พระพุทธชินราช กรุบึงสามพัน อุตรดิตถ์ - webpra

ประมูล หมวด:พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระพุทธชินราช กรุบึงสามพัน อุตรดิตถ์

พระพุทธชินราช กรุบึงสามพัน อุตรดิตถ์ พระพุทธชินราช กรุบึงสามพัน อุตรดิตถ์ พระพุทธชินราช กรุบึงสามพัน อุตรดิตถ์
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระพุทธชินราช กรุบึงสามพัน อุตรดิตถ์
รายละเอียดพระพุทธชินราช กรุบึงสามพัน จ.อุตรดิตถ์
ในอดีตพระกรุนี้บรรดานักเลงต่างรู้กิตติศัพท์กันดี คงกะพันเหลือหลาย
... แฟนพันธ์แท้เก็บเงียบ เพราะรู้ถึงสรรพคุณของพระตระกูลนี้ เอามาแบ่งปันบารมีในราคาจับต้องได้......ตามสภาพองค์พระครับ รับประกันพระแท้
####.....คำว่า “บึงสัมพันธ์” หรือ “บึงสามพัน” น่าจะเป็นการผิดเพี้ยนของคำและเสียงเรียกในการสื่อสารจนทำให้มีการเรียกชื่อสถานที่เปลี่ยนไปเป็น 2 ชื่อด้วยกัน ผู้เขียนเองขอยืนยันว่าได้ยินและรู้จักชื่อ "บึงสัมพันธ์" มาตั้งแต่เด็ก ๆ พระกรุบึงสัมพันธ์ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ กรุขึ้นที่วัดร้างข้างบึงบางส่วนถูกน้ำท่วม เนื้อมักจะมีราดินขึ้น เนื้อดินเผาจัด แกร่ง มีพิมพ์หลายพิมพ์ พิมพ์นาง พิมพ์ลีลา ศิลป์สุโขทัยตอนปลายคาบเกี่ยวอยุธยาได้รับอิทธิพลจากองค์พระพุทธชินราช วัดใหญ่ (เมืองพิชัยใกล้กับเมืองสองแคว) พุทธคุณล่ำลือกันมานาน โดยเฉพาะพิมพ์ใหญ่เป็นที่ชื่นชอบของนักเลงพระรุ่นเก่า ในเรื่องคงกระพัน มหาอำนาจ กันภูตผี สิ่งอวมงคล ถ้าพิมพ์นางดีทางเมตตามหานิยม พิมพ์พระชินราชมีขึ้นหลายกรุในเขต อ.พรหมพิราม(พิษณุโลก) อ.เมือง(พิษณุโลก) อ.พิชัย(อุตรดิตถ์)ในการแยกกรุพิมพ์นั้นต้องดู พิมพ์ และ เนื้อหาเป็นสำคัญ

เซียนพระรุ่นเก่า โดย http://www.saranugrompra.com ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม....พระบึงสามพันเป็นพระกรุเก่าที่รู้จักกันมาเนิ่นนานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการพระเครื่อง ชื่อเสียงเรียงนามด้วยความคงกระพันชาตรีนั้นกระฉ่อนมานานเต็มที่ ถ้าจะเปรียบเป็นนักเลงแล้วก็หาตัวเทียบยาก บารมีแผ่กว้างไปไกลหลาย ๆ บางทีเดียว นักเลงหน้าใหม่กระจอกงอกง่อย อือฮือไม่ขึ้น ยากที่ใครจะดับรัศมีลงได้

นักสะสมพระเครื่องรุ่นเก่ารู้จักพระกรุนี้ดี นักสะสมรุ่นใหม่ก็ไม่ควรจะมองข้ามความสำคัญของพระกรุนี้ไปเสีย และถ้าหากใครก็ตามที่ได้ทุ่มตัวเข้าสู่วงการพระเครื่องแล้ว และไม่รู้จักพิมพ์นี้ก็เห็นทีจะต้องใช้เวลาอีกมาก กว่าจะเดินยืดอกอย่างสง่าผ่าเผยในสนามได้

นักเลงพระอาวุโสผู้หนึ่ง กล่าวถึงเรื่องพุทธานุภาพของพระกรุนี้ ยืนยันเต็มปากเต็มคำว่า"เรื่องหนังเหนียวละก็ยกให้บึงสามพันเขาไป พระกรุอื่นที่ว่าเหนียว ๆ นั้น ลองเอามายืนซัดกันสักตั้งปะไร ดูทีว่าใครจะแน่กว่ากัน" ก็เห็นจะไม่เป็นที่สงสัยละว่าทำไมคนเก่าคนแก่จึงยกย่องพระกรุนี้กันนัก

