พระร่วงนั่งหลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม จ.สุโขทัย - webpra

ประมูล หมวด:พระกรุ เนื้อชิน

พระร่วงนั่งหลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม จ.สุโขทัย

พระร่วงนั่งหลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม จ.สุโขทัย พระร่วงนั่งหลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม จ.สุโขทัย
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระร่วงนั่งหลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม จ.สุโขทัย
รายละเอียดพระร่วงนั่งหลังลิ่ม
กรุวัดช้างล้อม อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
‘ยอดขุนพลแห่งลุ่มน้ำยม’

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำยม ตรงแก่งหลวง เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งจากเอกสารตำนานพงศาวดารมีคำเรียกชื่อของเมืองนี้ต่างกันไปหลายชื่อ เช่น เชลียง เฉลียง เชียงชื่น ศรีสัชนาลัย สวรรคโลก
เข้าใจกันแต่เดิมว่าชื่อเมืองเหล่านี้เป็นเมืองคนละเมือง แต่เมื่อมีการศึกษาค้นคว้าของนักประวัติศาสตร์ พบว่าเป็นเมืองเดียวกัน และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามพัฒนาการของเมืองในแต่ละยุคสมัย
ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อันเป็นที่ตั้งของเมืองเก่าประกอบไปด้วยโบราณสถานที่งดงามจำนวนหลายแห่ง
หนึ่งในนั้นคือ วัดช้างล้อม
วัดช้างล้อม มีประตูและกำแพวัดก่อด้วยอิฐ มีทางเดินทำด้วยศิลาแลง จะเห็นช้างซึ่งมีแกนเป็นศิลาแลงหุ้มด้วยปูนยืนหลังชนผนังเจดีย์อยู่โดยรอบจำนวน ๓๙ เชือก ภายในทำกลวง และยังมีที่มุมทั้ง ๔ ทิศ ตกแต่งเป็นช้างทรงเครื่องตัวใหญ่อย่างสวยงาม
ในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง ‘เที่ยวเมืองพระร่วง’ ทรงกล่าวถึงวัดช้างล้อมว่า
“ที่วัดช้างล้อมนี้มีชิ้นสำคัญอยู่ก็คือพระเจดีย์ใหญ่ ตั้งอยู่ในลานมีกำแพงแก้วทำด้วยแลงเป็นเสากลมๆ ปักชิดกันเป็นรั้วอย่างเพนียด มีแลงท่อนยาวๆ พาดทับบนลานนั้น ๒๕ วาจตุรัส พระเจดีย์ซึ่งตั้งอยู่ในศูนย์กลางลานนั้นเป็นรูประฆังมีฐานสูงเป็นชั้นทักษิณ เหนือลานทักษิณขึ้นไปเป็นฐานบัวมีคูหาเป็นระยะ เหนือยอดคูหาขึ้นไปถึงบัวคว่ำบัวหงายทางด้านตะวันออกขึ้นไป มีบันไดขึ้นลานทักษิณ รอบลานนั้นมีพนักลูกมะหวด วัดลานทักษิณตามแนวพนักนั้น ๑๐ วา ๓ ศอกจตุรัส รอบฐานแห่งลานทักษิณนั้นมีรูปช้างยืนหันหน้าออกมาข้างนอก ดูประหนึ่งช้างหมุนลานทักษิณอยู่ ช้างที่นี้ผิดกับที่วัดช้างรอบเมืองกำแพงเพชร คือ แลเห็นทั้ง ๔ ขา ด้านหนึ่งๆ มีช้างยืนเป็นแถว ๘ ช้าง กับมีที่มุมอีกมุมละ ๑ ตัว รวมทั้งสิ้น ๓๖ ตัว ช้างตัวหนึ่งวัดแต่แท่นที่ยืนถึงหัวสูง ๕ ศอก ระหว่างรูปช้างมีเสารูปแปดเหลี่ยม หน้าละ ๖ นิ้ว สูง ๕ ศอกคืบ มีกลีบบัวที่ปลายเสา ดูราวกับเสาตะลุงสำหรับผูกช้าง แต่พิจารณาดูจึ่งเห็นบันไดอยู่หลังเสา ๓ ขั้น สูงขั้นละคืบ ๖ นิ้ว พอขึ้นยืนบันไดขั้นบนหน้าอกก็พอเสมอกับปลายเสา เพราะฉะนั้นจึงเข้าใจว่าเป็นเสาประทีป พอยืนบนบันไดขั้นบนก็พอตามตะเกียงหรือปักไต้ และจุดประทีปได้สะดวก การประดับพระเจดีย์องค์นี้ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ของเขาเข้าทีถูกใจข้าพเจ้านักหนา”
ในพระเจดีย์ช้างล้อมแห่งนี้ ได้พบพระร่วงนั่งหลังลิ่ม พระเครื่องอีกพิมพ์ทรงที่นิยมในหมู่นักสะสมพระเครื่อง
เป็นพระเครื่องอีกพิมพ์ทรงหนึ่งที่ได้รับสมญานามว่า ‘พระร่วง’ ซึ่งเป็นพระร่วงพิมพ์ประทับนั่ง
