พระพุทโธน้อย หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม พิมพ์เล็กหลังสัมมาสติ ปี 2526 สร้างน้อยครั้งแรก - webpra

ประมูล หมวด:พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน หลังปี 2525

พระพุทโธน้อย หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม พิมพ์เล็กหลังสัมมาสติ ปี 2526 สร้างน้อยครั้งแรก

พระพุทโธน้อย หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม พิมพ์เล็กหลังสัมมาสติ ปี 2526 สร้างน้อยครั้งแรก พระพุทโธน้อย หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม พิมพ์เล็กหลังสัมมาสติ ปี 2526 สร้างน้อยครั้งแรก พระพุทโธน้อย หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม พิมพ์เล็กหลังสัมมาสติ ปี 2526 สร้างน้อยครั้งแรก พระพุทโธน้อย หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม พิมพ์เล็กหลังสัมมาสติ ปี 2526 สร้างน้อยครั้งแรก พระพุทโธน้อย หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม พิมพ์เล็กหลังสัมมาสติ ปี 2526 สร้างน้อยครั้งแรก
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระพุทโธน้อย หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม พิมพ์เล็กหลังสัมมาสติ ปี 2526 สร้างน้อยครั้งแรก
รายละเอียดพระพุทโธ รุ่นแรก หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม ย้อนหลังไปประมาณปี 2526 ในขณะนั้นพระอุโบสถวัดทุ่งสามัคคีธรรม จังหวัดสุพรรณบุรี กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก ได้ ปรึกษาหารือกับสหธรรมมิก ของท่านคือหลวงพ่อสุวรรณ ปภัสโร (( สุวรรณ ทองนาค ) วัดอาวุธ โดยท่านเป็นศิษย์ใกล้ชิดคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติมมาตั้งแต่ก่อนที่ท่านจะบวชเป็นพระ ) ถึงการหาจตุปัจจัยที่จะมาดำเนินการให้แล้วเสร็จ.

มวลสารการจัดสร้างพระพุทโธ

- ดินนิมิต จากวัดเขาสารพัดดี หลวงพ่อสังวาลย์ท่านนั่งเห็นดินที่มีคุณวิเศษในตัวอยู่ในสระน้ำของวัดเขาสารพัดดี โดยท่านได้นำหลวงพ่อบุญลือและคณะศิษย์ ไปชี้ตำแหน่งและขุดขึ้นมาโดยปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ขนาดกำปั้นผู้ใหญ่ โดยเอาผ้าห่อเอาไว้แล้วขนกลับมาที่วัด เมื่อมาถึงที่วัดแล้วท่านก็นำบาตรของหลวงพ่อป้องที่ได้ได้รับการถวายมาจากกำนันวงษ์ (พี่ชายหลวงพ่อสุวรรณ ) มาใส่น้ำแล้วอธิษฐานขอบารมีหลวงพ่อป้อง
ให้ท่านช่วยปลุกเสกดินให้เป็นรอบแรก แล้วจึงนำดินที่เป็นปั้นนั้นลงไปละลายในบาตรเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการสร้าง

หมายเหตุ : หลวงพ่อป้องเป็นพระที่หลวงพ่อสังวาลย์ให้ความเคารพนับถือมากอีกรูปหนึ่ง


โดยในปัจจุบันกะโหลกส่วนศรีษะท่านที่เผาไม่ไหม้ หลวงพ่อสังวาลย์ท่านได้นำมาใส่ไว้ในโกศ
แล้วเอาสายสิจญ์พันรอบหลายๆชั้นด้วยตัวท่านเอง เพื่อป้องกันการเปิดออก โดยในปัจจุบันโกศนั้นตั้งวางให้บูชาอยู่บนเรือนไทย ที่วัดสังฆทาน กทม
- พระพุทโธน้อยคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม แตกหัก ซึ่งเก็บรักษาอยู่ที่กุฏิ พระเทพเมธากร เจ้าอาวาสวัดอาวุธในสมัยนั้น

หลวงพ่อสุวรรณท่านได้ถวายปัจจัยทำบุญ 20,000 บาทแล้วนำมาทั้งหมด โดยได้พระพุทโธแตกหักและผงมวลสารเก่าๆสมัยคุณแม่บุญเรือนประมาณ 2 ถังใหญ่ สาเหตุหลักที่หลวงพ่อสุวรรณท่านเจาะจงมวลสารนี้เพราะท่านได้รับคำสั่งสอนมาจากคุณแม่บุญเรือนว่า ? ฉันอธิษฐานพระให้เพียงหนเดียวเท่านั้น และพระฉันถึงแตกหักอย่างไร เมื่อนำมาบดแล้วสร้างใหม่ ก็ยังคงศักดิ์สิทธิ์เหมือนเดิมเช่นที่ฉันอธิษฐานให้ ?
- ศิลาน้ำ คุณแม่บุญเรือน หลวงพ่อสุวรรณท่านได้รับมาจากคุณแม่บุญเรือนเป็นจำนวนมาก ได้นำมาตำจนละเอียด
- ข้าวตอกพระร่วง คุณแม่บุญเรือน หลวงพ่อสุวรรณท่านได้รับมาจากคุณแม่บุญเรือนเป็นจำนวนมาก ได้นำมาตำจนละเอียดในส่วนผสมนี้หากใช้กล้องส่องจะพบว่าเป็นเม็ดดำ ๆคล้าย ๆ นิลอยู่ในเนื้อพระ
- ปูนแดงเสก คุณแม่บุญเรือน

