พระเหนือพรหม ปี 2531 หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา - webpra

ประมูล หมวด:หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก - หลวงปู่ดู่ วัดสะแก – หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน

พระเหนือพรหม ปี 2531 หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระเหนือพรหม ปี 2531 หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระเหนือพรหม ปี 2531 หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระเหนือพรหม ปี 2531 หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระเหนือพรหม ปี 2531 หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
รายละเอียด***** ค่าบูชา 15,000 บาท *****

### พระเหนือพรหมเต็มองค์ เนื้อดินเผา มีทั้งแบบดินเผาสีแดง และดินเผาสีขาว จัดสร้าง พ.ศ. 2531 หลวงปู่ดู่อธิษฐานจิตไว้ให้เป็นอย่างดี ต้องบอกว่าพิมพ์ปี 31 มีการสร้างถวายโดยคณะศิษย์เท่าที่เห็นมีอยู่ 2 พิมพ์ ซึ่งทั้ง 2 พิมพ์ทรงมีความต่างกันอย่างชัดเจน มีทั้งแบบเคลือบแชล็คและไม่เคลือบ องค์นี้ มาพร้อมกล่องเดิม ๆ ยังมีจารด้านหลังองค์พระทั้งบนและล่าง ไม่แน่ใจว่าหลวงปู่ดู่หรือหลวงลุงลำใยเป็นผู้จารให้ จึงค่อนข้างหายากพอ ๆ กับบล็อกโกโอ่งเช่นเดียวกันครับ ###

-----------------------

ที่มา : คอลัมน์ มุมพระเก่า / อภิญญา / หนังสือพิมพ์ข่าวสด

"หลวงปู่ดู่" ท่านเป็นแบบอย่างของผู้มักน้อยสันโดษ ใช้ชีวิตเรียบง่าย แม้สรงน้ำไม่เคยใช้สบู่ แต่ก็ไม่มีกลิ่นตัว แม้ในห้องท่านจำวัดมีผู้ปวารณาจะถวายเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ ส่วนใหญ่ท่านจะปฏิเสธ คงรับไว้บ้างเท่าที่เห็นว่าไม่เกินเลยอันจะเสียสมณสารูป และใช้สอยพอให้ผู้ถวายเกิดความปลื้มปีติ ก่อนยกให้เป็นของสงฆ์ ข้าวของต่างๆ ที่เป็นสังฆทาน ถึงเวลาเหมาะควรท่านก็จะระบายออก จัดสรรไปให้วัดต่างๆ ที่อยู่ในชนบทและยังขาดแคลน

ท่านย้ำเสมอว่า ท่านเป็นคนบ้านนอกไม่มีความรู้ ดังนั้น เวลาพูดจาสนทนากับลูกศิษย์ ก็พูดกันแบบชาวบ้าน ไม่มีพิธีรีตองหรือวางเนื้อวางตัว แต่พูดแล้วแทงเข้าไปถึงก้นบึ้งหัวใจของผู้ฟัง

เมื่อมีผู้เลื่อมใสมาก มีผู้เสนอตัวเป็นนายหน้าคอยจัดแจงเกี่ยวกับแขกที่จะเข้ามานมัสการ ด้วยเจตนาดีอันเกิดจากความห่วงใยในสุขภาพก็ถูกท่านห้ามปรามเสมอ เพราะไม่ต้องการให้ผู้ดั้นด้นมาเสียกำลังใจ หากมีผู้สนใจการปฏิบัติกรรมฐาน ท่านจะเมตตาสนทนาธรรมเป็นพิเศษอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย

จริงๆ แล้วท่านเป็นพระพูดน้อย ไม่มากโวหาร จะพูดย้ำอยู่แต่ในเรื่องการปฏิบัติธรรมและความไม่ประมาท เช่น ของดีอยู่ที่ตัวเราหมั่นทำ (ปฏิบัติ) เข้าไว้, ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต, อย่าลืมตัวตาย และให้หมั่นพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

