ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540
จัดเหรียญสวยสวยเดิมเดิมพิมพ์บล็อกแตกเหรียญหลวงปู่แก้วหรือ พระเทพสาครมุนี วัดช่องลม ปี 2523ไม่ผ่านการ
ชื่อพระเครื่อง | จัดเหรียญสวยสวยเดิมเดิมพิมพ์บล็อกแตกเหรียญหลวงปู่แก้วหรือ พระเทพสาครมุนี วัดช่องลม ปี 2523ไม่ผ่านการ |
---|---|
รายละเอียด | เปิดประมูลใหม่ผู้ชนะขาดการติดต่อร่วมเดือน... จัดเหรียญสวยสวยเดิมเดิมพิมพ์บล็อกแตกหายากเหรียญหลวงปู่แก้วหรือ พระเทพสาครมุนี วัดช่องลม ปี 2523ไม่ผ่านการ เหรียญรุ่นนี้ ทำเป็น 2 แบบคือ แบบแรก ทำเป็นรูป เหรียญหลวงปู่ด้านหน้าเป็นรูปครึ่งองค์หน้าตรง มี อักษรจารึกไว้ว่า "พระเทพสาครมุนี (หลวงพ่อแก้ว) วัดช่องลม" ส่วนด้านบนเป็นภาษาบาลีว่า "สทา ภทฺ รานิ ปสฺสตุ" ส่วนด้านหลังมียันต์อุณาโลม และภาษา ขอม 4 ตัว ด้านบนมีอักษรว่า "อายุครบ 77 บริบูรณ์" ด้านล่างเหรียญเขียนว่า " 25 ธันวาคม 2523" ทำเป็นเนื้อทองแดงทั้งหมด ส่วนเหรียญอีก พิมพ์จะเป็นแบบนั่งเต็มองค์ ด้านหลังมีอักษรว่า 18ล้าน สำหรับ เหรียญ หลวงปู่แก้ว วัดช่องลม สร้างปี 2523....... หลวงปู่แก้ว หรือ พระเทพสาครมุนี อดีตเจ้าคณะ จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังพอๆ กับหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพีล ในสมัยช่วงปี 2520 หลวงปู่แก้ว เป็นพระที่ปฏิบัติดีและแก่กล้าในด้าน วิทยาคม หลวงพ่อแก้ว เป็นชาวเขมร เกิดเมื่อวันที่ 25 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2446 ที่ตำบลกระสัง อำเภอ กระสัง จังหวัดพระตะบอง เมื่ออายุครบ 20 ปีบริ บูรณ์ ท่านจึงได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัด จำบกมาศ โดยมีพระปัญญาสุธรรม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์เผือก พรหฺมสโร วัดกระสัง เป็นพระกรรมทวาจาจารย์ และพระ อาจารย์เกตุ แห่งวัดชำนิหัตถการกรุงเทพมหานคร เป็นอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ . 2466 เวลา 09.55 น. ณ วัดจำบกมาศ ต.กระสัง อ.กระสัง จ.พระตะบอง ต่อมาได้เดินทางเข้ามาที่ ประเทศไทยช่วงปี 2480 และได้รับการแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดช่องลม ปี 2495 ตลอดมาจนมรณภาพ เมื่อ วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2526 พระเครื่องของหลวงปู่แก้ว มีสร้างจำนวนไม่กี่รุ่น คนที่ทราบประวัติจะเก็บกันหมดระยะหลังๆไม่ค่อยเจอพระของ ท่านเลย พระของท่านมีประสบการณ์ดีมานานแล้ว เช่นแคล้วคลาด เมตตา ค้าขาย ไม่เชื่อมีโอกาสไป แถวมหาชัยลองสอบถามคนแถวนั้นดู....... วัดช่องลมหรือวัดสุทธิวาตวราราม พระอารามหลวง แห่งนี้ นับเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัด สมุทรสาคร ที่มีอายุยั่งยืนมาเกือบ 200 ปี และนับว่า จะอยู่ยั่งยืนต่อไปอย่างไม่มีวันเสื่อมสลาย เป็นวัดที่ พำนักของพระราชสาครมุนี เจ้าคณะจังหวัด สมุทรสาคร และเจ้าอาวาสวัดช่องลม ชื่อวัด ในสมัยโน้นชาวบ้านพากัน เรียกว่า "วัดท้ายบ้าน" เห็นจะเป็นวัดอยู่สุดหมู่บ้านจึงเรียก เช่นนั้น เพื่อความเหมาะสมในเวลาต่อมาจึงพากัน เรียก "วัดช่องลม" จนชาวบ้านเริ่มลืมวัดท้ายบ้าน แทบหมดแล้ว ถ้าใครไปเรียกเข้าคงมีคนรู้จักน้อยเต็มท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระ กรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุ ญาตให้ยกวัดช่องลมเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันพุธ ที่ 