำรา จนมีความชำนาญแตกฉานจึงออกเดินธุดงค์เพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ หลวงปู่คำบุได้มีโอกาสร่ำเรียนวิชาวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมจากพระอาจารย์ที่มีความ ชำนาญด้านพระคาถาต่างๆหลายรูปจนวิชาแกร่งกล้า จึงได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดกุดชมภูจนถึงปัจจุบัน มีเรื่องน่าสนใจอยู่ตอนหนึ่ง เนื่องจากพระอาจารย์รอดท่านเป็นพระที่ร้อนวิชาชอบลองวิชาอยู่เสมอ เมื่อร่ำเรียนวิชาอาคมแขนงใดได้ก็จะนำมาทดสอบหรือทดลองวิชานั้นอยู่เป็นประจำ มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านได้สำเร็จวิชาหุงสีผึ้งมหาเสน่ห์ แล้วทำการทดลองปรากฏว่าบรรดาญาติโยมทั้งหญิงและชายแห่เข้ามาที่วัดเพื่อมาขอ สีผึ้งมหาเสน่ห์จากท่านอย่างมากมาย จนไม่มีเวลาประกอบกิจสงฆ์อันใดได้ ท่านจึงย้ายมาอยู่กับพระภิกษุคำบุ ที่วัดกุดชมภูและได้เขียนตำราเพื่อมอบให้กับพระภิกษุคำบุไว้ศึกษาเล่าเรียน สืบต่อไป พระภิกษุคำบุได้ศึกษาศาสตร์วิชาต่างๆ จากตำรา จนมีความชำนาญแตกฉาน จึงออกเดินจารึกธุดงค์เพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ ได้มีโอกาสร่ำเรียนสายวิชาวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมต่างๆ ในสายของท่านสำเร็จลุน แห่งวัดเวิ่นไชย เมืองปาเซ นครจำปาสัก พระผู้ทรงอภิญญา นอกจากการศึกษาวิชาทางด้านวิปัสสนากรรมฐานแล้ว สรรพวิชาอาคมทุกแขนง หลวงปู่คำบุท่านก็มีความชำนาญและได้หมั่นศึกษาฝึกฝนอยู่เป็นประจำ ตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ ปัจจุบัน หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู มีอายุถึง ๘๙ ปี แต่ยังคงให้ความเมตตาศิษยานุศิษย์อย่างสม่ำเสมอ ในทุกวันอังคาร เสาร์ และอาทิตย์ ท่านจะประกอบพิธีลงเหล็กจารอักขระธรรมอักษรลาว ลงบนแผ่นหลังของบรรดาลูกศิษย์ที่เดินทางมาจากสถานที่ต่างๆ ด้วยความเมตตา การจารอักขระธรรมลงแผ่นหลังของหลวงปู่คำบุ ถือเป็นกุศโลบายทางธรรมเพื่อบ่งบอกถึง "ความประมาทเป็นบ่อเกิดแห่งความตายหรือความหายนะ" ดังนั้นควรตั้งมั่นไม่ให้อยู่ในความประมาท ที่สำคัญถ้าท่านได้จารอักขระธรรมได้ครบถึง ๗ ครั้ง ว่ากันว่าอักขระธรรมจะฝังลึกถึงกระดูกและถ้าประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งของครูบาอาจารย์อย่างเคร่งครัดแล้ว จะอยู่ยงคงทน ต่อศาสตราวุธทั้งปวง สำหรับ พระเครื่อง-วัตถุมงคลของหลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู ที่สร้างขึ้นมานั้นมีมากมายหลายรุ่น ส่วนใหญ่มักได้รับความนิยมจากนักสะสม โดยรุ่นล่าสุด "เมตตา โภคทรัพย์ กลับดวง" ปัจจัยสมทบทุนหล่อเนื้อนาบุญหลวงปู่คำบุ ร่วมสร้างวิหารธรรมเจดีย์ศรีชมภู

รับประกันพระแท้ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 083-2699000 ID Line : Ting_sathu Email : Ting_ptk@yahoo.com หรือ Tingsathu@gmail.com

ภาณุภัณฑ์ พระเครื่อง เชิญที่นี่ >>> https://www.siam-pra.com/shop/Ting_sathu
ราคาเปิดประมูล340 บาท
ราคาปัจจุบัน340 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลพฤ. - 21 พ.ย. 2567 - 15:06.42
วันปิดประมูล พ. - 11 ธ.ค. 2567 - 15:06.42 (19วัน 16ชั่วโมง 10นาที)
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 340 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่การประมูล ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top