ประมูล หมวด:หลวงปู่ญาท่านสวน วัดนาอุดม - หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง – หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู
3.กุมารทองโชคทวี เนื้อผงดินเจ็ดป่าช้าอุดด้วยผงพรายกุมาร หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู จ.อุบลฯ พร้อมกล่อง
ชื่อพระเครื่อง | 3.กุมารทองโชคทวี เนื้อผงดินเจ็ดป่าช้าอุดด้วยผงพรายกุมาร หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู จ.อุบลฯ พร้อมกล่อง |
---|---|
รายละเอียด | กุมารทองโชคทวี เนื้อผงดินเจ็ดป่าช้าอุดด้วยผงพรายกุมาร หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู จ.อุบลฯ พร้อมกล่อง ผงมวลสาร กุมารทอง โชคทวี หลวงปู่คำบุ เนื้อผงดินเจ็ดป่าช้า ตะปูฝ่าโรงศพ ๗ วัด ดิน ๗ ป่าช้า ดิน ๗ โป่ง ดิน ๗ ท่า ดิน ๗ ถ้ำ ดิน ๗ นคร ดินจอมปลวก ๗ ( ราชบุรี ) ผงพรายกุมารปี ๒๙ ( เถ้าอัฐฐิ ) เด็กตายวันเสาร์เผาวันอังคาร ตะปูตอกฝาโลง ๗ วัด ผงว่านต่าง ๗ ชนิด รูปหลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู ประวัติหลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู จ.อุบลราชธานี " หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต" เป็นพระสงฆ์ที่เล่าขานกันว่าทรงคุณพุทธาคมเข้มขลัง แห่งวัดกุดชมภู ต.กุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ท่านเป็นศิษย์สายตรงของพระครูวิโรจน์รัตโนมล (หลวงปู่รอด นันตโร) แห่งวัดทุ่งศรีเมือง และอดีตเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี พระเกจิอาจารย์ผู้มีความเข้มขลังมีพลังจิตสูง ประวัติหลวงปู่คำบุ ชาติภูมิ หลวงปู่คำบุถือกำเนิดเกิด ณ บ้านกุดชมภู เมื่อวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2465 ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ เกิดในตระกูล คำงาม โยมบิดา-มารดา ชื่อนายสาและนางหอม คำงาม ครอบครัวทำนาทำสวน หลวงปู่คำบุ ปัจจุบันท่านอายุ 86 ปี มีชื่อ-นามสกุลเดิมว่า คำบุ คำงาม ท่านเป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน กาลต่อมาท่านเจริญวัยขึ้น มีอายุอันสมควร บิดามารดาได้ให้บรรพชาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดกุดชมภู โดยมี พระครูญาณวิสุทธิคุณ (กอง) วัดตากโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังบวชท่านได้มีโอกาสเดินทางไปกราบไหว้ พระครูวิโรจน์รัตโนมล (หลวงปู่รอด นันตโร) วัดทุ่งศรีเมือง เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีและได้รับความเมตตาโอบอ้อมอารีจากหลวงปู่รอดเป็นอย่างยิ่ง อุปนิสัยของสามเณรคำบุ เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้จึงมีโอกาสได้พบกับพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง ผู้เป็นศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่รอด นันตโร แห่งวัดทุ่งศรีเมือง ด้วยเหตุนี้พระอาจารย์รอดจึงได้อยู่รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่รอดจวบจนท่านได้ มรณภาพลง พระอาจารย์รอดก็กลับมาพำนักพักที่วัดบ้านม่วงตามเดิม กล่าวสำหรับพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง ท่านเป็นพระที่มีวิทยาคมแก่กล้า พระอาจารย์รอดเป็นคนบ้านเดียวกันกับสามเณรคำบุ (สมัยบวชเณร) จึงมีความคุ้นเคยกันมาก่อน ด้วยความที่สามเณรคำบุเป็นผู้มีนิสัยสงบเรียบร้อย ใจเย็นมีเหตุมีผล เหตุนี้เองพระอาจารย์รอด จึงได้ถ่ายทอดวิทยาคมคาถาต่างๆ ที่ได้ร่ำเรียนมาแก่สามเณรคำบุตั้งแต่นั้นเรื่อยมา จวบจนถึงวัยอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จึงอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.2486 ได้รับฉายาว่า "คุตตจิตโต" มีพระครูสาธุธรรมจารี (สา) วัดดอนจิก เป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้นบวชเป็นพระแล้ว หลวงปู่คำบุท่านยังคงแวะเวียนไปร่ำเรียนสรรพวิชาเวทมนตร์คาถาอาคมต่างๆ กับพระอาจารย์รอด ที่วัดบ้านม่วงอยู่เป็นประจำ ได้ศึกษาศาสตร์วิชาต่างๆ จากตำรา จนมีความชำนาญแตกฉานจึงออกเดินธุดงค์เพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ หลวงปู่คำบุได้มีโอกาสร่ำเรียนวิชาวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมจากพระอาจารย์ที่มีความ ชำนาญด้านพระคาถาต่างๆหลายรูปจนวิชาแกร่งกล้า จึงได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดกุดชมภูจนถึงปัจจุบัน มีเรื่องน่าสนใจอยู่ตอนหนึ่ง