ประมูล หมวด:พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520
หลวงพ่อโม วัดสามจีน ปี 246..กว่า เนื้อชินตะกั่ว
ชื่อพระเครื่อง | หลวงพ่อโม วัดสามจีน ปี 246..กว่า เนื้อชินตะกั่ว |
---|---|
รายละเอียด | เหรียญชินราช หลวงพ่อโม เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์หน้าใหญ่ จัดว่าหายากมากเป็นบล็อคที่สร้างในยุคแรกหรือรุ่นแรกเลยก็ไม่ผิด ครั้นต่อมาก็จะมีออกมาอีกเป็นยุคหลังพิมพ์หน้าเล็ก และยังมีพระที่เลียนแบบออกมาอีกเรียกว่าเหรียญเก๊เลยดีกว่าพิมพ์คล้ายๆกันนี้ หลังจะไม่ค่อยเห็นรอยตะเข็บหรือมีก็เส้นจางๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเหรียญรุ่นนี้จะต้องมีทุกเหรียญ เหรียญแท้หายากจริงๆครับ ราคาเหรียญแท้ๆยุคแรกสายตรงเล่นหากันก็เป็นหมื่นแล้ว เหรียญนี้ได้มาเกือบ 30 ปีเมื่อช่วงที่เริ่มสะสมใหม่ๆ เช่าหามาในขณะนั้น 200 บาท พระพุทธชินราชหลวงพ่อโมวัดสามจีน ที่คนรุ่นเก่ารู้จักดีโดยเฉพาะผู้ที่ยกตัวเองว่าเป็น “นักเลงอันธพาล” ที่ชอบก่อเหตุยกพวกตีกันเพราะในยุค “ก่อนปี พ.ศ. 2500” นั้นกรุงเทพฯ มีนักเลงหลายก๊กหลายพวกอย่างเช่น “นักเลงเก้ายอด” หรือพวก “ลั่กก๊ก” นักเลงพวกนี้นอกจากใจถึงไม่กลัวใครแล้ว ว่ากันว่าแต่ละคนยังหนังเหนียวฟันแทงไม่เข้า รวมทั้ง “นักเลงย่านวัดสามจีน” ก็เป็นอีกพวกที่ไม่มีใครอยากข้องแวะเพราะร่ำลือกันว่ามี “หนังเหนียว” ทั้งนี้ก็เพราะในคอนักเลงพวกนี้แขวน “พระพุทธชินราช” ของ “หลวงพ่อโม วัดสามจีน” ทุกคน ดังนั้น “พระพุทธชินราชหลวงพ่อโมวัดสามจีน” จึงเป็นที่รู้จักด้วยเหตุนี้ ประกอบกับวัดนี้มี “พระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่” ที่ประดิษฐานอยู่ภายในวัดซึ่งแต่เดิมเป็นพระพุทธรูปที่ถูกโบกปูนปิดทับเอาไว้โดยสันนิษฐานกันว่าเพื่อไม่ให้ผู้ใดทราบว่าภายในเป็น “พระทองคำ” กระทั่งปูนที่โบกทับไว้กะเทาะออกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2490 นี่เองจึงได้ทราบว่าเป็น “พระทองคำ” ขนาดใหญ่อยู่ภายใน “หลวงพ่อโม” นับเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าท่านหนึ่งที่ บรรลุธรรมขั้นสูง และเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในวิปัสสนากรรมฐานมากอีกรูปในยุคนั้น ชนิดผู้คนร่ำลือกันว่าท่านสามารถล่วงรู้กาลมรณภาพล่วงหน้าได้ ดังนั้นเมื่อท่านเป็นผู้ให้กำเนิด “พระพุทธชินราชหลวงพ่อโมวัดสามจีน” จึงเชื่อมั่นได้ว่าพุทธคุณต้องครบเครื่องทุกด้านแม้จะสร้างเป็นแบบ “องค์แบนครึ่งซีก” ด้วยเนื้อตะกั่วก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะวัสดุในการสร้างพระสมัยนั้นค่อนข้างหายาก อีกทั้งสมัยนั้นก็นิยมสร้างวัตถุมงคลด้วยเนื้อตะกั่วเพราะสร้างได้ง่ายไม่มีอะไรยุ่งยาก ส่วนพุทธคุณจะดีแบบใดก็อยู่ที่ผู้สร้างมีความเก่งทางด้านใดเท่านั้น ส่วนมูลเหตุที่ “หลวงพ่อโม” สร้างพระในรูปแบบของ “พระพุทธชินราช” นั้นก็เนื่องเพราะเมื่อครั้งที่ “พระปรมากรมุณี” ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านไปรับตำแหน่งเป็น “เจ้าคณะ” แห่งเมืองพิษณุโลก “หลวงพ่อโม” ผู้เป็นศิษย์จึงเดินทางไปปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์ในกาลครั้งนั้นด้วย จึงได้มีโอกาสไปสัมผัสและกราบนมัสการ “พระพุทธชินราชองค์ใหญ่” ที่ประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อย่างสม่ำเสมอ “หลวงพ่อโม” จึงมีความศรัทธา “พระพุทธชินราช” เป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเมื่อเดินทางกลับมาจำพรรษาที่ “วัดสามจีน” เมื่อปี พ.ศ. 2460 จึงได้สร้างพระเครื่องเป็นพิมพ์ “พระพุทธชินราช” ด้วยเนื้อตะกั่วแล้วทำการลงอักขระด้วยเหล็กจาร ได้คัดลอกจากหนังสือนิตสารพระเครื่อง |