อุบายธรรมของท่านนั้นขัดเกลาจิตใจคนอย่างค่อยเป็นค่อยไป มิได้เร่งรัดเอาผล และให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการปฏิบัติสมาธิภาวนา ถึงกับเมตตาให้ใช้ห้องส่วนตัวที่จำวัดเป็นที่รับรองสานุศิษย์และผู้สนใจได้ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม

หากลูกศิษย์คนใดสนใจขวนขวายในการปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็จะส่งเสริม สนับสนุน และให้กำลังใจ ที่สำคัญจะไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติธรรมของสำนักอื่นในเชิงลบหลู่ หรือเปรียบเทียบดูถูกดูหมิ่น

หลวงปู่ดู่ท่านเป็นเหมือนพ่อของลูกศิษย์ทุกๆ คนเหมือนอย่างที่พระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่นเรียกท่านว่า "พ่อแม่ครูอาจารย์" ซึ่งถือเป็นคำยกย่องอย่างสูง

นอกจากความอดทนอดกลั้นอันเป็นเลิศ ยังเป็นแบบอย่างของผู้ไม่ถือตัว วางตัวเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เมื่อครั้งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม) วัดสุทัศนเทพวราราม หรือที่เรียกกันว่า "ท่านเจ้าคุณเสงี่ยม" ซึ่งมีอายุพรรษามากกว่าท่าน 1 พรรษา มานมัสการ โดยยกย่องเป็นครูอาจารย์ เมื่อท่านเจ้าคุณเสงี่ยมกราบท่านเสร็จแล้ว ท่านก็กราบตอบ ต่างองค์ต่างกราบกันและกัน นับเป็นภาพที่พบเห็นได้ยาก

แม้จะมีวัตถุมงคลที่มากด้วยประสบ การณ์ แต่ท่านมิได้ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ ที่สร้างหรืออนุญาตให้สร้างพระเครื่อง ก็เพราะเห็นประโยชน์ เนื่องจากบุคคลจำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยวทางใจ ท่านมิได้จำกัดศิษย์เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ศิษย์ของท่านจึงมีกว้างขวางออกไป ทั้งที่ใฝ่ใจในธรรมล้วนหรือที่ยังต้องอิงกับวัตถุมงคล

ท่านเคยพูดว่า "ติดวัตถุมงคล ก็ยังดีกว่าจะให้ได้ติดวัตถุอัปมงคล"

พระเครื่องพระบูชาที่ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกให้แล้วปรากฏผลแก่ผู้บูชาในด้านต่างๆ เป็นเพียงผลพลอยได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ในทางโลก แต่กุศโลบายที่แท้จริงก็คือ มุ่งหวังให้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติภาวนา มีพุทธานุสติกรรมฐาน เป็นต้น

ปฏิบัติยังได้อาศัยพลังจิตที่ท่านตั้งใจบรรจุไว้ในพระเครื่อง ช่วยน้อมนำและประคับประคองให้จิตสงบได้เร็วขึ้น ตลอดจนใช้เครื่องสร้างเสริมกำลังใจ และระงับความหวาดวิตกขณะปฏิบัติ ดังนั้น แม้ว่าจะรับรองในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องที่ท่านอธิษฐานจิตให้ แต่สิ่งที่ท่านยกไว้เหนือกว่านั้นก็คือการปฏิบัติ ดังคำพูดที่ว่า "เอาของจริงดีกว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ นี่แหละของแท้"

หลวงปู่ดู่ ท่านย้ำเสมอว่า บางคนแม้แขวนพระที่ผู้ทรงคุณวิเศษอธิษฐานจิตให้ ก็ใช่ว่าจะรอดปลอดภัย อยู่ดีมีสุข เพราะทุกคนไม่อาจหลีกหนีวิบากกรรมที่ได้สร้างไว้ ธรรมทั้งหลายที่ท่านพร่ำสอน เปรียบได้กับการเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความดีงามบนดวงใจของศิษย์ ที่ท่านทุ่มเทให้ทั้งชีวิต ด้วยเมตตาธรรมยิ่ง

