
ประมูล หมวด:วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร
เคาะเดียวเบาๆ! เหรียญในหลวง ร.๙ ครบ ๔ รอบ หลัง ภปร. ปี 2518 เนื้อทองแดง (02)


ชื่อพระเครื่อง | เคาะเดียวเบาๆ! เหรียญในหลวง ร.๙ ครบ ๔ รอบ หลัง ภปร. ปี 2518 เนื้อทองแดง (02) |
---|---|
รายละเอียด | เหรียญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร. ๙พระบรมราชสมภพครบ๔รอบปี ๒๕๑๘ สร้างประมาณ๑ล้านเหรียญใช้บล็อกพิมพ์สำรองไว้หลายบล็อก บล็อกนิยมผมสามเส้นเล็กๆโผล่แซมขึ้นมาตรงแสกซ้ายรุ่นนี้มีของเก๊ดูดีๆก่อนเช่าหาเป็นอีกรุ่นที่น่าใช้อราธนาติดตัวพิธีใหญ่มากพระเกจิอาจารย์เก่งๆนั่งปรกปลุกเสกหลายรูป พอจะเก็บสะสมได้เก็บเลยแม้เป็นเหรียญทองแดงสวยๆถ้าแท้ก็ควรเก็บเป็นเหรียญในหลวงปีลึกอีกรุ่นที่กำลังนิยมปัจจุบันราคาเหรียญทองแดงเริ่มขยับตัวมากขึ้น ยังมีการแยกพิมพ์เหรียญออกเป็นอีกสามพิมพ์ในเหรียญเนื้อทองแดงคือ ๑. พิมพ์ปกติ ๒. พิมพ์ด้านหลังบล็อกวงเดือนบน ซึ่งหาได้ยากค่านิยมจะแพงกว่าพิมพ์ปกติ ๓. พิมพ์ด้านหลังบล็อกวงเดือนล่าง ซึ่งหาได้ยากที่สุดค่านิยมได้สูงกว่าบล็อกวงเดือนบน เหรียญพระบรมราชสมภพ ๔ รอบพ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นเหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ ๙ ที่คณะสงฆ์ได้ร่วมกันสร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ๔รอบในปีพ.ศ.๒๕๑๘ โดยที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยากรรมการมหาเถรสมาคมสมัยนั้นเป็นองค์ริเริ่มได้ปรึกษากับกรรมการมหาเถรสมาคมว่า ในอภิลักขิตมงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ๔ รอบปีนักษัตรเพื่อเป็นการถวายพระพรจึงเห็นควรที่จะสร้างเหรียญพระบรมรูปถวายเพื่อให้ทรงแจก ทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครที่ปฏิบัติอยู่ตามชายแดนจึงได้นำความกราบทูลสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์มหาเถร) สมเด็จพระสังฆราชประธานกรรมการมหาเถรสมาคมทรงเห็นชอบด้วยจึงได้ให้ช่างออกแบบเหรียญเสร็จแล้วได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า คณะสงฆ์ทั่วพระราชอาณาจักรแสดงเจตจำนงขอพระราชทานสร้างเหรียญพระบรมรูปเพื่อแจกจ่ายทหาร ตำรวจและอาสาสมัคร ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ตามชายแดนเป็นหลัก เมื่อคณะสงฆ์ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างเหรียญได้มหาเถรสมาคมจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจัดสร้างจนสำเร็จลุล่วงด้วยดี ลักษณะของเหรียญเป็นรูปมนรีมีมุมมนสี่มุมอันหมายถึง๔รอบนักษัตรด้านหน้าเป็นรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงเครื่องภูษาวิสิตราภรณ์ชุดจอมทัพไทยด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร.ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี ขอบเหรียญเขียนว่า"คณะสงฆ์ถวายในมหามงคลสมัย พระบรมราชสมภพครบ๔ รอบ ๒๕๑๘" เหรียญพระบรมรูป (พระบรมราชสมภพครบ๔รอบ) ที่จัดสร้างแบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ เหรียญทองคำ จำนวน ๑๐๐ เหรียญ เหรียญเนื้อนาคจำนวน ๕๕ เหรียญ เหรียญเงินจำนวน ๗๕๐เหรียญ และเหรียญทองแดง(รมดำ รมน้ำตาลและกะไหล่ทอง) จำนวน๑,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญมีขนาด๒.๐*๓.๐ ซ.ม. ๑.ผู้ที่บริจาคทรัพย์จำนวน๑๐,๐๐๐บาทจะได้รับเหรียญทองคำ๑เหรียญและเหรียญทองแดงรมดำอีก๑๐๐เหรียญ ๒.ผู้ที่บริจาคทรัพย์จำนวน๕,๐๐๐บาทจะได้รับเหรียญนาค๑เหรียญและเหรียญทองแดงรมดำอีก๕๐เหรียญ ๓.ผู้ที่บริจาคทรัพย์จำนวน๑,๐๐๐บาทจะได้รับเหรียญเงิน๑เหรียญและเหรียญทองแดงรมดำอีก๑๐เหรียญ ๔.