ประวัติความเป็นมาของ พระพุทธปฏิมาแปดปาง หรือ พระพระพุทธรูปแปดปาง โดยพอสังเขป - webpra

ประวัติความเป็นมาของ พระพุทธปฏิมาแปดปาง หรือ พระพระพุทธรูปแปดปาง โดยพอสังเขป

บทความพระเครื่อง เขียนโดย เล็ก_พาต้า

เล็ก_พาต้า
ผู้เขียน
บทความ : ประวัติความเป็นมาของ พระพุทธปฏิมาแปดปาง หรือ พระพระพุทธรูปแปดปาง โดยพอสังเขป
จำนวนชม : 4325
เขียนเมื่อวันที่ : อา. - 21 ก.พ. 2559 - 16:45.31
แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ : พฤ. - 14 เม.ย. 2559 - 13:30.37
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)

ประวัติความเป็นมาของ พระพุทธปฏิมาแปดปาง หรือ พระพุทธรูปแปดปาง โดยพอสังเขป

 

ศิลปะสมัยอินเดียแท้

 

ศิลปะสมัยอินเดียแท้ แบ่งออกเป็น 4 ยุคสมัย คือ

 

1. ยุคสมัยที่ 1

 

ศิลปะอินเดียโบราณ บางครั้งเรียกว่า ศิลปะแบบสาญจี หรือ แบบราชวงศ์โมริยะ และสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ที่เรียกว่าคุงตะ ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 3 ถึงพุทธศตวรรษที่ 6

 

2. ยุคสมัยที่ 2

 

ยุคสมัยที่ 2 ยังแยกออกเป็น

 

๑. ศิลปะคันธารราฐ เกิดขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ที่มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 7 มีรูปแบบเป็นศิลปะกรีก และ ศิลปะโรมัน แต่เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา

 

๒. ศิลปะมฤรา เจริญรุ่งเรืองอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 - 9 ประติมากรรมสลักด้วยศิลาทราย โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะกรีกและโรมัน แต่ก็มีรูปแบบพระพุทธรูปแบบอินเดียเป็นครั้งแรก

 

๓. ศิลปะอมราวดี เกิดขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย ระหว่าพุทธศตวรรษที่ 6 - 7 ศิลปะสมันนี้มีลักษณะอ่อนไหว แต่เน้นลักษณะอุดมคติ พระพุทธรูปสมัยนี้มักห่มจีวรคลุมทั้งองค์ แต่ลักษณะพระพักตร์ยังคล้ายแบบกรีกและโรมัน สถานที่สำคัญที่พบศิลปะแบบอมราวดี คือ เมืองอมราวดี

 

3. ยุคสมัยที่ 3

 

ยุคสมัยที่ 3 ยังแยกออกเป็น

 

๑. ศิลปะคุปตะ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 9 - 13 เจริญรุ่งเรืองขึ้นทางภาคเหนือของประเทศอินเดีย พระพุทธรูปมีลักษณะแบบ อินเดียแท้ แต่กลับพบ ประติมากรรมสลักนูนสูงกว่าประติมากรรมลอยตัว ศิลปะที่โดดเด่นในสมัยนี้ก็คือ จิตรกรรมฝาผนังที่ถ้ำอชันตา

 

๒. ศิลปะหลังคุปตะ อยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 - 13 สถาปัตยกรรมมีรูปร่างใหญ่ขึ้น สมัยนี้มีเทวสถานที่สำคัญ คือ เอลลุรา และ เอเลฟันตะ สมัยนี้เริ่มมีศาสนสถานที่ก่อสร้างด้วยอิฐ

 

4. ยุคสมัยที่ 4

 

ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา เป็นช่วงสมัยของศิลปะทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หรือทวีปทมิฬ (Dravidian) แยกออกจากส่วนที่เหลือของอินเดีย ดังนี้คือ

 

๑. ศิลปะทมิฬหรือตราวิเดียน ศิลปะแบบทมิฬแบบที่เก่าสุดมีประติมากรรมจากศิลา รูปสำริดและรูปแกะสลักจากไม้ ประติมากรรมสำริดที่รู้จักกันดีก็คือ รูปพระศิวนาฏราชฟ้อนรำอยู่ในวงเปลวไฟ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่หลังคาสร้างเป็นหินซ้อนกันเป็นขั้นเช่น สถาปัตยกรรม ที่เป็นเทวสถานใหญ่ชื่อสิงคราชที่เมืองภูวเนศวร

 

