ประมูล หมวด:พระเกจิภาคตะวันออก
ลูกอม ผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม กรุวัดสำนักขาม ชลบุรี (H)
ชื่อพระเครื่อง | ลูกอม ผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม กรุวัดสำนักขาม ชลบุรี (H) |
---|---|
รายละเอียด | เปิดตำนานหลวงปู่เที่ยง ติสสาโร สุดยอดประปรมาจารย์แห่งว่าน ในภาคตะวันออก คำนำ ตำนานความเป็นมาของหลวงปู่นี้ ได้รวบรวมบันทึกมาจากคำบอกเล่าของบุคคลต่าง ๆ ที่เคยเห็นและรู้จักท่านบ้าง คนที่เคยใกล้ชิดกับท่านบ้าง จากญาติและลูกหลานท่านบ้าง และขอกราบขอบพระคุณพระครูไพบูลย์พัฒนาภรณ์ (หลวงพ่อเฮียง) เจ้าคณะอำเภอบ้านบึง พระครูโสรัจธรรมคุณ รองเจ้าคณะอำเภอบ้านบึง ที่ได้เมตตาให้ข้อมูลบางส่วนเท่าที่ท่านจำได้ แต่ข้อมูลเหล่านี้ส่วนมากหาหลักฐานไม่ได้แล้ว ส่วนคนในรุ่นเดียวกันล้มหายตายจากกันไปหมดแล้ว ด้วยเหตุนี้จึงได้ใช้คำว่าตำนานความเป็นมาของหลวงปู่เที่ยง ติสสาโร เพราะมาจากคำบอกเล่าสืบต่อกันมา อาจมีบางส่วนที่คลาดเคลื่อนหรือขาดตกไปบ้างก็สุดที่จะหาข้อมูลได้ เพราะเวลาผ่านไปมากกว่า 100 ปีแล้ว จึงได้นำมาเรียบเรียงใหม่ด้วยความเคารพ เพื่อให้ระลึกถึงคุณูปการที่ท่านได้สร้างไว้ให้แก่วัดสำนักขามและพระศาสนาในฐานะบูรพาจารย์สืบไป พระอธิการเธียร ฐานทินโน เจ้าอาวาสวัดสำนักขาม ตอนที่ 1 ความเป็นมาของหลวงปู่ หลวงปู่เที่ยงเกิด พ.ศ.2434 ตรงสมัยการครองราชย์ของสมเด็จพระจุลจอมเกล้า (ร.5) มีชื่อและนามสกุลเดิมว่า บุญเที่ยง ภู่ยิ้ม เกิดที่หมู่บ้านหนองหญ้าปล้อง เขตตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึงนี้เอง ในสมัยนั้นที่นี่ก็นับว่าเป็นป่าทึบ ผู้คนส่วนมากในแถบนี้ก็ทำมาหากินอยู่กับป่า เช่นเก็บของป่ามาขายที่บ้านบึงบ้างหรือถ้าจะไปไกลอีกหน่อยก็เป็นเมืองพนัส แต่ทางบ้านของปู่เที่ยงก็อยากให้ลูกหลานเป็นคนดี มีความรู้เมื่อเด็กชายบุญเที่ยงอายุย่างเข้า วัยรุ่นจึงนำไปฝากให้เป็นเด็กวัดอยู่ที่วัดนามะตูม เพื่อให้ศึกษาวิชาทางศาสนาและหัดอ่านเขียน วิชาภาษไทย ครั้นอยู่ได้ 2 ปีหลวงพ่อโด่เห็นว่าเป็นคนดี มีความฉลาดจึงให้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดนามะตูม สามเณรเที่ยงได้ศึกษาเล่าเรียนกับหลวงพ่อโด่ทั้งวิชาภาษาไทยคาถาอาคมต่าง ๆ แต่หน้าที่ประจำที่มอบหมายให้คือการดูแลเลี้ยงว่านที่หลวงพ่อโด่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะหลวงพ่อรักษาโรคด้วยยาสมุนไพรตำหรับโบราณ หลวงพ่อจะสอนให้ทุกอย่างตั้งแต่การรดน้ำว่านก็ต้องภาวนาคาถากำกับ การเก็บ้ว่านที่ได้อายุแล้วไว้ผสมยารักษาโรค