ผู้ที่บริจาคทรัพย์จำนวน๑๐๐บาทจะได้รับเหรียญเนื้อทองแดง๑เหรียญ เหรียญทั้งหมดที่จัดสร้างขึ้นได้มีการประกอบพิธีชัยมังคลาภิเษก ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในวันที่๑เมษายน ๒๕๒๐ข้อสังเกต เหรียญพระราชสมภพรุ่นนี้ทำพิธีปลุกเสกปีไหนแน่ปี ๒๕๑๘ หรือปี๒๕๒๐ ในหลวงทรงเสด็จพระบรมราชสมภพในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๐ พระชนมพรรษา๔๘ พรรษาครบ๔ รอบในปี ๒๕๑๘ ตามพ.ศ.ที่ระบุไว้ในเหรียญบางท่านว่าเหรียญรุ่นนี้ปลุกเสกปี ๒๕๑๘ปีบ้างปี ๒๕๒๐บ้างทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนแต่ถ้าพิจารณาถึงรายนามคณาจารย์ที่ปลุกเสกเหรียญไม่มีพระอาจารย์ฝั้น อาจาโรปัจจุบันเหรียญที่ท่านสร้างและปลุกเสกมีพุทธคุณสูงมีค่านิยมสูงมากได้รับการขนานนามว่า"พ่อทวดอีสาน" มรณภาพเมื่อวันที่ ๔มกราคมปี ๒๕๒๐ หากเหรียญรุ่นนี้ปลุกเสกในปี ๒๕๑๘ อาจต้องมีรายชื่อท่านแน่นอนในเดือนเมษายนปี ๒๕๒๐ ท่านมรณภาพไปแล้วการจัดสร้างเหรียญรุ่นนี้มีรายละเอียดขั้นวิธีการดำเนินงานที่เป็นระเบียบแบบแผนและมีปริมาณค่อนข้างมากทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงจึงเป็นไปได้ว่าการดำเนินจัดสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี ๒๕๒๐โดยมีพระคณาจารย์นั่งบริกรรมภาวนาจำนวน ๔๙ รูป เหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่คณะสงฆ์จัดสร้างขึ้นนี้จัดได้ว่าเป็นเหรียญที่มีเจตนาการสร้างที่บริสุทธิ์มีพิธีกรรมที่พร้อมมูลและเข้มขลังดังรายนามพระคณาจารย์ที่นั่งบริกรรมภาวนาล้วนแล้วแต่เป็นพระสุปฏิปันโนที่คณะกรรมการผู้สร้างได้นิมนต์มาอย่างดีประกอบกับเป็นเหรียญพระบรมรูปของพระมหากษัตริย์ผู้ึ่เปี่ยมล้นไปด้วยบารมีธรรมและพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งแก่ปวงชนชาวไทยอีกทั้งได้ประกอบพิธีในวัดพระศรีรัตนศาสดารามต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต)ซึ่งน้อยครั้งวัตถุมงคลจะมีโอกาสได้มาประกอบพิธีกรรมจึงนับว่าเป็นเหรียญอีกรุ่นหนึ่งที่น่าเสาะหาอย่างยิ่ง ๑.สมเด็จพระญาณสังวร (สุวทฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ๒.สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ปุณฺณโก) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร ๓.พระวิสุทธิวงศาจารย์ (เสงี่ยม) วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร ๔.พระธรรมศิริชัย (ชิต)วัดพระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม ๕.พระเทพสาครมุณี (แก้ว) วัดสุทธิวาตวรารามอ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ๖.พระเทพคุณาธาร (เจียม) วัดโสธรวราราม (วัดโสธร) อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ๗.พระเทพวราลังการ (ศรีจันทร์) วัดศรีสุทธราวาส (วัดเลยหลง) อ.เมือง จ.เลย ๘.พระเทพวุฒาจารย์ (เปลื้อง) วัดสุวรรณภูมิ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ๙.พระราชอุทัยกวี (พุฒ) วัดมณีสถิตกปิฏฐาราม อ.เมือง จ.อุทัยธานี ๑๐.พระราชญาณดิลก (ชิต) วัดเขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๑๑.พระญาณสิทธาจารย์ (สิงห์) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ๑๒.พระชินวงศาจารย์ (พุธ) วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา ๑๓.พระวิมลกิจจารักษ์ (สิริ) วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร ๑๔.พระสังวราภิมณฑ์เถร (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหานคร ๑๕.พระโพธิญาณเถร (ชา) วัดหนองปาพง อ.วารินชำราบ จ.อบลราชธานี ๑๖.