- และส่วนผสมที่สำคัญที่สุดในพระชุดนี้คือ อัฐิธาตุ และ ผงอังคารธาตุ ของคุณแม่บุญเรือน จำนวนมาก ที่หลวงพ่อสุวรรณท่านได้เก็บรักษาไว้ โดยหลวงพ่อสุวรรณท่านได้บอกกล่าวขออนุญาตคุณแม่แล้วนำมาบดใส่ทั้งหมดที่ท่านมีอยู่ซึ่งท่านที่อยู่ในเหตุการณ์ตอนใส่บอกว่า ท่านกำอัฐิธาตุและผงอังคารธาตุที่บดแล้วใส่ในการผสมเนื้อในแต่ละครั้งละเป็นกำ ๆ เลยที่เดียว

ลักษณะเนื้อหา

แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ

1.เนื้อแก่ผง เป็นพระชุดแรก ๆ ที่ลองผิดลองถูกทำเนื้อหายังไม่คงที่ ใส่ดินลงไปน้อย โดยเฉพาะพิมพ์เล็กหลังสัมมาสติที่ได้ทดลองสร้างเป็นครั้งแรก มีการผสมสีลงไป ถึง 5 สี คือแดง น้ำเงิน ขาว เหลือง น้ำตาล แต่ก็มีบางครั้งที่ผสมออกมาแล้วได้สีเพี้ยนไปบ้าง เช่น เขียว ชมพู และได้ลองนำพิมพ์อื่นมาลองกดดูด้วยเนื้อปรกติ ที่ไม่ใส่สีด้วยโดยเนื้อจะออกเป็นสีขาวตุ่น ๆ และมีเมื่อทำออกมาแล้วพระไม่ค่อยแกร่งเท่าที่ควร เผาไม่ได้ จึงหยุดใช้ส่วนผสมนี้ จึงเป็นพระที่มีจำนวนน้อยที่สุดของการสร้างครั้งนี้
2. เนื้อดินเผา เป็นเนื้อที่ส่วนผสมลงตัวที่สุด เมื่อเผาแล้วเนื้อแกร่ง โดยส่วนใหญ่จะเผาออกมาได้เนื้อเป็นสีแดงสวย มีคราบแป้งหุ้ม ส่วนสีดำเป็นพระที่แก่ไฟมีจำนวนน้อยมาก ๆ แต่เป็นสีที่นิยมทีสุด (ไม่ใช่พระเนื้อใบลานอย่างที่เข้าใจกัน ) ขนาดพระจะเล็กกว่าเนื้ออื่น ๆ ในพิมพ์เดียวกันนิดหน่อยเนื่องจากการหดตัวของดินเมื่อถูกเผา พระพิมพ์นี้เป็นพระที่มีจำนวนการสร้างมากที่สุด
3. เนื้อดินดิบ เป็นพระชุดเดียวกับข้อ 2 .ที่ไม่ได้นำไปเผาเนื่องจากหลวงพ่อสุวรรณและกลุ่มผู้ร่วมจัดสร้างต้องการเก็บไว้เป็นที่ระลึก และเพื่อเก็บไว้เป็นแนวทางในการศึกษาเนื้อพระต่อไป เป็นพระที่มีจำนวนมากกว่าเนื้อแก่ผงไม่มาก

ขอบคุณเจ้าของข้อมูล ค้นหาจาก GOOGLE
----------------
องค์นี้พิมพ์เล็กหลังสัมมาสติ สร้างครั้งแรก เนื้อแก่ผง เป็นพระชุดแรก ๆ ควรค่าแก่การบูชา ใช้แทนรุ่นแรกที่ราคาแพงได้เลยครับ มวลสารเก่าล้วน ๆ ครับ
ราคาเปิดประมูล1,200 บาท
ราคาปัจจุบัน1,200 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลพฤ. - 21 พ.ย. 2567 - 12:34.05
วันปิดประมูล พ. - 11 ธ.ค. 2567 - 12:34.05 (19วัน 20ชั่วโมง 16นาที)
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,200 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่การประมูล ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top