พระครูวุฒิวรคุณ(หลวงพ่อวุฒิ) วัดเจริญผล อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์
บทความพระเครื่อง เขียนโดย muham
ประวัติโดยสังเขป พระครูวุฒิวรคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดเจริญผล สถานเดิม พระครูวุฒิวรคุณ นามเดิม วุฒิ นามสกุล หลวงกิจจา นามฉายา คุณธมฺโม เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ ตรงกับวันแรม 5 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ณ. บ้านเลขที่ 676 หมู่ 1 ต.บางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จ. นครสวรรค์ บิดาชื่อ นายบุญมา มารดาชื่อนางทรัพย์ ท่านมีพี่น้องร่วมมารดาบิดาเดียวกัน ๑๐คน คือ- 1 . พระครูวุฒิวรคุณ (วุฒิ หลวงกิจจา) 2. นายนวล หลวงกิจจา 3. นางพริ้ว หลวงกิจจา 4. นายวิลาศ หลวงกิจจา 5. นายบุญถึง ปัญญากา 6. นางประเทือง ปัญญากา 7. น.ส.บุญธรรม ปัญญากา 8. น.ส.อุดม ปัญญากา 9. นางมณี วจีสัจจะ 10. นายบุญทิ้ง ปัญญากา อุปสมบท เมื่อวันจันทร์ ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ณ พัทธสีมา วัดส้มเสี้ยว ต. ท่างิ้ว อ. บรรพตพิสัย จ. นครสวรรค์ โดยมีพระครูนิรุติธรรมธร(หลวงพ่อน้อย) วัดส้มเสี้ยว เป็นอุปัชฌาย์ และมีหลวงพ่อพระปลัดบุญเพ็งเป็นพระกรรมวาจารย์(คู่สวด) การจำพรรษา พ.ศ. 2472-2477 จำพรรษาอยู่ ณ วัดส้มเสี้ยว เป็นจำนวน 6 พรรษา พ.ศ. 2478-2534 จำพรรษา ณวัดเจิญผล ต . เจริญผล อ.บรรพตพิสัย 56 พรรษา [วิทยะฐานะ พ.ศ. 2462 ได้เข้าศึกษากับพระอาจารย์แก่น เจ้าอาวาสวัดมงคลสถิตย์ ต. บางตาหงาย จนอ่านออกเขียนได้ พ.ศ. 2477 สอบนักธรรมเอก ได้ในสนามหลวง วัดส้มเสี้ยว สำนักเรียนคณะจังหวัดนครสวรรค์ มีความรู้ทางแพทย์แผนโบราณเป็นอย่างดี จนสามารถรักษาคนไข้ในสมัยนั้นได้อย่างกว้างขวาง งานปกครอง พ.ศ. 2478 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเจริญผล อ.บรรพตพิสัย พ.ศ. 2491 ได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาสวัดเจริญผล พ.ศ. 2494 ได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าคณะตำบลบางตาหงาย อ.บรรพตพิสัย พ.ศ. 2501 ได้รับแต่งตั้ง เป็นพระอุปัชฌาย์ประเภทสามัญ งานด้านการศึกษา พ.ศ. 2476เป็นครูสอนปริยัติธรรมวัดส้มเสี้ยว อ. บรรพตพิสัย พ.ศ.2478 เป็นครูสอนปริยัติธรรมวัดเจริญผล อ. บรรพตพิสัย พ.ศ. 2491 เป็นเจ้าสำนักเรียนศาสนศึกษาวัดเจริญผล อำเภอบรรพตพิสัย พ.ศ. 2505 ได้รับการแต่งตั้ง เป็นกรรมการ ตรวจประโยคธรรมชั้นตรี สนามหลวง พ.ศ. 2512 ได้เป็นผู้อุปการะ ณ.ร.ร.