ลักษณะพระเนื้อดินเผากรุเพดานโบสถ์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก บางขุนเทียน กทม.
บทความพระเครื่อง เขียนโดย เล็ก_พาต้า
ผู้เขียน
บทความ : ลักษณะพระเนื้อดินเผากรุเพดานโบสถ์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก บางขุนเทียน กทม.
จำนวนชม : 1913
เขียนเมื่อวันที่ : ศ. - 01 ม.ค. 2559 - 15:25.58
แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ : อ. - 19 เม.ย. 2559 - 15:57.09
(คลิ๊กที่ชื่อผู้เขียนผู้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เขียน)
พระเนื้อดินกรุเพดานโบสถ์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่หลวงพ่อพ่วงจะมรณะภาพ ๗ ปี ลักษณะเนื้อพระเครื่องของหลวงพ่อพ่วง จะเป็นพระเครื่องประเภทเนื้อดินเผา ซึ่งพระเนื้อดินของหลวงพ่อนั้นมีลักษณะไม่แน่นอนตายตัวในพระแต่ละองค์ แต่พระของท่านก็ยังมีเอกลักษณ์ที่จะบ่งบอก ได้ว่า พระที่เราดูอยู่นั้นเป็นพระของท่านหรือเปล่า แท้หรือปลอม ที่ผมบอกว่าลักษณะพระเนื้อดินเผาของท่านไม่แน่นอนตายตัวก็เพราะว่า พระบางองค์ด้านหน้ากับด้านหลังลักษณะเนื้อไม่เหมือนกัน ด้านหน้าพระส่องดูแล้วเป็นพระเนื้อดินละเอียด แต่พลิกกลับมาส่องดูด้านหลัง พระกลับเป็นพระเนื้อดินค่อนข้างหยาบ มีกรวดแร่ชิ้นเล็กๆ เม็ดหินแตก และเศษขี้เถ้า แกลบแก้วสีขาวๆปนอยู่ในเนื้อพระ แต่พระบางองค์ของท่านกลับมีลักษณะเป็นพระเนื้อดินละเอียดทั้งด้านหน้าและ ด้านหลัง คล้ายกับพระรอดลำพูนก็มี บางองค์ไม่มีกรวดแร่ เม็ดหินแตกปนอยู่ในเนื้อพระก็มี พระบางองค์เป็นพระเนื้อดินเผาแก่ผงก็มี แต่โดยรวมแล้ว ลักษณะเนื้อพระส่วนใหญ่เนื้อจะแห้งฟ่าม มีแกลบแก้วสีขาว (เป็นแร่ชนิดหนึ่งที่ปะปนอยู่ในดินเหนียว)ฝังอยู่ในเนื้อพระเช่นเดียวกับพระหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จังหวัดสุพรรณบุรีลักษณะสีพระเนื้อดินเผาของหลวงพ่อพ่วง มีทั้งโทนสีดำ,สีน้ำตาล,สีแดง และ สีเหลือง โดยไล่เฉดสีแตกต่างกันออกไปตามอุณหภูมิความร้อนในระหว่างการเผาไฟ พระบางองค์สีไม่เสมอกัน ผิวพระมักจะมีรอยบุ๋มเล็กๆมากบ้างน้อยบ้าง กระจัดกระจายอยู่ทั่วในองค์พระ ซึ่งเกิดจากแกลบที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาพระเครื่อง ไปติดฝังอยู่บนเนื้อผิวพระก็จะไหม้ไฟหายไป จึงทำให้ผิวพระเกิดรอยบุ๋ม ซึ่งนักเล่นบางท่านเรียกว่ารอยแกลบหลุด
ลักษณะด้านหลังพระเนื้อดินเผาของหลวงพ่อพ่วง มีทั้งหลังเรียบและหลังปาดดินที่ด้านหลังพระ ครับ
แล้วค่อยพบกันใหม่ครับจากใจจริง เล็ก พาต้าชมรมพระเครื่องพาต้าปิ่นเกล้า |