เนื่องจากพระอาจารย์รอดท่านเป็นพระที่ร้อนวิชาชอบลองวิชาอยู่เสมอ เมื่อร่ำเรียนวิชาอาคมแขนงใดได้ก็จะนำมาทดสอบหรือทดลองวิชานั้นอยู่เป็นประจำ มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านได้สำเร็จวิชาหุงสีผึ้งมหาเสน่ห์ แล้วทำการทดลองปรากฏว่าบรรดาญาติโยมทั้งหญิงและชายแห่เข้ามาที่วัดเพื่อมาขอ สีผึ้งมหาเสน่ห์จากท่านอย่างมากมาย จนไม่มีเวลาประกอบกิจสงฆ์อันใดได้ ท่านจึงย้ายมาอยู่กับพระภิกษุคำบุ ที่วัดกุดชมภูและได้เขียนตำราเพื่อมอบให้กับพระภิกษุคำบุไว้ศึกษาเล่าเรียน สืบต่อไป พระภิกษุคำบุได้ศึกษาศาสตร์วิชาต่างๆ จากตำราจนมีความชำนาญแตกฉาน จึงออกเดินจารึกธุดงค์เพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ ได้มีโอกาสร่ำเรียนสายวิชาวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมต่างๆ ในสายของท่านสำเร็จลุน แห่งวัดเวิ่นไชย เมืองปาเซ นครจำปาสัก พระผู้ทรงอภิญญา นอกจากการศึกษาวิชาทางด้านวิปัสสนากรรมฐานแล้ว สรรพวิชาอาคมทุกแขนง หลวงปู่คำบุท่านก็มีความชำนาญและได้หมั่นศึกษาฝึกฝนอยู่เป็นประจำ ตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ ปัจจุบัน หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู มีอายุถึง 86 ปี แต่ยังคงให้ความเมตตาศิษยานุศิษย์อย่างสม่ำเสมอ ในทุกวันอังคาร เสาร์ และอาทิตย์ ท่านจะประกอบพิธีลงเหล็กจารอักขระธรรมอักษรลาว ลงบนแผ่นหลังของบรรดาลูกศิษย์ที่เดินทางมาจากสถานที่ต่างๆ ด้วยความเมตตา วัตถุมงคลหลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู การจารอักขระธรรมลงแผ่นหลังของหลวงปู่คำบุ ถือเป็นกุศโลบายทางธรรมเพื่อบ่งบอกถึง "ความประมาทเป็นบ่อเกิดแห่งความตายหรือความหายนะ" ดังนั้นควรตั้งมั่นไม่ให้อยู่ในความประมาท ที่สำคัญถ้าท่านได้จารอักขระธรรมได้ครบถึง 7 ครั้ง ว่ากันว่าอักขระธรรมจะฝังลึกถึงกระดูกและถ้าประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งของครูบาอาจารย์อย่างเคร่งครัดแล้ว จะอยู่ยงคงทน ต่อศาสตราวุธทั้งปวง สำหรับพระเครื่อง-วัตถุมงคลของหลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู ที่สร้างขึ้นมานั้นมีมากมายหลายรุ่น ส่วนใหญ่มักได้รับความนิยมจากนักสะสม โดยรุ่นล่าสุด "เมตตา โภคทรัพย์ กลับดวง" ปัจจัยสมทบทุนหล่อเนื้อนาบุญหลวงปู่คำบุ ร่วมสร้างวิหารธรรมเจดีย์ศรีชมภู ฤกษ์มงคลผสมสูตรหล่อเม็ดนวโลหะ เมื่อวันอังคารขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 วันที่ 30 กันยายน 2551 เททองเบ้าทุบ ตั้งแต่วันอาทิตย์ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ที่ 9 พ.ย.2551 เวลา 11.59 น. อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวครั้งที่ 1 เมื่อวันพุธขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 วันที่ 12 พ.ย.2551 เวลา 19.19 น. " หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต"อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว ครั้งที่ 2 วันอาทิตย์แรม 11 ค่ำ เดือน 12 วันที่ 23 พ.ย.2551 เวลา 19.19 น. ข่าวพระเครื่อง พระครูพิบูลนวกิจ หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู มรภาพด้วยอาการสงบ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา14:51 นาที ณ.โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุได้91ปี คณะศิษยานุศิษย์จะเคลื่อนสรีระสังขารหลวงปู่ออกจากโรงพยาบาลศิริราชในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09.00 น. ไปยังวัดวิหารเจดีย์ศรีชมพู (วัดกุดชมภู) อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6 อนุชา ทรงศิริหน้า 31 ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด รับประกัน พระแท้ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 083-2699000 ID Line : Ting_sathu Email : Ting_ptk@yahoo.com หรือ Tingsathu@gmail.com ภาณุภัณฑ์ พระเครื่อง เชิญที่นี่ >>> http://www.web-pra.com/Shop/TingSathu |
ราคาเปิดประมูล | 340 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 350 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 10 บาท |
วันเปิดประมูล | ส. - 29 ก.ย. 2561 - 17:38.40 |
วันปิดประมูล | ส. - 13 ต.ค. 2561 - 12:15.39 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
350 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | ศ. - 12 ต.ค. 2561 - 12:15.39 |
กำลังโหลด...