ประชาบาลวัดเจริญผล อำเภอบรรพตพิสัย งานเผยแผ่ พ.ศ. 2522 ได้รับการแต่งตั้ง เป็นประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำ ต. บางตาหงาย งานสาธารณูปการ พ.ศ. 2478-24-534 ได้ก่อสร้างบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถูภายในวัดเจริญผล ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี อาทิ ก่อสร้าง ศาลาการเปรียญ กุฏิ อุโบสถ ศาลาธรรมสังเวช เมรุ ห้องน้ำ กำแพงรอบวัด วิหารหลวงพ่อน้อย ณ.ร. วัดเจริญผล ซุ้มประตู และสิ่งก่อสร้าง ทั้งหมดภายในวัดเจริญผลอีกมากมาย พ.ศ. 2515 ได้เป็นประธานควบคุมการก่อสร้าง วัดเขาประตูชัย อ.ขาณุ พ.ศ. 2518 ได้เป็นประธานร่วมกับหลวงพ่อพิมพา วัดหนองตางู จัดสร้างศาลาการเปรียญ กุฏิ พระพุทธรูปปางประธานพร และอื่นๆอีกมากภายในวัดสี่แพง อ. บรรพตพิสัย พ.ศ.2528 เป็นประธาน ก่อสร้างสำนักสงฆ์ วัดโพธิธรรมคุณาราม อ. บรรพตพิสัย สมณ ศักดิ์ พ.ศ. 2493 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสมุห์ ในฐานานุกรม ของพระครูนิรุติธรรมธร (หลวงพ่อเฉย) พ.ศ. 2506 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นตรี ที่ พระครูวุฒิวรคุณ พ.ศ. 2516 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์เป็นพระครูชั้นโทตามนามเดิม ปฏิปทา และศีลาจารวัตร พระเดชพระคุณพระครูวุฒิวรคุณ เป็นพระสงฆ์สุปฏิปันโน มีปฏิปทาและศีลาจารวัตร เป็นที่น่ายกย่องและความเคารพรักของสาธุชนทุกชั้นทั้งพระภิกษุ สามเณรและญาติโยม มีอัธยาศรัยนุ่มนวล สุภาพอ่อนโยน เป็นเอกลักษณ์ประจำตัวท่าน อยู่ในตำแหน่งฐานะใดๆ ก็เหมาะสมกับฐานะนั้นๆ กล่าวคือ อัตตสัมมาปณิธิธรรมเป็นวัตรปฏิบัติ เป็นบุตรที่ดีของวงศ์ตระกูล เป็นศิษย์รักของครูบาอาจารย์ เป็นอาจารย์ที่ดีของศิษย์ สงเคราะห์ญาติอยู่เป็นนิจ เป็นกัลยาณมิตรแห่งมิตรทั้งปวง เป็นผู้สอนเป็นนักเทศน์ เป็นนักปฏิบัติ ตั้งตน อยู่ในธรรมเป็นแบบอย่างที่ดี ดังปรากฏปฏิปทาที่เด่นๆพอยกเป็นตัวอย่างได้ดังนีความมั่นคงในหลักกตัญญูกตเวทิตาธรรม พระเดชพระคุณหลวงพ่อวุฒิวรคุณ ได้ปฏิการะเลี้ยงตอบแทนโยมมารดา บิดา เกื้อหนุนมิให้เดือดร้อนตลอดมา จวบจนทั้งท่านทั่งสองชราภาพตราบจนสิ้นชีวิต และได้นำศพมาบำเพ็ญกุศลฌาปนกิจอย่างสมเกียรติ สำหรับอุปัชฌาย์อาจารย์ หลวงพ่อได้ปรนนิบัติทั้งภาระกิจส่วนตัวและสนองงานในหน้าที่ ไม่มีบกพร่องตลอดจนอายุขัย ของพระอุปัชฌาย์ กล่าวคือหลวงพ่อได้มาอยู่วัดเจริญผล ตั้งแต่หลวงพ่อมีพรรษา 7 โดยเป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิดของพระครูนิรุตติธรรมทร (หลวงพ่อน้อย) และอุปสมบท