เหรียญพระชัยหลังช้างระปรมาภิไธยย่อ "ภปร." ปี30 - webpra

ประมูล หมวด:วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร

เหรียญพระชัยหลังช้างระปรมาภิไธยย่อ "ภปร." ปี30

เหรียญพระชัยหลังช้างระปรมาภิไธยย่อ "ภปร." ปี30 เหรียญพระชัยหลังช้างระปรมาภิไธยย่อ "ภปร." ปี30 เหรียญพระชัยหลังช้างระปรมาภิไธยย่อ "ภปร." ปี30 เหรียญพระชัยหลังช้างระปรมาภิไธยย่อ "ภปร." ปี30
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญพระชัยหลังช้างระปรมาภิไธยย่อ "ภปร." ปี30
รายละเอียด"เหรียญพระชัยหลังช้าง" เหรียญดังพิธีดีอีกเหรียญหนึ่งที่หยิบยกมากล่าวถึง เป็นเหรียญที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ แห่งวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร ในนามคณะสงฆ์ได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น สืบเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ.2530

เป็นเหรียญปั๊มด้านหน้าเป็นรูปพระชัยวัฒน์ที่เรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร." มีอักษรปรากฏบนเหรียญว่า "5 ธันวาคม 2530" และ "คณะสงฆ์สร้างในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ"

"เหรียญพระชัยหลังช้าง" เป็นเหรียญดีเพราะพิธีการจัดสร้างเปี่ยมด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งเจตนาการจัดสร้างเพื่อนำรายได้จากการบริจาคบูชานั้น ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2530 ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระเกจิอาจารย์ดังปลุกเสกมากมาย ประการสำคัญยิ่ง เหรียญพระชัยหลังช้าง มีสมเด็จพระสังฆราชถึง 2 พระองค์ ปลุกเสก นั้นคือ สมเด็จพระสังฆราช (วาส) วัดราชบพิธฯ และสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ที่ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ.2532

และ"เหรียญพระชัยหลังช้าง"มีสมเด็จพระราชาคณะที่ร่วมปลุกเสกอีก คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เมื่อครั้งยังเป็นที่พระพรหมคุณาภรณ์

แล้วยังมีพระเกจิอาจารย์ดังแห่งยุคนั้น อาทิ หลวงพ่อแพ แห่งวัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) วัดท่าซุง หลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง พระอุดมสังวรเถร (อุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี พระครูฐาปนกิจสุนทร (เปิ่น) วัดบางพระ จังหวัดนครปฐม หลวงปู่ม่น วัดเนินตาหมาก จังหวัดชลบุรี พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม พระครูปริมานุรักษ์ (พูล) วัดไผ่ล้อม จังหวัดนครปฐม

ที่สำคัญ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง ท่านเคยกล่าวไว้กับลูกศิษย์ของท่านว่า เหรียญพระชัยหลังช้างนี้เป็นเหรียญที่มีพุทธานุภาพดีมากๆ

กล่าวสำหรับพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลปัจจุบันนี้ มีความเป็นมาสืบเนื่องจากราชประเพณีหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล เริ่มเมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำพระองค์ที่เชิญไปในราชการศึกสงคราม ซึ่งเรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" นั้น ได้เชิญไปประดิษฐานหน้าพุทธบัลลังก์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เพราะเป็นพระพุทธรูปคู่บารมีมาด้วยกัน จึงขาดพระพุทธปฏิมาสำหรับถวายสักการะ ณ พระราชมณเฑียร จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ขึ้นแทน ถวายพระนามว่า พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล

ในรัชกาลต่อมา เมื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ถือเป็นราชประเพณีที่จะต้องหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์สืบมาทุกรัชกาล

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 ยังไม่ได้สร้างพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล ในการพระราชพิธีจึงต้องเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช เป็นพระพุทธรูปประธานในงานพระราชพิธี ครั้น พ.ศ.2495 เสด็จพระราชดำเนินกลับจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มาประทับพระนคร พ.ศ.2506 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลตามราชประเพณี และโปรดเกล้าฯ ให้ นายพิมาน มูลประมุข เป็นช่างปั้นหุ่นพระพุทธรูป

พระเครื่องและเหรียญที่ระลึกที่มีพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร" ประดิษฐานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้า หรือด้านหลัง ถือว่าเป็นสิ่งมงคลที่น่าเก็บสะสมบูชาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเหรียญพระพุทธรูปของ วัดต่างๆ ที่มีตรา ภปร.ประดิษฐานอยู่ด้านหลังนั้นมีอยู่จำนวนมากเช่นกัน

หลายๆ รุ่นมีพิธีการสร้างที่เข้มขลัง และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอย่างยิ่ง ดั่งเช่นเหรียญพระพุทธ หรือเหรียญพุทธคุณ พระปรมาภิไธยย่อ ภปร.ที่เรียกขานกันว่า "เหรียญพระชัยหลังช้าง" สร้างโดยคณะสงฆ์ทั้ง 2 นิกายในปีมหามงคลเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 ธ.ค.2530 "เหรียญพระชัยหลังช้าง" มีเนื้อทองคำ, เนื้อเงิน, เนื้อกะไหล่ทอง

