@@@ พระรอด (จิ๋ว) หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก สุพรรณบุรี พระสวยยยย ### เคาะเดียว ### @@@ - webpra

ประมูล หมวด:หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา - หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ - เหรียญนเรศวร ยุทธหัตถี - หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว - หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก

@@@ พระรอด (จิ๋ว) หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก สุพรรณบุรี พระสวยยยย ### เคาะเดียว ### @@@

@@@ พระรอด (จิ๋ว) หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก สุพรรณบุรี พระสวยยยย ### เคาะเดียว ### @@@ @@@ พระรอด (จิ๋ว) หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก สุพรรณบุรี พระสวยยยย ### เคาะเดียว ### @@@
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง @@@ พระรอด (จิ๋ว) หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก สุพรรณบุรี พระสวยยยย ### เคาะเดียว ### @@@
รายละเอียดหลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก
ผู้สืบสายพุทธาคม หลวงพ่อเหนี่ยง วัดสองพี่น้อง และหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน สุพรรณบุรี

หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก เกจิอาจารย์ผู้มีความขลังด้วยอิทธิมงคลวัตถุทุกรุ่นที่สร้าง พระเถระผู้มีงานพัฒนาจนตำบลทุ่งคอกจากป่ากลายเป็นเมืองมีความเจริญเป็นที่ เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน ซึ่งให้ความเคารพนับถือท่านเหมือนพ่อ เรียกท่านว่า หลวงพ่อ ด้วยความรู้สึกเหมือนพ่อแท้ๆ ของเขา พระผู้มากด้วยเมตตาบารมี ถึงวันนี้กิตติคุณของท่านก็ไม่เสื่อมคลายไปจากความรู้สึกของชาวเมือง สุพรรณบุรี

พระครูสุวรรณสาธุกิจ (แดง สงฺฆรกฺขิโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดทุ่งคอก เจ้าคณะตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงศีลาจารวัตรงดงาม เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านในยุคอดีต แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้วถึง 38 ปี ก็ตาม แต่ผลงานและสิ่งที่ท่านสรรค์สร้างเอาไว้ยังคงอยู่ จากหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพของท่าน บันทึกประวัติของท่านไว้น่าสนใจยิ่ง ดังนี้

พระครูสุวรรณสาธุกิจ (แดง ใจกล้า) เป็นบุตรนายบุญ-นางใน ใจกล้า เกิดวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2440 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ปีระกา เวลา 19.00 น.เศษ ณ บ้านทุ่งคอก ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน 11 คน คือ

1. นางเหมือน (ถึงแก่กรรม)
2. นางเมือ (ถึงแก่กรรม)
3. นางล้วน
4. นางนัว (ถึงแก่กรรม)
5. นางฟุก (ถึงแก่กรรม)
6. นางเฮ้ย (ถึงแก่กรรม)
7. พระครูสุวรรณสาธุกิจ
8. นางโต้ (ถึงแก่กรรม)
9. นางเค้า (ถึงแก่กรรม)
10. นายจ่วน (ถึงแก่กรรม)
11. นางพลบ (ถึงแก่กรรม)

พระครูสุวรรณสาธุกิจ สมัยเป็นเด็กได้ช่วยบิดา-มารดาประกอบอาชีพในการทำนา เมื่ออายุประมาณ 13-14 ปี บิดาได้นำไปฝากไว้กับพระอธิการโหน่ง (หลวงพ่อโหน่ง) เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน ตำบลเนินพระปรางค์ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อศึกษาอักษรสมัยและอบรมจรรยามารยาทในการที่จะให้เป็นพลเมืองดีต่อไป ได้เรียนภาษาไทยจากครูโพย (ไม่ทราบนามสกุล) ส่วนมากเรียนมูลบทบรรพกิจ การเรียนมุ่งให้อ่านออกเขียนได้ และเพื่อให้มีความรู้อย่างเดียว ไม่มีการสอบและเลื่อนชั้น ท่านมีความรู้ภาษาไทยอยู่ในขั้นอ่านออกเขียนได้ พออายุประมาณ 16 ปี บิดาให้ลาออกจากวัดกลับไปอยู่ที่บ้าน เพื่อเป็นกำลังในการประกอบอาชีพต่อไป