การพบพระเครื่อง ‘พระร่วงนั่งหลังลิ่ม’ จากกรุพระเจดีย์วัดช้างล้อมนั้น สืบเนื่องมาจากเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ตรงมุมฐานพระเจดีย์มุมหนึ่ง ได้ถูกคนร้ายลักลอบขุด โดยได้ขุดในตรงบริเวณพระพุทธรูปที่เรียงรายรอบตรงฐานนั้นเอง ได้พระร่วงนั่งหลังลิ่มประมาณ ๕๐ องค์
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ พระร่วงนั่งหลังลิ่มแตกกรุออกมาอีกประมาณ ๑๐๐ องค์ จากใต้ฐานพระพุทธรูปที่เรียงรายอยู่นั่นเอง
จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้พบพระร่วงนั่งหลังลิ่มจากกรุที่จังหวัดชัยนาท มีพุทธลักษณะเหมือนกับที่วัดช้างล้อม
นอกจากนั้นยังพบที่กรุวัดแก่งสาระจิต จังหวัดสุโขทัย เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๐ แต่มีองค์พระเขื่องกว่า ในราวปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ก้พบจากวัดเจดียืเจ็ดแถว
วัดเขาพนมเพลิงก็มีพระร่วงนั่งหลังลิ่มแตกกรุเช่นเดียวกัน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ แต่มีขนาดเล็กกว่าของทุกกรุ และที่ด้านหลังเป็นแบบหลังตัน
อย่างไรก็ตาม พระร่วงนั่งหลังลิ่ม เป็นพระเครื่องเนื้อชินเงิน มีพุทธลักษณะองค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย ซึ่งหากมองอย่างพิจารณาจะเห็นว่าองค์พระชะลูดเรียว และคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปอู่ทอง กล่าวว่าเป็นการถ่ายทอดแบบเค้าของพุทธศิลป์จากอู่ทองโดยช่างสุโขทัย
ในด้านพิมพ์ทรงเป็นพระเครื่องในรูปแบบครึ่งซีก ตัดขอบตามรูปทรงองค์พระ ใต้องค์พระเป็นฐานอาสนะแบบฐานเขียง หรือเรียกกันว่า ฐานหน้ากระดาน
ในส่วนของด้านหลังปรากฏเป็นแอ่ง หรือร่องลึกตั้งแต่แนวพระศอลงมาจนสุดฐาน ตรงฐานนั้นผายออกเป็นรูปคอขวด
อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ทรงพระเครื่องว่า ‘พระร่วงนั่งหลังลิ่ม’ สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากแม่พิมพ์ซึ่งเป็นแบบเบ้าประกบ เพื่อสร้างความสะดวกในการแกะองคืพระออกจากแม่พิมพ์
รูปลักษณะโดยรวมขององค์พระ จะมีพระพักตร์ที่กลมและลาดสอบลงมาจนถึงพระหนุ (คาง) ดูมน พระกรรณ (หู) แนบข้างพระปราง (แก้ม) ทั้งสองข้าง แล้วเบนปลายเข้าทางลำพระศอจนปลายจดพระอังสา (บ่า) ระหว่างพระนลาฎ (หน้าผาก) ปรากฏไรพระศกเป็นแบบเส้นลวด เป็นเส้นขอบนูนเด่นพาดเหนือกรอบไรพระศก พระสกมีลักษณะป้อม ส่วนพระเมาลีปรากฏพระเกศาเรียวเล็กอีกในส่วนด้านบน
ใกล้พระนาภีปรากฏเส้นรัดประคดเป็นแนวปื้นใหญ่ ซึ่งเป็นลักษณะของพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง
ประกอบด้วย ๒ พิมพ์ คือ พิมพืหน้าแก่ กับพิมพืหน้าหนุ่ม
ในการพิจารณาถึงด้านเนื้อหานั้น พระร่วงนั่งหลังลิ่มในองค์ที่ผ่านการจับต้องมา จะมีสนิมดำปรากฏ ในบางองค์จะปรากฏพรายปรอทบ้างพอสังเกตเห็น
เป็นพระเครื่องเนื้อชินเงินในระดับแถวหน้าของแวดวงพระเครื่อง
ขอบคุณเจ้าของข้อมูล ค้นหาจาก GOOGLE ... CR.มุมพระเครื่อง
-----------------------------------------------------------------
*** องค์นี้พระสวยเดิม สนิมดำ พรายปรอทยังมีให้เห็นอยู่ทั่วองค์ ลงกล้องสวยงามมากครับ ท่านใดที่กำลังตามหาเพื่อบูชาเป็นสิริมงคลแก่ตัวเรียนเชิญครับ
ราคาเปิดประมูล15,000 บาท
ราคาปัจจุบัน15,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลจ. - 12 ต.ค. 2563 - 12:49.17
วันปิดประมูล อา. - 01 พ.ย. 2563 - 12:49.17 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 15,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top