เหรียญเจริญลาภนิรันตราย วัดราชประดิษสถิตมหาสีมาราม จ.พระนครศรีอยุธยา ปี 2515 - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญเจริญลาภนิรันตราย วัดราชประดิษสถิตมหาสีมาราม จ.พระนครศรีอยุธยา ปี 2515

เหรียญเจริญลาภนิรันตราย  วัดราชประดิษสถิตมหาสีมาราม  จ.พระนครศรีอยุธยา ปี 2515   เหรียญเจริญลาภนิรันตราย  วัดราชประดิษสถิตมหาสีมาราม  จ.พระนครศรีอยุธยา ปี 2515
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญเจริญลาภนิรันตราย วัดราชประดิษสถิตมหาสีมาราม จ.พระนครศรีอยุธยา ปี 2515
รายละเอียดวัดราชประดิษฐฯ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๔ มีสมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดและเป็นเดียวของไทยที่สอบได้เปรียญธรรม ๑๘ ประโยคในสมัยนั้น และพระองค์ท่านก็ได้ทรงนิพนธ์โสฬสปัญหา (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพระกริ่งโสฬส) ในการครั้งนี้ทางวัดได้จัดสร้าง “พระกริ่งโสฬส, เหรียญพระนิรันตรายแบบพัดยศ, และแบบเสมา” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ศิษยานุศิษย์ในการฉลองวัดครบรอบ ๑๐๘ ปี และได้มีการจัดพิธีปลุกเสกอย่างยิ่งใหญ่ และมีคณาจารย์ชื่อดังทั่วทั้งประเทศและทั้ง ๔ ภาค มาร่วมนั่งปรกเป็นจำนวน ๑๐๘ รูป และได้จัดพิธีปลุกเสกเป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน (วันละ ๑๒ รูป)
ในการครั้งนี้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้เมตามาเป็นประธานในการจุดเทียนชัย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทรงพระสุหร่ายวัตถุมงคลรุ่นนี้ พระคณาจารย์ที่นั่งปรกในวันแรกเท่าที่จำได้มีดังนี้ พระราชสุทธาจารย์ (หลวงพ่อโชติ ระลึกชาติ) เป็นประธาน ตามด้วยหลวงปู่โต๊ะ, หลวงปู่แหวน, หลวงพ่อแพ, หลวงพ่อเนื่อง, หลวงพ่อเทียม, หลวงปู่คร่ำ, หลวงพ่อรวย, หลวงพ่อประสิทธิ์, หลวงพ่อกิ๋, หลวงปู่วัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพระคณาจารย์สายวิปัสสนาทั้ง ๔ ภาคร่วมนั่งอธิฐานจิตปลุกเสกเป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน นับว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่และหาได้ไม่ง่ายนักในสมัย ๔๖ กว่าปีที่ผ่านมา
(ข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ พระที่ปลุกเสก หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ (ปรมาจารณ์ความเหนียว),หลวงพ่อเจริญ วัดเขาบันไดอิฐ, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงปู่บุญ โคกโคเฒ่า
,หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่
วัตถุมงคล 108 ปี ‘วัดราชประดิษฐ์ฯ’ อีกหนึ่ง ‘ยอดของดี’ ที่ถูกซ่อนเร้น
“วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร” เป็นอีกหนึ่ง “พระอารามหลวงชั้นเอก” ที่มีความสำคัญและโดดเด่นถึง 2 ประการคือ
ประการแรก เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นเป็นพระอารามหลวงของพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณีว่า บนผืนแผ่นดินไทยเมืองใดเป็นเมืองหลวงจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัดคือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และ วัดราชประดิษฐ์ โดยจะเห็นได้ว่าที่ กรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา) และ สุโขทัย, สวรรคโลก, พิษณุโลก ก็มีวัดทั้ง 3 ชื่อนี้ ประการที่สอง เพื่ออุทิศถวายแด่คณะธรรมยุตนิกายโดยเฉพาะคือเมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช พระองค์ทรงเป็นหัวหน้านำพระสงฆ์ชำระข้อปฏิบัติก่อตั้ง คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตนิกาย วัดราชประดิษฐ์ฯ จึงนับเป็นพระอารามแห่งแรกของคณะธรรมยุต ซึ่งจากความสำคัญของวัดราชประดิษฐ์ฯ ทั้งสองประการนี้ พระมหากษัตริย์ ในรัชกาลต่อ ๆ มาก็ทรงรับวัดราชประดิษฐ์ฯ เข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ทุกพระองค์สืบมากระทั่งทุกวันนี้ วัดราชประดิษฐ์ฯ จึงเป็นวัดที่มีความสำคัญใน พระมหาจักรีบรมราชวงศ์ อีกวัดหนึ่ง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาวัดราชประดิษฐ์ฯ ขึ้นเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2407 และในปี พ.