ประมูล หมวด:พระเกจิสายนครปฐม
เหรียญหลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ จ.นครปฐม (รุ่น 7 ปี 33)+พระผงน้ำมันหลังวัวธนู ปี 35
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญหลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ จ.นครปฐม (รุ่น 7 ปี 33)+พระผงน้ำมันหลังวัวธนู ปี 35 |
---|---|
รายละเอียด | พระครูสุนทรวุฒิคุณ หรือหลวงพ่อพุฒ สุนทโรอดีตเจ้าอาวาสวัดกลางบางพระ ตำบลบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม นามเดิมนั้นท่านมีชื่อว่า พุฒ นามสกุล หาญสมัย เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 12 ปี จอ ณ บ้านเลขที่ 8 หมู่ที่ 4 ตำบลบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม บิดาของท่านชื่อ นายขำ หาญสมัย มารดาของท่านชื่อนางปาน หาญสมัย ซึ่งท่านมีพี่น้องด้วยกัน 5 คน คือ 1. นางสาวบุญรอด หาญสมัย 2. พระครูสุนทรวุฒิคุณ(หลวงพ่อพุฒ สุนทโร) 3. นางปุ่น นาคละมัย 4. นายปั่น หาญสมัย 5. นางบุญนาค กลั่นสนิท การศึกษาเล่าเรียนนั้น หลวงพ่อพุฒ ท่านได้ความรู้ติดตัวและได้เรียนมาจากวัด ซึ่งต่อมาหลวงพ่อพุฒได้จบการศึกษาสายสามัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ครอบครัวของท่านแต่เดิมมีอาชีพทำนา เมื่อท่านอายุได้ 20 ปี เข้ารับการคัดเลือกของราชการทหารให้เข้ารับราชการ หรือที่เราเรียกกันว่า เกณฑ์ทหาร ในที่สุดท่านก็ต้องเข้ารับใช้ชาติเป็นทหารรักษาพระองค์อยู่ถึง 2 ปี ได้กลับมาช่วยครอบครัว บิดา มารดา ของท่านทำงานอย่างขยันขันแข็งจนผู้คนในหมู่บ้าน และละแวกใกล้เคียง ชื่นชมยินดีส่งเสริมให้การทำงานอย่างจริงจังของท่าน ชีวิตความเป็นอยู่ก็อยู่ในกรอบศีลธรรมอันดีงามจนชาวบ้านในท้องถิ่นต่างเสนอให้ทางราชการแต่งตั้งท่านเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2489 ผู้ใหญ่พุฒก็ตัดชีวิตทางโลกเข้าสู่ร่มกาสาวพัตรในรูปพระสงฆ์ ณ พัทธสีมา วัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตของท่าน โดยมีเจ้าอธิการหิ่ม อินทโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ทองอยู่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เปลี่ยน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยได้รับฉายาว่า สุนทโร เมื่อหลวงพ่อพุฒ หรือพระภิกษุพุฒในสมัยนั้น อุปสมบทใหม่ ๆ ท่านก็มีความมุ่งมั่นในการศึกษาพระธรรมวินัย และเมื่อท่านมีโอกาส ท่านก็ศึกษาตำรับตำราต่าง ๆ ซึ่งค่อนข้างจะแปลกกว่าพระรูปอื่น เพราะท่านไม่ชอบปล่อยเวลาให้ล่วงไปอย่างไร้ค่า ซึ่งตำรับตำราในสมัยนั้นก็หายากไม่มีมากมายเหมือนในสมัยปัจจุบัน หนังสือที่ท่านให้ความสนใจเป็นพิเศษส่วนมากก็จะเป็นหนังสือประเภทธรรมะ และตำรายาแผนโบราณ และในปีแรกนั้น พ.ศ. 2489 ท่านก็สามารถสอบนักธรรมชั้นตรีได้ ต่อมาอีก 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2491 ท่านก็สามารถสอบนักธรรมชั้นโทและชั้นเอกได้มาโดยลำดับ หลังจากที่หลวงพ่อพุฒได้อุปสมบทและศึกษาพระธรรมวินัย ตลอดจนวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ รวมทั้งได้ออกธุดงค์ได้เพียง 6 พรรษา ในปี พ.