ท่านผู้อ่านอาจจะข้องใจว่า เอ! เมื่อพระกรุนี้ดังจริง แน่จริง ทำไมไม่มีใครเขาเอามาแขวนกันให้ดาษดื่นกันละ? ในข้อนี้ถ้าท่านรู้จักพระพิมพ์นี้จริงก็เห็นจะหาคำตอบไม่ได้ยากนัก เพราะความนิยมในการพก, ห้อย, หรือแขวนพระเครื่องติดตัวนั้นย่อมขึ้นอยู่กับขนาดขององค์พระความงดงามในพุทธศิลป์และน้ำหนักเป็นประการสำคัญ ส่วนพุทธคุณนั้นแม้จะเป็นแกนกลางในการพิจารณาก็ตามแต่ปัจจัยต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้วย่อมมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้อยู่มาก เมื่อพระบึงสามพันมีขนาดค่อนข้างเขื่อง แม้จะมีชื่อเสียงมากก็ตามความนิยมในการพกพาก็ย่อมลดลงเป็นธรรมดา นอกเสียจากผู้นิยมที่ศรัทธาแรงกล้าจริง ๆ และเขาก็จะไม่ยอมปลดออกจากคอเช่นกัน

เท่าที่ทราบพระเครื่องพิมพ์นี้ ได้ถูกขุดพบในเขตอำเภอพิชัยก่อน และเป็นเวลานานมาแล้ว เนื้อพระส่วนใหญ่เป็นเนื้อกระเบื้องสีแดง มีความแกร่งมาก ด้านหลังขององค์พระมักจะแบนราบและมีรอยลายมือกดตอนพิมพ์พระปรากฏอยู่ ส่วนที่ปรากฏเป็นรอยกาบหมากหรือรอยตอกกดประทับลึกเป็นร่องนั้นมีน้อย อย่างไรก็ตาม ประวัติการขุดค้นพระบึงสามพันที่อำเภอพิชัยนี้ วงการพระเครื่องรู้จักมาไม่ต่ำกว่า 50-60 ปีแล้ว

ประมาณปี พ.ศ. 2498 ก็ได้มีชาวบ้านขุดพบพระเครื่องพิมพ์นี้อีก ตามประวัตินั้นชาวบ้านเป็นผู้ขุดพบโดยได้รับคำบอกเล่าตามความฝัน การขุดพบครั้งนี้นับว่าได้พระเป็นจำนวนมาก ประมาณกันว่ามีมากถึง 2 โอ่งแดงใหญ่ ปริมาณก็คงจะมีจำนวนนับหมื่น และเหตุการณ์ที่คนทั่วไปจำได้แน่นอนก็คือ ผู้ขุดได้นำพระเครื่องกรุนี้ใส่บุ้งกี๋มาเร่ขายที่สถานีรถไฟพิชัย ในราคาองค์ละ 5 บาท ใครสนใจมาเลือกได้ตามใจชอบ

เนื้อพระที่ถูกพบครั้งหลังนี้เป็นของวัดพญาแมน ในเขตบ้านโคน อำเภอพิชัย เนื้อพระมีหลายประเภท ส่วนใหญ่เป็นเนื้อดินเผาผสมว่าน ลักษณะองค์พระจะหนาด้านหลังจะอูมเป็นหลังเต่า เนื้อพระกรุนี้ค่อนข้างจะหยาบและยุ่ย ไม่แข็งแกร่งเหมือนกรุในเขตอำเภอพิชัย

พระบึงสามพันนี้มีหลายขนาดและหลายพิมพ์ ส่วนใหญ่จะเป็นพระปางมารวิชัย ประทับนั่งบนบัวคว่ำบัวหงายภายในซุ้มเส้นรอบองค์ ลักษณะบัวนั้นโดยทั่วไปเรียกบัวก้างปลา สำหรับเส้นซุ้มนั้นน่าจะถอดเค้ามาจากซุ้มเรือนละม้ายกับองค์หลวงพ่อพุทธชินราชมาก แต่ก็มีอิทธิพลของศิลปะยุคอู่ทองผสมอยู่ด้วย คือพระพาหาอ่อนช้อย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประการหนึ่งของพระเครื่องในยุคนี้ ชาวบ้านโดยทั่วไปเชื่อว่า พระบึงสามพันนี้ก็คือพระพุทธชินราชนั่นเอง โดยผู้สร้างได้ประยุกต์เอาศิลปะในยุคต่อ ๆ มาผนวกเข้าไว้
(ขอบคุณข้อมูลจาก OKเนชั่นดอทเน็ต)
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน2,000 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลจ. - 03 ก.ย. 2561 - 10:18.46
วันปิดประมูล ศ. - 07 ก.ย. 2561 - 14:18.53 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 2,000 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน)
ราคาประมูลด่วน2,000 บาท
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
1,100 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) ศ. - 07 ก.ย. 2561 - 09:19.14
2,000 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน) ศ. - 07 ก.ย. 2561 - 14:18.53
กำลังโหลด...
Top