ประมูล หมวด:พระบูชา
พระบูชาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) หน้าตัก 9 นิ้ว วัดอินทรวิหาร
ชื่อพระเครื่อง | พระบูชาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) หน้าตัก 9 นิ้ว วัดอินทรวิหาร |
---|---|
รายละเอียด | ***** ค่าบูชา 6,500 บาท ***** ### เป็นพระบูชาหน้าตัก 9 นิ้ว องค์ใหญ่ ฐานโต๊ะลายไทย สภาพผิวหิ้งตั้งบูชาเดิมๆไม่ติดทองคำเปลว ออกที่วัดอินทรวิหาร (วัดบางขุนพรหมนอก) บูชามาเมื่อกันยายน 2555 พระบูชาชุดนี้ผ่านพิธีสมโภชพุทธาภิเษกอย่างสมเกียรติในสมัยรัชกาลที่ 9 ในโอกาสสำคัญ ๆ อาทิ มหาพิธีพุทธาภิเษกวันเสาร์ที่ 5 พ.ค. 2555 (เสาร์ 5 เดือน 5) ณ มณฑลพิธี หน้าองค์หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง โดยมี สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ประธานจุดเทียนชัย สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ประธานจุดเทียนมหามงคล 4 ทิศ พระเกจิคณาจารย์ชื่อดัง 4 ภาค นั่งปรกอธิษฐานจิต 55 รูป อาทิ หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์ , หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน , หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว , หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน , หลวงพ่อรักษ์ วัดสุทธาวาสวิปัสสนา , หลวงพ่อประทวน วัดถ้ำดาวเขาแก้ว เป็นต้น และมี พระโสภณธรรมวงศ์ (เจ้าคุณถนอม) เป็นเจ้าพิธี เป็นพระบูชาตั้งแต่หลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหารองค์ก่อน [พระเทพวิสุทธาภรณ์ (ทองสืบ สจฺจสาโร ป.ธ.๓)] ยังไม่มรณภาพ เพื่อบำรุงเสนาสนะภายในวัดและประโยชน์ทางสาธารณะกุศลต่างๆ ขณะนั้นทางวัดได้เปิดให้บูชาอยู่ที่ลานหลวงพ่อโต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์ใหญ่ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯสร้างครับ.....จัดส่งฟรีแบบ ems หรือ Kerry Express ### รวบรวมสาระธรรม โดย บูชาครู ขอขอบคุณข้อมูลจากวัดอินทรวิหาร และข้อมูลในส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วยครับ "เกล็ดประวัติ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)" ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เดิมชื่อ "โต" เป็นบุตรนางงุด (เกตุ) โยมพ่อไม่เป็นที่ปรากฏนาม เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก สัมฤทธิศก จ.ศ. 1150 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 เวลาพระบิณฑบาท เดิมเป็นชาวบ้านตำบลท่าอิฐ อำเภอบ้านโพ (อำเภอเมืองในปัจจุบัน) จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อมาเกิดฝนแล้งติดต่อกันหลายปี ทำนาไม่ได้ผล จึงย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ ณ บ้านตำบลไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อท่านเกิดแล้วยังเป็นทารก โยมแม่ได้พาท่านไปพักอยู่ที่บ้าน ต.