ประวัติ พระอาจารย์หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาปิ้ง จ.เลย - webpra

ประวัติ พระอาจารย์หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาปิ้ง จ.เลย

บทความพระเครื่อง เขียนโดย question

question
ผู้เขียน
บทความ : ประวัติ พระอาจารย์หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาปิ้ง จ.เลย
จำนวนชม : 1452
เขียนเมื่อวันที่ : จ. - 11 ม.ค. 2553 - 03:06.15
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)

     พระพระอาจารย์หลุย จันทสาโร ท่านเป็นพระที่มีความมักน้อย ถ่อมตนเป็นนิสัย เมื่อพบเพื่อนสหธรรมิกของท่านผู้บวชก่อน แม้จะมีอายุน้อยกว่า แต่พระอาจารย์หลุย จันทสาโร จะคุกเข่าก้มลงกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์อย่างนอบน้อม อ่อนโยน จนกลายเป็นลักษณะของท่าน 
     พระอาจารย์หลุย จันทสาโร เดิมชื่อวอ นามสกุล วรบุตร เกิดวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๙ ที่ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย บิดาชื่อนายคำผ่อง วรบุตร มารดาชื่อนางกวย วรบุตร มีพี่น้อง ๓ คน พระอาจารย์หลุย จันทสาโร เป็นบุตรคนกลาง ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๖ เป็นพระมหานิกาย ๑ พรรษา ที่อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ต่อมาท่านได้ขอญัตติ เป็นธรรมยุติกนิกายที่จังหวัดเลย กับท่านพระครู อดิศัยคุณาธาร ได้พบกับพระอาจารย์บุญ ปัญญาวุโธ ได้ถวายตัวเป็นศิษย์ ในปี พ.ศ.๒๔๖๗ เพียง ๙ พรรษา การภาวนามีอุปสรรค์ จึงขอญัตติใหม่ที่วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๘ โดยมีท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นอุปัชฌาย์และท่านพระอาจารย์บุญ ปัญญาวุโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลังจากที่ได้ญัตติครั้งที่ ๒ นี้ ท่านก็ยังคงอยู่กับพระอาจารย์องค์แรก คือพระอาจารย์บุญ ปัญญาวุโธ ท่านได้พาพระอาจารย์หลุย จันทสาโร ไปกราบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่วัดท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย และต่อมาได้พบกับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และเริ่มออกวิเวกไปทางจังหวัดเพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี นครราชสีมา ร้อยเอ็ด ขอนแก่น สกลนคร หนองบัวลำภู จันทบุรี ปทุมธานี นครนายก สมุทรปราการ ชลบุรี หนองคาย ประจวบคีรีขันธ์ ความสมถะและชอบวิเวกของท่าน จึงเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ศิษย์ทั้งหลายว่า พระอาจารย์หลุย จันทสาโร เป็นผู้อยู่ง่ายไปเร็ว สถานที่ที่ท่านจะทำความเพียรท่านจะพิจารณาสัปปายะเพียง ๓ ข้อแรก คือ สถานที่ชวนให้ดูดดื่มการภาวนา อากาศปลอดโปร่งดี บุคคลดี รู้กาล รู้สิ่งที่ควรประเคน ไม่เข้ามาวุ่นวายขณะทำความเพียร ส่วนเรื่องอาหารแทบไม่สนใจเลย เพียงบิณฑบาตรได้ตามมีตามเกิดก็พอ
     พระอาจารย์หลุย จันทสาโร มีลักษณะอ่อนน้อมถ่อมตน ที่ท่านได้รับการสั่งสอนจากพระอาจารย์บุญ ปัญญวุโธ อาจารย์ของท่านว่าให้ปฏิบัติง่าย ๆ ๔ ประการคือ
๑. ตื่นก่อนอาจารย์
๒. นอนทีหลังอาจารย์
๓. ฉันทีหลังอาจารย์
๔. ฉันเสร็จก่อนอาจารย์
     ท่านได้ปฏิบัติตามที่ท่านอาจารย์สอนและนำไปปฏิบัติกับพระผู้ใหญ่ ความอ่อนน้อมของพระอาจารย์หลุย จันทสาโร เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป
พระอาจารย์หลุย จันทสาโร ชอบอยู่ตามที่สงัดคือป่ารุกมูล โคนไม้บ้าง ตามหุบเขาบ้าง บนภูเขา ซอกลำธาร ในถ้ำ ตามสุสาน ป่าช้า ในที่ป่ารกชัฎบ้าง ตามลานหญ้า หรือพลานหินที่แจ้งสถานที่ต่าง ๆ เหล่านี้ ท่านอยู่เนื่องด้วยเกี่ยวกับภาวนา พระอาจารย์หลุย จันทสาโร จะสรรเสริญการธุดงค์และเสนาสนะป่าอยู่เสมอไว้ว่า "เห็นต้นไม่ ภูเขา ป่าใหญ่ จิตใจตื่นเต้นด้วยสติทุกอิริยาบถ ทั้งวิเวกสงัด ด้วยไตรทวาร ประกอบด้วยภยันอันตรายต่าง ๆ สะดวกแก่การภาวนา จิตใจถึงมรรคผลได้เร็วไม่มีนิวรตามรบกวน" จนถึงวันสุดท้ายท่านเป็นพระป่าอย่างแท้จริงที่ไม่ติดที่อยู่พรรษาสุดท้าย พระอาจารย์หลุย จันทสาโร ได้อยู่ที่พักสงฆ์ กม.๒๗ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี กับที่พักสงฆ์หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ได้ให้คติเป็นปัจฉิมโอวาทความว่า "ขอให้เร่งทำความเพียรทุก ๆ คนที่อยู่ร่วมกันสามัคคีกัน กลมเกลียวกัน" ณ ที่พักสงฆ์หัวหิน ในวันจันทร์ที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๓ พระอาจารย์หลุย จันทสาโร ได้มรณภาพรวมอายุได้ ๘๕ ปี นับได้ว่า พระอาจารย์หลุย จันทสาโร เป็นผู้กตัญญู เคารพยกย่องพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่เมตตาสั่งสอนทุกรูป เช่น พระอาจารย์บุญ ปัญญาวุโธ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาโม พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และพระอาจารย์หลุย จันทสาโร ได้รับการยกย่องว่า เปรียบเสมือนเพชรบนยอดมงกุฎแห่งจังหวัดเลย หลังจากการพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์ หลุย จันทสาโร ที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ได้เก็บอัฐิธาตุไว้ที่พระเจดีย์ของวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ต่อมาได้อัญเชิญอัฐิธาตุพระอาจารย์หลุย จันทสาโร มายังที่พักสงฆ์ กม.๒๗ ดอนเมือง ในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๘ คณะศิษย์ได้อัญเชิญอัฐิธาตุของท่านมายังวัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เพื่อเตรียมบรรจุไว้ในเจดีย์ (จันทสารเจติยานุสรณ์)

ความเป็นมาเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์หลุย จันทสาโร
     เจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์หลุย จันทสาโร เกิดขึ้นจากบรรดาศิษยานุศิษย์ต่างตระหนักดีว่าพระอาจารย์หลุย จันทสาโร เป็นพระเถระที่บุคคลทั่วไปให้ความเคารพแ

Top