เมื่อท่านกลับไปอยู่บ้านแล้ว ได้เป็นกำลังสำคัญในการประกอบอาชีพ สร้างฐานะของครอบครัวให้ดีขึ้น อาชีพหลักคือการทำนา ครั้นอายุครบอุปสมบทจึงได้อุปสมบทในพระพุทธศาสนา เมื่อวันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2460 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็ง ณ พัทธสีมาวัดทุ่งคอก ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี

1.พระครูวินยานุโยค (หลวงพ่อเหนี่ยง) อดีตเจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง วัดสองพี่น้อง เป็นพระอุปัชฌาย์
2.พระอธิการโหน่ง (หลวงพ่อโหน่ง) อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน เป็นพระกรรมวาจาจารย์
3.เจ้าอธิการเหลื่อน อดีตเจ้าคณะตำบลศรีสำราญ วัดอัมพวัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่ออุปสมบทแล้วได้ไปจำพรรษาและศึกษาพระธรรมวินัย ณ วัดอัมพวัน ในความอุปการะของหลวงพ่อโหน่ง
ใน ด้านคันถธุระ ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจากพระอาจารย์ต่วน ซึ่งเดิมอยู่ที่วัดสองพี่น้อง ได้เรียนพระธรรมวินัยกับพระอาจารย์ต่วนประมาณ 2 พรรษา แต่ไม่ได้สอบในสนามหลวง การเรียนของท่านมุ่งเพื่อให้รู้ เข้าใจ และปฏิบัติเป็นหลักใหญ่ ท่านเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาเป็นพิเศษ นอกจากตั้งใจศึกษาเล่าเรียนคันถธุระและวิปัสสนาธุระด้วยวิริยะอุตสาหะเป็น อย่างดีแล้ว ได้ทำวัตรปฏิบัติอุปัชฌาย์อาจารย์ตามหน้าที่ของศิษย์ทุกประการ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดอัมพวัน 4 พรรษา

เมื่ออุปสมบทได้ 5 พรรษา พระอาจารย์อินทร์ เจ้าอาวาสวัดทุ่งคอก ลาสิกขา ทางการคณะสงฆ์จึงตั้งให้ท่านเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดทุ่งคอกสืบต่อไป ท่านได้รักษาการเจ้าอาวาสมาหลายปี ตลอดเวลาที่รักษาการนั้น ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด

พ.ศ.2476 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งคอก (ขณะนั้นอายุ 37 พรรษา 17)
พ.ศ.2478 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลทุ่งคอก
พ.ศ.2496 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
5 ธันวาคม 2499 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ ?พระครูสุวรรณสาธุกิจ?

พระครูสุวรรณสาธุกิจ (หลวงพ่อแดง) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดทุ่งคอกนากว่าเจ้าอาวาสองค์อื่นๆ และเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งคอกองค์แรกที่ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลด้วย ทั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรองค์แรกในตำบลทุ่งคอก พระครูสุวรรณสาธุกิจ แม้จะได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรแล้วก็ตาม แต่พวกศิษยานุศิษย์ และท่านที่เคารพนับถือก็เรียกกันจนติดปากว่า ?หลวงพ่อแดง? ไม่นิยมเรียกชื่อสมณศักดิ์ บางคนได้ยินชื่อสมณศักดิ์เข้ารู้สึกงง แต่ถ้าเอ่ยชื่อหลวงพ่อแดงแล้วจะรู้จักทันทีพระครูสุวรรณสาธุกิจเป็นพระนัก พัฒนา และเสียสละอย่างยอดเยี่ยมรูปหนึ่ง และเป็นพระที่ทำมากกว่าพูด จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของคนภายนอกมากนัก

วัดทุ่งคอกแต่เดิมนั้นเป็นป่าส่วนมาก ห่างไกล ความเจริญ ไม่ค่อยมีใครอยากไปในเขตตำบลนี้ เพราะเป็นท้องถิ่นทุรกันดารน้ำ การคมนาคมก็ไม่สะดวก การเดินทางมีแต่เกวียนและเรือ ส่วนรถยนต์และรถไฟยังไม่มี จึงเป็นท้องถิ่นที่ไกลความเจริญ เพราะการคมนาคมเป็นดุจเส้นโลหิตใหญ่เชื่อมโยงความเจริญก้าวหน้า หลวงพ่อแดงได้ทุ่มเทกำลังทุกอย่าง เอาชีวิตเข้าแลกกับการทำงาน ทั้งยังเสี่ยงต่อภัยซึ่งเกิดจากสัตว์ร้ายและคนพาล ทุนทรัพย์มีน้อย ประชาชนส่วนมากยากจน และหลวงพ่อไม่ใช่เป็นพระนักเรี่ยไร จึงต้องเข้าป่าเพื่อนำสัมภาระมาก่อร้าง

