กำไลข้อมือ ครูบาน้อย (ศิษย์ครูบาผัด) วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่ - webpra

ประมูล หมวด:เครื่องรางของขลัง

กำไลข้อมือ ครูบาน้อย (ศิษย์ครูบาผัด) วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่

กำไลข้อมือ ครูบาน้อย (ศิษย์ครูบาผัด) วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่ กำไลข้อมือ ครูบาน้อย (ศิษย์ครูบาผัด) วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่ กำไลข้อมือ ครูบาน้อย (ศิษย์ครูบาผัด) วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่ กำไลข้อมือ ครูบาน้อย (ศิษย์ครูบาผัด) วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง กำไลข้อมือ ครูบาน้อย (ศิษย์ครูบาผัด) วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่
รายละเอียด
กำไลข้อมือ ครูบาน้อย (ศิษย์ครูบาผัด) วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่

ประวัติ พระครูบาน้อย

ครูบาน้อย เตชปญฺโญหรือพระครูสิริศีลสังวรเจ้าอาวาส วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ครูบาน้อย

บำเพ็ญเพียรตั้งมั่น อยู่ในสมณธรรมอย่างเคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย ปฏิปทางดงามเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ได้พบเห็น

ปัจจุบัน อายุ 58 พรรษา 36 นามเดิม ประสิทธิ์ กองคำ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2494 แรม 4 ค่ำ เดือน 3 (เหนือ) ปีขาล บ้านศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายคำและนางต๋าคำ กองคำ แรกเกิด

ท่าน มีสายรกพันรอบตัว ตามความเชื่อคนโบราณในภาคเหนือ เล่าสืบกันมาว่าจะได้บวชเป็นพระสืบทอดพระพุทธศาสนาเข้าพิธีบรรพชาเมื่อวัน ที่ 6 มิ.ย. 2507 โดยมีพระครูอินทรสธรรม (ครูบาอิ่นแก้ว อินทรโส) วัดกู่เสือ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์

ศึกษาตำรายา สมุนไพรและสรรพวิทยาคมต่างๆจาก พระครูพิศิษฏ์สังฆการพร้อมทั้งศึกษาพระปริยัติธรรมสามารถสอบได้นักธรรมเอก เมื่ออายุครบ 20 ปี วันที่ 3 พ.ค. 2514 เข้าพิธีอุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดพญาชมพู โดยมีพระครูพุทธาทิตยวงศ์ (ครูบาอุ่นเรือน อินทรโส) วัดป่าแคโยง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายา เตชปญฺโญ แปลว่า ผู้มีปัญญาเป็นเดชครูบาน้อย ศึกษาในพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ที่สำนักเรียนวัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน รวมทั้งฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานจากหลวงพ่อครูบาผัด และครูบาพรหมมา พรหมจักโก ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน อีกทั้งยังได้ศึกษาวิชาธรณีศาสตร์และพระคาถาต่างๆ จากพระครูจันทสมานคุณ (หลวงปู่หล้า ตาทิพย์) วัดป่าตึงอ.สันกำแพงจ.เชียงใหม่ด้วยศึกษาอักขระภาษาล้านนาวิทยาคมด้านเมตตา มหานิยมตำรับตำรายาสมุนไพรจากหลวงพ่อพระครูมงคลคุณาธร (ครูบาคำปัน นันทิโย) วัดหม้อคำตวง อ.เมือง เชียงใหม

่ครูบาน้อย ได้ทำการค้นคว้าวัตรปฏิบัติของครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยอย่างจริงจังจากหนังสือ (ปั๊บสาภาษาล้านนา) ต่างๆ ที่มีอยู่ จึงค้นพบวิธีการเข้านิโรธกรรมของครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย จึงตั้งสัจจะอธิษฐานที่จะอุทิศชีวิตแลกกับชีวิตของครูบาผัดที่กำลังอาพาธ อยู่ ด้วยการถือปฏิบัติการเข้านิโรธกรรม ตามแบบครูบาศรีวิชัย ปฏิบัติครั้งแรกในปีพ.ศ.2537 และถือปฏิบัติเป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เหมือนดังปาฏิหาริย์ ช่วงที่ได้ปฏิบัตินิโรธกรรม 2 วัน ปรากฏว่าอาการของครูบาผัด ที่คณะแพทย์บอกให้ทำใจ ได้หายเป็นปลิดทิ้ง จึงได้ปฏิบัติเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันครูบาน้อย ยังเป็นผู้ที่รู้คุณบุพการีและรำลึกถึงผู้มีพระคุณครูบาอาจารย์ที่ได้ ประสิทธิ์ประสาทวิชาต่างๆ จึงมักจะอบรมสั่งสอนสานุศิษย์ ให้รู้จักบุญคุณ ทดแทนพระคุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ จนได้รับฉายาว่า "นักบุญยอดกตัญญู"

ครู บาน้อย เป็นพระเถระที่มุ่งแสวงหาความสงบวิเวก ธุดงค์ไปยังจังหวัดเชียงราย ผ่านทางอำเภอดอยสะเก็ด ไปยังจ.เชียงราย พะเยา และแพร่ วกกลับมาทางจังหวัดลำปางเข้าลำพูนจนถึงวัดศรีดอนมูลครูบาน้อย ตระหนักดีว่า พระสงฆ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ คามวาส ี คือ พระที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน หรือในเมือง มีหน้าที่สำคัญในการอบรมสั่งสอนพุทธบริษัทให้กระทำความดีละเว้นความชั่วและ ทำจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ อรัญวาส ี คือ พระที่อาศัยอยู่ตามวัดป่า หรือป่า พระประเภทนี้จะใช้เวลาในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อความพ้นจากกิเลสเรื่องเศร้าหมอง จากเหตุผลนี้ จึงจัดสร้างสวนป่าปฏิบัติธรรม จำนวน 15 ไร่สวนป่าแห่งนี้ได้ใช้ในการปลูกป่า 3 ประเภท คือ ไม้ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา, ไม้สมุนไพรไทย, ไม้ในวรรณคดีไทย โดยตั้งใจให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชน พระภิกษุ สามเณร ในการปฏิบัติกัมมัฏฐาน

สำหรับวิธีการนิโรธกรรม ครูบาน้อย กล่าวว่า เป็นการตั้งจิตใจให้มั่นคงจากนั้น ภายใน 3-5-7-9 วัน จะไม่ฉันอาหาร ฉันเพียงแต่น้ำที่อยู่ในบาตร ขังตัวเองอยู่ในกุฏิหรือกระท่อมที่จัดสร้างขึ้นกว้าง 5 วา ยาว 5 วา มีประตูปิดเปิด ความหมายการเข้านิโรธกรรม คือ เข้า 3 วัน เปรียบหมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เข้า 5 วันคือพระเจ้าห้าพระองค์ พระกะกุสันโธ โกนาคะมะโน กัสสะโป โคตะโมอริยเมตเตยโย
เข้า 7 วัน คือ พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ สังวิทา ปุกะยะปะ
เข้า 9 วัน คือ พระนวโลกุตรธรรมเจ้าเก้าประการ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ดับตัณหาได้สิ้นเชิง อันหมายถึงพระนิพพาน เป็นคุณสมบัติของพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลายและเป็นที่ปรารถนาของนักปฏิบัติที่ พึงเข้าถึงให้ได้การปฏิบัติเข้าออกนิโรธกรรมประจำปีของครูบาน้อย เป็นแบบเฉพาะที่ผสมผสานกับธุดงควัตร หมายถึง นิโรธกรรมสมมติสงฆ์ ดำเนินตามรอยของท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา อันเป็นกุศโลบายเฉพาะ มุ่งขัดเกลากิเลสให้บางเบาลงไปเป็นครั้งเป็นคราว แตกต่างกับนิโรธสมาบัติของพระอริยเจ้าที่ตัดกิเลสได้ นิโรธกรรมสมมติสงฆ์ เป็นการดับอายตนะชั่วคราว เพื่อความสงบแห่งจิตเป็นแนวทางที่ครูบาน้อยยึดถือปฏิบัติ เพื่อเป็นอาจาริยบูชา มาตาปิตุบูชา เป็นเวลา 3-5-7 วัน ตามกำลังที่จะปฏิบัติได้

ส่วนคติธรรมคำสอน ครูบาน้อยเตือนสติศิษยานุศิษย์อยู่เสมอว่า "คิดก่อนทำ ไม่ใช่ทำแล้วคิด คิดก่อนพูด ไม่ใช่พูดแล้วคิด คิดอนไป ไม่ใช่ไปแล้วคิด คิดดีเพื่อดี คิดดีสู่ดี ของจริงทำจริง เห็นจริง ของดีทำดี เห็นดี คิดดีเพื่อดี คิดดีสู่ดี คิดชั่ว ทำชั่ว ได้ชั่ว ฉะนั้นให้ถึงพร้อมทานศีลภาวนา นิพพานัง ปรมัง สุขัง"
ราคาเปิดประมูล410 บาท
ราคาปัจจุบัน420 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลพ. - 25 เม.ย. 2555 - 10:28.47
วันปิดประมูล ศ. - 11 พ.ค. 2555 - 19:53.00 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 420 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
420 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พฤ. - 10 พ.ค. 2555 - 19:53.00
กำลังโหลด...
Top