พระลูกกำแพง กรุเตาทุเรียง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย - webpra

ประมูล หมวด:พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระลูกกำแพง กรุเตาทุเรียง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย

พระลูกกำแพง กรุเตาทุเรียง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย พระลูกกำแพง กรุเตาทุเรียง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย พระลูกกำแพง กรุเตาทุเรียง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย พระลูกกำแพง กรุเตาทุเรียง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระลูกกำแพง กรุเตาทุเรียง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย
รายละเอียดพระกรุเตาทุเรียง เมืองศรีสัชนาลัย มีการกล่าวถึงครั้งแรกในหลักศิลาจารึกของ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยในครั้งอดีตนั้น ชาวเมืองศรีสัชนาลัย เป็นช่างที่มีฝีมือในการทำเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า เครื่องสังคโลก ได้ดี ทั้งยังเป็นแหล่งผลิตและส่งออกไปค้าขายในอาณาจักรสุโขทัยและดินแดนไกล เครื่องสังคโลกนี้ปัจจุบันก็ยังผลิตอยู่

ต่อมาเมื่อเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรได้เข้าไปสำรวจโบราณสถาน รวมทั้งมีการขุดปรับแต่งพื้นที่โบราณสถานต่างๆ ภายในเมืองศรีสัชนาลัย ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๗ เพื่อเตรียมจะขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ทำให้พบแหล่งเตาเผา และเศษซากเครื่องสังคโลกโบราณที่จมดินอยู่สองฟากริมแม่น้ำยมพบเตาเผาต่างๆ เป็นจำนวนมากกว่า ๒๐๐ เตา ที่เขตบ้านป่ายาง บ้านเกาะน้อย บ้านหนองอ้อ และบริเวณวัดดอนลาน ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเนินดินคล้ายจอมปลวกขนาดใหญ่ดินที่ทับถมสูงประมาณ ๒๔ เมตร บริเวณดังกล่าวเป็นเตาทุเรียงที่เผาเครื่องสังคโลกที่สำรวจพบอย่างเป็นทางการ

เตาที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์มีมากถึง ๒๑ เตา ในบริเวณบ้านป่ายาง บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม เหนือแก่งหลวง อยู่ใกล้เมืองเก่าศรีสัชนาลัย ห่างจากกำแพงเมืองประมาณ ๕๐๐ เมตร

เตาที่พบนั้นแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มเตายักษ์ เป็นกลุ่มเตาที่อยู่ใกล้เมืองศรีสัชนาลัย มีเตาตั้งเรียงรายกันอยู่ ๑๕ เตา เป็นเตาที่เผาเครื่องถ้วยชาม และประติมากรรมลอยตัวขนาดใหญ่ รวมทั้งเครื่องประดับสถาปัตยกรรมต่างๆ เช่น ยักษ์ เทวดา มังกร ช่อฟ้า เตายักษ์ เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกตามรูปประติมากรรมยักษ์สังคโลก ที่พบบริเวณเตาเหล่านี้

กลุ่มเตาตุ๊กตา เป็นกลุ่มเตาเผาที่อยู่ห่างจากกลุ่มเตายักษ์ออกมาทางทิศเหนือ ประมาณ ๖๐๐ เมตร พบซากเตา ๖ เตา กลุ่มเตาบริเวณนี้ผลิตประติมากรรมลอยตัวขนาดเล็ก ทั้งรูปคน และสัตว์

ลักษณะโครงสร้างของเตาเป็นเตาประทุน มีรูปทรงรี ก่อหลังคาโค้ง บรรจบกันคล้ายประทุนเรือ ตั้งอยู่บนพื้นลาดเอียง ๑๐-๓๐ องศา

ภายในเตาแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ช่องใส่ไฟ ห้องบรรจุภาชนะ และปล่องไฟ สันนิษฐานว่าในครั้งที่มีการขุดแต่งปรับพื้นที่ เพื่อเตรียมจะขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานนี้เอง ทำให้มีผู้พบ พระพิมพ์เนื้อดินเผา ซึ่งภายหลังเรียกว่า “พระกรุเตาทุเรียง”

พระพิมพ์ที่พบในครั้งนั้น ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดินเผา มีหลากหลายพิมพ์จำนวนมากพอสมควร ทั้งพิมพ์ยอดขุนพล, พระร่วงแสดงพุทธกิริยาเปิดโลก, พระลีลานางระเวง, พระประทับนั่งปางมารวิชัย แบบเดียวกับที่พบในกรุวัดพญาดำ ที่เรียกกันทั่วไปว่า พระยอดธง กรุวัดพญาดำ พระพิมพ์ซุ้มระฆัง รวมทั้งพระพิมพ์อื่นๆ อีกมากมาย

คาดว่าพระส่วนใหญ่ที่พบบริเวณนี้จะถูกเผาด้วยอุณหภูมิสูงจึงทำให้เนื้อมีลักษณะแกร่ง แต่เนื่องจากขนาดของเตาเผาจัดว่ามีขนาดค่อนข้างเล็ก หากเทียบกับปริมาณของพระที่พบ ทำให้สีของเนื้อพระที่เผาแตกต่างกันออกไปตามแต่ระยะของการวางใกล้-ไกลของจุดวางไฟในเตา

บางองค์วางใกล้ระยะไฟทำให้ได้รับความร้อนสูงมาก เนื้อพระก็จะเป็นสีเขียว ทั้งยังมีการหลอมละลายของแร่ธาตุ จนกลายสีดำคล้ายยางมะตอยเป็นหยดๆ เล็กๆ บนผิวพระที่เรียกกันว่า “หมัดไฟ”

ถัดต่อจากสีเขียวก็จะออกสีดำ เนื้อสีผ่าน สีกะปิ สีแดง และเหลืองผิวไม้รวก ไปจนถึงสีพิกุลเข้ม แต่ส่วนมากมักจะพบสีผ่านจนกลายเป็นอัตลักษณ์เฉพาะ ทำให้นักสะสมทั่วไปใช้เป็นจุดพิจารณาพระกรุนี้นอกเหนือจากเนื้อหาของดินที่มีทั้งเนื้อละเอียดและกึ่งละเอียดกึ่งหยาบ

**ขอบพระคุณข้อมูลจาก คมชัดลึกมา ณ ที่นี้

*****
รับประกันพระแท้ทุกรายการ ถ้าเก๊คืนเต็ม (พระต้องอยู่ในสภาพเดิม)
สอบถามโทร.0885569699
ไลน์ ไอดี prizzprizz
โอนเงิน ธ.กรุงศรีอยุธยา 3461131909 นายสรพงษ์ วงษ์น้อย
ทุกรายการรวมค่าส่งแล้ว

ค้นหารายการพระ..https://www.web-pra.com/shop/prizz
ราคาเปิดประมูล450 บาท
ราคาปัจจุบัน450 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 19 พ.ย. 2567 - 10:25.31
วันปิดประมูล จ. - 09 ธ.ค. 2567 - 10:25.31 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 450 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top