ตะกรุดไก่ฟ้า รุ่นแซยิด 77 ปี หลวงปู่สรวง วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ลพบุรี - webpra

ประมูล หมวด:เครื่องรางของขลัง

ตะกรุดไก่ฟ้า รุ่นแซยิด 77 ปี หลวงปู่สรวง วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ลพบุรี

ตะกรุดไก่ฟ้า รุ่นแซยิด 77 ปี หลวงปู่สรวง วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ลพบุรี ตะกรุดไก่ฟ้า รุ่นแซยิด 77 ปี หลวงปู่สรวง วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ลพบุรี ตะกรุดไก่ฟ้า รุ่นแซยิด 77 ปี หลวงปู่สรวง วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ลพบุรี ตะกรุดไก่ฟ้า รุ่นแซยิด 77 ปี หลวงปู่สรวง วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ลพบุรี ตะกรุดไก่ฟ้า รุ่นแซยิด 77 ปี หลวงปู่สรวง วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ลพบุรี
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง ตะกรุดไก่ฟ้า รุ่นแซยิด 77 ปี หลวงปู่สรวง วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ลพบุรี
รายละเอียดตะกรุดไก่ฟ้า รุ่นแซยิด 77 ปี หลวงปู่สรวง วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ลพบุรี

หลวงปู่สรวง วรสุทโธ หรือ พระครูสุทธิวราภรณ์ เป็นพระอาจารย์ด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หนึ่งเดียวในลพบุรีนอกจากนี้ ยังเชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือไปทั่วภาคกลาง ได้รับการยกย่องให้เป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้า หลวงปู่สรวง ตั้งมั่นอยู่ในสมณธรรมอย่างเคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย ปฏิปทางดงาม เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ได้พบเห็น ปัจจุบัน อายุ 75 พรรษา 50 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ต.ช่องสาริกา อ.พัฒนา นิคม จ.ลพบุรี และที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลช่องสาริกา

อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า สรวง พรหมสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2476 ณ บ้านน้อยนาเวิน ต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน จ.อุบลราช ธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ) โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายสาร และนางสอน พรหมสวัสดิ์ ในวัยเยาว์ เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในหมู่บ้าน แล้วออกมาช่วยครอบครัวประกอบสัมมาชีพเกษตรทำนา กระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเสด็จ นิวัติประเทศไทย ที่พัทธสีมาวัดปากเพรียว จ.สระบุรี หลังอุปสมบท ย้ายไปจำพรรษาที่วัดเมืองสุพรรณบุรี เนื่องจากขาดแคลนพระภิกษุ โดยจำพรรษา ที่วัดสำเภาร่ม อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ระหว่างจำพรรษาที่วัดดังกล่าว ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนสรรพวิทยาคมต่างๆ จาก หลวงปู่แขม พระอาจารย์ผาด และพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกมากมายใน จ.สุพรรณ บุรี สมัยนั้น อย่างไรก็ตาม ด้วยความศรัทธาตั้งมั่นในพระพุทธศาสนา กอปรกับมีความใฝ่รู้สนใจศึกษาด้านปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงกราบลาครูบาอาจารย์ที่สุพรรณบุรี เพื่อไปศึกษาต่อด้านปฏิบัติกัมมัฏฐาน โดยได้ออกเดินท่องธุดงค์ไปกับพระอาจารย์คำบุ ธัมมธโร พระป่าสายพระอาจารย์มั่น ออกเดินทางไปยัง จ.สกลนคร และไปพำนักจำวัดที่สำนักสงฆ์ถ้ำจันทร์ อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย โดยมีพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ เป็นเจ้าสำนักสงฆ์

ต่อมา พระอาจารย์จวน ขอให้ท่านไปสวดญัตติใหม่เป็นพระสายธรรมยุต ในปีพ.ศ.2502 ณ วัดประชานิยม ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โดยมีพระครูพุฒิวราคม วัดบ้านหนองดินดำ เป็นพระอุปัชฌาย์ และเจ้าอธิการบุญ ฐิตปุญโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ได้รับฉายาใหม่ว่า วรสุทโธ แปลว่า ผู้บริสุทธิ์อย่างประเสริฐ