และไว้ผสมผงพุทธคุณต่าง ๆ เพื่อทำพระเครื่องให้บูชา ก็ต้องดูฤกษ์ยามวันข้างขึ้นหรือข้างแรม สามเณรเที่ยงทำหน้าที่นี้ได้อย่างดี เพราะชอบอยู่แล้วประกอบกับที่ตนเองก็ชอบอยู่แล้ว จึงไม่รู้สึกเบื่อหน้าที่นี้เลย ทุก ๆ วันหลังจากฉันเช้าแล้วก็ทำการรดน้ำว่านกว่าจะเสร็จแต่ละต้นก็ใช้เวลาไม่น้อย หลังจากนั้นก็นำว่านที่เก็บ้มาแล้วออกผึ่งแดดเก็บก่อนเที่ยงเอาออกตากอีกประมาณบ่าย 3 โมง เก็บประมาณ 5 โมงเย็น หลังกนั้นก็รดน้ำว่านอีกครั้งจนค่ำ เณรเคยถามหลวงพ่อว่า “ก็เราตากว่านตอนสายแล้วเก็บเอาตอนเย็นเลยไม่ได้หรือ” หลวงพ่อก็ตอบว่า “ไม่ได้หรอกเพราะแดดตอนเที่ยงถึงบ่ายสองมันร้อนจัด จะทำให้ว่านกรอบออกสีน้ำตาลดำ ไม่ดีเพราะไปผสมยาก็อ่อนสรรพคุณ ผสมเสื้อพระก็ยุ่ยง่ายและออกสีคล้ำ ส่วนตอนหลัง 5 โมงน้ำค้างเริ่มลงทำให้ว่านชื้นขึ้นราง่าย เอาไปทำอะไรก็ไม่ได้ที่พอดี ดังนั้นจึงต้องเก็บและตากอย่างนี้ทุก ๆ วัน” เพราะสมัยนั้นยังไม่มีถุงพลาสติกที่จะเก็บกันเปียกชื้นได้ ส่วนตอนเย็นหลังจากทำวัตรแล้ว ก็ต้องคุยดูให้ดีว่ามีใครมาหาหลวงพ่อหรือไม่ ถ้าเห็นว่าหลวงพ่อว่างก็ต้องเตรียมดินสอหินกับกระดานชนวนขึ้นไปเพราะหลวงพ่อจะสอนให้เขียนอักษรขอมและภาษไทยควบคู่กันไป บางวันที่ก็จะให้ท่องมนต์ให้ฟังเพื่อจะได้ออกเสียงอักขระได้ถูกต้อง บางวันก็เข้าฝึกกรรมฐานสลับกันไปอย่างนี้ทุกวัน สรุปแล้วกิจวัตรประจำวันที่หลวงพ่อท่านจัดให้เริ่มแต่ทำวัตรเช้าตี 4 กว่าจะเสร็จสิ้นก็เวลาประมาณ 3 ทุ่มแล้วก็ต้องเป็นอย่างนี้ทุกวันเป็นประจำ มีโอกาสรับใช้หลวงปู่ทิม วันนี้หลวงพ่อได้ให้เด็กวัดมาเริ่มให้เณรเข้าไปหา พอไปถึงท่านก็บอกว่าพรุ่งนี้เช้าเวลาออกบิณฑบาตให้ไปกับหลวงพี่ทิม ช่วยหิ้วปิ่นโตและบอกทางท่านด้วย เพราะท่านเพ่งมายังไม่รู้เส้นทาง ตั้งแต่นั้นมาเณรกับหลวงพี่ก็ดูเหมือนจะสนิทสนมกันดี ถึงแม้ว่าใคร ๆ จะมองว่าหลวงพี่เป็นพระที่มีความสำรวมอย่างเคร่งครัดเพราะพูดน้อย แต่กับเณรแล้วหลวงพี่ก็ให้ความเมตตาอย่างมาก ช่วยแนะนำสั่งสอนและเล่าประสบการณ์จากการเดิมธุดงค์ให้ฟังเสมอ บางวันหลวงพี่ก็จะลงมาช่วยรดน้ำต้นว่าน ช่วยเก็บกระด้งที่ตากว่าน ในที่สุดหลวงพี่ก็บอกกับเณรว่า “ฉันไม่ได้อยู่ที่นี่นานนักดอกหนา ตั้งใจว่าจะอยู่สัก 2-3 พรรษาก็จะกลับไปอยู่ที่เมืองระยอง” เณรจึงถามต่อไปอีกว่าแล้วหลวงพี่อยู่ที่วัดไหนล่ะ หลวงพี่ก็บอกว่าจะไปอยู่ที่วัดระหารใหญ่สักพักแล้วก็จะออกไปอยู่ที่วัดไร่วารีที่อยู่ใกล้ๆ กันเพราะเป็นสัปปายะเหมาะแก่การปฏิบัติกรรมฐาน หลังจากนั้นอีก 2 ปีหลวงพี่ทิมก็อำลาหลวงพ่อโด่เดินทางกลับไปเมืองระยอง