พระกรุวัดขุนอินทประมูล พิมพ์สมเด็จประธาน สวยสมบูรณ์ พร้อมกล่องเดิมจากวัดชัดเจน - webpra

ประมูล หมวด:พระสมเด็จทั่วไป

พระกรุวัดขุนอินทประมูล พิมพ์สมเด็จประธาน สวยสมบูรณ์ พร้อมกล่องเดิมจากวัดชัดเจน

พระกรุวัดขุนอินทประมูล พิมพ์สมเด็จประธาน สวยสมบูรณ์ พร้อมกล่องเดิมจากวัดชัดเจน พระกรุวัดขุนอินทประมูล พิมพ์สมเด็จประธาน สวยสมบูรณ์ พร้อมกล่องเดิมจากวัดชัดเจน พระกรุวัดขุนอินทประมูล พิมพ์สมเด็จประธาน สวยสมบูรณ์ พร้อมกล่องเดิมจากวัดชัดเจน พระกรุวัดขุนอินทประมูล พิมพ์สมเด็จประธาน สวยสมบูรณ์ พร้อมกล่องเดิมจากวัดชัดเจน พระกรุวัดขุนอินทประมูล พิมพ์สมเด็จประธาน สวยสมบูรณ์ พร้อมกล่องเดิมจากวัดชัดเจน
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระกรุวัดขุนอินทประมูล พิมพ์สมเด็จประธาน สวยสมบูรณ์ พร้อมกล่องเดิมจากวัดชัดเจน
รายละเอียดพระกรุวัดขุนอินทประมูล พิมพ์สมเด็จประธาน สวยสมบูรณ์ พร้อมกล่องเดิมจากวัดชัดเจน

วัดขุนอินทประมูล เป็นพระอารามราษฎร์ ชั้นสามัญ ตั้งอยู่ หมู่ ๓ ตำบลบางพลับ อำเภอ โพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ประกาศขึ้นทะเบียนวัดในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๕๒ตอนที่ ๗๕เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๐เนื้อที่วิสุงคามสีมา ๘๐ไร่เศษ
ประวัติเดิมวัดเป็นเพียงสำนักสงฆ์ที่ใช้เป็นที่วิปัสสนาสร้างเป็นเพิงพักเครื่องไม้ไผ่หลังคามุงแฝกฝีมือชาวบ้านบริเวณ
เดิมเป็นโคกสูงน้ำท่วมไม่ถึง สมัยโบราณเป็นแหล่งที่ชาวบ้านนำวัวควายมาปลูกเพิงอาศัยดูแลในฤดูน้ำท่วม เดือน ๑๑-๑๒ ของทุกปี เมื่อน้ำลดก็นำวัวควายกลับ ที่พำนักยังถิ่นที่อยู่เดิม เป็นดังนี้มาตลอด สมัยโบราณทวาราวดี บริเวณบ้านบางพลับ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเล ซึ่งเป็นแนวผ่านมาจาก นครปฐม สุพรรณบุรี สิงห์บุรีไปจนถึงเมืองลพบุรีหรือเมืองละโว้เดิม ต่อมากลาย
เป็นแม่น้ำน้อยซึ่งมีคลอง บางพลับเป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำน้อย เชื่อกันว่าในสมัยสุโขทัยนั้น บ้านบางพลับเป็นชุมชนใหญ่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยเชื่อมกับคลองบางพลับ และวัดขุนอินทประมูลตั้งอยู่ริมฝั่งคลองนี้
ตำนานสิงหนวัติกล่าวถึงประวัติที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพระพุทธไสยาสน์วัด ขุนอินทประมูลนี้ไว้ว่า สมัยกรุงสุโขทัยยังรุ่งเรือง ในยุคที่พระยาเลอไทสืบราชสมบัติต่อมาจากพระเจ้ารามคำแหงผู้เป็นบิดา ครั้งนั้นพระยาเลอไทเสด็จจากกรุงสุโขทัย เดินทางโดยชลมารค มานมัสการพระฤาษีสุกกะทันตะ ณ เขาสมอคอน ในเขตกรุงละโว้ การเสด็จมาครั้งนั้นมาทางแม่น้ำยมเข้าสู่แม่น้ำปิงแล้วเข้ามาสู่แม่น้ำเจ้า พระยาแยกแม่น้ำมหาศร (ปัจจุบันเพี้ยนเป็นมหาสอน)เข้ามาเขาสมอคอน
อันเป็นที่พำนักของฤาษี ผู้เป็นอาจารย์ (ฤาษีตนนี้เป็นพระอาจารย์ของพระเจ้ารามคำแหง ผู้เป็นบิดาด้วย)เมื่อนมัสการฤาษี
สุกกะทันตะแล้ว พักแรมอยู่ ณ เขาสมอคอน ๕ เพลา ได้เสด็จข้าม แม่น้ำเจ้าพระยาล่องมาตามแม่น้ำน้อย โดยผ่านมาตามคลองบางพลับเพื่อเสด็จประพาส ท้องทุ่ง เนื่องด้วยเวลาที่เสด็จมานั้นเป็นเวลาน้ำเหนือบ่า และได้แวะประทับโดยสร้างพลับพลา ณ โคกบางพลับแห่งนี้

พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล
ขณะประทับแรมอยู่ณโคกบางพลับเวลาสาม เกิดศุภนิมิตรทอดพระเนตรเห็นลูกไฟดวงใหญ่ลอยขึ้น เหนือยอดไม้
หายไปในอากาศทางทิศตะวันออก เกิดปิติโสมนัส ดำริสร้าง พระพุทธไสยาสน์ขึ้นเป็นพุทธบูชาด้วยคติที่ว่า พระองค์
ประทับแรมอยู่่ ณ ที่แห่งนี้ โดยมอบหมายให้นายบ้านเกณฑ์แรงงานทั่วแคว้นแดนลุ่มแม่น้ำน้อยทั้งหมดได้คนพัน เศษขุดหลุม
กว้าง ๒๐๐ วา นำท่อนซุงนับร้อยท่อนลงวางขัดตารางเป็นฐานแล้วขุดบ่อในทุ่งด้านหลังขนดิน ขึ้นถมสูง ๓ วา(ปัจจุบันเป็นสระกว้างอยู่ทางด้านหลังของวัด)ผู้คนอีกส่วนหนึ่งระดมทำอิฐ เผา (มีโคกที่เรียกว่า โคกเผาอิฐ และตำบลบ้านท่าอิฐ อยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ทองในปัจจุบัน) สร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้น ณ โคกบางพลับแห่งนี้สิ้นเวลานาน ๕ เดือนเป็นแล้วเสร็จ เมื่อเดือน ๕ ปี พ.ศ. ๑๘๗๐ ได้สำเร็จองค์พระพุทธไสยาสน์ยาว ๒๐ วา สูง ๕ วา
เมื่อสร้างพระพุทธไสยาสน์เสร็จแล้ว ขนานนามว่า พระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิตร มอบให้นายบ้านผู้ดูแลแต่งตั้งทาสไว้ ๕ คน แล้วเสด็จนิวัติสู่กรุงสุโขทัย เนื่องจากพระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิตร ถูกทอดทิ้งตากแดดตากฝนท่ามกลางป่ารก
อยู่นาน การดูแลรักษาก็ไม่ได้กระทำต่อเนื่อง จนในที่สุดก็ถูกทิ้งร้างมานานจนกรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจ

กรุงศรีอยุธยามีอำนาจขึ้นมาแทนที่ในระยะเวลาดังกล่าวนี้ มีพระภิกษุทรงวิทย (ชื่อตามคำเรียกของชาวบ้านหลังที่มีการสร้างพระพุทธไสยาสน์แล้ว) เป็นที่กระทำวิปัสสนา กรรมฐาน โดยมีกำลังศรัทธาของชาวบ้านสร้างเพิงพักให้เป็นที่จำวัด ต่อเนื่องกันมาเนิ่นนาน จนถึงกลางสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยพระเจ้าบรมโกศ ในครั้งนั้นมีนายอากรตำแหน่งที่ขุนอินทประมูล นายบ้านบางพลับ แขวงเมือง วิเศษไชยชาญ ในอดีตการปกครองครอบคลุม ถึง สิงห์บุรี ชัยนาท)ในประวัติเล่าสืบต่อมา นั้นกล่าวว่าขุนอินทประมูลนั้นเป็นคนจีนมีชื่อเดิมว่า เส็ง มีภรรยาเป็นคนไทยชื่อนาก ไม่มีบุตรสืบตระกูลเป็นผู้ที่มีจิตใจใฝ่ในการ พระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ปรารภว่าจะพยายามซ่อมสร้างพระพุทธไสยาสน์ และสร้างวัด ณ โคกวัด นี้ให้สำเร็จด้วยอุตสาหะแห่งตนให้จงได้ โดยเริ่มแรกได้นำทรัพย์สินส่วนตัวที่เก็บออมไว้ประมาณ ๑๐๐ ชั่งออกมาสร้างวิหาร และเจดีย์ขึ้น ณ โคกใหญ่ด้านตะวันออกสำเร็จลง เรียบร้อย ต่อมาเห็นว่าพระพุทธไสยาสน์ทรุดโทรมลงทุกวัน องค์พระแทบพังทั้งหมด ทลายลง กองกับพื้นดิน จึงดำริถากถางป่าและซ่อมองค์พระพุทธไสยาสน์ขึ้นใหม่ รวมทั้งจัด สร้างหลังคา คลุมองค์พระพุทธไสยาสน์ขึ้น โดยจัดทำเป็นเสาอิฐก่อเครื่องบนเป็นเครื่องไม้หลังคามุงด้วยหญ้าแฝกเป็น เครื่องกันแดดฝนขยายองค์พระออกไปเป็นความยาว ๒๕ วา สูง ๕ วา ๒ ศอก การซ่อมสร้างพระพุทธไสยาสน์ครั้งนั้นนับเป็นมูลค่าเงินหลายร้อยชั่ง ขุนอินทประมูลนำทรัพย์ส่วนตัวออกมาสร้างจนหมด จึงมีเจตนายักยอกพระราชทรัพย์หลายร้อยชั่งนำมา สร้างต่อจนสำเร็จแล้วพยายามปกปิดไว้ ไม่ยอมให้ข่าวแพร่งพรายไปถึงพระนครศรีอยุธยาแต่ข่าวก็เล่าลือไปถึง พระยาวิเศษไชยชาญ เจ้าแขวงเมืองวิเศษไชยชาญส่งคนมาสอบถามได้ความจริง จึงนำเรื่องขึ้นกราบทูล พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดเกล้าฯให้พระยากลาโหมขึ้นมาไต่สวน ขุนอินทประมูลให้การภาคเสธ จึงสั่งให้ราชมัณฑ์ลงฑัณฑ์เฆี่ยน ๓ ยกเพื่อรับเป็นสัตย์ แต่ขุนอินทประมูลไม่ยอมรับสารภาพผิดอ้างว่าเป็นทรัพย์์ส่วนตนจัดสร้างทั้งหมด ด้วยเกรงว่าเมื่อรับสารภาพแล้วส่วนกุศลทั้งหมดที่สร้างไว้จะตกแก่พระเจ้าแผ่นดินท้ายที่สุดทนการลงทัณฑ์ของราชมัณฑ์ไม่ไหวเมื่อใกล้สิ้นใจได้ขอพระราชทานโปรดเกล้าฯให้งดโทษ แล้วสารภาพว่าได้ยักยอกพระราชทรัพย์ไปจริง แต่มุ่งสร้างให้เป็นการเสริมพระบารมี ภายหลังขุนอินทประมูลทนรับการลงทัณฑ์ไม่ไหว ถึงแก่ชีวิตเมื่อวันอังคาร เดือน ๕ พ.ศ.๒๒๙๖ ประมาณอายุได้ ๘๐ ปีเศษพระยากลาโหมกลับไปทูลความให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทราบความตามกราบทูล เสด็จขึ้นมาทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง ทรงเห็นว่าขุนอินทประมูลมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาเป็นที่ยิ่ง เพื่อให้เกิดสมมโนรสทรงโปรดให้ฝังร่างของขุนอินทประมูลไว้ในเขตพระวิหาร ด้านหลังองค์พระพุทธไสยาสน์หลังจากทำพิธียกเกศทองคำหนัก ๑๐๐ ชั่ง พระราชทานประดับเหนือเศียรพระพุทธไสยาสน์ พระราชทานนามวัดว่า วัดขุนอินทประมูลและถวายนามพระพุทธไสยาสน์ว่า พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล มีประวัติบอกเล่าตามบันทึกคำให้การชาวกรุง เก่ากล่าวว่าพม่าบุกเข้าปล้นเอาพระเกศทองคำเผาพระวิหารและองค์พระพุทธ ไสยาสน์เสียหายทั้งหมด เมื่อเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ ความในประวัติศาตร์กล่าวสืบเนื่องต่อกันมาเช่นนี้ จริงเท็จเป็นประการใดขอยกเว้น