ก็ได้พระเดชพระคุณหลวงพ่อน้อย เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยมีพระปลัดบุญเพ็ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์(คู่สวด) พระอุปัชฌาย์และอาจารย์ทั้งสองนี้ เป็นแบบฉบับแห่งเนติแบบแผนประเพณีและการคณะสงฆ์เป็นอันมากตลอดชนมายุ พระเดชพระคุณพระครูวุฒิวรคุณ จึงนับได้ว่า ได้ครูดีเป็นแม่แบบ หลวงพ่อปฏิบัติภารกิจของศิษย์ที่ดีไม่มีบกพร่อง ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยยาก จะเห็นได้ว่า หลวงพ่อได้รับหลวงพ่อปลัดบุญเพ็งซึ่งอยู่จำพรรษาที่วัดส้มเสี้ยว มาอยู่จำพรรษา ณ วัดเจริญผลด้วย และหลวงพ่อปลัดบุญเพ็งอยู่ที่วัดเจริญผลได้ไม่นานก็มรณะภาพลง หลวงพ่อวุฒิ ก็ได้บำเพ็ญกุศลหน้าศพ 7 วัน 50 วัน 100 วัน ณ วัดเจริญผลอย่างสมเกียรติโดยลำดับ นั่นแสดงถึงความตั้งมั่นคงอยู่ในความกตัญญูกตเวทิตาธรรมตลอดมา ความดำรงมั่นคงอยู่ในพรหมวิหารธรรม หลวงพ่อวุฒิเป็นเอกลักษณ์เป็นเลิศในธรรมข้อนี้ หลวงพ่อเป็นผู้ตั้งความปราถนาดีต่อบุคคลทั่วไป ญาติมิตรศิษย์ใกล้ไกล เมื่อมีปัญหาหลวงพ่อได้ช่วยแก้ไขให้ทุกคนที่มาหาหมดทุกข์ เมื่อประสบความสำเร็จก็ได้ให้กำลังใจพลอยยินดี มอบรางวัลให้จะเห็นได้ จากที่พระลูกศิษย์ท่านสอบเปรียญธรรม 3 ประโยคได้ คือพระครูศรีนิทัศน์วรพรต (เจ้าคณะ อ. โกรกพระ )และพระมหาชิงชัย วชิรมโน เมื่อหลวงพ่อท่านทราบข่าว ท่านได้เรียกพระลูกศิษย์ให้กลับไปรับรางวัล แสดงว่า ท่านคอยให้ความสนับสนุน และให้กำลังใจอยู่ตลอดเวลาที่หลวงพ่อท่านได้จัดส่งพระภิกษุสามเณรเข้าศึกษาในสำนักเรียนทุกแห่ง เมื่อกรณีสุดที่จะแก้ไขไม่ได้ ก็ตั้งอยู่ในอุเบกขาไม่หวั่นไหว ปฏิปทาข้อนีปรากฏชัดเป็นลำดับต่อมา ปฏิปทาในสังคหวัตถุ ธรรมปฏิบัติอีกข้อหนึ่ง ที่ยกมากล่าวคือสังคหวัตถุธรรม หลวงพ่อถือปฏิบัติจนเป็นนิสัย กล่าวคือท่านเป็น ผู้ให้ ผู้บริจาคอย่างสม่ำเสมอ จนตลอดชีวิต หลวงพ่อไม่ใช่พระสะสม เป็นผู้เจรจาอ่อนหวานไพเราะ ไม่ทำลายน้ำใจคนมีจิตเป็นกุศลช่วยเหลือการงานร่วมบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์เป็นประจำ หลวงพ่อได้ปฎิบัติตนต่อผู้อาวุโส และศิษย์ทั้งอยู่ไกลและอยู่ใกล้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย โดยแท้จริงแล้ว หลวงพ่อวุฒิ จัดว่ามีสุขภาพดี มีสังขารร่างกายใหญ่โตพอประมาณ แข็งแรง แต่เพราะท่านทำงานไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยยากติดต่อกันเป็นเวลานาน หลวงพ่อจึงอาพาธ เกี่ยวกับโรคต่างๆ จนถึงต้องเข้ารักษาเยียวยาที่โรงพยาบาล โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นติดตามหลวงพ่อมาอย่างเงียบๆ เป็นเวลานานแต่ก็หาปรากฏแก่ผู้อื่นไหม ตราบจนปรากฏชัดเจน เมื่อปี 2531 อาพาธด้วยโรคจักษุมองไม่เห็นชัดเจนจึงเข้ารักษาผ่าตัดที่ ร.