พระพุทธชินราชกรุวัดทัพผึ้ง สุโขทัย ปี ๒๔๗๓ มีหน้าตา หลังยันต์ (เคาะเดียวแดง) - webpra

ประมูล หมวด:พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระพุทธชินราชกรุวัดทัพผึ้ง สุโขทัย ปี ๒๔๗๓ มีหน้าตา หลังยันต์ (เคาะเดียวแดง)

พระพุทธชินราชกรุวัดทัพผึ้ง สุโขทัย ปี ๒๔๗๓ มีหน้าตา หลังยันต์ (เคาะเดียวแดง) พระพุทธชินราชกรุวัดทัพผึ้ง สุโขทัย ปี ๒๔๗๓ มีหน้าตา หลังยันต์ (เคาะเดียวแดง) พระพุทธชินราชกรุวัดทัพผึ้ง สุโขทัย ปี ๒๔๗๓ มีหน้าตา หลังยันต์ (เคาะเดียวแดง) พระพุทธชินราชกรุวัดทัพผึ้ง สุโขทัย ปี ๒๔๗๓ มีหน้าตา หลังยันต์ (เคาะเดียวแดง) พระพุทธชินราชกรุวัดทัพผึ้ง สุโขทัย ปี ๒๔๗๓ มีหน้าตา หลังยันต์ (เคาะเดียวแดง)
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระพุทธชินราชกรุวัดทัพผึ้ง สุโขทัย ปี ๒๔๗๓ มีหน้าตา หลังยันต์ (เคาะเดียวแดง)
รายละเอียด"พระกรุวัดทับผึ้ง" ตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย อนุสนธิจากประวัติการค้นพบจนเรียกขึ้นต้นว่า "พระกรุ" นั้น เนื่องจาก มีการขุดพบพระเครื่องในองค์เจดีย์ในบริเวณวัด ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 3 องค์ด้วยกัน และเป็นศิลปะร่วมสมัยครับผมพระกรุวัดทับผึ้ง

มีผู้เล่าสืบต่อมาว่า มีชาวบ้านคนหนึ่งชื่อ นายดาว ฟักเฟื่อง ไปดักยิงกระต่ายตอนกลางคืนที่บริเวณเจดีย์ โดยใช้ไฟฉายล่อให้กระต่ายเล่นไฟ แต่เมื่อยิงกระสุนปืนออก ปรากฏว่าปืนไม่ลั่น จนเป็นเรื่องเล่าลือถึงอิทธิฤทธิ์พระเครื่องที่อยู่ในเจดีย์ แต่ยังไม่มีใครกล้าเข้าไปขุด กระทั่งครั้งหนึ่ง เกิดเหตุโขมยวัวชาวบ้านขึ้น แล้วคนร้ายหนีไปหลบซ่อนอยู่แถวพระเจดีย์ ชาวบ้านกว่าสิบคนช่วยกันค้นหาและล้อมจับ แต่เมื่อลั่นกระสุนปืนออกไป ปืนนับสิบกระบอกก็ไม่ลั่นเช่น จนเป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้พบเห็นและกล่าวขานกันถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องในองค์เจดีย์

ต่อมาจึงมีการลักลอบขุดกรุพระเพื่อหาพระเครื่องศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว จนร้อนถึงคณะกรรมการวัดต้องตัดสินใจเปิดกรุอย่างเป็นทางการ ปรากฏว่าพบพระเครื่องจำนวนมาก จึงเรียกกันตามชื่อวัดว่า "พระกรุวัดทับผึ้ง"

พระกรุวัดทับผึ้ง ที่ขุดพบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อดินเผา ที่มีเนื้อดินละเอียด และพบพระเนื้อสัมฤทธิ์ปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย โดยสามารถแยกพระเครื่องที่พบออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

1. พระเนื้อดินเผาสีหม้อใหม่

2. เนื้อสีดำผงใบลาน

3. เนื้อสำริด

พระกรุวัดทับผึ้ง พระกรุวัดทับผึ้ง เป็นพระพิมพ์มีศิลปะงดงาม และมีความคมความลึกของพิมพ์ อันนับเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อมีการสืบประวัติกันในภายหลังแล้วสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นพระพิมพ์ที่พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าได้สร้างแล้วบรรจุไว้ ดังเช่น องค์พระบางองค์มีการกดพิมพ์เป็นตัวอักษรจารึกไว้ว่า "อาจารย์อ้นสร้างไว้ พ.ศ.๒๔๗๓" เป็นต้น และต่อมาคณะกรรมการวัดได้บูรณะองค์เจดีย์ขึ้นอีกครั้งจนเป็นที่เรียบร้อย จึงได้นำพระเครื่องบางส่วนบรรจุเข้าไว้ในกรุเจดีย์ดังเดิม

"พระกรุวัดทับผึ้ง" มีมากมายหลายพิมพ์ ส่วนใหญ่ได้ต้นเค้าจากพระพุทธชินราช จึงทำเป็นรูปพระพุทธในซุ้มชินราช โดยประทับนั่ง ปางมารวิชัยบ้าง ปางสมาธิบ้าง บางพิมพ์ทำนูนขึ้นมาเรียก "ชินราชนอก" ถ้าด้านหลังมียันต์ นับเป็น "พระคะแนน" บางพิมพ์เป็นพระประทับยืน สืบสานศิลปะสุโขไทยในปางลีลา ปางห้ามญาติ ในด้านพุทธคุณนั้น จะเน้นหนักไปทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ถึงขนาดยิงไม่เข้าฟันไม่ออกเลยทีเดียว นับเป็นพระกรุที่น่าสนใจสะสมพิมพ์หนึ่งของจังหวัดสุโขทัย

ขอบคุณข้อมูลจากนสพ.ข่าวสด
คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
โดย ราม วัชรประดิษฐ์
ราคาเปิดประมูล900 บาท
ราคาปัจจุบัน1,200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ300 บาท
วันเปิดประมูลศ. - 13 พ.ย. 2563 - 16:32.02
วันปิดประมูล ส. - 21 พ.ย. 2563 - 17:38.31 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
ราคาประมูลด่วน1,500 บาท
เพิ่มครั้งละ300 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
1,200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) ส. - 21 พ.ย. 2563 - 16:38.31
กำลังโหลด...
Top