ประมูล หมวด:พระสมเด็จญาณสังวรฯ วัดบวรนิเวศวิหาร
เหรียญสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ หลังกรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรฯ ปี 2514
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ หลังกรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรฯ ปี 2514 |
---|---|
รายละเอียด | "ผู้ให้กำเนิดพระกริ่งปวเรศอันโด่งดัง ต้นแบบพระกริ่งในเมืองไทย" พระประวัติ : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ และเจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๕๒ ตรงกับวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ อันเป็นวันเริ่มสวดมนต์ ตั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ จึงได้พระราชทานนามว่า พระองค์เจ้าฤกษ์ ทรงผนวช พ.ศ. ๒๓๖๕ พระชนมายุ ๑๓ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดมหาธาตุ สมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนักพระญาณสมโพธิ (รอด) ครั้งทรงผนวชเป็นสามเณรได้ ๔ พรรษา ประชวรไข้ทรพิษต้องลาผนวชออกมารักษาพระองค์ เมื่อหายประชวรแล้ว สมเด็จกรมพระราชบวรมหาศักดิพลเสพ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงจัดการให้ทรงผนวชเป็นสามเณรอีกครั้งหนึ่ง พ.ศ. ๒๓๗๒ พระชนมายุครบทรงผนวชเป็นพระภิกษุ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ทรงลาผนวชออกสมโภช แล้วแห่พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ เจ้าฟ้าอาภรณ์ ที่จะทรงผนวชเป็นเป็นสามเณรในเวลานั้น ในการทรงผนวชเป็นพระภิกษุนั้น สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ขณะทรงดำรงพระอิศริยยศเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส กับพระวินัยรักขิต วัดมหาธาตุ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุแล้วทรงศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่ ณ วัดมหาธาตุนั้น เช่นกัน ในเวลานั้น (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระเจริญพระชนมายุกว่า ๕ พรรษา) เป็นเหตุให้ทรงเลื่อมใสในลัทธิธรรมวินัยตามอย่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ภายหลังจึงได้ทรงอุปสมบทซ้ำอีกครั้งหนึ่งในนทีสีมา โดยพระสุเมธาจารย์ (พุทธวังสะ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ (๒) สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมจนทรงแตกฉานในภาษาบาลี แต่ไม่ทรงเข้าสอบเพื่อเป็นเปรียญ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพัดยศสำหรับเปรียญเอก ที่เคยพระราชทานแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อครั้งยังมิได้ทรงเป็นพระราชาคณะให้ทรงถือเป็นเกียรติยศ สืบมา พระนิพนธ์อันเป็นเครื่องแสดงถึงพระปรีชาสามารถในภาษาบาลีของพระองค์ก็คือ พระนิพนธ์เรื่อง สุคตวิทัตถิวิธานซึ่งทรงนิพนธ์เป็นภาษาบาลีว่าด้วยเรื่องการวิเคราะห์คืบพระสุคตอันเป็นมาตราวัดที่มีกล่าวถึงในทางพระวินัย นอกจากนี้ ก็ได้ทรงนิพนธ์เรื่องเบ็ดเตล็ดอื่นๆ เป็น ภาษาบาลีไว้อีกหลายเรื่อง นับว่าทรงเป็นปราชญ์ทางภาษาบาลีที่สำคัญพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์ ในรัชกาล ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะ สมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะสามัญ พระราชทานตาลปัตรแฉกถมปัดเป็นพัดยศ พ.ศ. ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะยังทรงผนวชอยู่ ทรงเป็นพระเถราจารย์ประธานแห่งพระสงฆ์ธรรมยุตินิกายทรงลาผนวชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นรัชกาลที่ ๔ จึงได้ทรงสถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าฤกษ์ เป็นกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ทรงอิสริยยศเป็นประธานาธิบดีแห่งพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า “ธรรมยุติกนิกายิกสังฆมัธยมบวรนิเวสาธิคณะ” ทรงดำรงสมณฐานันดรเป็นที่สองรองจาก สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งทรงดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆปริณายก คือสมเด็จพระสังฆราชอยู่ในขณะนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ จึงทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตเป็นพระองค์แรก (๓) ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ขณะทรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ เมื่อทรงผนวชแล้ว เสด็จประทับที่พระพุทธรัตนสถานมนทิราราม ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน โดยทรงเชิญเสด็จสมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ และนิมนต์พระราชาคณะผู้ใหญ่ต่างวัดเข้าไปอยู่ด้วยพอครบคณะสงฆ์ ทรงผนวชอยู่ ๑๕ วันก็ทรงลาผนวช (๔) หลังจากเสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชปรารภที่จะถวายมหาสมณุตมาภิเษกพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ในตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราช แต่สมเด็จมหาสมณเจ้าฯ พระองค์นั้นไม่ทรงรับ ทรงถ่อมพระองค์อยู่ว่า เป็นพระองค์เจ้าในพระราชวังบวรฯ จักข้ามเจ้านายที่เป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอทั้งทรงเจริญพระชนมายุกว่าก็มี จักเป็นที่ทรงรังเกียจของท่าน จึงทรงรับเลื่อนเพียงเป็นกรมพระ เสมอด้วยเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในชั้นเท่านั้น (๕) จึงทรงพระกรุณาโปรดให้เลื่อนพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ (๖) |
ราคาเปิดประมูล | 700 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 800 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | อา. - 06 ก.พ. 2565 - 19:47.59 |
วันปิดประมูล | จ. - 07 ก.พ. 2565 - 17:31.13 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 800 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
ราคาประมูลด่วน | 1,000 บาท |
เพิ่มครั้งละ | 100 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...