ประวัติพอสังเขป พระโคนสมอ เนื้อดินเผา กรุวังหน้า กรุงเทพฯ - webpra

ประวัติพอสังเขป พระโคนสมอ เนื้อดินเผา กรุวังหน้า กรุงเทพฯ

บทความพระเครื่อง เขียนโดย เล็ก_พาต้า

เล็ก_พาต้า
ผู้เขียน
บทความ : ประวัติพอสังเขป พระโคนสมอ เนื้อดินเผา กรุวังหน้า กรุงเทพฯ
จำนวนชม : 4992
เขียนเมื่อวันที่ : จ. - 01 ก.พ. 2559 - 14:22.09
แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ : อ. - 19 เม.ย. 2559 - 15:48.41
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)

   ก่อนอื่นขอกล่าวถึงที่มาของคำว่า "พระโคนสมอ" กันก่อนครับ  สาเหตุก็เพราะว่า ทางกรมศิลปากรได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วังหน้า หรือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ และได้พบพระจำนวนมาก (แต่ในบทความนี้ผมขอกล่าวแต่เฉพาะพระเนื้อดินเท่านั้น) ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากร ได้นำพระที่พบพระจำนวนมากเหล่านั้น มาวางรวมกองกันไว้ที่ "ต้นโคนสมอภิเภก" หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เนื่องจากมีพระมาวางกองเป็นจำนวนมาก ผู้คนที่พบเห็นจึงเรียกตามสถานที่ ที่พบเห็นว่า "พระโคนสมอ" ต่อมาก็เรียกชื่อว่า "พระโคนสมอ กรุวังหน้า"

 

พระโคนสมอ เนื้อดินเผา กรุวังหน้า เป็นพระศิลปะอยุธยายุคปลาย แต่พระส่วนมากกลับมาพบที่ในกรุงเทพฯ และส่วนมากที่พบก็จะเป็นพระเนื้อดินเผา ซึ่งมีขนาดใหญ่เกือบเท่าฝ่ามือ และเป็นพระที่ลงรักปิดทองมาแต่เดิม

   

ลักษณะโดยรวมของพระโคนสมอ เป็นพระพุทธรูปปางต่างๆในอิริยาบถยืนและนั่ง เช่น ปางถวายเนตร ปางห้ามญาติ ปางไสยาสน์ ปางอุ้มบาตร ปางป่าเลไลยก์ ปางสมาธิ ปางรำพึง ปางนาคปรก ปางนั่งห้อยพระบาท ปางมารวิชัย(พบมากที่สุด) ปางมหาชมพูบดี หรือ พระเท้าชมพู (เป็นพระที่มีขนาดใหญ่พิเศษ ลักษณะองค์พระยืนประทานพร ทรงเครื่องขัดติยราช ประดับมงกุฏสวยงามมาก เป็นพระที่พบน้อยมาก และ หายากมาก ส่วนค่านิยมหลักหมื่นต้นครับ)

   

ในช่วงแรกๆก็ไม่ค่อยจะมีใคนสนใจพระโคนสมอสักเท่าไรนัก แต่ในช่วงระยะหลัง ก็มีผู้คนหยิบไปสักการะบูชา คงอาจเป็นเพราะเห็นเป็นพระประจำวัน ก็นำไปบูชาตามวันเกิดของตนเอง และทางกรมศิลปากรก็เปิดให้บูชาบ้างจนพระหมดไปในที่สุด

   

ต่อมาก็ได้พบพระโคนสมออีกตามกรุต่างๆในกรุงเทพมหานคร อาทิเช่น กรุวัดโพธิ์ กรุวัดพระแก้ว กรุวัดประยูรฯ(พระโคนสมอขนาดเล็ก)

 

พุทธคุณของพระโคนสมอ ครอบจักรวาลครับ แคล้วคลาด คงกกระพันชาตรี เมตตามหานิยม

 

 

จากใจจริง เล็ก พาต้า

ชมรมพระเครื่องพาต้าปิ่นเกล้า 

 

 

 

 

Top