ไชโย อ. ไชโย จังหวัดอ่างทอง พอท่านสอนนั่งได้ที่นั่นโยมแม่ก็พาท่านมาอยู่ ณ บ้านตำบลบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร ซึ่งต่อมาภายหลังท่านได้สร้างพระพุทธรูปองค์โต ขนาดใหญ่มากตามชื่อของท่าน เพื่อเป็นอุทเทสิกเจดีย์ และอนุสรณ์เนื่องในตัวท่าน ณ ตำบลทั้งสาม เมื่อโยมแม่ได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่ตำบลบางขุนพรหมแล้ว ได้มอบท่านให้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณอรัญญิก เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหารขณะนั้น เพื่อศึกษาอักรวิธี 4 (ศึกษาการเล่าเรียนเขียนอ่าน) พอถึงปีวอก พ.ศ. 2342 อายุ 12 ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระบวรวิริยเถร (อยู่) วัดบางลำภูบน (วัดสังเวชวิศยาราม – ปัจจุบัน) เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชแล้วได้ไปอยู่วัดระฆังโฆสิตาราม เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค เปรียญเอก) และถึงแม้เรียนรู้พระปริยัติธรรมแล้ว ก็ไม่ได้แปลหนังสือเป็นเปรียญ เพราะท่านไม่ปรารถนายศศักดิ์ พออายุครบอุปสมบทในปีเถาะ พ.ศ. 2350 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้บวชเป็นนาคหลวง ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์ ให้ฉายาว่า “พฺรหฺมรํสี” และเรียกกันว่า “พระมหาโต” ตั้งแต่นั้นมา ท่านไม่รับเป็นถานุนุกรม แต่เป็นนักเทศน์ที่มีชื่อเสียง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงตั้งเป็นพระราชาคณะ ท่านก็ทูลขอตัวเสีย เป็นเพียง "พระมหาโต" หรือ "ขรัวโต" ตามแต่จะเรียกันเท่านั้น จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ท่านมีอายุได้ 65 ปีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงตั้งเป็นพระราชาคณะ ท่านไม่ขัด จึงทรงตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิติ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2395 ต่อมาอีก 2 ปี พ.ศ. 2397 ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระเทพกวี เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน เปรียญ 3 ประโยค วัดสระเกษวรารามวิหารพระอารามหลวง (วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร – ปัจจุบัน) มรณภาพ จึงทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ขึ้น 9 ค่ำปีชวด พ.ศ. 2407 ( ดำรงค์ตำแหน่งสมเด็จพระพุฒาจารย์องค์ที่ 5 ในสมัยรัตนโกสินทร์) สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม องค์ที่ 6 ได้มรณภาพลงที่บนศาลาการเปรียญ วัดบางขุนพรหมใน (วัดอินทรวิหาร) เมื่อครั้งไปดูงานก่อสร้างองค์หลวงพ่อโต ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ด้วยโรคลมปัจจุบัน เมื่อวันเสาร์ ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415 ตรงกับ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 (ต้น) ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช 1234 เวลา 24.00 น. คิดทด หักเดือน ตามอายุโหราจารย์ ตามสุริยคตินิยม ได้สิริอายุรวม 84 ปี พรรษา 64 "บารมีและคติธรรมสมเด็จฯโต" - ในงานพระราชพิธีหนึ่ง