
ว่าด้วยเรื่องพระกรุลานดอกไม้ จ.สุโขทัย
บทความพระเครื่อง เขียนโดย T-chaiwong
ต้องขออนุญาตคัดลอกมา..ครับ เพราะไม่ทราบว่าต้นฉบับมาจากที่ไหน..เพราะเหตุมีการซื้อ-ขาย ตามสนามต่างๆ มากมาย รวมสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมถึงเคลือค่ายอินเตอร์เน็ต..อีกด้วย หมายเหตุ ตัวหนังสือสีขาว คือที่ลอก...เค้า..มาครับ
พระกรุลานดอกไม้ อลังการงานศิลป์จากสุโขทัย 1. ถือโอกาสบูรณะเพื่อร่วมสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี และปรับภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบ เพื่อเป็น แหล่งท่องเที่ยว 2. สำหรับเตรียมงานฉลองครั้งยิ่งใหญ่ คืองานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ และฉลอง 700 ปี ลายสือไท ในปี พ.ศ. 2526 และรับการเสด็จของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมพระบรมศานุวงศ์ทุกพระองค์ ซึ่งจากขั้นข้างต้น..ว่า “เพื่อสร้างลานอุทยานเผาเทียนเล่นไฟในปัจจุบัน” ซึ่งบริเวณดังกล่าว คือบริเวณ ด้านหน้าวัดมหาธาตุในปัจจุบัน ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่ามีพระขึ้นหรือไม่ แต่ที่ทราบแน่ๆ คือประมาณปี พ.ศ. 2538-39 น่า จะประมาณนี้..มีการปรับพื้นที่หน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สุโขทัย ได้พบฐานเจดีย์หมู่ขนาดใหญ่ ที่เนินดินนั่น จากการขุดค้น..พบกรุพระจำนวนหนึ่ง พบพระพิมพ์ต่างๆ รวมถึงพิมพ์พระร่วงนั่งหลังลิ่มด้วย ซึ่งเฉพาะพิมพ์ นี้มีอยู่ประมาณ 50 องค์ แต่พระทั้งหมดอยู่ในสภาพระเบิด หรือภาษาที่นักเล่นพระเรียกว่า “หมดยาง”
ลักษณะเนื้อพระ เป็นพระกรุเนื้อดินที่มีเนื้อหาเนียนละเอียด ผ่านการกรองอย่างดีไม่มีกรวดทรายเลยสักเม็ด ผิวมีตั้งแต่แบบแห้งแกร่ง จนถึงละเอียดนุ่มแบบกำแพง มีความมันจัด ซึ่งจากขั้นข้างต้น..จะเห็นได้ว่าหากเป็นผู้ที่เคยเล่นพระเนื้อดินกรุสุโขทัยมา แทบจะน้อยองค์หรือน้อยกรุ เสียด้วยซ้ำไปที่จะมีเนื้อแบบพระกำแพงฯ เพราะพระเนื้อดินสุโขทัย เอกลักษณ์ แกร่ง หยาบ ต่อให้ผ่านการกรอง มาอย่างดีก็ตาม และมักใช้ไฟที่มีความร้อนสูงในการเผา เนื้อพระจึงมีความแกร่งพอสมควร แต่พระกรุลานดอกไม้นี้ ที่เนื้อมันๆ ก็เพราะทำผิวมา..ทั้งนั้น
วิธีพิจารณาเนื้อหาพระกรุ ลานดอกไม้ ก็เหมือนกับการดูพระกรุทั่วไปคือ แม้ว่าเนื้อจะแห้งหรือจะมัน ก็จะต้องมีความแห้งผาก หมดยางอยู่ในที เป็นการสัมผัสโดยสายตา ถ้าไม่ชำนาญพระที่ผิวมัน ก็ลองมองหารอยถลอก หรือจุดที่เสียผิวไปก็ได้