ส่วนสามเณรเที่ยงก็ได้อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2455 ที่พัทธสีมาวัดหน้าพระธาตุ เมื่อบวชแล้วก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดนามะตูมศึกษาอยู่กับหลวงพ่อโด่ เช่นเดิม หลวงพ่อโด่เป็นพระที่มีวิชาความรู้กว้างขวางมากมายหลายแขนงอาทิเช่น วิทยาคุณทางไสยศาสตร มายาศาสตร์ โหราศาสตร์ การแพทย์แผนโบราณ เมื่อสามเณรเที่ยงบวชเป็นพระแล้วท่านยังไปมาหาสู่กับหลวงพ่อทิมอยู่เสมอ เคยนำเอาว่านที่เลี้ยงไว้และตากแห้งแล้วไปถวายหลวงพ่อทิมอยู่หลายครั้ง บางครั้งหลวงพ่อทิมท่านก็ให้ลูกศิษย์เดินทางมาจากระยองมาเอาว่านที่หลวงพ่อเที่ยงจัดไว้ให้เป็นการเฉพาะเลยทีเดียว มีเรื่องเล่ากันว่า ครั้งหนึ่งหลวงพ่อทิมท่านให้ลูกศิษย์เดินทางมารับว่านที่หลวงพ่อเที่ยงท่านจัดไว้ให้แล้ว ชะรอยลูกศิษย์คงจะเห็นว่าการเดินทางลำบาก จึงว่าว่านแถวบ้านค่ายเราก็มีออกมากมายทำไมจะต้องไปให้ลำบากด้วย หลวงพ่อท่านจึงบอกเปรียบเทียบให้ฟังว่า “ว่านป่าก็เหมือนช้างป่า ถึงจะเก่งก็อยู่แต่ในฝูง ไฉนเลยจะเทียบเท่าช้างศึกของพระนเรศวนที่ใช้้ชาติได้เล่า ว่านของหลวงพ่อเที่ยงท่านเลี้ยงถูกต้องตามตำรับโบราณของหลวงพ่อโด่ เหมือนช้างที่ฝึกแล้ว มีอาณุภาพเปรียบดังช้างศึก ทนลำบากเดินทางหน่อยนะลูก เมื่อเอามาผสมผงพลายกุมารแล้วจะมีอานุภาพมากยิ่งนัก” ส่วนหลวงพ่อเที่ยงเมื่อนั้นเมื่อเสร็จงานแล้ว หลวงพ่อทิมท่านถวานลูกอมมาให้ 1 บาตร (บาตรพระสีดำ) กับผงพลายกุมารอีกหนึ่งปิ่นโตเหลือง หลวงพ่อทิมท่านทำผงพลายกุมารอยู่ 3 ครั้งและทุกครั้งท่านก็จะมีส่วนในการถวายว่านให้แล้วก็ได้รับส่วนแบ่งถวายมาจากหลวงพ่อทิมแบบนี้ทุกครั้ง ของที่ได้มาท่านไม่เคยนำออกจำหน่าย มีแจกทานออกไปบ้างที่เหลือก็เก็บใส่กรุไว้ในใต้ฐานพระที่อยู่ในวิหารที่ท่านใช้สวดมนต์ ทำวัตรแทนอุโบสถ ส่วนตัวท่านเองมีหลักฐานปรากฏว่า เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดหนองยางที่หลวงพ่อโด่สร้างไว้หลายปี แต่ท่านชอบความสงบ จึงปลีกวิเวกมาสร้างสถานปฏิบัติธรรมที่บ้านสำนักขาม ห่างจากวัดหนองยางประมาณ 3 ก.ม |
ราคาเปิดประมูล | 800 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 850 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 50 บาท |
วันเปิดประมูล | พ. - 02 พ.ค. 2555 - 17:03.42 |
วันปิดประมูล | ส. - 05 พ.ค. 2555 - 17:07.30 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
850 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | ศ. - 04 พ.ค. 2555 - 17:07.30 |
กำลังโหลด...