มูลเหตุที่นำรูป พระชัยหลังช้างมาจัดสร้างเพื่อเทิดพระเกียรติล้นเกล้าทั้งสอง พระองค์ ด้วยเห็นว่าพระชัย (หลังช้าง) เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง คู่บุญญาบารมีของปฐมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ ควรที่ประชาชนจะมีไว้สักการบูชา เพราะเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในพระองค์

ดังเช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรุงเทพฯ ได้ลิขิตไว้ว่า"เหรียญพระชัยหลังช้าง" "หากอยู่กับบ้านก็คุ้มบ้าน หากอยู่กับตัวก็คุ้มตัว" และเพื่อเป็นการยืนยันคำพูดดังกล่าว ท่านจึงได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง "ปรากฏการณ์อันน่าพิศวงเกี่ยวด้วยเหรียญพระชัย (หลังช้าง)" ขึ้น โดยรวบรวมเรื่องราวจากผู้ที่ได้รับประสบการณ์จากเหรียญนี้มากมายหลายท่าน
ประวัติ...
การหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลเป็นราชประเพณีที่ ปฏิบัติสืบเนื่องต่อๆกันมา คือเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงรับบรมราชาภิเษก ดังเช่นที่ปรากฏในพงศาวดาร... สมเด็จพระนเรศวร ก็ได้มีการเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ไปในงานพระราชสงครามด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯของกรุงรัตนโกสินทร์ทรงมีพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลทุกพระองค์ จะมีเพียงรัชกาลที่ 8 เท่านั้นที่ไม่มี ปัจจุบัน พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลทุกพระองค์จะประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง
พระชัย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ซ้ายถือด้ามพัด เป็นพระพุทธรูปขนาดเล็ก เพื่อสะดวกในการอัญเชิญไปในการพระราชพิธีสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพระราชสงคราม ถ้าเป็นทางสถลมารคจะเชิญขึ้นช้างนำหน้าช้างพระที่นั่ง จึงเรียกว่า "พระชัยหลังช้าง" ทางชลมารคก็เชิญลงเรือพระที่นั่งหน้าเรือพระเจ้าอยู่หัวเช่นกัน
เหรียญนี้เป็นเหรียญพระชัยหลังช้าง หลังพระปรมาภิไธยย่อ ภปร.ออกที่วัดบวรฯเมื่อปี 2530 คณะสงฆ์สร้างถวายในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เป็นพระพิธีใหญ่ เข้าพิธีปลุกเสกซ้ำหลายวาระด้วยกัน
สามารถใช้บูชาติดตัวได้อย่างอุ่นใจครับ ขนาดว่า ครั้งหนึ่งหลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านเคยปรารภแก่ลูกศิษย์ลูกหาไว้ว่า เหรียญพระชัยหลังช้างนี้เป็นหนึ่งในพระดีที่น่าบูชาไว้ติดตัว เพราะมีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์แท้จริง

พระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพุทธาภิเษกหมู่ เจริญพระพุทธมนต์ เกือบ 80 รูป ขอเอ่ยชื่อเป็นตัวอย่างดังนี้
1 สมเด็จพระสังฆราช(วาส) วัดราชบพิตรฯ
2 สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร
3 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา
4 สมเด็จพระวันรัด วัดโสมนัสวิหาร
5 สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา
6 พระพรหมคุณาภรณ์ (สมเด็จพุฒาจารย์เกี่ยว)วัดสระเกศ
7 พระมหาวีระ ถาวะโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง)
8 พระอาจารย์ ชื้น พุทธสโร วัดญาณเสน
9 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
10 พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง
11 พระอุดมสังวรเถร (ล.พ.อุตตะมะ) วัดวังค์วิเวการาม
12 พระครูฐาปนกิจสุนทร (ล.พ.เปิ่น) วัดบางพระ
13 พระครูปริมานุรักษ์ (ล.พ.พูล) วัดไผ่ล้อม
14 หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก
15 พระครูเกษมธรรมนันท์ (ล.พ.แช่ม) วัดดอนยายหอม
16 หลวงพ่อ ไสว วัดปรีดาราม
17 หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก
ฯลฯ

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยาวรวิหาร กรุงเทพฯ
ได้กล่าวไว้ว่า "เหรียญพระชัยหลังช้าง" "หากอยู่กับบ้านก็คุ้มบ้าน หากอยู่กับตัวก็คุ้มตัว"
ท่านได้กล่าวไว้อีกว่า สามารถป้องกันระเบิดปรมณู รังสี นิวเคลียร์ได้ ต่อไปจะแพงมาก บูชาราคาหลายหมื่น
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน1,200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลพ. - 21 พ.ย. 2561 - 11:12.25
วันปิดประมูล อ. - 11 ธ.ค. 2561 - 23:26.28 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
Jobita (6) 182.53.222.96
200 บาท จ. - 03 ธ.ค. 2561 - 01:06.51
Jobita (6) 182.53.222.234
900 บาท จ. - 10 ธ.ค. 2561 - 23:25.12
Jobita (6) 182.53.222.234
1,200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) จ. - 10 ธ.ค. 2561 - 23:26.28
กำลังโหลด...
Top