ราคาเปิดประมูล | 10,000 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 20,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 1,000 บาท |
วันเปิดประมูล | อ. - 24 ส.ค. 2553 - 21:11.21 |
วันปิดประมูล | พฤ. - 26 ส.ค. 2553 - 00:06.43 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ข้อมูลเพิ่มเติม #1 อ. - 24 ส.ค. 2553 - 21:12.17
โดยส่วนตัวแล้ว ไม่เคยแนะนำให้สะสมปีพศ.ใหม่ ด้วยเหตุผลมากมายที่อธิบายได้หมดในกระทู้เดียว พระเครื่องปีพศ.ใหม่โดยเฉพาะผู้สร้างเป็นกลุ่มพวกศูนย์พระเครื่องหรือเซียนพระที่มีความเกี่ยวข้องกับการสร้างโดยตรง ผมจะหลีกเลี่ยงการสะสมทันที เนื่องจากการสร้างพระเครื่องในปัจจุบันที่อ้างว่าจะสร้างเพื่อหาเงินทำบุญให้กับวัดนั้นแทบจะเขื่อถือได้ยากมาก ล้วนแล้วแต่จะแสวงหาผลประโยขน์กับสร้างเกือบจะทั้งสิ้น
เดี๋ยวนี้ก็ค่อนข้างเป็นห่วงนักสะสมรุ่นใหม่ที่เสพข้อมูลตามสื่อต่างๆที่โฆษณาชวนเชื่อและตามเก็บสะสมพระเครื่องตามกระแสนิยม ที่มีการสร้างภาพเรื่องราคาตามเว็บไซต์กระดานประมูลต่างๆ ราคาวิ่งขึ้นไปสูงมากจนไม่อาจจะสามารถหาเหตุผลมารองรับได้เลย มีการโยนราคากันไปมาเพื่อสร้างภาพให้เห็นว่ามีผู้ซื้อจริง ซึ่งบางรุ่นบางพิมพ์หาใช่เป็นอย่างที่เราเห็นหรอกครับ ดังนั้นคิดจะเก็บสะสมพระเครื่องปีพศ.ใหม่ขอให้ค้นหาข้อมูลศึกษาก่อนจะได้ไม่เสียใจครับ...
ที่ตั้งประมูลนั้นเจตนาต้องการจะสื่อข้อความให้เพื่อนนักสะสมได้อ่านและนำไปคิดกันดูก่อนที่จะเก็บสะสมครับ...ไม่อยากจะให้ต้องเป็นเหยื่อของพวกที่ปั่นราคาครับ
เดี๋ยวนี้ก็ค่อนข้างเป็นห่วงนักสะสมรุ่นใหม่ที่เสพข้อมูลตามสื่อต่างๆที่โฆษณาชวนเชื่อและตามเก็บสะสมพระเครื่องตามกระแสนิยม ที่มีการสร้างภาพเรื่องราคาตามเว็บไซต์กระดานประมูลต่างๆ ราคาวิ่งขึ้นไปสูงมากจนไม่อาจจะสามารถหาเหตุผลมารองรับได้เลย มีการโยนราคากันไปมาเพื่อสร้างภาพให้เห็นว่ามีผู้ซื้อจริง ซึ่งบางรุ่นบางพิมพ์หาใช่เป็นอย่างที่เราเห็นหรอกครับ ดังนั้นคิดจะเก็บสะสมพระเครื่องปีพศ.ใหม่ขอให้ค้นหาข้อมูลศึกษาก่อนจะได้ไม่เสียใจครับ...
ที่ตั้งประมูลนั้นเจตนาต้องการจะสื่อข้อความให้เพื่อนนักสะสมได้อ่านและนำไปคิดกันดูก่อนที่จะเก็บสะสมครับ...ไม่อยากจะให้ต้องเป็นเหยื่อของพวกที่ปั่นราคาครับ
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
10,000 บาท | พ. - 25 ส.ค. 2553 - 00:06.03 | |
15,000 บาท | พ. - 25 ส.ค. 2553 - 00:06.25 | |
16,000 บาท | พ. - 25 ส.ค. 2553 - 00:06.31 | |
17,000 บาท | พ. - 25 ส.ค. 2553 - 00:06.34 | |
18,000 บาท | พ. - 25 ส.ค. 2553 - 00:06.37 | |
19,000 บาท | พ. - 25 ส.ค. 2553 - 00:06.40 | |
20,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | พ. - 25 ส.ค. 2553 - 00:06.43 |
กำลังโหลด...