ศ. 2515 นับเป็นศุภวาระมงคลวโรกาสที่วัดราชประดิษฐ์ฯ ได้สถิตสถาพรมีอายุ ครบ 108 ปี หากเป็นคนก็จะเรียกว่ามีอายุครบ 9 รอบนักษัตร พอดี ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม อุฑาฒิมมหาเถร) อ่านว่า “อุดาทิมะมะหาเถระ” เจ้าอาวาสในขณะนั้นเมื่อครั้งยังดำรง สมณศักดิ์ที่ “พระธรรมปาโมกข์” ได้ประชุมปรึกษาหารือพระภิกษุและสามเณรทั้งวัดโดยต่างมีความเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจัดงานสมโภชตามโบราณราชประเพณีประกอบกับวัดราชประดิษฐ์ฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก จึงได้ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณให้งานสมโภชครบ 108 ปี ครั้งนี้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์พร้อมเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีอีกด้วย โดยทางวัดได้กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 16-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 และมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ
(1) สมโภชพระอารามหลวงที่มีอายุครบ 108 ปี
(2) สมโภช “พระนิรันตราย” องค์ประจำวัดซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานประจำวัดธรรมยุตตามพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ สมเด็จพระบรมชนกนาถ ซึ่งองค์ของวัดราชประดิษฐ์ฯ นี้มีหมายเลขลำดับที่ 14 และต่อมาได้ถูกโจรใจบาปทำการโจรกรรมไป แต่ไม่นานนักก็ติดตามกลับคืนมาได้โดยฝีมือของตำรวจภายใต้การควบคุมของ พล.ต.ต.มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น ผู้บังคับการตำรวจนครบาลเหนือ (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น)
(3) จัดสร้าง “พระนิรันตราย” (ขนาดบูชา) พร้อม “พระกริ่งนิรันตราย” และ “พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราช (สา)” หรือ “พระกริ่งโสฬส รุ่น 2” (รุ่น แรกสร้างเมื่อครั้งจัดงานสมโภชครบ 100 ปีวัด พ.ศ. 2507) นอกจากนั้นยังมี “เหรียญนิรันตราย” อีก 2 แบบคือ “พัดยศ” หรือ “เจริญยศ” และแบบ “เสมา” หรือ “เจริญลาภ” รวมทั้ง “พระกริ่งนิรันตรายขนาดเล็ก” และ “พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4” พร้อม “ล็อกเกตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” ขณะทรงถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแก่ “สมเด็จพระมหาวีรวงศ์” เพื่อให้พุทธศาสนิกชนนำไปสักการบูชาโดยรายได้นำบูรณ ปฏิสังขรณ์วัดราชประดิษฐ์ฯ ที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา
สำหรับการจัดสร้างวัตถุมงคลนั้นทางคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย “สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม)” เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระธรรมปาโมกข์” เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และ พลเอกประภาส จารุเสถียร รองหัวหน้าคณะปฏิวัติในขณะนั้นเป็นประธานฝ่ายฆราวาสโดยกราบบังคมทูลอัญเชิญเชิญเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเสด็จฯ เททองหล่อ “พระนิรันตราย” (ขนาดบูชา) เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2515 จำนวน 908 องค์ ตามจำนวนสั่งจองจากนั้นจึงนำทองชนวนที่เหลือจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเททองไปจัดสร้าง “พระกริ่งนิรันตราย ทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก, พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราชสา (กริ่งโสฬส)” และ “เหรียญพระนิรันตราย” ทั้งสองแบบ ดังกล่าวข้างต้นอย่างละ 50,000 องค์ เท่ากันยกเว้น “พระบรมรูปรัชกาลที่ 4” ประทับยืนแบบเดียวกับองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ใน ปราสาทพระจอมเกล้า (ปราสาททรงพระปรางค์) สร้างจำนวน 108 องค์ และ “ล็อกเกต” จำนวนหลักร้อยเช่นกันซึ่งหลังการสร้างวัตถุมงคลเสร็จแล้วได้จัดทำ พิธีพุทธาภิเษกและมังคลาภิเษก ภายใน พระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ฯ ระหว่างวันที่ 16-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 รวม 9 วัน 9 คืน ซึ่งตรงกับช่วงวันสถาปนาวัดพอดีโดยนิมนต์พระคณา จารย์ผู้ทรงวิทยาคุณในขณะนั้น ทั่วพระราชอาณาจักร เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก คืนละ 12 รูป รวมทั้งหมด 108 รูป เท่ากับอายุของวัดราชประดิษฐ์ฯ ทุกประการโดยพระคณาจารย์ที่ทรงวิทยาคุณได้แก่ “หลวงปู่แหวนวัดดอยแม่ปั๋ง, หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, (ปกติแล้วหลวงปู่ทิมจะไม่ออกจากวัดละหารไร่ไปร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่อื่น ๆ โดยเด็ดขาด จึงนับว่าพิธีในครั้งนี้เป็นกรณีที่พิเศษจริง ๆ โดยมีภาพถ่ายยืนยัน) หลวงปู่คร่ำวัดวังหว้า, หลวงปู่ดู่วัดสะแก, หลวงปู่เทียมวัดกษัตราธิราช, หลวงพ่อโชติ (ระลึกชาติ), หลวงปู่ขาววัดถ้ำกองเพล, หลวงปู่เทศก์วัดหินหมากเป้ง, หลวงปู่จันทร์วัดเลยหลง, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อมุ่ยวัดดอนไร่, หลวงพ่อถิรวัดป่าเลไลยก์, หลวงพ่อกี๋วัดหูช้าง, หลวงพ่อแพวัดพิกุลทอง, หลวงพ่อหลิววัดไร่แตงทอง, หลวงตามหาบัววัดป่าบ้านตาด” ฯลฯ เป็นต้น.
กล่าวถึงพิธีการสร้างวัตถุมงคล “ฉลอง ๑๐๘ ปีวัดราชประ ดิษฐ์ฯ” ที่นับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช เสด็จฯ ทรงเททองหล่อ “พระพุทธรูปนิรันตราย”(จำลอง) จำนวน๑๐๘ องค์ โดยทองชนวนที่เหลือจากทรงเททองครั้งนั้นได้นำไปจัดสร้าง “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์นิรันตราย, พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราชสาหรือพระกริ่งโสฬส, เหรียญพระนิรันตราย ทั้งแบบ พัดยศ (เจริญยศ)และแบบ เสมา (เจริญลาภ) ซึ่งวัดราชประดิษฐ์ฯได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกและมังคลาภิเษกที่มี “พระบรมรูปจำลองพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และ ล็อกเกตพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชพระราชทานถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม) ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระธรรมปาโมกข์” ร่วมอยู่ในพิธีด้วย
วัตถุมงคลชุดฉลอง ๑๐๘ ปีวัดราชประดิษฐ์ฯนี้ส่วนใหญ่จะมีตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ โดยมีพระปรมาภิไธยย่อ “ม.ป.ร” ประกอบอยู่ด้วยซึ่งพระปรมาภิไธยย่อนี้มาจากพระปรมาภิไธยเต็มของพระองค์ที่เฉลิมและจารึกในพระสุพรรณบัฏ (แผ่นทองคำ) ว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ สุทธิสมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูล บุรพา ดูลยกฤษฏาภินิหาร สุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒน์สรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุคุณวิบุลยสันดานทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฏกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหัตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษสิรินธรมหาชนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหา สยามินทรมเหศวรมหินทร มหาราชวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาธิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัยอโนมัยบุญญาการ สกลไพศาลมหารัษฏาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมิก มหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”
