เสือมหากระดอน งาแกะรุ่น 2 หลวงพ่อทองเหมาะ วัดชีปะขาว สุพรรณบุรี - webpra

ประมูล หมวด:เครื่องรางของขลัง

เสือมหากระดอน งาแกะรุ่น 2 หลวงพ่อทองเหมาะ วัดชีปะขาว สุพรรณบุรี

เสือมหากระดอน งาแกะรุ่น 2 หลวงพ่อทองเหมาะ วัดชีปะขาว สุพรรณบุรี เสือมหากระดอน งาแกะรุ่น 2 หลวงพ่อทองเหมาะ วัดชีปะขาว สุพรรณบุรี เสือมหากระดอน งาแกะรุ่น 2 หลวงพ่อทองเหมาะ วัดชีปะขาว สุพรรณบุรี เสือมหากระดอน งาแกะรุ่น 2 หลวงพ่อทองเหมาะ วัดชีปะขาว สุพรรณบุรี เสือมหากระดอน งาแกะรุ่น 2 หลวงพ่อทองเหมาะ วัดชีปะขาว สุพรรณบุรี
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เสือมหากระดอน งาแกะรุ่น 2 หลวงพ่อทองเหมาะ วัดชีปะขาว สุพรรณบุรี
รายละเอียดประวัติหลวงพ่อทองเหมาะ (พระครูสุวรรณพัฒนโกศล )วัดชีปะขาว ม.3 ต.ตะค่า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ผู้สืบทอดพุทธาคม หลวงพ่อเนียม วัดน้อย หลวงพ่ออ่ำ วัดชีปะขาว หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ
ปัจจุบันอายุ ๗๒ ปีเดิมชื่อ ทองเหมาะ ศรีสุข เกิดวันที่ ๑๑ ก.พ. ๒๔๘๑ ปีขาล ณ.บ้านตะค่า ใกล้วัดชีปะขาว เป็นบุตรพ่อเอก แม่เจียน มีความสนใจในพระเวทย์วิทยาคมตั้งแต่เด็กเพราะท่านมีปู่เป็นนักเลงเรืองอาคม เนื่องจากปู่เป็นศิษย์หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ผู้ซึ่งเป็นศิษย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรํสี วัดระฆังฯ และยังเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดันและเกจิอีกหลายรูปของจ.สุพรรณบุรี นอกจากนี้ปู่ของท่านยังได้รับตำราที่เกี่ยวกับการลงตะกรุดเลขยันต์วิชาคงกระพันชาตรีจากหลวงพ่อเนียมถึง ๓ เล่ม มีวิชาเด่นๆอยู่มากมายเช่น วิชาเสือมหาอำนาจ วิชาตรีนิสิงเหที่หลวงพ่อเนียมใช้ลงตะกรุดมหาอุตม์ วิชาหัวใจพระกัสสป(สี่เกลอ)ที่นำมาลงเป็นตะกรุดสังวาลเพชร วิชาลบผงต่างๆ วิชาเหล่านี้หลวงพ่อทองเหมาะและพี่ชายของท่านได้สืบทอดไว้จนหมดสิ้นตั้งแต่ก่อนบวชแล้ว อีกทั้งท่านยังได้รับพุทธาคมจากอ.ยิ้ม อาจารย์สัก ฆาราวาสหนังเหนียวที่อยู่ข้างบ้านท่านด้วย ทำให้หลวงพ่อทองเหมาะนั้นเชี่ยวชาญอาคมตั้งแต่หนุ่ม ทำให้วัยรุ่นในย่านนั้นนับถือยำเกรงหลวงพ่อเพราะท่านเป็นคนไม่ค่อยพูด มีจิตใจแน่วแน่ เป็นนักเลงเต็มตัว พอคัดเลือกทหารเสร็จท่านจึงอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๔ ก.พ. ๒๕๐๒ ณ.อุโบสถวัดชีปะขาวโดยมี พระสุนทรธรรมคณี วัดลานดา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อขมและหลวงพ่อเกลี้ยงวัดชีปะขาวเป็นพระกรรมวาจารย์และอนุสาวนาจารย์โดยลำดับ บวชแล้วไปจำพรรษาณ.