พระสุพรหมญาณเถร (พรหมา) วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ๑๗.พระโสภณวิสุทธิเถร (สนิท) วัดศีลขันธาราม อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ๑๘.พระรัตนากรวิสุทธิเถร (ดุลย์) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ ๑๙.พระโบราณคณิสสร (ใหญ่) วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา ๒๐.พระศีลวุฒาจารย์ (บาง) วัดหนองพลับ อ.หนองแซม จ.สระบุรี ๒๑.พระมหาพุทธพิมพาภิบาล (เชื่อม) วัดไชโยวรวิหาร อ.ไชโย จ.อ่างทอง ๒๒.พระครูอนุกูลวิทยา (เส็ง) วัดน้อยนางหงส์ กรุงเทพมหานคร ๒๓.พระครูจันทสโรภาส (เที่ยง) วัดม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ๒๔.พระครูศีลวิสุทธาจารย์ (ผิว) วัดสง่างาม อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ๒๕.พระครูภาวนาภิรัต (อินทจักร) วัดน้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ๒๖.พระครูประดิษฐ์นวการ (บุญ) วัดวังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ๒๗.พระครูสุชัยบุญญาคม (เชื้อ) วัดใหม่บำเพ็ญบุญ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ๒๘.พระครูศรีพรหมโสภิต(แพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี ๒๙.พะครูวิริยาภรณ์(เริ่ม) วัดจุกกะเฌอ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ๓๐.พระครูประจิตนวการ(ทอง) วัดบ่อนอก อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๓๑.พระครูประสิทธิ์วิทยาคม(อ่อน) วัดเพียมาตร อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ๓๒.พระครูพิพิธพัชรศาสน์ (จ้วน) วัดพระพุทธบาทเขาลูกช้าง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ๓๓.พระครูอุดมสิทธาจารย์(อุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ๓๔.พระครูโกวิทสมุทรคุณ(เนื่อง) วัดจุฬามณี อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ๓๕.พระครูสุวรรณประดิษฐการ(จ้อย) วัดเขาสุุวรรณประดิษฐ์ อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี ๓๖.พระครูกิตติคุณ(กี๋) วัดหูช้าง อ.บางหู จ.นนทบุรี ๓๗.พระศรีคุณาธาร(ศีล) วัดกิ่งแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ๓๘.พระครูสัติวรญาณ(สิม) วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ๓๙.หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย ๔๐.พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาลวัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ๔๑.พระอาจารย์สาม อภิญจโน(สาม) วัดไตรวิเวกการาม อ.เมือง จ.สุรินทร์ ๔๒.พระครูญาณวิศิษฐ์(เฟื่อง) วัดธรรมสถิต อ.เมือง จ.ระยอง ๔๓.พระอาจารย์แว่น ธนปาโล วัดสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร ๔๔.พระอาจารย์บุญ ชินวโว วัดศรีสว่างแดนดิน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ๔๕.พระอาจารย์ผั่น ปาเรสโก วัดถ้ำเอราวัณ อ.วังสะพุง จ.เลย ๔๖.พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ๔๗.พระอาจารย์หนู สุจิตฺโต วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้อม จ.เชียงใหม่ ๔๘.พระอาจารย์ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม(วัดป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด ๔๙.พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก เพจเหรียญในหลวง ร.9 ครับ |
ราคาเปิดประมูล | 180 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 20 บาท |
วันเปิดประมูล | พ. - 20 พ.ค. 2563 - 05:57.55 |
วันปิดประมูล |
พ. - 20 พ.ค. 2563 - 19:44.35 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...