พระปรมาภิไธยเต็มของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่อัญเชิญมาให้ท่านผู้อ่าน “อ่านความจริง” ได้ทราบกันนี้เป็นเพราะหาอ่านได้ยากไม่ค่อยมีการนำมาเผยแพร่ซึ่ง พระปรมาภิไธยนี้จะเรียกขานสั้น ๆ เป็นทางการว่า “มงกุฎปรมราชาธิราช” (ปัจจุบันจะแผลง “ปรม” เป็น “บรม” แต่พระปรมาภิไธยย่อยังคง “ป.ปลา” ไว้และใช้พระปรมาภิไธยย่อเป็นอักษรประดิษฐ์ประกอบกับพระมหาพิชัยมงกุฎว่า “ม.ป.ร.” ดังนั้นพระปรมาภิไธยของ “รัชกาลที่ ๔” และ พระมหากษัตริย์ในพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทุกพระองค์จะมีด้วยกัน ๓ แบบที่เป็นทางการโดย (๑.) เป็นพระปรมาภิไธยเต็มที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ (ซึ่งได้อัญเชิญมาแล้ว) (๒.) เป็นพระปรมาภิไธยย่อลงมาจากพระปรมาภิไธยที่จารึกในสุพรรณบัฏคือ “มงกุฎปรมราชาธิราช (บรมราชาธิราช)” และ (๓.) พระปรมาภิไธยย่อจากแบบที่ ๒ จนเหลืออักษร ๓ ตัวคือ “ม.ป.ร.” และทำเป็นอักษรประดิษฐ์ประกอบกับมหาพิชัยมงกุฎดังเช่นพระปรมาภิไธยย่อ “ภ.ป.ร.” และมหาพิชัยมงกุฎในรัชกาลปัจจุบันนั่นเอง
พระปรมาภิไธยเต็มที่จารึกในสุพรรณบัฏก็ดี พระปรมาภิไธยย่อจากพระสุพรรณบัฏก็ดี และพระปรมาภิไธยย่ออักษรพระปรมาภิไธย ๓ ตัวก็ดี ล้วนแต่เป็นพระนามที่พรรณนาถึงพระคุณของพระมหากษัตริย์พระองค์นั้น ๆ ซึ่งประพันธ์ถวายโดยด้วยบทร้อยแก้วอันไพเราะเพราะพริ้งและเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยที่เราทราบกันดีแล้วว่าชื่อของกรุงเทพฯ ที่ขึ้นต้นด้วย “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ฯ” นั้นก็ว่ายาวแล้วแต่พระนามของพระมหากษัตริย์ในพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ที่จารึกในพระสุพรรณบัฏมีความยาวกว่า โดยสังเกตได้จากพระปรมาภิไธยของ รัชกาลที่ ๔ และการที่ วัดราชประดิษฐ์ฯ จัดสร้างวัตถุมงคลฉลองวัด ครบ ๑๐๘ ปี พร้อมอัญเชิญตราประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๔ ประกอบกับพระปรมาภิไธยย่อ “ม.ป.ร.” ก็เท่ากับเป็นการอัญเชิญพระมหากษัตริยาธิคุณของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ มาสถิตในวัตถุมงคล ดังนั้นวัตถุมงคลชุดนี้จึงถึงพร้อมด้วย “พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และ พระมหากษัตริยาธิคุณ ของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันยิ่งใหญ่แก่ประเทศไทยถึง ๒ พระองค์คือล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔ และล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๙ กล่าวคือวัตถุมงคลชุดนี้โดยเฉพาะชุดที่มีสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อรัชกาลที่ ๔ ซึ่งก็คือ “พระกริ่ง-สมเด็จพระสังฆราช (สา)” หรือ “พระกริ่ง-โสฬส, เหรียญพระนิรันตราย
ราคาเปิดประมูล50 บาท
ราคาปัจจุบัน400 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลศ. - 15 พ.ย. 2567 - 17:05.36
วันปิดประมูล พฤ. - 05 ธ.ค. 2567 - 17:05.36 (14วัน 1ชั่วโมง 1นาที)
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 400 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่การประมูล ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
100 บาท จ. - 16 เม.ย. 2561 - 16:18.53
150 บาท จ. - 16 เม.ย. 2561 - 16:18.58
200 บาท จ. - 16 เม.ย. 2561 - 16:19.01
250 บาท จ. - 25 มิ.ย. 2561 - 00:17.46
300 บาท จ. - 25 มิ.ย. 2561 - 00:17.51
350 บาท จ. - 06 ส.ค. 2561 - 15:38.54
400 บาท อ. - 07 ส.ค. 2561 - 10:36.14
กำลังโหลด...
Top