ปัจจุบันวัตถุมงคลประเภทพระเครื่องและเครื่องรางของขลังของหลวงปู่ดู่ ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาและนักสะสม โดยเฉพาะ "พระเหนือพรหม" ซึ่งเป็นพระที่มีลักษณะที่แตกต่างกว่าพระเครื่องหรือวัตถุมงคลที่พบโดยทั่วไป

มูลเหตุและแรงจูงใจในการสร้างพระเหนือพรหมของหลวงปู่ดู่ นั้น มาจากบทพระพุทธมนต์ "พาหุงมหากา" ในบทที่ 8 กล่าวไว้ว่า ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะ

แปลได้ว่า เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ผกาพรหม ผู้มีทิฏฐิแรงกล้าสำคัญว่าตนเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถทำให้ผกาพรหมยอมละทิ้งทิฏฐิมานะ และยอมว่าพระพุทธเจ้าสูงกว่า จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะทิฏฐิมานะของตน

"พรหม" หมายถึงผู้มีนามว่า "ท้าวผกา" มีฤทธิ์และสำคัญตนว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์ มีทิฏฐิที่ถือผิดรัดรึงอยู่อย่างแน่นแฟ้น องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ด้วยวิธีเทศนาญาณ ด้วยเดชะอันนี้ ซึ่งหลวงปู่ดู่ซาบซึ้งในบทพระพุทธ มนต์บทนี้ จึงจัดสร้าง "พระเหนือพรหม" ขึ้น

นอกเหนือจากนั้นยังมีวัตถุมงคลที่อยู่ในบทพระคาถาพาหุงมหากาอีก 7 บท สร้างออกมาอีก 7 พิมพ์ แต่ที่จัดสร้างมากที่สุดและเป็นที่นิยมที่สุดของบรรดาลูกศิษย์ก็คือ "พิมพ์พระเหนือพรหม" ซึ่งรูปแบบจะเป็นพระพรหมมี 4 พระพักตร์ และพบว่ามีรูปพระพุทธองค์อยู่บนเศียรของพระพรหม

พระชุดนี้จัดสร้างช่วงแรกปี 2517 มีเนื้อเดียวคือ "เนื้อผงสีขาว" หรือที่เรียกกันว่า "ผงมหาจักรพรรดิ" ที่หลวงปู่ดู่ลบผงด้วยตัวท่านเอง พระบางองค์มีคราบสีเหลือง มาจากที่ท่านนำพระเหนือพรหมแช่น้ำชาที่ท่านชงดื่ม และจะเป็นที่นิยมมากในบรรดาลูกศิษย์...

"พระเหนือพรหมเนื้อผง" ในยุคแรกนั้น ท่านจะไม่มีการปั๊มยันต์หมึกรูปกงจักร ซึ่งยันต์หมึกนี้ปั๊มหลังจากที่ท่านมรณภาพและคณะกรรมการวัดสะแกในสมัยนั้น เข้าไปสำรวจทรัพย์สินทั้งหมด และทำยันต์ปั๊มออกมาเพื่อป้องกันการปลอมแปลง ปัจจุบันสนนราคาเล่นหาสูงขึ้นอย่างมาก แม้จะมีของเก๊ระบาดหนักก็ตาม ส่วนประสบการณ์นั้นลูกศิษย์ทุกคนเชื่อว่า ใครผู้ใดมีพระเหนือพรหมของหลวงปู่ดู่ไว้บูชาและปฏิบัติดี คนผู้นั้นจะมีแต่ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต และเรื่องโชคลาภ ลูกศิษย์หลายคนได้สัมผัสมาแล้ว
ราคาเปิดประมูล14,900 บาท
ราคาปัจจุบัน14,900 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลอา. - 17 พ.ย. 2567 - 18:39.48
วันปิดประมูล ส. - 07 ธ.ค. 2567 - 18:39.48 (15วัน 23ชั่วโมง 39นาที)
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 14,900 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่การประมูล ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top