ท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้เจริญพรคาถาชินบัญชรถวายแด่พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงสดับแล้ว ชอบพระทัย รับสั่งว่า พระคาถานี้ดี ขรัวโตเอามาจากไหน? สมเด็จฯ ทูลตอบว่า “ถวายพระพรมหาบพิตร พระคาถาบทนี้อาตมภาพเก็บความจากคัมภีร์โบราณผูกหนึ่ง ซึ่งได้จากลังกาประเทศ” พระคาถาบทนี้มีคุณานุภาพมากมาย ผู้ใดได้จำเริญภาวนาไว้เสมอจะเจริญด้วยลาภยศ เจริญชนมายุยืนยาว ปราศจากภัยอันตรายทั้งปวง ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมี พระราชกระแสรับสั่งให้เจ้าจอมหม่อมห้าม และเหล่าข้าราชการ ใกล้ชิดพระยุคลบาทเจริญภาวนาพระคาถาบทนี้ - สมเด็จฯ เป็นพระเถระที่ไม่ถือยศถือศักดิ์ ชอบประพฤติ อย่างพระธรรมดาสามัญ (พระลูกวัด) ท่านเคยพูดกับคนอื่นว่า ยศช้างขุนนางพระจะดีอย่างไร ท่านจะทำอะไร ท่านก็ทำตามอัธยาศัยของท่าน ไม่ถือความนิยมของผู้อื่นเป็นสำคัญ เป็นต้น ว่าท่านเห็นศิษย์แจวเรือเหนื่อย ท่านก็แจวแทนเสียเอง มีเรื่องเล่ากันว่า คราวหนึ่งท่านได้รับนิมนต์ไปในงานที่บ้านแขวงจังหวัดนนทบุรี ขากลับเจ้าภาพได้ให้บ่าว 2 คนผัวเมียแจวเรือมาส่ง ขณะที่มาตามทางจะเนื่องด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ บ่าว 2 คนนั้นเกิดเป็นปากเสียงเถียงกัน ถึงกล่าวถ้อยคำหยาบคายต่างๆ ท่านได้ขอร้องหญิงชาย 2 คนนั้นให้เลิกทะเลาะวิวาทกันและให้เขามานั่งในประทุน แล้วท่านได้แจวเรือ มาเองจนถึงวัดระฆังฯ อีกคราวหนึ่งมีผู้อาราธนาท่านไปเจริญพระพุทธมนต์ ที่บ้านในสวนตำบลราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี บ้านของเขาอยู่ในคลองเล็กเข้าไป ท่านไปด้วยเรือสำปั้นกับศิษย์ เวลานั้นน้ำแห้งเข้าคลองไม่ได้ ท่านก็ลงเข็นเรือกับศิษย์ของท่าน ชาวบ้านเห็นก็ร้องบอกกันว่า “สมเด็จเข็นเรือๆ” ท่านบอกว่า “ฉันไม่ใช่สมเด็จดอกจ้ะ ฉันชื่อขรัวโต สมเด็จท่านอยู่ที่วัด ระฆังฯ จ้ะ (หมายถึงว่า พัดยศสมเด็จอยู่ที่วัดระฆังฯ)” แล้วชาวบ้านก็ช่วยท่านเข็นเรือไปจนถึงบ้านงาน - ตามปกติสมเด็จฯ ท่านพูดจ๊ะจ๋ากับคนทุกคน แม้สัตว์ดิรัจฉานท่านก็พูดอย่างนั้น เช่นคราวหนึ่งท่านเดินไปพบสุนัขนอนขวางทางอยู่ ท่านพูดกับสุนัขนั้นว่า “โยมจ๋า ขอฉันไปทีจ้ะ” แล้วท่านก็ก้มกายเดินหลีกทางไป มีผู้ถามว่าทำไมท่านจึงทำดังนั้น ท่านว่า “ฉันรู้ไม่ได้ว่าสุนัขนี้เคยเป็น พระโพธิสัตว์หรือไม่ เพราะในเรื่องชาดกกล่าวว่า ในกาลครั้งหนึ่งพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นสุนัข” ท่านยังแผ่เมตตาไปในสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ เมื่อพบสัตว์ประสบทุกข์ต้องภัยท่านก็ช่วยเหลือแก้ไขด้วยการุณยจิต ดังเล่ากันว่า ครั้งหนึ่งท่านเดินทางไปต่างจังหวัดระหว่างทางได้พบนกติดแร้วอยู่ ท่านจึงแก้บ่วงปล่อยนกนั้นไป แล้วท่านเอาเท้าของท่านสอดเข้าไปในบ่วงนั่นทำเป็นทีติดแร้ว มีคนมาพบจะช่วยแก้บ่วง ท่านไม่ยอมให้แก้ บอกให้ไปตามเจ้าของแร้วมาก่อน เมื่อเจ้าของแร้วมาบอกอนุญาตให้ท่านปล่อยนกนั้นได้ ท่านจึงแก้บ่วงออกจากเท้า แล้วบอกให้เจ้าของแร้วกรวดน้ำ ท่านยถาสัพพี เสร็จแล้วท่านจึงออกเดินทางต่อไป ดังนี้ - อันที่จริง