ชีวิตหลวงพ่อส่วนมากชินกับการอยู่ป่ามากกว่าอยู่ในบ้านเมือง พอถึงฤดูแล้งท่านจะเข้าป่าเพื่อหาไม้มาก่อสร้างแทบทุกปี น้อยปีที่ท่านไม่ได้ไป อาศัยเหตุที่ท่านเข้าป่าหาไม้บ่อยๆ และหาได้เก่งนั้นเอง ชาวบ้านจึงขนานนามท่านว่า ?หลวงพ่อแดงไม้ใหญ่? แม้แต่ หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จังหวัดนครปฐม ในสมัยที่ยังเข้าป่าหาไม้มาสร้างวัดด้วยกัน ท่านยอมยกให้หลวงพ่อแดงเป็นคนเก่งและเป็นใหญ่ในเรื่องหาไม้ในป่า เพราะหลวงพ่อแดงมีเกวียนเทียมด้วยควาย บรรทุกไม้ได้ท่อนใหญ่และมากกว่า ส่วนหลวงพ่อเต๋ มีเกวียนเทียมด้วยวัว บรรทุกไม้ท่อนเล็กและได้น้อยกว่า จึงได้พากันเรียกจนติดปากว่า ?แดงไม้ใหญ่? ท่านได้หยุดพักการเข้าป่าก่อนมรณภาพไม่กี่นี้เอง ทั้งนี้ เพราะท่านได้ตรากตรำต่อการงานหนักมานาน สุขภาพจึงไม่ค่อยดี มีโรคเบียดเบียนเสมอ ประกอบกับเข้าสู่วัยชราด้วย แพทย์เคยแนะนำให้พักผ่อนมากๆ ไม่ให้ออกกำลังกายมากเหมือนเดิม ท่านจึงได้หยุดพักไม่เข้าป่า

ในสมัยที่ท่านกครองวัดทุ่งคอก ได้สร้างอุโบสถขึ้นหลังหนึ่ง ต่อมาชำรุดทรุดโทรม จึงได้สร้างขึ้นใหม่อีกหลังหนึ่ง และได้ผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ.2511 หลังจากท่านมรณภาพแล้ว ได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้น เพื่อใช้บำเพ็ญกุศล และใช้เป็นที่เรียนหนังสือของเด็กๆ ด้วย เพราะในสมัยนั้นอาคารเรียนยังไม่มี ต้องอาศัยศาลาการเปรียญเป็นโรงเรียน ต่อมาได้สร้างอาคารเรียนเป็นโรงเรียนประชาบาลหลังใหม่ขึ้นโดยเอกเทศ แต่เมื่อมีนักเรียนมากขึ้น อาคารเรียนไม่เพียงพอ ประจวบกับทางกระทรวงศึกษาธิการได้ขยายหลักสูตรการศึกษาออกไปอีก อาคารเรียนจึงไม่พอยิ่งขึ้น จึงได้สร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้นอีก เป็นอาคาร 2 ชั้น เปิดสอนถึงชั้น ป.7 และได้เปิดสอนก่อนหลวงพ่อมรณภาพ

ต่อมาได้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม เพื่อให้พระภิกษุ-สามเณรศึกษาพระธรรมวินัย ซึ่งโรงเรียนประชาบาลและโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั้ง 2 ประเภทนี้ นับได้ว่า เกิดขึ้นเป็นแห่งแรกในตำบลทุ่งคอกในสมัยของหลวงพ่อแดงนี้
นอกจากนี้ หลวงพ่อแดงยังบำเพ็ญสาธารณประโยชน์อีกมาก เช่น

1.สร้างกุฎีสงฆ์หลายหลัง ทั้งได้จัดให้เข้าแถวเป็นระเบียบน่าดู น่าอยู่
2.สร้างหอสวดมนต์
3.ขุดสระน้ำใหญ่ 2 สระ เพื่อใช้น้ำในฤดูแล้ง เพราะวัดนี้กันดารน้ำ ชาวบ้านใกล้เคียงตลอดจนชาวตลาดทุ่งคอก ก็ได้มาอาศัยน้ำในสระนี้
4.สร้างตลาดให้เป็นสมบัติของวัด
5.ได้ขยายเขตวัดให้กว้างออกไปกว่าเดิม
6.ได้ช่วยเหลือกิจการต่างๆ ของวัดในเขตปกครองที่มาขอให้ช่วยเหลือ

