ประมูล หมวด:เบ็ดเตล็ด เกี่ยวกับพระเครื่อง
สารานุกรมภาพพระสมเด็จวัดระฆัง 300 หน้า
ชื่อพระเครื่อง | สารานุกรมภาพพระสมเด็จวัดระฆัง 300 หน้า |
---|---|
รายละเอียด | เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book)นวัตกรรมใหม่ -เปิดดูผ่านคอมพิวเตอร์ ความต้องการของระบบ windows xp -ใช้งานง่ายไม่ต้องมีความรู้ด้านคอม ฯ มีวิธีการใช้บอก -เหมือนหนังสือทั่วไป -สามารถสั่งพิมพ์ภาพได้ตามต้องการ -ตั้ง Auto ให้หนังสือเปิดเองทีละหน้าได้ -จะดูเป็นแบบภาพสไลด์ก็ได้ หรือจะกลับมาดูเป็นรูปแบบหนังสือก็ได้ -ขยายภาพได้ -ตั้งความเร็ว(เวลา)ให้ภาพเปิดช้าหรือเร็วก็ได้ -ภาพ สี คม ชัด สวยงาม -เก็บรักษาง่าย มีความทนทาน พกพาสะดวก -ควรค่าแก่การสะสม อนุรักษ์ -ราคาถูกกว่าหนังสือหลายเท่า -ในรูปแบบ CD บรรจุ 1 แผ่น พร้อมกล่องใส่ -มีเสียงเพลงประกอบ -รวมภาพมากกว่า 300 ภาพ ทุกพิมพ์ทรง |
ราคาเปิดประมูล | 120 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 140 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 20 บาท |
วันเปิดประมูล | พฤ. - 01 มี.ค. 2555 - 09:45.42 |
วันปิดประมูล | ส. - 03 มี.ค. 2555 - 08:44.43 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ข้อมูลเพิ่มเติม #1 พฤ. - 01 มี.ค. 2555 - 10:10.14
เนื้อในพระสมเด็จวัดระฆัง
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์นิยม (สร้างประมาณปี 2409 – 2415) มีเนื้อแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
เนื้อพระละเอียด เข้าใจว่าขณะสร้าง มีการตำผงแป้งปูนขาวเปลือกหอยทะเลเผา อย่างละเอียด ร่อนผงแป้งด้วยตะแกรงถี่อย่างประณีต คลุกเคล้าส่วนผสม ได้แก่ เนื้อเข้าสุกตากแห้งบด เนื้อกล้วยสุกบดและมวลสารต่างๆ ออกแรงกดเนื้อกับแม่พิมพ์มาก ทำให้เนื้อค่อนข้างแน่น
เนื้อพระหยาบ เกิดจากการตำผงแป้งปูนขาวไม่ละเอียด หรือตำหยาบมีส่วนผสมเนื้อข้าวสุก เนื้อกล้วยสุกและมวลสารต่างๆ กดเนื้อกับแม่พิมพ์ค่อนข้างเบา ทำให้เนื้อพระหลวมไม่แน่น มีเม็ดแป้ง เม็ดพระธาตุ เม็ดข้าวสุก เม็ดแร่หินโผล่ขึ้นจากเนื้อพระ ผิวพระขรุขระ
ทั้งพระเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ ถ้ามีส่วนผสมเนื้อข้าวสุกตากแห้งบด เนื้อกล้วยสุกบด มากกว่าแป้งปูนขาว เรียกว่า “พระผงนิยม” หากมีแป้งปูนขาวผสมมากกว่าข้าวสุกตากแห้งบด เนื้อกล้วยสุกบด เรียกกันว่า “พระแก่ปูน” หรือ “พระเนื้อผง” แต่เนื่องด้วยเป็นพระเนื้อเก่ามีอายุเกือบ 150 ปี เนื้อพระจะหดตัวทำให้เกิดริ้วรอย ร่องรอยต่าง ๆ ตามธรรมชาติ เช่น รอยยุบ ยับย่น แยกแตกลาน แตกลายงา หลุมบ่อ รูพรุนปลายเข็ม
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์นิยม (สร้างประมาณปี 2409 – 2415) มีเนื้อแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
เนื้อพระละเอียด เข้าใจว่าขณะสร้าง มีการตำผงแป้งปูนขาวเปลือกหอยทะเลเผา อย่างละเอียด ร่อนผงแป้งด้วยตะแกรงถี่อย่างประณีต คลุกเคล้าส่วนผสม ได้แก่ เนื้อเข้าสุกตากแห้งบด เนื้อกล้วยสุกบดและมวลสารต่างๆ ออกแรงกดเนื้อกับแม่พิมพ์มาก ทำให้เนื้อค่อนข้างแน่น
เนื้อพระหยาบ เกิดจากการตำผงแป้งปูนขาวไม่ละเอียด หรือตำหยาบมีส่วนผสมเนื้อข้าวสุก เนื้อกล้วยสุกและมวลสารต่างๆ กดเนื้อกับแม่พิมพ์ค่อนข้างเบา ทำให้เนื้อพระหลวมไม่แน่น มีเม็ดแป้ง เม็ดพระธาตุ เม็ดข้าวสุก เม็ดแร่หินโผล่ขึ้นจากเนื้อพระ ผิวพระขรุขระ
ทั้งพระเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ ถ้ามีส่วนผสมเนื้อข้าวสุกตากแห้งบด เนื้อกล้วยสุกบด มากกว่าแป้งปูนขาว เรียกว่า “พระผงนิยม” หากมีแป้งปูนขาวผสมมากกว่าข้าวสุกตากแห้งบด เนื้อกล้วยสุกบด เรียกกันว่า “พระแก่ปูน” หรือ “พระเนื้อผง” แต่เนื่องด้วยเป็นพระเนื้อเก่ามีอายุเกือบ 150 ปี เนื้อพระจะหดตัวทำให้เกิดริ้วรอย ร่องรอยต่าง ๆ ตามธรรมชาติ เช่น รอยยุบ ยับย่น แยกแตกลาน แตกลายงา หลุมบ่อ รูพรุนปลายเข็ม
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...