พ.รามา, ร.พ. สงฆ์ ร.พ. ภิรมย์การแพทย์ กรุงเทพฯเป็นต้น เป็นลำดับจนจักษุมองเห็นได้ชัดเจน ก่อนเข้าพรรษา ปี 2534 เดินทางเข้ารักษาตัวที่ ร.พ. ภูมิพล แพทย์วินิจฉัย ว่าเป็นโรคปอดจนทำให้อาการทุเลาลงจึงเดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดเจริญผลตามเดิม และครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534 หลวงพ่ออาพาธด้วยปวดที่ท้อง คณะษย์ และกรรมการได้นำเข้ารักษาตัวที่ ร.พ. บรรพตพิสัย จนถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534 คณะแพทย์ที่ ร.พ.บรรพตพิสัยไม่สามารถที่จะรักษาเยียวยาได้ด้วยเครื่องมือแพทย์ไม่เพียงพอ จึงได้นำหลวงพ่อไปรักษาตัวต่อที่ ร.พ. ปากน้ำโพ นครสวรรค์ แต่อาการก็ไม่ทุเลาลง คณะแพทย์ ร.พ. ปากน้ำโพได้ตรวจและวินิจฉัยว่าหลวงพ่อได้อาพาธด้วยโรคมะเร็งในตับ วันที่ 11 ธ.ค. 2534 คณะกรรมการได้นำหลวงพ่อไปรักษาที่โรงพยาบาลเปาโล กรุงเทพฯ ถึงอย่างไรอาการก็ยังไม่ดีขึ้น คณะษย์ ได้ปรึกษากันว่าควรนำหลวงพ่อกลับไปรักษาตัวที่วัดเจริญผลซึ่งเป็นบ้านเกิด ตามที่หลวงพ่อขอร้องไว้ นอนพักรักษาตัวที่ ร.พ. เปาโลจนถึงวันที่ 17 ธันวาคม 2534 จึงนำหลวงพ่อกลับมายังวัดเจริญผล เพื่อเยียวยารักษาทางการของคณะแพทย์บ้าง ด้วยยาแผนโบราณบ้างแต่อาการก็ยังไม่ดีขึ้น ถึงกาลอวสานแห่งอายุขัย เมื่อวันพฤหัสที่ 26 พฤศจิกายน 2534 อาการของโรคกำเริบขึ้นหนัก อ่อนเพลียมาก แม้คณะแพทย์ จะช่วยกันรักษาเยียวยาจนสุดความสามารถก็ไม่สามารถจะเอาไว้อยู่ หลวงพ่อวุฒิท่านได้สิ้นใจลงด้วยอาการสงบเมื่อเวลา 10.14 น. ของวันพฤหัสสบดีที่ 26 ธันวาคม 2534 นั่นองสิริรวมอายุได้ 82ปี 7 เดือน 16 วัน พรรษาที่ 62 พระคณูวุฒิวรคุณ ได้จากวัดเจริญผลและจากศิษยานุศิษย์ไปอย่างไม่มีวันกลับ แต่เพียงร่างกายเท่านั้น แต่ปฏิปทาศีลาจารวัตร ที่ท่านปฏิบัติเป็นตันติแบบแผนสืบทอดมาจากบูรพาจารย์ จักได้เป็นแบบสืบทอดแก่สานุศิษย์แห่งวัดเจริญผลสืบต่อไปไม่หยุดยั้ง ผลงานใดๆที่ท่านสร้างสรรค์ไว้ก็จะได่เป็นประโยชน์เกื้อกูลเป็นแนวปฏิบัติของทายาทแห่งสำนักวัดเจริญผลสืบต่อไปเพื่อเป็นเกียรติศักดิ์ศีร และเพื้อจรรโลงพระพุทธศาสนาให้สถาพรมันคงสืบต่อไปตราบชั่วกาลนิรันดร์ ขอบคุณข้อมูลจาก เพจ ศิษย์หลวงปู่วุฒิวรคุณ และ กลุ่มรักษ์หลวงพ่อวุฒิ วัดเจริญผล ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ |