พระเนื้อว่าน พินัยกรรม กรรมการ ปี 2505 วัดช้างให้ - webpra

พระเนื้อว่าน พินัยกรรม กรรมการ ปี 2505 วัดช้างให้

บทความพระเครื่อง เขียนโดย tanawat_pattani

tanawat_pattani
ผู้เขียน
บทความ : พระเนื้อว่าน พินัยกรรม กรรมการ ปี 2505 วัดช้างให้
จำนวนชม : 1427
เขียนเมื่อวันที่ : ส. - 16 ธ.ค. 2560 - 21:55.38
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)
พระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ รุ่นพินัยกรรม ปี 2505 ในอดีตจนถึงปัจจุบันจะพบว่าพระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน ปี 2497 หรือ รุ่นพินัยกรรม ปี 2505 จะมีคนพูดถึงว่าเป็นพระที่ดูยากเมื่อเทียบกับพิมพ์เตารีด หรือพวกเหรียญ ผมว่าเนื่องจากมาจาก
1. พระหลวงปู่ทวด สร้างจากดินกากยายักษ์ และว่านต่าง ๆ โดยองค์ไหนที่แก่ดินเนื้อจะออกโซนดำ ถ้าแก่ว่านเนื้อจะออกโซนน้ำตาล และเทา โดยพระโซนดำจะเป็นพระที่ร่อนดินเป็นอย่างดี อาทิเช่นพิมพ์กรรมการต่าง ๆ เนื่องจากมวลสารที่ผสมไม่แน่นอน ทำให้พระมีเนื้อหลายโซน ซึ่งคนที่ชำนาญเคยเห็นพระหลาย ๆ โซนก็จะเข้าใจได้ ถ้าคนที่ไม่ชำนาญเห็นพระน้อยก็จะดูไม่ออก
2. การจัดเก็บ เนื่องจากพระเนื้อว่านเมื่อจัดเก็บโดนความร้อน หรือความชื้น สภาพจะเปลี่ยนไป ทำให้บางองค์มีไขขึ้นเต็ม บางองค์ก็ไม่มี บางองค์ก็เนื้อหาแน่น บางองค์เนื้อก็ร่วน
ดังนั้นการพิจารณาพระหลวงปู่ทวด เนื้อว่านปี 2497 จะต้องเข้าใจพิมพ์พระเป็นหลัก โดยพิมพ์เป็นแม่พิมพ์ครั่ง มีหลายแม่พิมพ์มาก จะต้องพยายามดูพิมพ์ต่าง ๆ ให้มาก และจะต้องเข้าใจมวลสารหลักในการจัดสร้างซึ่งจะมีมวลสารเม็ดแดง ดำ ขาว ซึ่งจะต้องจำให้แม่น
ทีนี้เรามาพูดถึงรุ่นพินัยกรรม ปี 2505 จะพบว่าพระทุกองค์จะปราณีตในการจัดสร้างมากกว่า ปี 2497 เนื่องจากมีเวลาในการจัดสร้างมากกว่า รวมทั้งจำนวนการสร้างที่น้อยกว่า (ปี 2497 สร้างประมาณ 64,000 องค์ แต่ปี 2505 สร้างประมาณ 20,000 องค์) โดยแม่พิมพ์หลัก ๆ จะมีอยู่ 3 พิมพ์คือ
1. พิมพ์ใหญ่หน้ากรรมการ พิมพ์นี้จะคล้ายพิมพ์กรรมการปี 2497 แต่ขนาดจะเล็กกว่าเล็กน้อย คาดว่าเอาพิมพ์กรรมการมาถอดพิมพ์สร้าง
2. พิมพ์ใหญ่หน้าใหญ่ พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่แกะใหม่ จะเป็นต้นแบบของพิมพ์ใหญ่วัดทรายขาว
3. พิมพ์พระรอด คล้ายกับพิมพ์พระรอดกรรมการ แต่มีความแตกต่างหลายจุด
แต่อย่างนึงที่ผมพบคือพระรุ่นพินัยกรรม ปี 2505 จะมีเนื้อหาที่แก่ดิน คล้ายพิมพ์กรรมการ ดังนั้นเนื้อหาจะออกสีดำ มีมวลสารเม็ดแดง ดำ ขาว คล้ายกับปี 2497 ด้านหลังจะพบแร่ที่มีลักษณะเป็นสีทอง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของรุ่นนี้ (ในรุ่นปี 2497 ก็มีบางองค์ที่มีแร่แบบนี้แต่มีจำนวนไม่มาก ผมเคยเห็นเหมือนกัน) 
ทำให้พบว่าพระรุ่นพินัยกรรมปี 2505 มีจำนวนพิมพ์ที่น้อยกว่า เนื้อหาอยู่ในโซนเดียวกัน แร่ด้านหลังเหมือนกัน เมื่อเป็นดังนี้พระรุ่นพินัยกรรมจึงเป็นพระที่เล่นง่ายกว่า ปี 2497 เหมาะกับผู้ที่ต้องการสะสมพระเนื้อว่าน อีกประการที่สำคัญ พระที่สร้างปี 2505 จะเป็นพระที่พิธีใหญ่มาก ทำให้น่าสะสมจริง ๆ และที่ผมชอบคือความหายากจะไม่ค่อยเจอพินัยกรรมโดยเฉพาะพิมพ์พระรอดหายากมาก เมื่อเทียบกับปี 2497 ซึ่งถึงแม้จะแพงแต่ก็หาได้ง่ายกว่า
โดยสรุปว่าถ้าชอบสะสมพระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ เนื้อว่าน ผมว่ารุ่นพินัยกรรมปี 2505 ก็น่าสะสมเหมือนกันนะครับ ส่วนพุทธคุณไม่ต้องพูดถึงสุดยอดจริง ๆ ครับ

พระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ รุ่นพินัยกรรม ปี 2505 จะพบว่าพระทุกองค์จะปราณีตในการจัดสร้างมากกว่า ปี 2497 เนื่องจากมีเวลาในการจัดสร้างมากกว่า รวมทั้งจำนวนการสร้างที่น้อยกว่า (ปี 2497 สร้างประมาณ 64,000 องค์ แต่ปี 2505 สร้างประมาณ 20,000 องค์) โดยแม่พิมพ์หลัก ๆ จะมีอยู่ 3 พิมพ์คือ
1. พิมพ์ใหญ่หน้ากรรมการ พิมพ์นี้จะคล้ายพิมพ์กรรมการปี 2497 แต่ขนาดจะเล็กกว่าเล็กน้อย คาดว่าเอาพิมพ์กรรมการมาถอดพิมพ์สร้าง
2. พิมพ์ใหญ่หน้าใหญ่ พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่แกะใหม่ จะเป็นต้นแบบของพิมพ์ใหญ่วัดทรายขาว
3. พิมพ์พระรอด คล้ายกับพิมพ์พระรอดกรรมการ แต่มีความแตกต่างหลายจุด
แต่อย่างนึงที่ผมพบคือพระรุ่นพินัยกรรม ปี 2505 จะมีเนื้อหาที่แก่ดิน คล้ายพิมพ์กรรมการ ดังนั้นเนื้อหาจะออกสีดำ มีมวลสารเม็ดแดง ดำ ขาว คล้ายกับปี 2497 ด้านหลังจะพบแร่ที่มีลักษณะเป็นสีทอง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของรุ่นนี้ (ในรุ่นปี 2497 ก็มีบางองค์ที่มีแร่แบบนี้แต่มีจำนวนไม่มาก ผมเคยเห็นเหมือนกัน)
ทำให้พบว่าพระรุ่นพินัยกรรมปี 2505 มีจำนวนพิมพ์ที่น้อยกว่า 
๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘

หลวงปู่ทวด รุ่นพินัยกรรม มีการเตรียมการสร้างอยู่นาน สูตรของเนื้อหามวลสารพระ ก็เป็นสูตรเดียวกับการสร้าง หลวงปู่ทวดรุ่นแรก ปี 97 คือ
1. ว่าน
2. ดินกากยายักษ์
3. ดินศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ หลายแห่ง เช่น ดินกรุ เป็นต้น
4. เกสรดอกไม้หลายชนิด
5. ผงพุทธคุณ
6. ชิ้นส่วนแตกหักชำรุดของหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน ปี 97 เป็นจำนวนมาก
พูดถึงพิมพ์หลวงปู่ทวดรุ่นพินัยกรรม สัณนิษฐานว่า มีด้วยกัน 11 พิมพ์ ด้วยกัน ลักษณะพิมพ์ก็คล้ายๆ หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก ปี 97 อย่างพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กรรมการ พิมพ์กลาง และพิมพ์พระรอด แต่เมื่อพิจารณาดีๆ แล้ว จะพบว่ารนายละเอียดของพิมพ์ทรงและตำหนิจะแตกต่างกัน แต่เนื้อหามวลสารจะมีความใกล้เคียงกัน เพราะมีการสร้างด้วยสูตรเดียวกัน
หลวงปู่ทวดรุ่นพินัยกรรมนี้ มีหลายท่านกล่าวว่า มีจำนวนการสร้างประมาณ 5,000 องค์ เมื่อสร้างเสร็จ พระอาจารย์ทิมได้นำเข้าพิธีปลุกเสกเมื่อ วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2505 พร้อมกับเนื้อโลหะ เมื่อเสร็จพิธี ก็เล่ากันว่า ได้นำอาหลวงปู่ทวดรุ่นนี้ ไปออกให้เทบุญที่วัด นาประดู่ ประมาณ3,000 องค์ ระหว่างปี 2505 - 2506 เหตุผลที่นำไปออกให้ทำบุญที่วัดนาประดู่นั้น ก็เนื่องจากว่าเมื่อสมัยที่ พระอาจารย์ทิม มีอายุได้ 9 ขวบ บิดา-มารดา ได้นำไปฝากกับ พระครูภัทรกรณ์โกวิท หรือ หลวงพ่อแดง เจ้าอาวาสวัดนาประดู่ เพื่อเรียนหนังสือ จนจบ ป.3 ก็ออกโรงเรียน แต่ยังพักกับหลวงพ่อแดงที่วัดนาประดู่ และเมื่ออายุได้ 20 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดนาประดู่
ครั้นเมื่อถึงปี 2484 ก็ได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้ไปรักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดช้างให้ ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในสภาพที่ร่วงโรย เพราะขาดการบูรณะมานาน .....พระอาจารย์ทิมเริ่มลงมือบูรณะวัดแบบค่อยเป็นค่อยไป ต่อมาพระอาจารย์ทิมจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดช้างให้ อย่างเต็มตัว การที่พระอาจารย์ทิมได้บางหลวงปู่ทวดรุ่นนี้ ให้กับวัดนาประดู่ ก็เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที เนื่องจากวัดนาประดู่ เป็นสถานที่ที่ท่านเคยอยู่มานานตั้งแต่เด็ก จนกระทั่งอุปสมบทและเล่าเรียนอยู่ที่วัดนี้
หลวงปู่ทวด รุ่นพินัยกรรม จำนวน 3,000 องค์ ที่วัดนาประดู่ กล่าวกันอีกทางว่า วัดควนวิเศษ จ.ตรัง มาขอแบ่งเช่าไปเพื่อออกให้ทำบุญที่วัดควนวิเศษ จำนวนหนึ่งด้วย
ส่วนที่เหลืออีกราว 2,000 องค์ เล่ากันอีกต่อมาว่า พระอาจารย์ทิม ได้เก็บเอาไว้ โดยมิได้นำออกให้บูชาแต่อย่างใด ครั้นเมื่อทางวัดช้างให้ ทำพิธีปลุกเสกพระเครื่องหลวงปู่ทวดรุ่นต่อๆ มา ในสมัยที่พระอาจารย์ทิมเป็นเจ้าอาวาสอยู่นั้น พระอาจารย์ทิมก็ได้นำเอาหลวงปู่ทวดรุ่นพินัยกรรมรุ่นนี้ เข้าร่วมปลุกเสกด้วยทุกครั้ง ซึ่งก็แสดงว่า หลวงปู่ทวด รุ่นพินัยกรรม โดยเฉพาะชุดหลังที่มีอยู่ประมาณ 20,000 องค์ ได้รับการปลุกเสกหลายครั้ง แลหลายปีติดต่อกันมา
****ข้อมูลจาก หนังสือนิตยสารพระเครื่อง ลานโพธิ์ ฉบับเดือน กรกฎาคม 2547****
รับประกันตามกฏ

พระเนื้อว่าน  พินัยกรรม  กรรมการ     ปี 2505  วัดช้างให้
พระเนื้อว่าน  พินัยกรรม  กรรมการ     ปี 2505  วัดช้างให้
Top