หลังจากสวดญัตติแล้วก็กลับมาจำพรรษากับท่านพระอาจารย์จวน พระอาจารย์จวนได้พาออกเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้นำพาไปถวายตัวเป็นลูกศิษย์ ศึกษาธรรมปฏิบัติในสำนักของครูบาอาจารย์อีกหลายท่าน อาทิ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล, หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร, หลวงปู่คำดี ปภาโส, พระอาจารย์วัน อุตตโม พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร, พระอาจารย์คำบุ ธัมมธโร และอีกหลายท่าน ซึ่งพระวิปัสสนาจารย์ทั้งหลายล้วนแล้วแต่เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่มั่นด้วยกันทั้งสิ้น

หลังจากเที่ยวธุดงค์ไปทั่วจนกระทั่ง พ.ศ.2524 หลวงปู่สรวงได้กราบลาครูบาอาจารย์ เพื่อเดินทางกลับมายังภาคกลาง ระหว่างทางได้แวะพักฟังข้อวัตรปฏิบัติกับหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน อยู่พักใหญ่แล้วจึงออกเดินธุดงค์ต่อ และได้จำพรรษา ณ ริมคลอง ใต้ต้นมะเดื่อ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี

ในปีนั้น พอถึงช่วงออกพรรษา หลวงปู่สรวงไม่รู้ว่าจะเดินธุดงค์ไปทางไหนต่อ เพราะหลวงปู่ไม่เคยเดินธุดงค์มาแถวนี้ ค่ำวันหนึ่งหลังจากทำวัตรสวดมนต์เสร็จ หลวงปู่ก็นั่งสมาธิภาวนาตามปกติ และก็ได้ตั้งสัจจะ อธิษฐานว่า ถ้าเราเคยมาอยู่แถวนี้ ได้เคยสร้างวัดวาอาราม ในแถวนี้ก็ขอให้เทพเทวา เจ้าที่เจ้าทาง รุกขเทวดาทั้งหลายจงมานิมนต์ ด้วยเทอญ

เมื่อจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิดีแล้ว ก็เกิดภาพนิมิต ครั้นพอถอนจิตออกจากสมาธิก็เป็นเวลาเกือบตีสี่ หลวงปู่สรวงทำวัตรสวดมนต์ พอฉันข้าวเสร็จได้อำลาญาติโยมออกเดินทางมาตามนิมิตที่ได้เห็น และก็ถึงภูเขาลูกดังกล่าว เมื่อได้เห็นต้นโพธิ์ที่หน้าถ้ำยิ่งทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ต้องใช่สถานที่ที่เห็นในนิมิตแน่นอน

ต่อมา หลวงปู่สรวง จึงได้เริ่มสร้างวัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2525 จนกระทั่งแล้วเสร็จ

ลำดับสมณศักดิ์ ล่าสุด พ.ศ.2550 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์พัดยศ จากพระครูชั้นเอก เป็นพระครูที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลชั้นพิเศษ ในราชทินนามที่ พระครูสุทธิวราภรณ์ ด้วยท่านได้ให้ความสนใจศึกษาด้านวิทยาคม ค้นคว้าด้านปฏิบัติจิตตภาวนา เพื่อให้จิตบังเกิดสมาธิและได้กราบฝากตัวเป็นศิษย์พระเกจิอาจารย์ชื่อดังมากมาย
ราคาเปิดประมูล450 บาท
ราคาปัจจุบัน500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลอา. - 28 ก.ค. 2562 - 19:58.27
วันปิดประมูล อ. - 06 ส.ค. 2562 - 16:48.50 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
ราคาประมูลด่วน550 บาท
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) จ. - 05 ส.ค. 2562 - 16:48.50
กำลังโหลด...
Top