ในด้านสวัสดิภาพของประชาชน หลวงพ่อได้ช่วยชีวิตชาวบ้านไว้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากท่านมีความรู้และเชี่ยวชาญในการแพทย์แผนโบราณ ในสมัยท้องถิ่นยังเป็นป่าขาดความเจริญ การแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่แพร่หลาย และประชาชนยังไม่นิยมรักษา อีกทั้งการคมนาคมก็ยังไม่สะดวก ชาวบ้านทุ่งคอกและตำบลใกล้เคียงได้ฝากชีวิตไว้กับหลวงพ่อ ถึงแม้ในระยะที่การแพทย์แผนปัจจุบันแพร่หลายและคมนาคมสะดวกแล้ว ประชาชนก็ยังเชื่อมั่นในยาของหลวงพ่ออยู่จนตลอดชีวิต โดยยึดถือหลวงพ่อเป็นที่พึ่ง และหลวงพ่อไม่เคยต้องการอามิสตอบแทน ท่านให้ยาด้วยจิตเมตตาอย่างเดียว แม้คนป่วยด้วยโรคจิต เป็นคนพิการ และคนยากคนจน เมื่อไปพบท่านแล้ว ท่านจะให้ความเมตตากรุณาต่อทุกคน

ด้านการพระศาสนา ได้อบรมพระภิกษุ-สามเณรและประชาชนให้ตั้งมั่น เป็นการช่วยลดจำนวนอาชญากรลงได้มาก เป็นพระอุปัชฌายะให้การบรรพชาอุปสมบทกุลบุตรไว้เป็นจำนวนมากเป็นกรรมการสอบ พระปริยัติธรรมสนามหลวงแผนกธรรม ได้อุปถัมภ์ศาสนศึกษาทั้งนักธรรมและบาลีเป็นอย่างดี? และได้ส่งศิษย์ของท่านไปศึกษาทั้งทางโลกทางธรรมเป็นจำนวนมาก
อนึ่ง หลวงพ่อเป็นพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณด้วยรูปหนึ่ง ได้ร่วมพิธีปลุกเสกพระเครื่องครั้งสำคัญๆ มาหลายจังหวัด เกียรติคุณในด้านวิทยาคมของท่านเป็นที่รู้จักกันได้ดี รวมความว่าหลวงพ่อได้บำเพ็ญศาสนกิจและสาธารณประโยชน์นานาประการ ท่านได้ประกอบแต่กุศลกรรมตลอดมาด้วยดีทุกประการ

หลวงพ่อท่านได้ป่วยเป็นโรคริดสีดวงทวารเรื้อรังมาก่อนเป็นเวลานานแล้ว ต่อมาเป็นโรคปอดเรื้อรังอีก ประกอบกับท่านได้ตรากตรำทำงานมาก แต่ท่านมีความอดทนเป็นเยี่ยม ไม่บ่นไม่แสดงออกให้คนภายนอกรู้ได้ง่ายๆ บางคนจึงไม่ทราบอาการอาพาธ ท่านได้รับการเยียวยาทั้งแผนโบราณและแผนปัจจุบันตลอดมาอย่างดีที่สุด ในที่สุดก็มรณภาพ เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2510 เวลา 04.00 น.เศษ ณ กุฏิของท่าน โดยอาการสงบ หลวงพ่อท่านได้ทิ้งความดีให้สถิตอยู่กับโลก และความอาลัยรัก ตลอดถึงความเคารพนับถือของปวงมิตร ศิษยานุศิษย์ และท่านที่คุ้นเคย อย่างไม่มีวันกลับมาอีก สิริรวมอายุ 70 ปีโดยปี และได้ 50 โดยพรรษา

( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 936 เดือนตุลาคม 2548 : หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก ตอน 1 ภาพและเรื่องโดย สุธน ศรีหิรัญ
ราคาเปิดประมูล450 บาท
ราคาปัจจุบัน500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 08 ม.ค. 2562 - 19:39.56
วันปิดประมูล พ. - 09 ม.ค. 2562 - 22:23.20 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
mdol68 (73) (-3) 49.48.244.195
500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อ. - 08 ม.ค. 2562 - 22:23.20
กำลังโหลด...
Top