เหรียญหล่อพระพุทธชินราช พิมพ์เข่าลอย หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ปี ๒๔๙๓ เนื้อโลหะผสม - webpra

ประมูล หมวด:หลวงพ่อเงิน – หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม - หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม

เหรียญหล่อพระพุทธชินราช พิมพ์เข่าลอย หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ปี ๒๔๙๓ เนื้อโลหะผสม

เหรียญหล่อพระพุทธชินราช พิมพ์เข่าลอย หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ปี ๒๔๙๓ เนื้อโลหะผสม เหรียญหล่อพระพุทธชินราช พิมพ์เข่าลอย หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ปี ๒๔๙๓ เนื้อโลหะผสม เหรียญหล่อพระพุทธชินราช พิมพ์เข่าลอย หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ปี ๒๔๙๓ เนื้อโลหะผสม เหรียญหล่อพระพุทธชินราช พิมพ์เข่าลอย หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ปี ๒๔๙๓ เนื้อโลหะผสม
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหล่อพระพุทธชินราช พิมพ์เข่าลอย หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ปี ๒๔๙๓ เนื้อโลหะผสม
รายละเอียดเหรียญหล่อพระพุทธชินราช พิมพ์เข่าลอย หลวงพ่อเงิน จนทสุวณโณ มีสองพิมพ์คือ พิมพ์สองหน้าและพิมพ์หน้าเดียว ได้จัดสร้างขึ้นในปี 2493 ใช้ทองที่เหลือจากการเททองหล่อพระพุทธศรีทักษิณนุสรณ์ซึ่งเป็นพระประธานมาทำ จึงต้องสร้างพร้อมกับพระพุทธศรีทักษิณนุสรณ์ซึ่งสร้างในปีนั้น โดยวัตถุประสงค์ เพื่อจะไว้ตอบแทนให้กับผู้อุปถัมภ์ในการบริจาคทรัพย์ในการสร้างโบสถ์วัดดอนยายหอม

แต่เดิมเชื่อกันว่าในการสร้างพระพุทธชินราชเข่าลอยนั้น ทางวัดได้ว่าจ้างโรงงานหล่อพระให้จัดสร้างขึ้น โดยมีนายช่างสนิท เปาวโร เป็นผู้แกะแบบพิมพ์และหล่อพระขึ้น ทำให้พระชินราชเข่าลอยนั้นมีรูปลักษณะพิมพ์ทรงและการหล่อที่งดงาม หากแต่ตอนนี้ได้มีการหาข้อมูลจากคนเก่าแก่ทั้งกรรมการวัด ผู้ใหญ่บ้านและลูกหลานหลวงพ่อ ได้ให้ข้อมูลตรงกันทั้งหมดว่า ชินราชเข่าลอยแท้จริงก็สร้างและเททองกันในวัด แต่ได้จ้างช่างโรงงานแกะแม่พิมพ์และได้ให้มาเป็นผู้ช่วยในการหล่อ จึงได้พระที่สวยงามแบบนี้ ส่วนที่ว่าหากสร้างจากวัดทำไมจึงแก่แต่ทองเหลืองไม่มีผสมเนื้ออื่นมากนัก ก็ได้ความว่าเพราะใช้ทองที่เหลือจากพระประธานเป็นหลักทำให้แก่ทองเหลือง โดยเตาที่แก่อย่างอื่นก็มีแต่น้อยมาก

โดยสาเหตุที่ถูกเรียกกันว่าชินราชเข่าลอยนั้น ก็เพราะก่อนที่จะมีการจัดสร้างชินราชเข่าลอยนั้น หลวงพ่อเงินได้จัดสร้างพระพุทธชินราชหล่อเนื้อทองผสมขึ้นเองมาครั้งหนึ่งแล้ว ซึ่งก็คือชินราชเข่าจมนั้นเอง

พระพุทธชินราชเข่าลอยนั้นสร้างขึ้นโดยวิธีหล่อโบราณแบบหล่อช่อ คือมีการขึ้นแบบหุ่นเทียนเป็นช่อๆ มีท่อชนวนเชื่อมต่อในการเดินโลหะ โดยหนึ่งช่อจะมีพระราว 30 องค์เกาะกับต้นชนวนคล้ายต้นสน เมื่อหล่อเสร็จจึงทุบเบ้าออกแล้วค่อยเคาะแยกออกเป็นองค์ๆ ในภายหลัง สุดท้ายทำการตะไบแต่งก้นเอาเดือยท่อชนวนออกให้เรียบร้อย แต่ในบางองค์ไม่ได้ตะไบเดือยทิ้งก็มี

เนื้อหานั้นเป็นเนื้อโลหะผสมทำให้มีชนวนหลายประเภทที่ผสมกันอยู่ ผิวพรรณวรรณะขององค์พระจึงมีหลายสีหลายโทน ที่พบมากที่สุดคือผิววรรณะสีเหลืองออกคล้ำและมักจะมีคราบสีดำปกคลุมอยู่ ซึ่งผิวครามเบ้าสีดำนี้มักจะดูหนาและดูเหนอะ ส่วนผิวสีอื่นๆ คือสีออกดำบางทีเรียกว่าเนื้อขันลงหิน คาดว่าจะแก่เงินเมื่อเกิดสนิมจึงกลับดำ ส่วนอีกสีผิวหนึ่งเรียกกันว่าผิวก้านมะลิ ซึ่งผิวจะออกโซนก้านมะลิคือสีออกเขียวเข้มจัดใกล้เคียงสีดำแต่จะขึ้นพรายเงิน ดูแล้วมีความสวยงามอย่างมาก

ข้อมูลจากร้านพระเครื่องนครปฐม
ขอบคุณเจ้าของข้อมูล ค้นหาจาก GOOGLE
ราคาเปิดประมูล29,900 บาท
ราคาปัจจุบัน29,900 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลพฤ. - 24 ต.ค. 2567 - 10:20.02
วันปิดประมูล จ. - 04 พ.ย. 2567 - 18:57.05 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 29,900 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดก่อนกำหนดโดยผู้ตั้งประมูล
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top