วัดขุนอินทประมูลถูกทอดทิ้งให้ร้างจมอยู่ในป่าโคกวัดนานถึง ๔๐๐ ปีจนล่วงมาสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีประวัติสำคัญเกี่ยวกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)วัดระฆังว่าครั้งหนึ่งเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๑๐ เมื่อสมเด็จฯเดินทางขึ้นมาตรวจสอบพื้่นที่ที่จะสร้างพระพุทธ รูปนั่งพระมหาพุทธพิมพ์ ณ วัดเกศไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ครั้งนั้นเป็นฤดูน้ำหลากสมเด็จฯให้ชาวบ้านผู้ติดตาม แจวเรือลัดทุ่งมานมัสการพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูลและพำนักพักค้างคืนอยู่ ณ บริเวณโคกวัดเป็นเวลา ๑ คืน หลังจากสมเด็จฯกลับไปวัดระฆังได้เข้าเฝ้าถวายพระพรเรื่องพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูลให้รัชกาลที่ ๔ ทรงทราบ อันเป็นเหตุ ให้เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ ได้เสด็จมานมัสการพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูลเมื่อพ.ศ. ๒๔๒๑ และเมื่อ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๑(ร.ศ.๑๒๗)วัดขุนอินทประมูลเริ่มมีการพัฒนาชัดเจนเมื่อ ปีพ.ศ.๒๕๐๑ ได้มีพระอธิการสร้าง ธีรปัญโญมาครองวัดเป็นเจ้าอาวาสแต่งตั้งองค์แรก ได้ซื้อที่ดินขยายอาณาเขตวัดออกไปทั้งทิศตะวันออกและทิศตะวันตก เริ่มสร้างอาคารเสนาสนะต่าง ๆ อาทิ กุฏิสงฆ์ กุฏิเจ้าอาวาส ศาลาการเปรียญ ฯลฯ

พระนอนวัดขุนอินทประมูล
กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน วัดขุนอินทประมูลไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และเริ่มการซ่อมแซมครั้งแรก เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๐๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้เสด็จพระราชดำเนินนมัสการพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล๒ ครั้ง ในปี พ.ศ.๒๕๑๖ และ พ.ศ.๒๕๑๘ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูลนี้ในปีพ.ศ.๒๕๑๙
ปัจจุบันพระครูวิเศษชัยวัฒน์เจ้าอาวาสวัดชัยมงคลดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส งานนมัสการพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล มีปีละ ๒ ครั้งในเดือน ๕ แรม๗-๘ ค่ำ ครั้งหนึ่ง และเดือน ๑๑ แรม ๖ ค่ำ อีกครั้งหนึ่ง
ราคาเปิดประมูล950 บาท
ราคาปัจจุบัน1,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลอา. - 05 ก.ย. 2553 - 01:09.59
วันปิดประมูล พ. - 08 ก.ย. 2553 - 20:54.08 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
1,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อ. - 07 ก.ย. 2553 - 20:54.08
กำลังโหลด...
Top