26 พฤษภาคม 2508 และถัดจากนั้นเป็นเวลาอีก 5 เดือนเต็ม ก็ได้ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าชาย พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า หญิงทุกพระองค์ มาทรงบำเพ็ญพระ-ราชกุศลถวาย ผ้าพระกฐิน ณ วัดช่องลมเมื่อวันที่26 ตุลาคม 2508 นั้นนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณพระเมตตาบารมีล้น กล้า ฯ ของเหล่าพศกนิกรอย่างถ้วนหน้า ชัยภูมิที่ตั้งของวัดช่องลม ซึ่งด้านหน้าวัดหันสู่ทิศใต้ ตรงกับปากน้ำท่าจีนพอดีมองเห็นทัศนียภาพปากอ่าว ที่งดงามยิ่งนักส่วนทางเบื้องหลังวัดก็ช่างมีความ ประหลาดมากเหมือนธรรมชาติช่วยสรรสร้างอย่าง จำเพาะเจาะจงให้หันหลังสู่แม่น้ำท่าจีนอีกด้วย แผ่น ดินสำคัญตอนที่เป็นชัยภูมิสำคัญที่ตั้งวัดช่องลมจึงอยู่ ตรงตอนที่แคบคอด หากที่ดินตอนนี้มิได้เป็นที่ตั้งวัด และขาดการถมเสริมเติมต่อไว้เสมอ ๆ ก็น่าจะขาด ออกเปลี่ยนทางเดินของกระแสน้ำเปลี่ยนปากน้ำท่า จีนใหม่ ตำบลท่าฉลอมก็จะกลายเป็นเกาะหลุดออก จากแผ่นดินใหญ่ไปแน่ทีเดียว เมื่อแผ่นดินที่ตั้งวัดมี ความสำคัญมากเช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษาไปให้ถึง บรรพบุรุษคนแรกที่ได้มาเห็นชัยภูมิเหมาะและ เจาะจงสร้างเป็นวัดขึ้นและผู้ที่จะบอกเล่าได้อย่าง ละเอียดก็เห็นจะไม่มีใครอื่น ท่านผู้นั้นก็คือ พระราช สาครมุนีนั่นเอง คุณปู่และคุณย่าอ่วม แช่เล้า ได้บริจาค ที่ดินสร้างวัดช่องลม ที่แปลงนี้ตามสันนิฐานแล้ว น่า จะกว้างขวางมากประมาณ 60 ไร่ เมื่อก่อนนี้ตามคำ บอกเล่าว่า โรงเรียนเปี่ยมวิทยาคม (สกุลจินดาสร้าง) ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถหลังเก่า นอกจากนั้นแล้ว หน้า โรงเรียนยังมีสนามฟุตบอลอีกหนึ่งสนาม โรงเรียน หลังนี้เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดแห่งแรก ต่อมาได้ ย้ายไปตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถหลังใหม่ เพราะตลิ่งพัง รุกเข้ามา แม้ว่าจะยกไปอยู่ที่ที่ใหม่นี้แล้วก็ยังไม่พ้น อันตราย เพราะภัยธรรมชาติรบกวนรุนแรงเช่นเคย จึงย้ายมาตั้งอยู่ข้างหลังวัดด้านเหนือเท่าที่เห็นอยู่ทุก วันนี้ ที่ตั้งวัดแปลงเก่าเหลืออยู่ประมาณ 5 ไร่ นอก นั้นพังลงน้ำหมดแล้ว เท่าที่เห็นอยู่เป็นที่ของนายเต๋า บิดาของนายบุญศรี นุตตาลัย และผู้ใหญ่จรูญ จันทร์ ภักดี ซึ่งได้ถวายไว้มีเนื้อที่ 22 ไร่ 49 วา และต่อมา นายบุญศรี นุตาลัย และผู้ใหญ่จรูญ จันทร์ภักดี ได้ ร่วมกันถวายอีกแปลงหนึ่งเนื้อที่ 27 ไร่ แปลงนี้ติด กับแม่น้ำท่าจีนด้านหลังวัดและติดกับทางรถไฟสาย แม่กลองเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2496 รวมเป็นเนื้อที่ ทั้งสิ้น 47 ไร่ 40 วา รวมทั้งของเก่าที่เหลืออยู่ 5 ไร่ รวมเป็น 52 ไร่ 40 วา |
ราคาเปิดประมูล | 100 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 450 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 50 บาท |
วันเปิดประมูล | พฤ. - 26 พ.ย. 2563 - 08:14.41 |
วันปิดประมูล | ศ. - 04 ธ.ค. 2563 - 03:58.47 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
150 บาท | อา. - 07 มิ.ย. 2563 - 15:15.59 | |
200 บาท | อา. - 07 มิ.ย. 2563 - 15:16.34 | |
300 บาท | จ. - 28 ก.ย. 2563 - 15:01.38 | |
400 บาท | พฤ. - 22 ต.ค. 2563 - 10:35.21 | |
450 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | ศ. - 04 ธ.ค. 2563 - 02:58.47 |
กำลังโหลด...