ตะกรุดมหาระงับปราบหงสา - webpra

ตะกรุดมหาระงับปราบหงสา

บทความพระเครื่อง เขียนโดย tae96

tae96
ผู้เขียน
tae96 (162) (-3)
บทความ : ตะกรุดมหาระงับปราบหงสา
จำนวนชม : 939
เขียนเมื่อวันที่ : จ. - 12 ต.ค. 2563 - 15:17.17
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)
     ตะกรุดมหาระงับปราบหงสาถือเป็นเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง ที่ผูกพันกับคติความเชื่อของคนไทยมาช้านาน โดยมีความเชื่อที่ว่าตะกรุดสามารถคุ้มครองผู้ครอบครอง หรือสร้างความมีเสน่ห์เมตตาให้แก่ผู้มาพบเห็นได้ ซึ่งตะกรุดโดยทั่วไปแล้วมักทำด้วยโลหะบ้าง อโลหะบ้าง เช่น แผ่นตะกั่ว แผ่นเงิน แผ่นทอง หรือทองแดงบางครั้งก็ใช้ไม้ไผ่ หรือกระดูกสัตว์ก็มี เมื่อได้วัสดุตามต้องการแล้วก็จะทำการลงอักขระโดยใช้เหล็กจารเขียนอักขระพระคาถามงคล หรือผูกเป็นยันต์ตามแต่ตามต้องการ ตะกรุดมหาระงับปราบหงสามีประวัติเกิดขึ้นชัดเจนที่สุดในสมัยอยุธยาเพราะเป็นเครื่องรางของขลังประจำพระวรกายขององค์สมเด็จ พระนเรศวร มหาราช ในการออกทำศึกรบกับพม่าโดยทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา(มังสามเกียด) จึงทำให้ทหารพม่าแพ้พ่ายแตกทัพไป ซึ่งด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้คน ส่วนใหญ่เรียกว่าตะกรุดมหาระงับปราบหงสา หรือตะกรุดนเรศวรปราบหงสา สืบต่อมาจนทุกวันนี้

     ตะกรุดมหาระงับปราบหงสา มีวิธีการสร้าง อย่างละะเอียด อ่อนและจะต้องเป็นขั้นเป็นตอน โดยเริ่มจากการจารอักขระเลขยันต์หรือที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าการเดินยันต์นั่นเอง กานเดินยันต์นั้นก็ไม่ใช่ เรื่องง่ายๆ เพราะ การเดินยันต์หนึ่งตัวก็ต้องบริกรรมคาถาไปด้วยหนึ่งจบ โดยบทบริกรรมคาถา ส่วนใหญ่จะเป็นบทสรรเสริญพุทธคุณ สำหรับตัวยันต์ มหาระงับนั้น จะมีเอกลักษณ์ เฉพาะโดยเป็นเหมือนแผนผังกั้นเป็นห้องๆ ซ้อนกันล้อมด้วยพระคาถามหาระงับ พระคาถาบารมี 30 ทัศ และอิติปิโส 8 ทิศ เป็นต้น เมื่อลงอักขระเลขยันต์      เสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะม้วนให้เป็นแท่งกลม โดยมีช่องว่างตรงกลางไว้สำหรับร้อยเชือกเมื่อม้วนเสร็จแล้วก็ต้องพอกด้วยว่านยา คือ ใบไม่รู้นอน 7 ชนิด ประกอบด้วย ใบระงับ ,ใบผักกะเฉด ,ใบกระทืบยอด ,ใบชุมเห็ดเทศ ,ใบหญ้าใต้ใบ ,ใบแคขาว ,ใบสมี เมื่อได้ครบทั้ง 7 อย่าง อย่างละเท่าๆ กัน นำไปสุมไฟให้ใหม้แต่อย่าให้เป็นขี้เถ้า หรือนำไปตากให้แห้ง จากนั้นนำมาบดให้ระเอียดจึงนำไปกวนกับน้ำรัก หรือชันยางเรือ ทำเป็นสมุกพอกตะกรุด หลังจากพอกยาเสร็จแล้วก็เอาไปตากให้แห้ง จากนั้นใช้เชือก หรือด้ายดิบถักทับแล้วจึงลงรักปิดทองเพื่อรักษาตะกรุดไว้อีกชั้นหนึ่ง ในการปลุกเสกนั้นก็ต้อง ปลุกเสกให้จนมั่นใจว่าเป็นมหาระงับ มหาปราบ โดยชนิดที่ว่าจะต้องปลุกเสก จนสามารถสะกดและระงับให้บริเวณนั้นเงียบสงบแบบไม่มีเสียงใดๆ ให้ได้ยิน เลยนั่นแหละถึงจะเป็นการปลุกเสกที่สมบูรณ์ที่สุด

     ที่โด่งดังอีกตำหรับ สายแม่กลอง ตะกรุดมหาระงับปราบหงสา พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ อินทสุวัณโณ) พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ อินทสุวัณโณ) วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2405 ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 2 ปีจอ มรณะเมื่อวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2505 แรม 6 ค่ำ เดือน 7 ปีขาล รวมสิริอายุ 100 ปี 78 พรรษา สมณศักดิ์เป็นพระราชมงคลวุฒาจารย์ พระราชาคณะชั้นราช เจ้าคณะแขวงอัมพวา ศึกษาวิชากับ หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว , หลวงปู่แจ้ง วัดประดู่ , หลวงพ่อพ่วง วัดปากสมุทร หลวงพ่อปลัดทิม วัดเหมืองใหม่ มีศิษยานุศิษย์ คือ หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ วัตถุมงคลของท่าน คือ พระเนื้อเมฆพัตร พิมพ์ซุ้มประตู พระพุทธชินราช , พระหล่อเนื้อโลหะผสมปางประจำวัน , เหรียญพระประจำวัน , ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ , พระนาคปรกเนื้อเมฆพัตร , ตะกรุดลูกอมร้อย ด้วยไหม 7 สี มีเนื้อทองคำ เงิน และนาก พุทธคุณ ด้านเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด

     คาถาบูชา ตะกรุดมหาระงับปราบหงสา โอมมหาระงับ หลับสิ้นทั้งบ้าน โอมชิดมหาชิด โอมปิดมหาปิด สิทธิสวาหับ นะปิดตา โมปิดใจ พุทธปิดปาก ธาปิดหู ยะหลับนิ่งอยู่ อิติปาระมิตาติงสา ระงับอินทรา อิติสัพพัญญมาคะตา ระงับพรหมา อิติโพธิมะนุปปัตโต ระงับมะนุสสา อิติปิโสจะเตนะโม ระงับปีศาจ อิระชาคะตะระสา ติหังจะะโตโรถินัง ปิสัมวะโลปุสัตพุท โสมาณะกะริถาโท ภะสัมสัมวิสะเทภะ คะพุทปันทูทัมวะคะ วาโนอะมะมะวา อะวิสุนุสานุติ นะโมพุทธายะ ยะธาพุทโมนะ ปะระมังภะคะวา มะอะอุ ภะคะวา นะมะพะทะ จะพะกะสะ
Top