ศ. 2495 เจ้าอาวาสองค์ที่ 6 แห่ง วัดกลางบางพระ ได้มรณภาพลงตามสังขาร ทางคณะสงฆ์ ชาวบ้าน ตลอดจนกรรมการได้นิมนต์หลวงพ่อพุฒ ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสของวัดกลางบางพระเป็นองค์ที่ 7 สืบต่อมา ได้รับนามว่า พระอธิการพุฒ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 หลังจากที่พระอธิการพุฒ ในสมัยนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสของวัดกลางบางพระ ก็ได้ทำการพัฒนาวัด บูรณะปฏิสังขรณ์ เรื่อยมา โดยได้เริ่มมีการวางผังวัดใหม่เพื่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ซึ่งในสมัยนั้นวัดเป็นที่ลุ่มพอสมควร ต้องทำการถมดินเป็นจำนวนมาก โดยได้รับแรงศรัทธาจากชาวบ้านในสมัยนั้น ซึ่งต้องใช้แรงงานคน ชาวบ้านก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ต่อมาได้ทำการซ่อมแซมบูรณะพระอุโบสถขึ้นใหม่อีกครั้ง เพราะชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ซึ่งในอดีตพระอธิการดาได้ทำการบูรณะซ่อมแซมมาแล้ว 1 ครั้ง เมื่อบูรณะพระอุโบสถเป็นที่เรียบร้อยแล้วในปี พ.ศ. 2497 ก็ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญของวัดกลางบางพระ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 3 ปีเศษ ในด้านการศึกษานั้น หลวงพ่อได้รับการแต่งตั้งให้ดูงานด้านการศึกษามาโดยลำดับ คือ พ.ศ. 2496 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดกลางบางพระ เป็นกรรมการสอบธรรมสนาม หลวง พ.ศ. 2500 เป็นกรรมการอุปถัมภ์โรงเรียนวัดกลางบางพระ พ.ศ. 2515 เป็นกรรมการอุปถัมภ์โรงเรียนสหศึกษาบาลี องค์พระปฐมเจดีย์ พ.ศ. 2529 เป็นประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล พ.ศ. 2530 เป็นหน่วยรับพิเศษของเจ้าคณะใหญ่หนกลาง วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2542 หลวงพ่อมีอาการเหนื่อยและอ่อนเพลีย จึงไปนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลห้วยพลู ต่อมาในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2542 อาการของหลวงพ่อยัง ไม่ดีขึ้นระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย เริ่มไม่มีประสิทธิภาพ รุ่งเช้าวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2542 เวลาประมาณ 08.45 น. หลวงพ่อได้จากพวกเราไปด้วยอาการอันสงบ คณะศิษยานุศิษย์ได้นำศพของหลวงพ่อกลับมายังวัดกลางบางพระและได้รับพระราชทานน้ำสรงศพ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2542 เวลา 17.00 น. อย่างสมเกียรติท่ามกลางความอาลัยของคณะศิษยานุศิษย์ สิริรวมอายุของหลวงพ่อได้ 88 ปี 2 เดือน 8 วัน จากคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างสมปฏิบัติมา จึงได้รับพระราชทานสมศักดิ์ตามลำดับ คือ 1. ได้รับพระราชทานเป็นพระครูชั้นประทวน ในนามพระครูพุฒ สุนทโร เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2509 อายุ 54 ปี พรรษา 20 2. ได้รับพระราชทานเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในนามพระครูสุนทรวุฒิคุณ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2513 อายุ 58 ปี พรรษา 24 3. ได้รับพระราชทานเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 อายุ 63 ปี พรรษา 29 4. ได้รับพระราชทานเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2534 อายุ 80 ปี พรรษา 45 5. ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์จากสมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 อายุ 82 ปี พรรษา 47 วัตถุมงคลที่ท่านสร้างไว้มีมากแต่ที่จะพอนำมากล่าวได้ก็คือ - เหรียญรุ่นแรก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2505 แจกเปิดโรงเรียนวัดกลางบางพระ เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2509 เป็นเหรียญรูปทรงเสมาหลวงพ่อหน้าตรงครึ่งองค์ เห็นสังฆาฏิทำด้วยสตางค์แดงผสมทองแดง และอีกชนิดหนึ่งทำด้วยทองเหลืองฝาบาตร ซึ่งเป็นพิมพ์เดียวกัน หน้าเหรียญเขียนว่า พระอธิการพุฒ สุนทโร ซึ่งในปัจจุบันหายากพอสมควร - เหรียญรุ่นที่สองสร้างเมื่อ พ.ศ. 2513 เมื่อครั้งรับพระราชทานเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี เป็นเหรียญเต็มองค์นั่งขัดสมาธิ เขียนใต้ฐานว่า พระครูสุนทรวุฒิคุณ บนเขียนว่าวัดกลางบางพระ - เหรียญรุ่นที่สามเป็นเหรียญเสมา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2522 เป็นเหรียญรูปหล่อหลวงพ่อครึ่งองค์ สร้างเป็นที่ระลึกในงานฉลองพระครูสัญญาบัตรชั้นโท - เหรียญรุ่นที่สี่เป็นเหรียญกลมหลวงพ่อครึ่งองค์ด้านหลังเป็นหนังสือ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2528 - เหรียญรุ่นที่ห้าเป็นเหรียญเสมารูปหลวงพ่อเต็มองค์ นั่งถือไม้เท้า ด้านหลังเขียน ที่ระลึกในงานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นชั้นเอก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2533 - เหรียญรุ่นที่หกเป็นเหรียญเสมาหลวงพ่อเต็มองค์นั่งทับปืนและลูกระเบิด ซึ่งเป็นเหรียญยอดนิยมที่ชาวบ้านเรียกกันว่า เหรียญปืนไขว้หรือเหรียญนั่งทับปืน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2533 - เหรียญรุ่นที่เจ็ดเป็นเหรียญเสมารูปหลวงพ่อครึ่งองค์ด้านหน้าเขียนว่าหลวงพ่อพุฒ อายุ 80 ปี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2533 - เหรียญรุ่นที่แปดเป็นเหรียญรูปไข่หลวงพ่อนั่งเต็มองค์ถือไม้เท้า ด้านหลังเขียนว่า ที่ระลึกในงานฉลองพระเกตุจุฬามณี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 - เหรียญรุ่นที่เก้าเป็นเหรียญเสมาหล่อปืนไขว้ นั่งทับปืน มีทั้งเนื้อเงิน เนื้อนวะ และเนื้อทองแดง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2535 - เหรียญรุ่นที่สิบเป็นเหรียญกงจักรหลวงพ่อนั่งทับปืน - นอกจากนี้ยังมีวัวธนูบูชาและห้อยคอ ราหูอมจันทร์ แกะจากกะลาตาเดียวทั้งที่เป็นลูกและห้อยคอ พระผงรุ่นต่าง ๆ ตะกรุด สี และอื่น ๆ อีกมากที่หลวงพ่อท่านได้สร้างไว้ให้ลูกศิษย์ได้บูชา เหรียญที่นำมานี้เป็นเหรียญหลวงพ่อ รุ่น 7 ปี 33 + พระผงน้ำมันหลังวัวธนู รุ่น 9 ปี 35 |
ราคาเปิดประมูล | 50 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 150 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 50 บาท |
วันเปิดประมูล | ศ. - 06 ธ.ค. 2567 - 09:36.47 |
วันปิดประมูล | พฤ. - 26 ธ.ค. 2567 - 09:36.47 (4วัน 9ชั่วโมง 14นาที) |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 150 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
เพิ่มครั้งละ | 50 บาท |
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่การประมูล ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
100 บาท | ส. - 05 ต.ค. 2567 - 20:47.25 | |
150 บาท | ศ. - 18 ต.ค. 2567 - 15:59.08 |
กำลังโหลด...