สี ของพระจะมีทั้งเหลืองพิกุล น้ำตาลอ่อน น้ำตาลเข้ม สีส้มหรือแดงหม้อใหม่ แดงเข้ม เขียว ไปจนถึงดำ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่เผา เหมือนกับพระเนื้อดินเผาปกติทั่วไป คราบไคล และสิ่งที่อยู่บนผิว บนผิวหน้าของพระหลายๆองค์จะมีรอยว่านหลุด ซึ่งเป็นปกติของพระเก่า ที่มวลสารส่วนประกอบภายในที่เป็นอินทรีย์สารเช่นว่านต่างๆจะยุบตัวหายไป(บาง ทีก็เกิดจากการเผา) ทำให้เกิดโพรงในองค์พระ นานเข้าโพรงนั้นจะยุบตัว ทำให้เป็นร่องบนผิวพระ อันนี้ไม่รู้นะ..ถ้าเป็นผมก็พิจารณาเหมือนพระกรุเนื้อดินทั่วๆ ไป…ตอบเหมือนเดิมอีกแล้ว
องค์ที่เนื้อละเอียดและมีความจัดนุ่มๆ ถ้าแบบพิมพ์คล้ายของเมืองกำแพงฯ ก็จะถูกผู้ขายบางท่านย้ายกรุให้โดยอัตโนมัติครับ
พิมพ์ ของพระ มีมากมายหลายแบบด้วยกัน ซึ่งทุกพิมพ์ล้วนเป็นศิลป์สุโขทัยทั้งสิ้น มีทั้งแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และที่ล้อหรือมีความใกล้เคียงกันกับพระกรุกำแพงเพชร
จุดน่าสังเกตอย่างหนึ่งคือ พระกรุนี้ไม่มี่การตัดปีกด้วยของมีคม แต่ใช้มือคลึงๆเอาตอนกดพิมพ์จากด้านหลัง ปีกพระจึงมีกว้างบ้าง แคบบ้าง ตรงบ้าง เบี้ยวบ้าง ไม่แน่นอนแล้วแต่ผู้สร้าง จึงไม่มีขนาดมาตรฐานที่แน่นอน บางองค์เป็นพิมพ์เดียวกันมีความเล็กใหญ่ต่างกันมากๆ ด้านหลังมีลายมือผู้กดพิมพ์ทุกองค์ แน่นอนครับว่าต้องเป็นอย่างว่าแน่ๆ เพราะกดพระตั้งหลายร้อย หลายพันองค์จะมานั่งแต่งทีละองค์ เสียเวลาแย่ ครับ กดเสร็จไวๆ เผาไวๆ ได้ตังค์ไวๆ ง่ายดีครับ
ในส่วนตัวแล้วตอนที่ผมอยู่ที่สุโขทัย..บอกตรงๆ ว่าไม่รู้จักพระกรุนี้เลยครับ แม้แต่แผงพระเก๊ที่สุโขทัยก็ตาม ผมยังไม่เคยเห็น ผมพึ่งจะมารู้จักพระกรุนี้ ก็ประมาณ 17-18 ปีก่อน..ตอนเข้ามาอยู่ที่กรุงเทพฯ นี้เอง เริ่มรู้จักจากสนามพระส่วนกลาง..นี่เอง เนื้อพระที่พบก็ดูใหม่ ไม่ได้เก่าอะไรขนาดนั้น ราคาเช่าหาก็ถูกเสียเหลือเกิน ถ้าเทียบราคากับพระกรุ พระเก่า… อย่าง เช่น พิมพ์พิจิตรบ้านกล้วย พระพิมพ์ขนาดเล็กกรุโปร่งมะขาม พระเชตุพน เป็นต้น แต่ที่สุดแล้วคงต้องแล้วแต่คนเล่น เพียงอยากจะบอกว่า เล่นพระกรุ ศึกษาพระกรุ ไม่ยากอย่างที่คิด..และหากข้อความหรือบทความของผมนี้ ไปพาดพิงหรือทำให้ท่านหนึ่ง ท่านใด เสียหายด้วยประการใดๆ ผมต้องกราบขออภัยอย่างสูง การเล่นพระทุกชนิดคงต้องยึดหลักมาตราฐาน..ที่ไม่ใช่มาตราฐานส่วนบุคคลจริงมั้ย..ครับ |