ธรรมะนั้นมีอยู่ในทุกหนทุกแห่ง ทุกสิ่งทุกอย่างเราสามารถหยิบมาเป็นข้อธรรมให้ขบคิดได้เสมอ ถ้าเรารู้จักฉุกคิด รู้จักสะกิดใจตัวเองให้ตื่นตัวอยู่เสมอ ดูอย่างกิริยาอาการของหมา สมเด็จฯ ท่านยังเอามาเป็นคำสอนได้ มีเรื่องเล่าว่า มีพระสองรูปทะเลาะกัน แล้วเกิดความไม่สบายใจมาก พระรูปหนึ่งได้ไปหาสมเด็จฯ ด้วยหวังจะได้รับคำสอนที่นำความสบายอกสบายใจมาให้ พระรูปนั้นได้กราบเรียนต่อสมเด็จฯ “หมู่นี้เกล้ากระผมไม่ใคร่จะสบายใจเลย ทำอย่างไรจึงจะได้สบายใจบ้าง?” สมเด็จฯ ท่านบอกว่า “อยากจะสบายก็ให้ทำอย่างหมาซิ ธรรมดาหมาเมื่อกัดกันขึ้นแล้ว ถ้าหมาตัวหนึ่งทำแพ้แล้วนอนหงายเสีย เจ้าตัวชนะก็ขึ้นคร่อมอยู่ข้างบนแล้วคำรามทำอำนาจ เจ้าตัวข้างล่างนั้น บางทีมันก็แหนบกัดเอาได้บ้างเสียอีก ไปทำอย่างนั้นซิจ้ะ” นี่เป็นธรรมะง่ายๆ ที่เราน่าจะนำมาปฏิบัติกันในชีวิตประจำวัน คือ รู้จักแพ้เสียบ้าง - เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทั้งในทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระที่นับได้ว่า ท่านเป็นอัจฉริยะบุรุษผู้หนึ่งที่หาได้ยากในโลก ในด้านวิทยาคมของท่าน ล้วนมีคุณานุภาพความศักดิ์สิทธิ์มากมาย คือกันและแก้โรคต่าง ๆ ป้องกันสรรพภัย ค้าขายดี ส่งสริมความเจริญรุ่งเรือง ทางเมตตามหานิยมก็ว่าดีนัก อนึ่งว่ากันว่า ท่านทรางคุณวิเศษถึงสามารถทำสิ่งซึ่งเหลือวิสัยมนุษย์สามัญให้สำเร็จได้ อาทิเช่น ทำให้ คลื่นลมสงบ ห้ามฝน ย่นหนทางฯ ดังจะยกมาสาธกเป็นอุทาหรณ์ต่อไป ในรัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้สร้างพระราชวัง พระที่นั่ง และพระเจดีย์วิหารที่บนเขามหาสมณะ จังหวัดเพชรบุรีพระราชทานนามเรียกรวมกันว่า "พระนครคิรี" (และเขามหาสมณะนี้นพระราชทานนามใหม่ว่าเขามไหศวรรย์) ในจดหมายเกตุของหมอบรัดเล (พิมพ์ไว้ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 120 หน้า 52) ว่า โปรดฯ ให้เฉลิมพระราชมณเฑียรที่พระนครคีรี พร้อมกับบรรจุพระบรมธาตุในพระเจดีย์ศิลา เมือเดือนพฤษภาคม ปีจอ พ.ศ.2405 ดังนี้ กล่าวกันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ไปในงานพระราชพิธินั้เนด้วยขากลับท่านออกเรือจากปากอ่าวบ้านแหลมจะข้ามมาอ่าวแม่แลอง เวลานั้นคลื่นลมจัดมาก ชาวบ้านห้ามท่านก็ไม่ฟัง ว่าท่านได้ออกมายืนที่หน้าเก๋งเรือโบกมือไปมา ไม่ช้าคลื่นลมก็สงบราบคาบ และอีกคราวหนึ่งมีการก่อพระเจดีย์ทรายที่ในวัดระฆัง ประจวบกับวันนั้นมีเมฆฝนตั้งมืดคลึ้ม คนทั้งหลายเกรงฝนตก จึงไปกราบเรียนปรารภกับเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ท่านได้กล่าวพร้อมกับโบกมือว่า "ตกที่อื่น ๆ" ว่าน่าประหลาดที่ในวันนั้นปรากฎว่าฝนไปตกที่อื่นจริง หาได้ตกที่ในตำบลศิริราชพยาบาลไม่ |
ราคาเปิดประมูล | 6,450 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 6,500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 50 บาท |
วันเปิดประมูล | อา. - 21 มิ.ย. 2563 - 21:42.24 |
วันปิดประมูล | ส. - 27 มิ.ย. 2563 - 04:30.11 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...