๒. ศิลปะปาละ เสนะ เป็นศิลปะทางพุทธศาสนา ของอินเดียภาคเหนือ ภายใต้การอุปถัมภ์ของ ราชวงศ์ปาละ - เสนะ ในแคว้น เบงคอลและพิการ ระหว่าพุทธศตวรรษที่ 14 - 18 พุทธศาสนาในสมัยปาละคือ พุทธศาสนาลัทธิตันตระ ซึ่งกลายมาจากลัทธิมหายาน โดยผสมความเชื่อในลัทธิฮินดูเข้าไปปะปนสถาปัตยกรรมที่สำคัญ คือมหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการสอนพุทธศาสนาลัทธิตันตระ ในแคว้นเบงคอล ส่วนประติมากรรม มีทั้งภาพสลัก จากศิลาและหล่อจากสำริด ทั้งพุทธศาสนาคติแบบอินดู ประติมากรรมสลักจาก ศิลา ในสมัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ยุคคือ

 

๑. ยุคแรก พุทธศตวรรษที่ 14 - 15 มีพระโพธิสัตว์และพระพุทธรูปทรงเครื่อง และยุคนี้เป็นยุคที่สร้าง พระพุทธปฏิมาแปดปาง

 

๒. ยุคสอง พุทธศตวรรษที่ 16 - 17 พระพุทธรูปทรงเครื่องมากขึ้น สร้างตามคตินิยมลัทธิตันตระ

 

๓. ยุคสาม พุทธศตวรรษที่ 18 ยุคราชวงศ์เสนะ นับถือศาสนาฮินดู จึงเป็นยุคของประติมากรรมแบบฮินดู ศิลปะแบบปาละ เสนะ ได้แพร่หลายไปยังที่ต่างๆ เช่นประเทศเนปาล ธิเบต ศรีลังกา ชวาทางภาคกลาง เกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเชีย พม่า และประเทศไทย

 

 

เหตุผลที่สร้างพระพุทธปฏิมาแปดปาง

 

เกิดจาก คติความเชื่อ ว่า โลกในอนาคตจะมีพระเจ้าองค์ใหม่มาโปรด โดยทุกศาสนาในโลกนี้ก็เชื่อเช่นเดียวกันว่า

 

ฮินดู - พราหม์  จะมีพระวิศณุ (พระนารายณ์) อวตารปางใหม่

ศาสนาซิกซ์  จะมีกูรุ องค์ใหม่

ศาสนาเจน  จะมึธิทังกร องค์ใหม่

ศาสนาคริสต์  จะมีพระเยซู องค์ใหม่

ศาสนาอิสลาม  จะมีพระโมฮัมมัด องค์ใหม่

 

ทุกๆศาสนาล้วนมีความคิดตรงกันในเรื่องนี้ ผู้นำทางศาสนาพุทธ มีความคิดเป็นห่วงศาสนาต้องการรวบรวมวิธีอธิบายประวัติความเป็นมาของพระพุทธเจ้าให้กระชับกระทัดรัด และ เข้าใจง่าย จึงเกิดความคิดที่จะสร้างถาวรวัตถุ เพื่อการสืบค้นและการรับรู้ของผู้คน โดยก่อนหน้านั้นก็มีภาพแกะสลักบรรยายชีวิตของพระเจ้ามีมาก่อนแล้ว แต่ทว่าสลักศิลาแยกกันเป็นตอนๆหลายชิ้น หรือไม่ก็ใหญ่เทอะทะจนเกินไป ด้วยเหตุนี้จึงได้สร้างพระพุทธปฏิมาแปดปาง ขึ้นมา โดยถือเป็นชุดประวัติย่อของศาสดาผู้ให้กำเนิดพุทธศาสนา ทุกเหตุการณ์แกะสลักอยู่ในชิ้นเดียวกัน

 

และในขณะเดียวกันเหล่าธรรมฑูตฯ ที่ออกไปเผยแพร่ศาสนาพุทธในต่างแดน มักจะนำพระพุทธรูปศิลาแปดปาง ขนาดเล็กติดตัวไปด้วย เพื่อแสดง นำเสนอ และเป็น แม่แบบ สำหรับสร้างพระพุทธรูป ในอริยาบทและปางต่างๆตามแบบแผนได้อย่างถูกต้อง

 

ดังนั้นจึงมีการพบพระพุทธปฏิมาแปดปาง องค์กระทัดรัดในต่างแดน อาทิเช่น ทิเบต พม่า และ ไทย (พบในกรุพระปรางค์ วัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา)

 

จากใจจริง เล็ก พาต้า

ชมรมพระเครื่องพาต้าปิ่นเกล้า

 

ประวัติความเป็นมาของ พระพุทธปฏิมาแปดปาง หรือ พระพระพุทธรูปแปดปาง โดยพอสังเขป
ประวัติความเป็นมาของ พระพุทธปฏิมาแปดปาง หรือ พระพระพุทธรูปแปดปาง โดยพอสังเขป
Top