วัดลานคา กับพระพี่ชายคือ พระครูสุวิบูลย์สังฆกิจ (ประจวบ สมฺปณโณ ) และไปศึกษาพระเวทย์วิทยาคมกับหลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ เจ้าตำรับตุ๊กแกร้องได้อันโด่งดังโดยหลวงพ่อครื้นเมตตาถ่ายทอดวิชาตุ๊กแกร้องได้ให้ จากนั้นก็ได้ไปเรียนวิชาน้ำมนต์เดือดและวิธีเสกพระแบบวัดปากน้ำกับหลวงพ่อเล็ก วัดลาดหอย ศิษย์หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ผู้เป็นลุงของท่าน และเรียนวิชาต่างๆอีกมากมายกับ อาจารย์หล่อ ศิษย์ฆาราวาสของหลวงพ่ออ่ำ วัดชีปะขาว หลานชายแท้ๆของหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ระหว่างนั้นท่านกับพระพี่ชายก็ได้ออกรุกขมูลทุกปี โดยบางปีเข้าไปถึงเขมรได้พบปะแลกเปลี่ยนร่ำเรียนพระเวทย์อีกมาก เคยถูกลองของมาก็ไม่น้อย จนกระทั่งเริ่มชราหลวงพ่อจึงหยุดเดินรุกขมูลในปีพ.ศ.๒๕๓๕ในขณะที่หลวงพ่อบวชได้๔-๕พรรษานั้นหลวงพ่อจวบพระพี่ชายถูกส่งไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบางใหญ่ หลวงพ่อก็ติดตามไปด้วย ปรากฏว่าคืนแรกก็ถูกอันธพาลเจ้าถิ่นพวกของเจ้าอาวาสองค์เก่าคิดร้ายมาลอบยิงถึง ๓ แชะแต่ไม่ออกสักนัด หลวงพ่อฯหันไปเห็น จึงหยิบกะลามาเสกครอบคนพาลนั้นไว้ที่ใต้ถุนศาลา พอเช้าพวกกรรมการวัดมากราบ หลวงพ่อจึงสัพยอกบอกกรรมการวัดให้ไปปล่อยหมาที่ท่านขังไว้ใต้ถุนศาลาที แล้วหลวงพ่อก็หงายกะลาขึ้น พอกรรมการวัดลงไปใต้ถุนศาลาก็พบมือปืนนั่งจับเสาศาลาอยู่และสติฟั่นเฟือนเป็นคนบ้าไปเลย หลังจากข่าวนี้เริ่มขจรขจายไป ชาวบ้านต่างก็พากันมาขอของดีแต่หลวงพ่อไม่มีอะไรให้เพราะไม่ได้สร้างวัตถุมงคล ท่านจึงเริ่มใช้วิชาอาคมสงเคราะห์ชาวบ้านโดยการสักยันต์ ปรากฎว่าเกิดประสบการณ์ทางคงกระพันมากมาย ทำให้ในแต่ละวันมีผู้คนที่รับทราบถึงเกียรติคุณมารอสักจำนวนมาก จนตัวท่านเองแทบไม่มีเวลาพักผ่อน จนพระพี่ชายของหลวงพ่อซึ่งเป็นรองเจ้าคณะอำเภอบางปลาม้าและเจ้าอาวาสวัดบางใหญ่ในสมัยนั้นขอร้องอยู่หลายครั้งให้เลิกสักเพราะเป็นห่วงว่าพระน้องชายจะล้มป่วยประกอบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจขอร้องเนื่องจากลูกศิษย์ท่านหนังดี เริ่มฮึกเหิมไม่เกรงกลัวกฏหมาย ในที่สุดหลวงพ่อจึงยอมเลิกโดยนำเข็มสักไปทิ้งแม่น้ำท่าจีนหน้าวัด ปิดตำนานสักคงกระพันลง จากนั้นไม่นานพระพี่ชายจึงส่งท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดชีปะขาวตามคำขอของชาวบ้าน
เมื่อมาอยู่วัดชีปะขาวแล้วท่านจึงเริ่มทำตะกรุดสังวาลย์เพชรออกให้ญาติโยมบูชาจนเกิดประสบการณ์ฟันไม่เข้าหลายราย อาทิ ลูกลุงชิน (ร้านขายของชำหน้าวัด) ชื่อ โหน่ง ไปเที่ยวงานกาชาดจังหวัดแล้วเกิดเขม่นกับวัยรุ่นด้วยกันกระทั่งถูกแทงเข้าอย่างจังจนจุก แต่ไม่เข้าเพราะตะกรุดของหลวงพ่อนั่นเอง ส่วนลูกเขยลุงชิ้นก็เหมือนกันแขวนเดี่ยวตะกรุดหลวงพ่อฯตลอดเวลา วันหนึ่งกลับไปเยี่ยมบ้านที่สมุทรปราการเกิดเมาแล้วทะเลาะกับพี่ชายตนเอง ถูกพี่ชายฟันเสื้อขาดกระจุยแต่ไม่เข้า ด้วยประสบการณ์ที่เกิดต่อเนื่องมากมาย ทำให้มีคนเดินทางไปขอบูชาตะกรุดที่วัดฯแทบทุกวัน แต่ก็ต้องผิดหวังกลับไปเพราะหลวงพ่อฯทำคราวละไม่กี่ดอกและไม่สร้างตะกรุดมานานเกือบสองปีแล้วเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาสุขภาพและสายตาไม่เอื้ออำนวย เป็นเหตุให้คณะศิษยานุศิษย์ปรึกษาหารือกันขอให้หลวงพ่อจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเป็นเรื่องเป็นราวสักครั้งเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของทุกคน พอหลวงพ่อฯทราบความจึงสั่งให้ไปทำ เสือหล่อโบราณ (ตามแนวเหรียญหล่อโบราณหลวงพ่ออ่ำ) จำนวน ๕๐๐ ตัว มาปลุกเสกในวันเสาร์ ๕ ปีขาล เนื่องจากหลวงพ่อเองเกิดปีขาลและมีความรักความชอบ ความชำนาญในการผูกพยนต์ลงเสือโดยท่านผูกและเลี้ยงเสือไม้ตัวใหญ่ของท่านไว้เอง ๒ ตัวมาเนิ่นนาน ชื่อ ไอ้เหลือง กับ ไอ้ดำ
พระลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดท่านต่างทราบกิติคุณของเสือ ๒ ตัวนี้ดี ถ้าหลวงพ่อฯไม่อนุญาติจะไม่มีใครกล้าแตะหรือแม้แต่จะคิดปัดฝุ่น เสือ ๒ ตัวนี้นอกจากจะแก่กล้าทางมหาอำนาจจนใครๆกลัวแล้วหลวงพ่อยังสามารถผูกมันจนเรียกทรัพย์ได้อีก เรียกว่าเป็นเสือล่าทรัพย์ ก็ว่าได้ โดยเฉพาะไอ้เหลือง หลวงพ่อฯบอกว่าเก่งกว่าไอ้ดำ และหากจะค้นหาวิชาผูกพยนต์ลงเสือของหลวงพ่อว่ามาจากไหนแล้วก็คงจะหนีไม่พ้นว่าต้นตำรับคงสืบมาจากหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย เพราะจากประวัติหลวงพ่อเนียมได้กล่าวว่า วันหนึ่งหลวงพ่อเนียมเอ่ยปากขอสำรับเพลจากชาวบ้านแถบนั้นจำนวน ๕๐ สำรับโดยไม่ได้บอกว่าจะทำอะไรที่ไหน เพียงแต่ท่านพูดแล้วอมยิ้มน้อยๆ ว่าถึงคราวแล้วรู้เองครั้นใกล้จะถึงเวลาเพลสำรับที่ขอชาวบ้านไว้ก็ค่อยๆ ทะยอยมาสู่วัดครบตามจำนวนที่ขอไว้อย่างพร้อมเพรียง แต่ชาวบ้านมองไม่เห็นว่าจะมีอะไรผิดปกติ ใครจะมาจากไหนหรือไม่เห็นมีวี่แวว แต่พอกลองเพลงดังลั่นขึ้นเท่านั้น ท่านอาจารย์ปานวัดบางเหี้ย ซึ่งขณะนั้นก็เป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่เหมือนกัน พาภิกษุมารวม ๕๐ รูป เดินทางมานมัสการหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ พอเดินทางมาถึงหน้าวัดน้อย ปรากฏว่าเกิดพายุขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน เป็นที่ผิดปกติ ท่านอาจารย์ปาน วัดบางเหี้ย จึงพูดกับพระลูกศิษย์ที่ติดตามท่านมาว่า "เอ เห็นจะต้องแวะที่วัดนี้เสียแล้วเจ้าของท้องที่เขาเชิญไห้แวะ ไม่ควรขัดศรัทธา" จึงสั่งให้เรือจอดที่ท่าวัดน้อยแล้วพาภิกษุทั้งหมดขึ้นไปบนวัด ซึ่งก็ได้รับการต้อนรับจากหลวงพ่อเนียมและชาวบ้านที่รออยู่ก่อนแล้วด้วยการถวายเพลแก่คณะพระอาจารย์ปาน วัดบางเหี้ยทุกรูป ในครานั้นเองที่ทำให้ทั้งอาจารย์และศิษย์วัดน้อยและวัดบางเหี้ยมีโอกาสได้รู้จักแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ตำรับเสือหลวงพ่อปานจึงถูกสืบข้ามสายสู่จังหวัดสุพรรณบุรีในสายวัดน้อยนี่เอง
คาถาบูชา เสือมหากระดอน ๒
( ตั้งนะโม 3 จบ ) เฑาะ นะ อุ ปิ ยะ นะ งอ เฑาะ ยอ
ซองเดิมครับ รับประกันตามกฏทุกรณี
ราคาเปิดประมูล399 บาท
ราคาปัจจุบัน409 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 28 พ.ค. 2567 - 17:02.52
วันปิดประมูล พ. - 29 พ.ค. 2567 - 12:40.20 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 409 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
409 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พ. - 29 พ.ค. 2567 - 11:40.20
กำลังโหลด...
Top